สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกความหวังแก้ไฟใต้รอบใหม่

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 16 พ.ค. 2568 | อ่านแล้ว 140 ครั้ง


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ทุกท่าน

ตามที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในระหว่างวันที่ 18 – 22 เมษายน 2568 มีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตพลเรือน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอ่อน (Soft target) โดยเป็นเด็ก เยาวชน สตรี ผู้นำศาสนา และสามเณร คือ การลอบยิงอุสตาซ (ครูผู้สอนศาสนาอิสลาม) จนเสียชีวิต ที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส การลอบวางระเบิดทำให้เด็กนักเรียนฮาฟิส (นักเรียนท่องจำอัลกุรอ่าน) ได้รับบาดเจ็บ ที่อำเภอโคกเคียน จังหวัดนราธิวาส การกราดยิงชาวบ้านไทยพุทธในระหว่างรับประทานอาหาร จนได้รับบาดเจ็บ ที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาสและเหตุการณ์ลอบยิงสามเณร ทำให้สามเณรมรณภาพ 1 รูป ที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ ที่ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law : IHL) และขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง ทำให้ทุกภาคส่วนไม่ว่ารัฐหรือเอกชนองค์กรศาสนาทั้งพุทธ มุสลิม ประชาสังคม องค์กรที่ทำด้านสิทธิมนุษยชนแม้หลายครั้งมากเห็นต่างจากรัฐที่ชายแดนใต้พร้อมใจกันออกมาประณาม และนับวันสถาการณ์จะยิ่งรุนแรง จนรองนายกรัฐมนตรี ภูมิธรรม ออกมาขีดเส้น ผบ.ทบ. 7 วัน ให้รายงาน จนหลายทุกภาคส่วนออกมาแสดงข้อกังวล จะยิ่งทำให้สถานการณ์จะเหมือนสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี

ดั่งที่นายตูแวดานียา ตูแวแมแง เลขาธิการคณะสันติภาพภาคประชาชนหรือ APP “เตือนประชาชน ระวัง !!! 7 วันอันตราย หลังจากนี้ ” อาจมีการก่อเหตุจากขบวนการฯ ตอบโต้ รมต.กลาโหม ขีดเส้น 7 วัน ให้กับ ผบ.ทบ. เขาเปิดเผยต่อผู้เขียนว่า “ ผมมองว่าจะเป็นการส่งสัญญาณจากฝ่ายบริหารที่ควรต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการแก้ปัญหาโดยมีกระบวนทัศน์และนโยบายที่ชัดเจนมาจากฝ่ายบริหารเองว่าจะแก้ยังไง ไม่ใช่ไปกดดันฝ่ายทหารโดยขีดเส้นตาย 7 วัน แบบนี้ มันจะเป็นการเติมเชิ้อเพลิงเข้าไปในกองไฟ เป็นการยืนยันจากฝ่ายบริหารเองว่า ยังคงจะใช้บริการ การทหารนำการเมือง ในการดับไฟใต้หรือไม่”

อย่างไรก็แล้วแต่ เครื่องมือหนึ่งที่หลายภาคส่วนยังพูดกันกันน้อยในการแก้ปัญหาและพัฒนาชายแดนใต้ คือ “ สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ซึ่งผู้เขียนคิดว่า น่าจะนำมาเป็นผู้เล่นหลัก เพราะ เมื่อกลับไปดูพรบ.ศอ.บต.พบว่า มีความชอบธรรมสูง ที่ผ่านการเลือกตั้งเป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วนจริงๆ แม้ อาจจะไม่สมบูรณ์ ถูกใจ 100 เปอร์เซ็น ซึ่งสะท้อนผ่าน

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2568 องค์กรภาครัฐ ภาคประชาชน รวมถึงผู้นำศาสนาและประชาชนในพื้นที่ จชต.ล้นห้องประชุมกว่า 500 คนได้เดินทางมาร่วมแสดงยินดี พร้อมกับมอบช่อดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจให้กับ นายขดดะรี บินเช็น ประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.เมือง จ.ยะลา ภายหลังจากที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. ให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ในขณะที่ วันที่ 23 เมษายน 2568 ท่าน ได้ออกแถลงการณ์ประณามการใช้ความรุนแรง พร้อมส่งสัญญาณดึงทุกภาคส่วนแก้ไฟใต้รอบใหม่โดยท่าน ขอเชิญชวนทุกภาคส่วน ในสังคมไทย ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม ผู้นำศาสนา สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปร่วมมือกันสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” และร่วมกันดำเนินการ ดังนี้ : 1. ใช้สติและความอดกลั้น ในการแสดงออกและแก้ไขข้อขัดแย้ง หลีกเลี่ยงการตอบโต้ด้วยถ้อยคำหรือการกระทำที่ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงเพิ่มเติม 2. สร้างพื้นที่กลางและพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน เพื่อคุ้มครองพลเรือน เด็กและผู้นำศาสนา ให้มีสถานที่สำหรับการเรียนรู้ การเจรจา และการดำรงชีวิตอย่างปลอดภัย 3. ส่งเสริมกระบวนการพูดคุย สร้างความเข้าใจและฟื้นฟูความไว้วางใจ ระหว่างประชาชนและหน่วยงานรัฐ ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกฝ่าย 4. ยึดหลักสิทธิมนุษยชนและนิติธรรม เป็นแนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อป้องกันมิให้ความรุนแรงกลายเป็นวงจรที่ไม่รู้จบ สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอยืนยันพันธกิจที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งในระดับท้องถิ่น ชาติ และสากล เพื่อร่วมกันฟื้นฟูสันติภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างสังคมแห่งความไว้วางใจและสันติสุขบนฐานของ สติ ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการมีส่วนร่วมของประชาชน” จากข้อเสนอแนะดังกล่าว กอร์ปกับการลงพื้นที่พบผู้นำทุกภาคส่วน ตั้งแต่รับตำแหน่งเมื่อ 3 เมษายน 2568 สะท้อนว่า ท่านจะใช้กลไกของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็น 1 ใน 3 กลไก แก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งท่านท่านได้สัมภาษณ์ก่อนนี้ และเปิดเผยต่อผู้เขียน “ดึงทุกภาคส่วนใช้ทุกช่องทางภายใต้อำนาจ ภายใต้ พ.ร.บ.พระราชบัญญัติ การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปด้วยกัน”

ท่านยังกล่าวว่าอีกว่า “การที่ตนเองได้มาดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ต้องการมาเป็นโซ่ข้อกลางที่จะช่วยกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะให้ความสำคัญกับเรื่องของการขับเคลื่อนการศึกษาเพราะเชื่อว่า หากคนในพื้นที่ได้รับการศึกษที่ดี โอกาสดีๆก็จะตามมา นอกจากนี้ อยากให้ชุมชนมีรากฐานของเศรษฐกิจที่มาจากชุมชนแท้จริง ก็จะทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งตนจะทำหน้าที่นี้ในการสนับสนุนและขับเคลื่อนให้สามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน”ซึงก่อนหน้านี้ทุกวันท่านได้เดินทางไปพบผู้นำศาสนา ผู้นำการศึกษา ผู้นำสตรี เยาวชน ท้องที่ ท้องถิ่น ตัวแทนนักธุรกิจ นักวิชาการและอื่นๆ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆและคาดว่าจะมีการทำงานผ่านอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ“

ท่านสะท้อนเพิ่มเติมอีกว่า “เราเสียโอกาสการพัฒนามาหลายปีมากหลังการประกาศ คำสั่งคณะรัฐประหาร“ นายมูฮำหมัด ดือราแม ได้รายงานเรื่อง ”บทบาทสภาที่ปรึกษาฯ ชายแดนใต้ คืนบทบาทพลเรือนช่วยดับไฟใต้ หลังโดน คสช.ยุบไปนานเกือบ 10 ปี“ ในประชาไทว่า ”หลังรัฐประหารปี 2557 กลไกสภาที่ปรึกษาฯ ถูกระงับไปด้วย คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน 2559 ซึ่งออกมาหลังจากได้คัดเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯชุดที่ 2 แล้วในปี 2558 แต่ยังไม่ทันประกาศแต่งตั้งก็มีอันต้องระงับไป ส่วนการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ มี 60 คนมาทำหน้าที่แทนสภาที่ปรึกษาฯ มาจากการคัดเลือกของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และ ศอ.บต. มีหน้าที่แค่ให้คำปรึกษาตามที่นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการ ศอ.บต.ต้องการ ซึ่งที่ผ่านมาก็แทบจะไม่เห็นบทบาทอะไรเลย คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 ยังกำหนดให้บูรณาการการทำงานระหว่าง กอ.รมน.กับ ศอ.บต. แต่เลขาธิการ ศอ.บต.ต้องฟังเลขาธิการ กอ.รมน. ซึ่งหมายถึงการให้ กอ.รมน.มีอำนาจเหนือกว่า ศอ.บต. ทั้งๆ ที่ตาม พ.ร.บ. ศอ.บต. ให้อำนาจและศักดิ์ของ ศอ.บต. เทียบเท่า กอ.รมน. ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ คือกลไกการมีส่วนร่วมจากประชาชน อย่างไรก็ตาม เดิมทีสภาที่ปรึกษาฯ เป็น 1 ใน 3 กลไกตาม พ.ร.บ. ศอ.บต. โดยมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ “กพต.” เป็นกลไกระดับบนสุด มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรัฐมนตรีและหน่วยงานต่างๆ เป็นกรรมการรวม 35 คน ซึ่งมี 6 คนเป็นตัวแทนประชาชน คือประธานสภาที่ปรึกษาฯ และผู้แทนภาคประชาชนจังหวัดละ 1 คนที่สภาที่ปรึกษาฯ คัดเลือก เมื่อสภาที่ปรึกษาฯถูกสั่งระงับ ตัวแทนประชาชนส่วนนี้ก็หายไปด้วย กพต. มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ศอ.บต.เสนอ รวมถึงแผนงาน โครงการและงบประมาณ กลไกที่ 2 คือ ศอ.บต.เป็นส่วนราชการในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่สำคัญ ๆ เช่น จัดทำยุทธศาสตร์และแผนด้านการพัฒนา คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและจากเหตุการณ์ไม่สงบ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นต้น ส่วนกลไกที่ 3 ก็คือ สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

สอดคล้องกับทัศนะของ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการ ศอ.บต. ซึ่งสะท้อนว่า “ศอ.บต.ได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ในการตั้งสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาฯ ซึ่งได้บัญญัติขึ้นมาเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ที่มีความพิเศษ ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย”

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ

  

Like this article:
Social share: