ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินตลาด Food Delivery ปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง

กองบรรณาธิการ TCIJ 8 ก.พ. 2567 | อ่านแล้ว 1993 ครั้ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินตลาด Food Delivery ปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง

ศูนย์วิจัยกสิกร ประเมินตลาด Food Delivery ปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง เหตุราคาอาหารผ่าแอปพลิเคชันสูงขึ้น คาดปี 2567 มูลค่าตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566
 
ช่วงเดือน ก.พ. 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยแพร่บทวิเคราะห์ 'ตลาด Food Delivery ปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3452)' ชี้ว่าตลาด Food Delivery ปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2567 มูลค่าตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566
 
แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น (Price per Order) ประมาณ 2.8% จากค่าเฉลี่ยในปี 2566 หรือ มีราคาเฉลี่ยประมาณ 185 บาทต่อครั้งของการสั่ง ซึ่งจะมีผลตามมาต่อทั้งจำนวนครั้งและปริมาณการสั่งให้ลดลง
 
โดยในปี 2567 คาดว่า ปริมาณการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นหรือ Food Delivery น่าจะลดลงประมาณ 3.7% จากปี 2566 โดยเป็นผลจาก
 
1. ความจำเป็นในการสั่งผ่านแอปฯ ลดลง  ผู้บริโภคกลับไปทานอาหารที่ร้าน ตามการออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน และส่วนใหญ่ได้กลับมาทำงานเต็มสัปดาห์ตามปกติ

2. ราคาอาหารเฉลี่ยในแอปฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อปริมาณการสั่ง 

โดยในปี 2567 คาดว่าราคาอาหารเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2.2% ต่อเนื่องจากราคาเฉลี่ยที่ปรับขึ้นประมาณ 5.7% ในปี 2566 ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ส่วนหนึ่งมองว่าการสั่งอาหารจากแอปฯ มีราคาแพงขึ้น 
 
ทั้งนี้ แม้เทรนด์การสั่งอาหาร Food Delivery จะมีทิศทางที่ชะลอลง แต่อีกด้านหนึ่งช่องทางนี้ยังสำคัญ เนื่องจากยังมีผู้บริโภคจำนวนมากยังคงมีการใช้บริการ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่จำเป็นอย่างเวลาเร่งด่วน หรือ Work From Home เป็นต้น นอกจากนี้ ช่องทางนี้ก็มีความสำคัญต่อธุรกิจร้านอาหารที่มีสัดส่วนรายได้จาก Food Delivery สูงกว่าการให้บริการหน้าร้าน เช่น ร้านอาหารข้างทาง และร้านอาหารในกลุ่ม Fast Food
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: