พบ 'ทักษะทางการเงิน' ของ 'ชาวเหนือ' น้อยสุดในทุกภูมิภาค

กองบรรณาธิการ TCIJ 22 เม.ย. 2567 | อ่านแล้ว 1708 ครั้ง

ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุจากผลการสำรวจทักษะทางการเงิน ปี 2565 พบว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะทางการเงินของชาวเหนืออยู่ที่ 70.3% ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศที่ร่วมทดสอบกับ OECD ปี 2563 (60.5%) แต่ยังมีคะแนนเฉลี่ยน้อยสุดในทุกภูมิภาคของประเทศไทย จากด้านความรู้ทางการเงิน

เมื่อช่วยเดือน เม.ย. 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่บทความ "เจาะลึกทักษะทางการเงินของชาวเหนือ" โดย ศรันยา อิรนพไพบูลย์ | นิรัชรา ปัญญาจักร | สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าประเทศไทยและภาคเหนือกำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมด้านต่าง ๆ อาทิ หนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคประชาชนในวงกว้าง ยิ่งเน้นย้ำความสำคัญของการมีทักษะทางการเงินซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันให้ประชาชนดูแลตนเองได้ ผลการสำรวจทักษะทางการเงิน1/ ปี 2565 พบว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะทางการเงินของชาวเหนืออยู่ที่ 70.3% ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศที่ร่วมทดสอบกับ OECD2/ ปี 2563 (60.5%) แต่ยังมีคะแนนเฉลี่ยน้อยสุดในทุกภูมิภาค จากด้านความรู้ทางการเงิน บทความนี้ขอนำเสนอระดับทักษะทางการเงิน การเงินดิจิทัล และการตระหนักรู้ภัยทางการเงิน เจาะลึกเฉพาะคนในภาคเหนือ และช่องทางในการเพิ่มทักษะทางการเงินผ่านโครงการส่งเสริมความรู้ต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ


1/ การสำรวจทักษะทางการเงินในไทย เริ่มตั้งแต่ ปี 2545 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรอบสำรวจทุก 2 ปี โดยใช้กรอบการสำรวจทักษะทางการเงินของ The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน โดยการสำรวจในปี 2565 ครอบคุลม 12,402 รายทั่วประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพฯ 6% ภาคใต้ 15% ภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพ) 29% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27% และภาคเหนือ 23%

หมายเหตุ จำนวนประชากรที่ตอบแบบสำรวจไม่สูงมาก และมีการกระจุกตัวของประชากรในบางกลุ่มอายุและระดับการศึกษา

2/ The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สมาชิกประกอบด้วย 38 ประเทศทั่วโลก

1. ระดับทักษะทางการเงินของชาวเหนืออยู่ตรงไหน ?

จากการสำรวจปี 2565 ชาวเหนือมีพัฒนาการของระดับทักษะทางการเงินดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 70.3% สูงขึ้นจากปี 2563 (67.9 %) ทั้งนี้ คะแนนเพิ่มขึ้นจากด้านความรู้ทางการเงินและพฤติกรรมทางการเงิน ขณะที่ทัศนคติทางการเงินปรับลดลง (รูปที่ 1)

financial literacy1

 

ซึ่งผลสำรวจนี้ หากเทียบระหว่างภูมิภาค ชาวเหนือมีระดับทักษะทางการเงินน้อยสุด โดยเฉพาะคะแนนความรู้ทางการเงิน เช่น เรื่องดอกเบี้ยทบต้น รวมถึง มูลค่าเงินตามกาลเวลา (เช่น 20 ปีก่อน ก๋วยเตี๋ยวชามละ 30 บาท ปัจจุบัน ก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 บาท) ที่น้อยกว่าภาคอื่นมาก ด้านคะแนนพฤติกรรมและทัศนคติทางการเงินของชาวเหนืออยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยประเทศ (รูปที่ 2) โดยปรับเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อเทียบกับภาคอื่น จึงควรส่งเสริมทักษะทางการเงินให้ครบทั้ง 3 ด้าน

financial literacy2
 
financial literacy3

 

2. ทักษะการเงินดิจิทัล และการตระหนักรู้เรื่องภัยทางการเงิน

จากการสำรวจ ทักษะการเงินดิจิทัล3/ ปี 2565 พบว่า ชาวเหนือมีความระมัดระวังการใช้สื่อโซเชียลดี โดยกว่า 71.3% ทราบว่า การแชร์หรือโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลบนโซเชียลเสี่ยงทำให้มิจฉาชีพนำข้อมูลไปใช้ ส่วนเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานยังมีส่วนน้อยที่ให้ความสำคัญ โดยมีเพียง 21.0% ที่เปลี่ยนรหัสผ่านการเข้าใช้งานระบบออนไลน์เป็นประจำ และ 29.9% ที่ตระหนักว่าการใช้ระบบไวไฟ (Wi-Fi) สาธารณะไม่ปลอดภัยสำหรับการซื้อของออนไลน์ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเทศมาก 


3/ การสำรวจทักษะการเงินดิจิทัล จัดทำขึ้นเป็นปีแรก จึงยังจำเป็นต้องติดตามพัฒนาการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องในการสำรวจครั้งต่อไป

 

financial literacy4
financial literacy5
financial literacy6

ปัจจุบันแนวโน้มภัยทางการเงินเปลี่ยนรูปแบบเป็นหลอกลวงออนไลน์มากขึ้น จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นควบคู่กับการพัฒนาทักษะการเงินดิจิทัล โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของการใช้งานข้อมูลออนไลน์ เพื่อให้ ...รู้ทันและรับมือ...ภัยทางการเงินที่พร้อมเข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ

financial literacy7

 4/ ภัยทางการเงินที่พบบ่อย จากการสำรวจภัยทางการเงินปี 2565

 

3. ข้อเสนอแนะในการยกระดับทักษะทางการเงินของชาวเหนือ

financial literacy10
financial literacy7
financial literacy9
 

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: