กรมธนารักษ์ ทบทวนราคาประเมินที่ดิน 11 ล้านแปลง บังคับใช้รอบปี 70-74

กองบรรณาธิการ TCIJ 2 ก.พ. 2567 | อ่านแล้ว 2008 ครั้ง

กรมธนารักษ์ ทบทวนราคาประเมินที่ดิน 11 ล้านแปลง บังคับใช้รอบปี 70-74

กรมธนารักษ์ ทบทวนราคาประเมินที่ดิน 11 ล้านแปลง บังคับใช้รอบปี 2570-74 ระบุ ฐานเดิมช่วงโควิด-19 ขยับเพียงร้อยละ 2.7 ยอมรับ “แลนด์บริดจ์ ภาคใต้” ราคาอาจเพิ่มตามความเจริญ

ช่วงปลายเดือน ม.ค. 2567 สำนักข่าวไทย รายงานว่านายจำเริญ โพธิยอด อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า การประเมินราคาที่ดินของกรอมธนารักษ์รอบปัจจุบัน ใช้อ้างอิงเป็นฐานคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และใช้เป็นฐานภาษีธกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน ประจำปี 2566-69 ช่วงระยะเวลา 4 ปี โดยยังใช้ฐานราคาเดิมของปี 59-62 เนื่องจากเศรษฐกิจยังไม่ดี มีปัญหาโควิด-19 ทำให้ฐานราคาที่ดินยังไม่สูงมากนัก เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จึงต้องเริ่มประเมินฐานคำนวณใหม่ 11 ล้านแปลง เพื่อใช้เป็นฐานคำนวณช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ในปี 67-69 ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และต้องประเมินเพื่อเป็นฐานในปี 2570-74

ยอมรับว่าราคาประเมินที่ดินปี 2566-69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.93 ราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯ ราคาเพิ่มร้อยละ 2.76 ขณะนี้มีแพลทฟอร์กลาง เชื่อมโยงระหว่างกรมธนารักษ์และกรมที่ดิน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้ฐานราคาประเมินเมินอัตราเดียวกัน และใช้คำนวณเก็บภาษีที่ดินฯในท้องถิ่นทุกจังหวัด ขณะนี้กำลังตรวจสอบดูว่าการซื้อขายในตลาดของปี 66 แตกต่างจาก ราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ มากน้อยเพียงใด หากราคาตลาดห่างจากราคาประเมินเกินกว่าร้อยละ 15 มีอยู่หลายแปลง จึงต้องกลับมาทบทวนใหม่ 11 ล้านแปลงในทุก 3 ปี จากทั้งหมด 33.4 ล้านแปลง ทั่วประเทศ

“ยอมรับว่าราคาประเมินรอบปี 66 ปรับเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 2.7 ตามทำเลที่ได้รับความนิยมแตกต่างกัน เพื่อใช้จดจำนองและจ่ายธรรมเนียมการโอน เช่น ทำเลบริเวณสยามสแคว์ราคา 3.5 ล้านบาทต่อตารางวา ทำเล เพลินจิต ถ.วิทยุ 1 ล้านบาทต่อตาราวา หากทำเลใดซื้อขายเปลี่ยนมือกันมากขึ้น จะทบทวนใหม่ให้สอดคล้องกับตลาดปัจจุบัน จึงต้องประเมินราคาที่ดินใหม่ทุก 3 ปี ส่วนข้อเสนอภาคเอกชน ขอยืดเวลาเก็บภาษีทีดินฯร้อยละ 50 ออกไปอีก 1 ปี รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจ” อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าว

สำหรับการซื้อขายที่ดินเปลี่ยนมือก่อนปัญหาโควิด-19 มีการโอนประมาณ 7 แสนแปลง พอเกิดปัญหาโควิด-19 มีการโอนเปลี่ยนมือที่ดิน 3.4 แสนแปลง เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว จึงมีการซื้อขายเปลี่ยนมือน้อยลง ส่วนโครงการแลนด์บริดจ์ ภาคใต้ รัฐบาลกำลังผลักดัน ทั้งการเจรจาการลงทุนจากต่างชาติ การวางแผนก่อสร้าง ต้องประเมินว่า ใช้ที่ราชพัสดุจำนวนเท่าใด ต้องดูว่าก่อสร้างโครงการใดบ้าง ทั้งท่าเรือ ศูนย์กระจายสินค้า อาคารพาณิชย์ จุดพักริมทาง ตั้งอยู่จุดใด ยอมรับว่า ราคาที่ดินอาจขยับเพิ่มตามความเจริญในการพัฒนาโครงการขจนาดใหญ่ในแต่ละพื้นที่

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: