'KKP Research' ชี้ 'คริปโตเคอร์เรนซี' ขาดคุณสมบัติของเงิน-ไม่เอื้อการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ

กองบรรณาธิการ TCIJ 10 ต.ค. 2565 | อ่านแล้ว 2889 ครั้ง

KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจกำรเงินเกียรตินำคินภัทร ออกรายงานบทวิเคราะห์ 'คริปโตเคอร์เรนซีนำมาใช้แทนเงินได้จริงหรือ?' ชี้ 'คริปโตเคอร์เรนซี' ขาดคุณสมบัติของเงิน มีข้อจำกัดในการได้รับการยอมรับ และไม่เอื้อการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ระบบที่ไม่มีผู้ดูแลเสถียรภาพทางการเงินจะไม่สามารถสร้างความมั่นใจในระบบการเงินในยามวิกฤต การขาดบทบาทของนโยบายการเงินอาจทำให้ปัญหาลุกลามไปสู่เสถียรภาพระบบการเงินของประเทศได้ | ที่มาภาพประกอบ: mpsm.gob.pe

เมื่อช่วงปลายเดือน ก.ย. 2565 KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจกำรเงินเกียรตินำคินภัทร ได้ออกรายงานบทวิเคราะห์ 'คริปโตเคอร์เรนซีนำมาใช้แทนเงินได้จริงหรือ?' พบข้อค้นพบที่สำคัญ คือ

- แม้ว่าหลายคนมองว่าบิตคอยน์และคริปโตเคอร์เรนซีอาจจะเข้ามาทำหน้าที่แทนเงินที่ออกโดยธนาคารกลางได้ในอนาคต แต่ในทางเศรษฐศาสตร์ยังมีคำถามสำคัญอีกมากที่บิตคอยน์และคริปโตเคอร์เรนซีจำเป็นต้องตอบ และยังมีอีกหลายเหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะสามารถมาแทนที่สกุลเงินในปัจจุบันได้ทั้งหมด

- การเปลี่ยนระบบ “เงิน” จากยุคปัจจุบันไปสู่คริปโตเคอร์เรนซี แม้จะดูเป็นเรื่องที่สวยหรูและมีการใช้เทคโนโลยีที่อาจเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบเงินที่ออกโดยเอกชน และมีจำกัดปริมาณเงินให้คงที่เพื่อรักษามูลค่า เป็นระบบที่มีความไม่มั่นคงสูงและขาดกลไกในการรองรับหากเศรษฐกิจเจอความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ไม่ได้คาดคิด

- ในทางทฤษฎี หากทุนคนยอมรับให้บิตคอยน์ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ก็มีความเป็นไปได้ที่บิตคอยน์จะมีความผันผวนลดลงและสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องรักษามูลค่าได้ และอาจพาเศรษฐกิจเข้าสู่จุดดุลยภาพที่มีบิตคอยน์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนผ่านจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันไปสู่จุดนั้นต้องเจอกับอุปสรรคจาก 1) ต้นทุนธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อขนาดของระบบใหญ่ขึ้น 2) ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สกุลเงินอื่นทดแทน 3) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มูลค่าของบิตคอยน์ลดลง 4) การแข่งขันในตลาดของสกุลเงินอาจไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 5) รัฐบาลหลายประเทศในโลกไม่ยอมรับให้เป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

- การมีอยู่ของคริปโตเคอร์เรนซี แม้ว่าจะเป็นในรูปของสินทรัพย์ทดแทนจะเป็นอีกแรงกดดันกดดันให้ภาครัฐจำเป็นจะต้องคำนึงถึงว่า เงินสาธารณะ (public money) ที่ดีควรจะเป็นเช่นไร และทำนโยบายการเงินที่สอดคล้องต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไม่ใช่นโยบายประชานิยมหรือการพิมพ์เงินที่มากเกินไป

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://media.kkpfg.com/document/2022/Sep/KKP_Research%20-%20Can_Cryptocurrency_be_Money.pdf

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: