TCIJ Health Knowledge: EP04 คุยกับ ศ.นพ ดร. อิศรางค์ นุชประยูร กับการใช้มอร์ฟีนเยียวยาความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม

TCIJ Health Knowledge | วันที่: 8 ต.ค. 2562 | ฟังแล้ว: 2,788

ความเจ็บปวดของมะเร็งนั้นมีอยู๋สองประเภท ประเภทแรกเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงของการรักษาแบบเคมีบำบัด ซึ่งผู้รับเคมีบำบัดจะมีอาการข้างเคียงต่างๆ เช่น มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเหลีย คลื่นไส้ อาเจียน มีจุดเลือดจ้ำเลือดตามตัว เจ็บปากเจ็บคอ ท้องเสีย อุจจาระมีสีดำ ท้องผูก ผมร่วง ผิวหนังและเล็บเปลี่ยนสี ฝ่ามือฝ่าเท้ามีสีดำคล้ำและเจ็บ ชาปลายมือปลายเท้า และอารมณ์แปรปรวน และอื่นๆ อีกมาก

 

ความเจ็บปวด ประเภทที่สองเกิดขึ้นจากมะเร็งระยะรุกลามโดยตรง มันคือความเจ็บปวดของมะเร็งที่กัดกินกระดูกหรืออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของผู้ป่วย อย่างไรก็ดี ยังมีวิธีการดูแลเยียวยาความเจ็บปวดจากมะเร็งระยะลุกลามและเจือความทุกข์ให้เหลือน้อยที่สุดได้

 

วิธีดังกล่าวอาศัยสิ่งเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยคุณวิเศษหากใช้มันอย่างถูกวิธี แต่กลับเป็นยาเสพติดอันตรายอย่างยิ่งหากใช้มันไปในทางที่ผิดอย่างมอร์ฟีน

 

ตอนที่ 4 ของ TCIJ Health Knowledge วันนี้ จะพาคุณผู้ฟังไปรับฟังบทสัมภาษณ์ของ ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานที่ปรึกษาชมรมเพื่อนมะเร็งไทย และเลขาธิการมูลนิธิสายธารแห่งความหวัง ทำงานดูแลผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรักษาไม่หาย จะให้ความรู้ในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการใช้มอร์ฟีนเยียวยาความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม