เปิดรายละเอียดโครงการชดเชยชาวไร่อ้อยเพิ่มประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหา PM 2.5

กองบรรณาธิการ TCIJ 13 มิ.ย. 2565 | อ่านแล้ว 7723 ครั้ง

เปิดรายละเอียด 'โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565-2567'

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ 'โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565-2567' โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยใหกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 ) ปี 2565 - 2567 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท ดังนี้

1.1 กำหนดระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นตามโครงการ โดยแยกตามวัตถุประสงค์การกู้เงิน หากกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งโดยการพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบการให้น้ำและเพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 6 ปี และหากกู้เงินเพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 8 ปี

1.2 ให้รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ย โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการ ดังนี้

1.2.1 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการสำหรับเกษตรกรรายคน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี คิดจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลชดเชยร้อยละ 3 ธ.ก.ส. รับภาระร้อยละ 1.50 ต่อปี)

1.2.2 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการสำหรับกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร หรือสถาบันชาวไร่อ้อย หรือกลุ่มบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี คิดจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลชดเชยร้อยละ 2         ธ.ก.ส. รับภาระร้อยละ 0.875 ต่อปี)

1.2.3 กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ วัตถุประสงค์เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ประเภทรถบรรทุกและพ่วงบรรทุก ให้เรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี รัฐบาลไม่ต้องชดเชยดอกเบี้ยในส่วนนี้ และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (เดิม ธ.ก.ส. รับภาระร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตรา MLR  - 1)

2. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปี 2565 - 2567 ให้กับ ธ.ก.ส. จำนวน 789.75 ล้านบาท

สาระสำคัญของเรื่อง

อก. รายงานว่า

1. อก. โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ร่วมกับ ธ.ก.ส. สถาบันชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาล ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ได้แก่ โครงการฯ ปี 2559 - 2561 และปี 2562 - 2564 โดยโครงการดังกล่าวเป็นการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยบางส่วนให้ ธ.ก.ส. และมีโรงงานน้ำตาลเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ (1) การพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร้อ้อย (เช่น การขุดบ่อสระกักเก็บน้ำ การสร้างระบบส่งน้ำ เป็นต้น) และการปรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร และ (2) การจัดซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตร (เช่น รถตัดอ้อย รถแทรกเตอร์ และรถบรรทุกอ้อย เป็นต้น) อันจะเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยครบวงจร สนับสนุนการจัดหาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดภัยแล้ง ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในไร่อ้อย โดยโครงการทั้งสองโครงการได้มีการจ่ายเงินกู้จนสิ้นสุดระยะเวลาจ่ายเงินกู้แล้ว มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

กิจกรรม

ผลการจ่ายเงินกู้โครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร

โครงการฯ ปี 2559 -2561

โครงการฯ ปี 2562 - 2564

1. การพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย

สัญญา            592     สัญญา

ต้นเงิน        118.00     ล้านบาท

สัญญา            856     สัญญา

ต้นเงิน        135.97     ล้านบาท

2. การปรับพื้นที่ปลูกอ้อย

(เฉพาะโครงการฯ ปี 2562 - 2564)

-

สัญญา            21      สัญญา

ต้นเงิน         19.12      ล้านบาท

3. การจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรยกเว้นรถแทรกเตอร์และรถบรรทุกอ้อย (เช่น รถตัดอ้อย รถคีบอ้อย เป็นต้น)

สัญญา            394     สัญญา

ต้นเงิน      2,679.44     ล้านบาท

สัญญา            751     สัญญา

ต้นเงิน     3,770.33      ล้านบาท

4. การจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรประเภทรถแทรกเตอร์และรถบรรทุกอ้อย

สัญญา            665     สัญญา

ต้นเงิน        818.20     ล้านบาท

สัญญา            470     สัญญา

ต้นเงิน        653.58     ล้านบาท

รวม

สัญญา          1,651     สัญญา

ต้นเงิน      3,615.64    ล้านบาท

(ร้อยละ 40.17 ของเป้าหมาย)

สัญญา          2,098     สัญญา

ต้นเงิน      4,579.00    ล้านบาท

(ร้อยละ 76.32 ของเป้าหมาย)

เป้าหมายโครงการ

ต้นเงิน 9,000.00 ล้านบาท

(ปีละ 3,000.00 ล้านบาท)

ต้นเงิน 6,000.00 ล้านบาท

(ปีละ 2,000.00 ล้านบาท)

ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้

6 กันยายน 2559 -

30 กันยายน 2561

19 กรกฎาคม 2562 -

30 กันยายน 2564

2. อก. เห็นว่า ควรมีการดำเนินโครงการในรูปแบบดังกล่าวข้างต้นต่อเนื่องเป็นระยะที่ 3 อีก 3 ปี ปี 2565 - 2567 เนื่องจากในปัจจุบันและอนาคตอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายยังมีความจำเป็นต้องมีแหล่งเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพื่อจัดหาแหล่งน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลนในการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย การปรับพื้นที่การปลูกอ้อยมุ่งสู่เกษตรแปลงใหญ่ การจัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรเพื่อทดแทนแรงงาน การส่งเสิรมการตัดอ้อยสดเพื่อให้ได้อ้อยสดคุณภาพดี และการลดอ้อยไฟไหม้เพื่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และได้เปลี่ยนชื่อโครงการจาก เดิม “โครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร” เป็น “โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปี 2565 - 2567” เพื่อให้เกิดความชัดเจนและตรงตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ โดยมีรูปแบบการดำเนินโครงการในหลักการเช่นเดียวกับโครงการที่ได้เคยดำเนินการมาแล้วในปี 2559 - 2561 และปี 2562 - 2564 สรุปได้ ดังนี้

2.1 เป้าหมาย

จัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้ในการปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการการเตรียมพื้นที่ การเตรียมดิน การปลูกอ้อย การบำรุงรักษา การตัดอ้อย การขนอ้อยส่งโรงงานและการนำใบอ้อยไปใช้ประโยชน์ ในระยะเวลา 3 ปี วงเงินสินเชื่อปีละ 2,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2567

2.2 วัตถุประสงค์การกู้เงินและวงเงินกู้ โดยวงเงินกู้แต่ละรายเมื่อรวมทุกวัตถุประสงค์แล้ว ต้องไม่เกิน 38.05 ล้านบาท

2.2.1 เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย รายละไม่เกิน 500,000 บาท ได้แก่ (1) การขุดบ่อสระกักเก็บน้ำ (2) การเจาะบ่อบาดาล (3) การจัดทำระบบน้ำ (4) การจัดซื้อเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ให้น้ำในไร่อ้อย และ (5) การรวมกลุ่มสร้างหรือพัฒนาปรับปรุงระบบการส่งน้ำ โดยการรวมกลุ่มชาวไร้อ้อยและโรงงานน้ำตาลเป็นผู้เสนอในรูปแบบของโครงการ

2.2.2 เพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร รายละไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราไม่เกินไร่ละ 2,500 บาท

2.2.3 เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร

(1) รถตัดอ้อย รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท

(2) รถคีบอ้อย รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท

(3) รถแทรกเตอร์ รายละไม่เกิน 6 ล้านบาท

(4) อุปกรณ์ส่วนควบ (เช่น เครื่องสางใบอ้อย เครื่องกวาดใบอ้อย เป็นต้น) รายละ 50,000 บาท - 5 ล้านบาท ตามวงเงินที่กำหนดไว้ในแต่ละรายการ

(5) รถบรรทุกและพ่วงบรรทุก รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท

ทั้งนี้ มีเงื่อนไขวงเงินกู้ที่กำหนดไว้เพิ่มเติมด้วย เช่น รถตัดอ้อยใหม่ขนาดใหญ่ วงเงินกู้ไม่เกิน 15 ล้านบาท รถตัดอ้อยเก่าขนาดเล็ก วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท

2.3 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

2.3.1 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการสำหรับเกษตรกรรายคน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ

(ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี คิดจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลชดเชยร้อยละ 3 ธ.ก.ส. จึงรับภาระร้อยละ 1.50 ต่อปี)

2.3.2 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการสำหรับกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร หรือสถาบันชาวไร่อ้อย หรือกลุ่มบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ

(ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR เท่ากับรอยละ 4.875 ต่อปี คิดจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลชดเชยร้อยละ 2 ธ.ก.ส. จึงรับภาระร้อยละ 0.875 ต่อปี)

2.3.3 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้วัตถุประสงค์เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ประเภทรถบรรทุกและพ่วงบรรทุก ให้เรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี รัฐบาลไม่ต้องชดเชยดอกเบี้ยในส่วนนี้ และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (เดิม ธ.ก.ส. รับภาระร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตรา MLR - 1)

2.4 วงเงินสินเชื่อจากเงินทุนของ ธ.ก.ส.

วงเงิน 2,000 ล้านบาทต่อปี ระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท โดยให้โรงงานน้ำตาลเป็นผู้ค้ำประกันลูกค้าผู้กู้แต่ละรายเต็มวงเงินกู้

2.5 ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้

2.5.1 วัตถุประสงค์การกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยการพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบการให้น้ำ และเพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 6 ปี

2.5.2 วัตถุประสงค์การกู้เงินเพื่อการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 8 ปี

2.6 ระยะเวลาดำเนินการ

2.6.1 ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 3 ปี

วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2567

2.6.2 ระยะเวลาดำเนินโครงการ

วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2575

2.6.3 ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้

8 ปี โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ นับแต่วันรับเงินกู้ แต่ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2575

2.7 งบประมาณ

กรอบงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการให้กับ ธ.ก.ส. 789.75 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ย และให้ ธ.ก.ส. ขอรับจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: