จับตา: การส่องไฟเพื่อรักษาภาวะตัวเหลืองของทารก

กองบรรณาธิการ TCIJ 31 มี.ค. 2567 | อ่านแล้ว 19876 ครั้ง


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ข้อมูลว่าภาวะตัวเหลืองของทารก เกิดจากสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดสูงกว่าปกติ โดยปกติแล้วร่างกายจะมีการสร้างและทำลายสารบิลิรูบิน แต่ในสภาวะบางอย่าง เช่น ร่างกายจะมีการสร้างสารนี้มากขึ้น หรืออวัยวะที่ทำลายหรือขับถ่ายสารนี้ทำงานไม่ปกติ ก็จะทำให้บิลิรูบินค้างอยู่ในร่างกายจำนวนมากจนไปจับตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้มองเห็นผิวหนังและตาขาวของทารกเป็นสีเหลือง ถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากอาจทำให้มีอาการทางสมองจากภาวะตัวเหลือง (Kernicterus) ได้ วิธีการหนึ่งที่ใช้เพื่อลดระดับบิลิรูบินในเลือดของทารกที่มีอาการตัวเหลืองผิดปกตินั้น คือ การรักษาโดยการส่องไฟ (Phototherapy)

เครื่องส่องไฟทารก (Phototherapy) เป็นเครื่องที่ใช้พลังงานจากแสงสว่างโดยเฉพาะแสงสีฟ้าเขียว (blue-green light) ที่มีความถี่ในช่วง 460-490 นาโนเมตร จะช่วยลดระดับของบิลิรูบิน โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโมเลกุลของบิลิรูบิน ให้กลับกลายมาเป็นสารที่ละลายน้ำได้ และถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจะถูกปิดตา ถอดเสื้อผ้า และนำไปนอนใต้เครื่องส่องไฟ ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ เครื่องนี้มีความปลอดภัยต่อผิวหนังของทารกแรกเกิด แต่อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงเกิดขึ้นได้ เช่น เกิดภาวะขาดน้ำ มีผื่น ตัวคล้ำ ถ่ายบ่อย มีอันตรายต่อสายตาโดยสามารถป้องกันได้ด้วยการ ปิดตาทารกขณะใช้เครื่องภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้บ่อย ดังนั้นผู้ปกครองควรสังเกตอาการของทารกอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติควรรีบพาทารกมาพบแพทย์ทันที

 

ข้อมูลอ้างอิง
ทำไมต้องส่องไฟทารก
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
เมื่อลูกรักตัวเหลือง
Treatment -Newborn jaundice
Phototherapy for Jaundice

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: