แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มอบรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2565

กองบรรณาธิการ TCIJ 15 ก.พ. 2566 | อ่านแล้ว 5363 ครั้ง

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มอบรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2565

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565” (Media Awards 2022) เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565” (Media Awards 2022) ณ ห้องกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล กรุงเทพ

โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ และภาพถ่ายในหัวข้อ Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน และ Hope” ประเภทบุคคลทั่วไป

ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือน “แสงเทียน” ที่ฉายแสงส่องให้คนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน  และเชิญชวนให้เราต่างบ่มเพาะความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น  จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสื่อในการเป็นแนวหน้าของการติดตามถกเถียงประเด็นสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป ในส่วนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ต้องได้รับการคุ้มครอง ไม่ให้ถูกข่มขู่และคุกคาม

ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีข่าว ประเภทสื่อออนไลน์ 6 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานชุด “ทวงคืนความยุติธรรม วาฤทธิ์ สมน้อย ต้องไม่ตายฟรี”

สำนักข่าวออนไลน์ Decode

  • ผลงานเรื่อง “การเดินทางไกล 1,079 กิโลเมตรเพื่อทวงคืนน้ำพริกปลาทู”

สำนักข่าวออนไลน์ HaRDstories

  • ผลงานเรื่อง “ ‘เรามีหวังเสมอว่าจะได้กลับบ้าน’ เสียงจากริมน้ำเมย ชะตากรรมที่เลือกไม่ได้ของผู้หนีภัยกะเหรี่ยง” เว็บไซต์ 101.world
  • ผลงานเรื่อง “ ‘เด็กขายนมเปรี้ยวกลางแยกไฟแดงความน่าสงสารหรือช่องทางธุรกิจ”

สำนักข่าว The Isaander

  • ผลงานเรื่อง “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของการอุ้มซ้อมทรมาน แต่เราหวังว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในชายแดนใต้” สำนักข่าวออนไลน์ The Momentum
  • ผลงานชุด The Price of Freedom | ราคาแห่งเสรีภาพ” สำนักข่าวประชาไท

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานชุด "28 ปี เหมืองดงมะไฟ รอยเลือดและคราบน้ำตา" สถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

3 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานชุด “ขยายผลคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา จากกรณี พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ปรากฏตัว” สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36
  • ผลงานชุด “ทวงยุติธรรมคืนผืนป่า” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  • ผลงานเรื่อง “ปิดล้อม วิสามัญฯ สันติภาพใต้รางเลือน” สถานีโทรทัศน์ Nation TV

รางวัลดีเด่นสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง “ผันน้ำแม่ยวม (ไม่) แก้แล้ง” รายการรู้สู้ภัย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

รางวัลชมเชยสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

2 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง "กาก...เศษซากจากอุตสาหกรรม”  รายการรู้สู้ภัย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  • ผลงานเรื่อง “มลายูปาตานี” รายการสารตั้งต้น สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 2 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง SUNSET WITH BENJA” โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
  • ผลงานเรื่อง From Trojan Horse to Pegasus: When the Big Brother is watching you” เว็บไซต์ 101.world

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 5 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง “ชุมชนตึกร้าง 95/1 หลากชีวิตบนซากคอนกรีต” เว็บไซต์ 101.world
  • ผลงานเรื่อง “ ‘สุนทรีย์มลายู’ เมื่อความฝันกับสิ่งที่ศรัทธา ต้องยืนอยู่บนเส้นทางเดียวกัน” สำนักข่าวออนไลน์ The Momentum
  • ผลงานเรื่อง “ดวงตามืดมิด ชีวิตมืดมน คุยกับ บุญสม ปิ่นสุวรรณ หญิงข้ามเพศตาบอดที่มีเชื้อ HIV” สื่อออนไลน์ SPECTRUM
  • ผลงานเรื่อง  “ปิศาจในสังคม: 6 ตุลาของฝ่ายขวา และความเปลี่ยนแปลง”

เว็บไซต์ WAY Magazine

  • ผลงานเรื่อง  “ ‘ให้เราเอาบาปไปคุยกับพระเจ้าเอง’ ฟังเสียง LGBTQ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม” สำนักข่าวออนไลน์ The MATTER

รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย เมธิชัย เตียวนะ จากเว็บไซต์ 101.world

รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 4 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช จากสำนักข่าวไทยออนไลน์
  • ผลงานโดย ณัฐพล โลวะกิจ จาก SPACEBAR
  • ผลงานโดย ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ จาก SPACEBAR
  • ผลงานโดย ปฏิภัทร จันทร์ทอง ว๊อยซ์ออนไลน์

รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ จาก SPACEBAR

รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย ศุภสัณห์ กันณรงค์

รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 4 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย วิหาร ขวัญดี
  • ผลงานโดย ศิริพงศ์ ปทุมอครินทร์
  • ผลงานโดย ชนากานต์ เหล่าสารคาม
  • ผลงานโดย ฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ

รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานโดย ศุภสัณห์ กันณรงค์

ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล กล่าวต่อว่าในปีนี้ยังจัดให้มีการพูดคุยในหัวข้อ Voice of Rights: เสียงจากชาวประมง คนรุ่นใหม่ สื่อสำคัญมากแค่ไหน ในวันที่ประชาชนลุกขึ้นส่งเสียงเพื่อทวงถามความยุติธรรมและเสรีภาพ”  โดยเบนจา อะปัญ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ และวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย สองคนต้นเรื่องของผลงานที่ได้เข้าชิงรางวัลในปี 2565

ในตอนท้าย ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทำต่อไป

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: