สตง. ตรวจสอบโครงการขุดบ่อบาดาล-สูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จ.อุบล ชี้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์

กองบรรณาธิการ TCIJ 25 ก.ย. 2566 | อ่านแล้ว 14955 ครั้ง

 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 5 (อุบลราชธานี) เผยรายงานตรวจสอบโครงการก่อสร้างขุดเจาะบ่อบาดาลและสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทำการตรวจสอบใน 10 อำเภอ ใน จ.อุบลราชธานี ของกลุ่มเกษตรกร จำนวน 51 กลุ่ม ชี้โครงการไม่สามารถไม่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ขาดการสำรวจออกแบบพื้นที่จริงจุดก่อสร้างหรือจุดติดตั้งระบบอยู่ต่ำกว่าพื้นที่การเกษตรของเกษตรกร ส่งผลให้แรงดันน้ำต่ำไม่สามารถส่งน้ำไปถึงพื้นที่เกษตรกรได้ หรือบางพื้นที่เป็นลานหินซึ่งยากต่อขุดฝังท่อเพื่อเชื่อมต่อระบบและนอกจากนี้ไม่ได้มีการทดลองการกระจายน้ำไปยังแปลงเกษตรของเกษตรกรรายอื่น

จากรายงาน การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการก่อสร้างขุดเจาะบ่อบาดาลและสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 5 (จังหวัดอุบลราชธานี) ระบุว่าด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศเกิดสภาวะชะงักงันและหดตัวต่อเนื่องจนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติการแพร่ระบาดและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินงานโครงการก่อสร้างขุดเจาะบ่อบาดาล และสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ตามบัญชีท้าย พ.ร.ก. ให้อ านาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 27,500,000.00 บาท มีเป้าหมายกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 51 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ จำนวน 10 อำเภอ (อำเภอเขมราฐ อำเภอเดชอุดม อำเภอตระการพืชผล อำเภอนาจะหลวย อำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอสิรินธร และอำเภอเหล่าเสือโก้ก)

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินการโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จึงเลือกตรวจสอบโครงการก่อสร้างขุดเจาะบ่อบาดาล และสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อทราบผลการดำเนินงานตลอดจนปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดผลสัมฤทธิ์ สามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภคตลอดจนช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จากการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการผลการตรวจสอบมีประเด็นข้อตรวจพบ จ านวน 1 ประเด็น และข้อสังเกตจากการตรวจสอบ จำนวน 1 ข้อสังเกต ดังนี้

ชี้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

ข้อตรวจพบที่ 1 : การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ จากการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการก่อสร้างขุดเจาะบ่อบาดาล และสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ของกลุ่มเกษตรกร จำนวน 51 กลุ่ม และมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งหมด จ านวน 490 ราย พื้นที่เข้า
ร่วมโครงการทั้งหมด 7,508 ไร่ ผลการตรวจสอบเป็นดังนี้

1. กลุ่มเกษตรกรมีการใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 47 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 92.16 ของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งระบบ จำนวน 4 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 7.84 ของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และจากผู้เข้าโครงการจ านวน 490 ราย มีผู้ใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 91 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.57 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 275.765 ไร่ เกษตรกรยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 399 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.43 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

2. เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร ประกอบด้วยการเพิ่มชนิดพืช เพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูก เพิ่มการเลี้ยงสัตว์ จากการใช้น้ำจากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.04ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีทั้งการเพิ่มชนิดพืชเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูก เพิ่มการเลี้ยงสัตว์ โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเพิ่มขึ้น จำนวน 158.39 ไร่ และเกษตรกรไม่สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ จำนวน 431 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.96 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ แม้ว่าเกษตรกรบางรายมีการใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แต่ไม่ได้ทำการเกษตรเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีข้อจ ากัดด้านแรงงาน ความพร้อมด้านเงินทุน

3. เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำจากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.12 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรกรไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำจากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 460 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.88 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ แม้เกษตรกรบางรายจะมีการเชื่อมต่อท่อน้ำเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบบ่อบาดาลแล้ว แต่ไม่ได้มีผลต่อการลดต้นทุน เนื่องจากการทำการเกษตรของเกษตรกรก่อนหน้าไม่มีค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำโดยอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ หรือบ่อบาดาลที่มีการติดตั้งแผงเซลล์อาทิตย์ หรือบ่อบาดาลแบบปั๊มโยก

4. เกษตรกรที่ใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 91 ราย มีปริมาณน้ำใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง จ านวน 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.74 ของเกษตรกรที่ใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และเกษตรกรมีปริมาณน้ำใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ ตลอดช่วงฤดูแล้ง จำนวน 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.26 ของเกษตรกรที่ใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบพลังงานแสงอาทิตย์

5. กลุ่มเกษตรกรทั้ง 51 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของกลุ่มเกษตรกรทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ ยังไม่มีการบริหารจัดการในลักษณะกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ชัดเจน ยังไม่กำหนดข้อบังคับหรือข้อตกลงหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการกลุ่มที่ชัดเจนตามระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ว่าด้วยการบริหารระบบน้ำบาดาลของกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาล พ.ศ. 2563

ชี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือการเกษตร

โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่ที่การดำเนินงานโครงการไม่สามารถไม่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ดังนี้

1. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือการเกษตร ในการคัดเลือกเกษตรกรส านักงานการปฏิรูปที่ดินไม่ได้ท าการตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรแต่ละรายว่ามีความพร้อมด้านแรงงาน งบประมาณ พื้นที่ที่จะใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะความพร้อมด้านงบประมาณที่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่แจ้งว่ายังขาดเงินทุนไม่พร้อมที่จะดำเนินการเชื่อมต่อท่อน้ำเข้ากับระบบ ทำให้ยังไม่มีการใช้ประโยชน์จากระบบ

2. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ขาดการสำรวจออกแบบพื้นที่จริงจุดก่อสร้างหรือจุดติดตั้งระบบอยู่ต่ำกว่าพื้นที่การเกษตรของเกษตรกร ส่งผลให้แรงดันน้ำต่ำไม่สามารถส่งน้ำไปถึงพื้นที่เกษตรกรได้ หรือบางพื้นที่เป็นลานหินซึ่งยากต่อขุดฝังท่อเพื่อเชื่อมต่อระบบและนอกจากนี้ไม่ได้มีการทดลองการกระจายน้ำไปยังแปลงเกษตรของเกษตรกรรายอื่น ซึ่งเกษตรกรบางรายมีความกังวลว่าปริมาณน้ำจะไม่เพียงพอและไม่สามารถส่งน้ าไปยังพื้นที่การเกษตรของตนเองได้

หากในอนาคตสมาชิกในกลุ่มมีจำนวนผู้ใช้น้ำมากขึ้นและมีการเปิดใช้น้ าเต็มระบบจึงยังไม่มีการลงทุนเชื่อมต่อท่อน้ำทำให้ยังไม่มีการใช้ประโยชน์จากระบบ

3. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ไม่ได้พิจารณาความเหมาะสมของสมรรถนะระบบบ่อบาดาลและสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้งานให้เหมาะสมกับสมรรถนะระบบบ่อบาดาลและสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น จ านวนเกษตรกรที่จะใช้ระบบพื้นที่ทำการเกษตร ระยะทางจุดติดตั้งไปยังแปลงเกษตร และประเภทการเกษตร ปศุสัตว์ การอุปโภคบริโภค ส่งผลให้เกษตรกรรายอื่นไม่สามารถใช้ประโยชน์และปริมาณน้ าไม่เพียงพอที่จะสามารถกระจายน้ำให้เกษตรกรรายอื่นได้

4. เกษตรกรไม่มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำทำให้ขาดการบริหารจัดการน้ำให้ทั่วถึงเพียงพอกับสมาชิกทุกราย

5. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ขาดการสร้างความรู้ความเข้าใจ สนับสนุนส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และขาดการติดตามประเมินผลโครงการ ทำให้ไม่รับทราบปัญหาและผลการดำเนินงานที่แท้จริง จึงไม่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้

ซึ่งการดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ส่งผลให้การใช้จ่ายงบประมาณจำนวน 27,460,000.00 บาท ไม่คุ้มค่า เนื่องจากมีผู้ใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพียง 91 ราย จากทั้งหมด 490 ราย และมีพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพียง 275.765 ไร่ เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 7,508 ไร่ มีพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ เพียงร้อยละ 3.67 ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด การดำเนินงานขาดประสิทธิผล โดยผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไม่เพิ่มขึ้น เกษตรกรไม่สามารถลดต้นทุนในการผลิตลงได้ และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรได้ โดยยังมีเกษตรกรที่ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอในการใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภคในตลอดช่วงฤดูแล้ง และกลุ่มเกษตรกร จ านวน 4 กลุ่มที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์จากบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และเสียโอกาสกลุ่มเกษตรกรอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ มูลค่า 2,153,725.48 บาท รวมทั้งส่งผลให้การดำเนินงานโครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงานฯสร้างงาน สร้างอาชีพ และการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐไม่เกิดความคุ้มค่าในการกระตุ้นเศรษฐกิจเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ และกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไม่มีรายใดที่เป็นกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงาน เนื่องด้วยการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: