
สปสช. ชี้แจงวิธี การตรวจสอบรายงานการเบิกจ่ายเงิ นชดเชยค่าบริการของแต่ ละโรงพยาบาลผ่านเว็บไซต์ สปสช. โดยระบบจะแสดงบทสรุปผู้บริ หารและรายละเอียดเชิงลึ กของรายการโอนเงินทั้งหมด
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกั นสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. กล่าวว่า สปสช. ได้เปิ ดเผยรายงานการโอนงบประมาณจากกอง ทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้ นเว็บไซต์ สปสช. เพื่อให้ประชาชนและผู้ที่ สนใจสามารถตรวจสอบรายงานการเบิ กจ่ายเงินชดเชยค่าบริการของแต่ ละหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลได้ ทั้งนี้ ตามกระบวนการแล้ว เมื่อโรงพยาบาลรักษาผู้ป่วยเสร็ จ จะส่งข้อมูลมากเบิกเงินกับ สปสช. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อ สปสช. ได้รับข้อมูลแล้ว จะประมวลผลเพื่อคำนวณจำนวนเงิ นที่ต้องจ่ายแก่ โรงพยาบาลตามผลงานบริการ และจะแจ้งให้โรงพยาบาลทราบว่ าได้โอนเงินให้โรงพยาบาลเป็ นจำนวนกี่บาท โดย สปสช.มีปฏิทินการโอนเงินล่วงหน้ าเป็นรายปีไว้อยู่แล้ว ทั้งบริการผู้ป่วยนอก (OP) และผู้ป่วยใน (IPD) มีการแจ้งว่าจะใช้ข้อมูลการบริ การเพื่อเบิกจ่ายตั้งแต่วันที่ เท่าไหร่ถึงวันที่เท่าไหร่ และจะออก statement ว่าโอนเงินวันที่เท่าไหร่
ทพ.อรรถพร กล่าวต่อว่า เงินที่โอนให้แก่โรงพยาบาลมี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ บริการผู้ป่วยนอก จะมีการโอนเงิน 2 ครั้ง/เดือน โดยงวดแรกจะนับตั้งแต่ต้นเดื อนถึงกลางเดือน และจะโอนเงินหลังจากวันที่ 15 ของทุกเดือนไปอีก 1 สัปดาห์ ส่วนงวดที่ 2 จะนับตั้งแต่กลางเดือนถึงสิ้ นเดือน และโอนเงินไม่เกินวันที่ 10 ของเดือนถัดไป ขณะที่บริการผู้ป่วยในจะโอนเดื อนละ 1 ครั้ง นับตั้งแต่ต้นเดือนถึงสิ้นเดือน แล้วโอนเงินภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริการผู้ป่วยนอกมี กองทุนย่อยที่หลากหลาย เช่น บริการผู้ป่วยนอกที่ประสบอุบัติ เหตุฉุกเฉิน บริการผู้ป่วยนอกที่มีเหตุอั นสมควรในการรับบริการ (OP Anywhere) ผู้ป่วยนอกที่มีการรับส่งต่อ (OP Refer) หรือผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถตรวจสอบได้เป็นรายบุคคล บอกได้ว่าเป็นเงินผู้ป่ วยนอกจากกองทุนย่อยใด งวดที่เท่าใด ค่าใช้จ่ายเท่าใด มี statement ให้ตรวจสอบชัดเจน และยอดเงินใน statement จะตรงกับยอดเงินใน Smart Money Transfer รวมทั้งมีหนังสือแจ้งโอนเงิ นในหน้า Smart Money Transfer แสดงรายละเอียดของแต่ละรายการย่ อยให้อีก
ทั้งนี้ หน่วยบริการสามารถเข้ าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ https://smt.nhso.go.th/smtf2/# /home/budget/summary เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์แล้ว ให้กรอกรหัสหน่วยบริการ แล้วกดค้นหา ระบบจะแสดงรายละเอียดการโอนเงิ นในทุกงวดของหน่วยบริการนั้นๆ ว่าในปีงบประมาณนี้ได้โอนเงิ นไปแล้วกี่งวด แต่ละงวดโอนเงินวันที่เท่าใด โอนเข้าบัญชีเท่าใด เป็นงวดเงินของผู้ป่วยนอกหรือผู้ ป่วยใน เบิกเงินจากกองทุนย่อยอะไรบ้าง
นอกจากนี้ ในแต่ละงวด ระบบยังแสดงข้อมูลยอดเงินที่ ชะลอการจ่าย ซึ่งเป็นรายการที่ต้องมี การตรวจสอบข้อมูลและมีการแจ้งข้ อมูลว่าชะลอการโอนเงินด้วยเหตุ ผลอะไร และสำหรับผู้บริหาร ยังมีเมนูสรุปรายงานสรุปสำหรั บผู้บริหาร ซึ่งจะสรุปข้อมูลการเบิกจ่ ายโดยรวมว่าตั้งแต่ต้นปี งบประมาณ ได้รับการโอนเงินจาก สปสช. มาแล้วเท่าใด แบ่งเป็นยอดเงินจากกองทุนย่ อยอะไรบ้าง
โฆษก สปสช. กล่าวว่า ข้อสังเกตคือ ในกรณีการชะลอโอนเงิน เนื่องจากมีการอุทธรณ์แก้ไขข้ อมูลการเบิกจ่าย จะมีการอุทธรณ์จาก 3 ส่วน คือโรงพยาบาลยื่นอุทธรณ์ สปสช.อุทธรณ์เพื่อประมวลผลใหม่ และการอุทธรณ์จากการ Audit พบว่าข้อมูลการเบิกจ่ายไม่ถูกต้ อง หลังจากอุทธรณ์แล้ว โรงพยาบาลอาจได้เงินเพิ่ม หรือ ถูกเรียกเงินคืนก็ได้หากมี การให้รหัสโรคสูงเกินจริง แต่การเรียกเงินคืน โรงพยาบาลไม่ต้องโอนเงินคืนให้ สปสช. จริงๆ แต่ สปสช.จะหักลบจากเงินที่ต้องจ่ ายให้โรงพยาบาลในงวดต่อๆไปแทน โดยส่วนมากจะหักลบจากยอดเงิ นชดเชยผู้ป่วยใน
นอกจากนี้ เงินชดเชยการให้บริการผู้ป่วยใน จะเป็นเงินที่รวมเงินเดือนบุ คลากรไว้ด้วย ดังนั้น ในรายงานการโอนเงินจะเป็นตั วเลขรวมผลงานการให้บริการกับเงิ นเดือนบุคลากร แต่ในรายละเอียดการโอนเงิน จะแสดงเฉพาะเงินที่เกิ ดจากผลงานการให้บริการ ส่วนเงินเดือนบุคลากรไม่ได้จั ดสรรผ่าน สปสช. แต่ถูกสำนักงบประมาณหักไว้ล่ วงหน้าแล้วทยอยจ่ายแยกต่างหาก ทำให้ตัวเลขในรายงานการโอนเงิ นและรายละเอียดการโอนเงินไม่ ตรงกันจนอาจทำให้เกิดความเข้ าใจผิดได้ว่า สปสช. จ่ายเงินไม่ครบ
ขณะเดียวกัน หน่วยบริการยังสามารถตรวจสอบข้ อมูลการถูกปฏิเสธการเบิกจ่ายผ่ านเว็บไซต์ https://nhso4.nhso.go.th/mis_ nhso4/c_deny_eclaim/ ซึ่งเมื่อกรอกรหัสหน่วยบริ การแล้ว ระบบจะแสดงข้อมูลจำนวนรายการที่ ถูกปฏิเสธการจ่ายตั้งแต่ต้นปี งบประมาณว่ามีกี่รายการ รวมเป็นเงินที่โรงพยาบาลเรี ยกเก็บเท่าใด เป็นรายการเบิกจ่ายที่ติดรหัส C กี่รายการ คิดเป็นเงินเท่าใด ติด Deny กี่รายการ รวมเป็นจำนวนเท่าใด
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ