บทเรียนการบังขับใช้กฎหมาย การปิดล้อมตรวจค้น เชิญตัวสอบสวนซักถาม ชายแดนใต้

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 27 พ.ค. 2568 | อ่านแล้ว 157 ครั้ง


*ชื่อบทความเดิม "ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ: บทเรียนการบังขับใช้กฎหมาย การปิดล้อมตรวจค้น เชิญตัวสอบสวนซักถาม กรณี ปล่อยตัว นัสรี หลังถูกเจ้าหน้าที่คุมตัวไปที่ศูนย์ซักถามค่ายอิงฯ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา"

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ทุกท่าน

เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย พิเศษ JASAD รายงานว่า จากเหตุการณืเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 ได้มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงจำนวนหลายคันรถกระบะ เข้าไปปิดล้อมตรวจค้นในพื้นที่ ม.3 ต.ดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และได้ควบคุตัว นายนัสรี (สงวนนามสกุล) อายุ 22 ปี โดยได้นำตัวไปควบคุมตัวที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ต.บ่อมอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หลังจากนั้นได้มีเพจข่าวและสื่อบางสำนักเอาไปโยงว่า นาย นัสรี เกี่ยวข้องกับเหตุรุนแรงในพื้นที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

ล่า สุดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2568 เจ้าหน้าที่ได้ประสานกับญาติให้ไปรับตัวนาย นัสรี ที่ศาลจังหวัดปัตตานี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ไปทำการบันทึกการปล่อยตัวที่ สภ.หนองจิก และปล่อยตัวกลับบ้าน สรุปนาย นัสรี ถูกควบคุมตัวทั้งสิ้นเป็นระยะเวลา 26 วัน ทั้งนี้ทางเครือข่ายฯขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ได้ดำเนินการปล่อยตัวบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุรุนแรงในพื้นที่ และคืนทรัพย์สินที่ได้ยึดมาข้างต้นคืนเจ้าของ

ส่วนกรณีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้เข้าไปควบคุมตัวนั้น ได้มีหลายสำนักสื่อหลายเพจได้พยายามโยงว่านาย นัสรี ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรงนั้น ทั้งนี้ทางเครือข่ายฯ ขอให้สำนักสื่อและเพจดังกล่าวออกมาให้ความเป็นธรรมคืนศักดิ์ศรีให้กับครอบครัวโดยรับผิดชอบด้วยการออกมาชี้แจงขอโทษหรือช่วยนำเสนอแก้ข่าวถึงความบริสุทธิ์ของ นาย นัสรี และกรณีอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อลดความเกลียดชังความขัดแย้งและทัศนคติเชิงลบต่อผู้ที่ถูกบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ฯ

- ส่วนขั้นตอนต่อไปทางเครือข่ายฯจะติดตามในส่วนของการเยียวยาทั้งร่างกายและผลกระทบด้านสุขภาพจิต ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปซึ่งผู้เขียนมองรัฐต่างหากควรรีบดำเนินการ ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งทางร่างกายและจิตใจมิใช่ปล่อยให้เจ้าตัวหรือญาติดำเนินการ เรียกร้อง เพราะจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเอื้อที่เป็นปุ่นอย่างดีในการเติมเชื้อไฟใต้ดั่งที่เกิดขึ้นตลอดมา 20 ปี

อย่างไรในประเด็นการบังคับใช้กฎหมายของรัฐ นั้น

“สามารถดำเนินใช้กฎหมายได้แต่ต้องใช้ทุกฉบับโดยไม่ลืมทำควบคู่ พรบ.ซ้อมทรมานฯอย่างเป็นธรรม ทุกคน โปร่งใส ตรวจสอบได้”

กล่าวคือเมื่อ17 พฤษภาคม 2568 ผู้เขียนได้เสนอ ในนามคณะทำงานกลุ่มขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ (คพท.)ให้ท่านแม่ทัพภาคที่4 (หลังจากท่านเดินมาทักทายส่วนตัว) ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี ซึ่งกลุ่มขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ (คพท.) จัดประชุมครั้งที่ 3/2568 โดยเสนอว่า

“ รัฐสามารถดำเนินใช้กฎหมายได้แต่ต้องทุกฉบับโดยไม่ลืมทำควบคู่พรบ.ซ้อมทรมานฯอย่างเป็นธรรม ทุกคน ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส ตรวจสอบได้” กล่าวคือ

“ขอให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม อย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบ ในการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง และทำความจริงให้ปรากฏในทุกกรณี โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อีกทั้ง ดำเนินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 โดยเฉพาะตามมาตรา 22-25 กล่าวคือ

มาตรา 22 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุม จนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวน หรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว

มาตรา 23 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว

มาตรา 24 การเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว

มาตรา 25 การไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว กรณีอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย ละเมิดต่อความเป็นส่วนตัว เกิดผลร้ายต่อบุคคล หรือเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนสอบสวน เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยรัฐในการถูกข้อครหา อันจะนำไปสู่ สุมไฟใต้ กองใหม่ ที่ไม่มีวันจบ

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: