แอมเนสตี้ แถลงข่าวผลรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566

กองบรรณาธิการ TCIJ 21 ก.พ. 2567 | อ่านแล้ว 4893 ครั้ง

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2566

วันที่ 16 ก.พ. 2567 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2566 ห้องประชุม บ้าน (Barn) ชั้น 1 โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น จตุจักร กรุงเทพ 

โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ และภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน”

พุทธณี กางกั้น ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือน “แสงเทียน” ที่ฉายแสงส่องให้คนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเชิญชวนให้เราต่างบ่มเพาะความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น  จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น

ขณะที่ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิด ‘สื่อมวลชน’ คือฟันเฟืองสำคัญในการทำให้ความจริงปรากฎขึ้นอย่างรอบด้าน ไร้อคติ โดยยึดหลักจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน ที่ผ่านมาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังคงเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เพื่อทำให้ทุกคนได้รับอิสรภาพในการสื่อสาร ไม่ถูกข่มขู่ ไม่ถูกคุกคาม และได้รับการคุ้มครองอย่างดีที่สุด เพื่อช่วยกันทำให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของทุกคน

ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2564 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดโดย ผลการตัดสินมีดังนี้

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีข่าว ประเภทสื่อออนไลน์ 7 รางวัล ได้แก่

● ผลงานเรื่อง “สาวม้งยุคใหม่ใช้ TikTok แชร์ความทุกข์จากการทำงานหนักหลังแต่งงาน” สำนักข่าวประชาไท

● ผลงานเรื่อง “เหตุไฉน ‘สหภาพ’ ถึงยังเป็น ‘คำต้องห้าม’ ในวงการสื่อไทย?” สำนักข่าว HaRDstories

● ผลงานเรื่อง “จากเมียนมาถึงไทย: ‘แรงงานข้ามชาติ LGBTQ’ ยังคงเปราะบาง เมื่อต้นทางและโรงงานไม่ใช่ที่ปลอดภัย” สำนักข่าวประชาไท

● ผลงานเรื่อง “Traffickers escape justice over borders as victims go punished at home”  สำนักข่าว Coconuts Bangkok

● ผลงานเรื่อง “ ‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด’ สภาวะยกเว้นอย่างถาวรของผู้ต้องหาคดีการเมือง” The 101.world

● ผลงานเรื่อง “ 'กว่าจะได้เรียน' เด็กชายแดนไทย-เมียนมา ต้องผ่านอะไรบ้าง”  สำนักข่าวประชาไท

● ผลงานเรื่อง “เจนปรียา จำปีหอม ในความขื่นขมของเบอร์รี” สำนักข่าว The Isaan Record

 

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

2 รางวัล ได้แก่

● ผลงานชุด “นิติสงคราม หยุดด้วย นิติธรรมและนิรโทษกรรม” สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์

(ตอนที่ 1) อานนท์ นำภา ทนายความเปื้อนฝุ่น

(ตอนที่ 2) "ฟางเส้นสุดท้าย" ของวารุณี ชีวิตที่ต้องแลกอิสรภาพ

(ตอนที่ 3) น้ำตาสาวโรงงานสามีถูกขังจาก ม.112

(ตอนที่ 4) สกู๊ป หยุด นิติกรรมสงคราม ด้วย นิรโทษกรรม

 

● ผลงานชุด “ภัยคุกคามนักเคลื่อนไหวในอาเซียน” ThaiPBSWorld

(ตอนที่ 1) ย้อนเส้นทางนักเคลื่อนไหวชาวเวียดนามหายตัวในไทย

(ตอนที่ 2) สถานการณ์ความรุนแรงนักเคลื่อนไหวในอาเซียน

(ตอนที่ 3) ปมฆ่านักเคลื่อนไหวชาวลาว สะท้อน "เสรีภาพสื่อ"

(ตอนที่ 4) พบเบาะแส นักเคลื่อนไหวชาวลาวถูกยิง

(ตอนที่ 5) ความรุนแรงต่อนักเคลื่อนไหวในอาเซียน

 

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

1 รางวัล ได้แก่

● ผลงานเรื่อง “ ‘เขื่อนผันน้ำยวม’ กระทบชีวิตลุ่มน้ำสาละวิน?” สำนักข่าววันนิวส์

(ตอนที่ 1) "เขื่อนผันน้ำยวม" กระทบชีวิตลุ่มน้ำสาละวิน ?

(ตอนที่ 2) "เขื่อนผันน้ำยวม" ความหวังหล่อเลี้ยงชีวิตลุ่มน้ำเจ้าพระยา

 

รางวัลชมเชยสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

2 รางวัล ได้แก่

● ผลงานเรื่อง “ALONE ชานชราสุดท้าย”  รายการสามัญชนคนไทย Thai PBS

● ผลงานเรื่อง “เปิดปมข้อพิพาทที่ดินทับซ้อน ‘เมืองโบราณศรีเทพ’” รายการตัวจริงสนามข่าว  สถานีโทรทัศน์ Nation TV

 

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 1 รางวัล ได้แก่

● ผลงานเรื่อง “Digital Harassment – Silent Pain: แผลร้ายซ่อนลึกของนักกิจกรรม เมื่อถูกทำร้ายในโลกเสมือน” The 101.world

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 4 รางวัล ได้แก่

● ผลงานเรื่อง “เด็กเลวในสังคมแสนดี” สำนักข่าวไทยรัฐพลัส

● ผลงานเรื่อง “โลกสีหม่นของคนเป็นแม่” BrandThink

● ผลงานเรื่อง “Ain’t This Deserve Bail Rights?: อย่างนี้ไม่ควรได้ประกันตัว (หรือ?)” สำนักข่าวประชาไท

● ผลงานเรื่อง “ช้างล้น-คนตาย เสียงร่ำไห้จากป่าตะวันออก” สำนักข่าว VOICE

 

รางวัลที่ 1 ประเภทภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน”  ได้แก่

● ผลงานชุด " ‘จ้างวานข้า' ไร้บ้าน ไม่ไร้งาน" โดย ปฏิภัทร จันทร์ทอง สำนักข่าว VOICE

 

รางวัลที่ 2  ได้แก่

● ผลงานชุด "แก่ จน เจ็บ ชีวิตจริงกับความหวังถึงรัฐบาลใหม่" อานันท์ ชนมหาตระกูล

 

รางวัลที่ 3 ได้แก่

● ผลงานชุด "No Man’s Land ริมแม่น้ำเมย" เมธิชัย เตียวนะ The 101.world

 

รางวัลชมเชย 7 รางวัล ได้แก่

● ผลงานชุด "ติดอยู่ที่อ่างแก้ว" โดย คชรักษ์ แก้วสุราช Thisable.me

 

● ผลงานชุด “ ‘ลุงบู้' ผู้สร้างสังคมต้านยาเสพติดชุมชนกองขยะหนองแขม” โดย สมศักดิ์ เนตรทอง สถานีโทรทัศน์ PPTV HD 36

 

● ผลงานชุด “โมงยามสุดท้ายของโบสถ์จีนสามย่าน เศษซากปรักหักพังบนสายธารแห่งการพัฒนา” โดยธเนศ แสงทองศรีกมล

 

● ผลงานชุด "ชุมชนมิตรภาพริมรางรถไฟ" โดย วันนิษา แสนอินทร์

 

● ผลงานชุด "INHUMAN" โดย พัดยศ วิเศษสิงห์

 

● ผลงานชุด "พื้นที่การศึกษาของเด็กข้ามชาติ" โดย กอบบุญ บูรโชควิวัฒน์ The 101.world

 

● ผลงานชุด "การเดินทางของความหวังที่ยังไม่ถึงฝันในวันนี้" โดย ศุภสัณห์ กันณรงค์ The Reporters

 

พุทธณี กางกั้น กล่าวต่อว่าในปีนี้ยังจัดให้มีการพูดคุยในหัวข้อวงเสวนา “การนำเสนอข่าวไม่ใช่อาชญากรรม ( Journalism is not a crime)” โดยมีวิทยากรคือ เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการข่าวประชาไท ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และ ผศ.ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในตอนท้าย ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทำต่อไป และย้ำต่อทางการไทยว่า “การนำเสนอข่าวไม่ใช่อาญากรรม” พร้อมเรียกร้องให้เคารพเสรีภาพของสื่อ รวมทั้งต้องให้หลักประกันในการคุ้มครองนักข่าวจากการถูกข่มขู่ คุกคาม ปฏิบัติตามหลักนิติรัฐโดยใช้กฎหมายที่ชอบธรรม และคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ขอยืนหยัดเคียงข้างสื่อมวลชนในการทำงานเพื่อเปิดเผยข้อเท็จจริง และเป็นสักขีพยานต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: