โควิด-19: เสียงสะท้อนความต้องจากชุมชนสิทธิความหลากหลายทางเพศ (LGBTQAN+)

พัชรพร ศุภผล | 7 พ.ค. 2564 | อ่านแล้ว 3164 ครั้ง


การเข้าถึงวัคซีน COVID-19 สำหรับทุกคน เสียงสะท้อนความต้องจากชุมชนที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศ (LGBTQAN+)

 

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “การเข้าถึงวัคซีน COVID-19 สำหรับทุกคน” โดยองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ (LGBTQAN+) ได้แก่ มูลนิธิแอพคอมร่วมกับองค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน องค์กร V-Day Thailand  มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ - SWING, เครือข่ายสุขภาพและโอกาส (HON), Bangkok rainbow  และอีกหลายองค์กร ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) สร้างความความตระหนักในประเด็นบริบทและท้าทายที่ชุมชนความหลากหลายทางเพศกำลังเผชิญ ในสภาวะที่มีการระบาดของ covid 19 (2) สะท้อนเสียงและความต้องการของชุมชนความหลากหลายทางเพศสังคมได้รับรู้และเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมในแก้ไขปัญหานี้ (3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะต่อสังคมในเรื่อง ความเป็นธรรมในการเข้าถึง วัคซีน COVID-19 สำหรับทุกคน

ผู้เสวนา ซึ่งเป็นตัวแทนจากองค์กรร่วมจัด ล้วนเป็นคนที่ทำงานในประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศ อย่างมีความทับซ้อน (Intersectionality)กับอัตลักษณ์ที่ถูกทำให้เป็นชายขอบต่างๆ  เช่น พนักงานบริการ - Sex Worker กลุ่มที่อยู่ร่วมกับ HIV และชนเผ่าพื้นเมืองที่มีสถานะไร้สัญาติ ฯลณ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางต่อการถูกเลือกปฏิบัติและถูกกีดกันให้ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและ/หรือการแก้ไขปัญหาในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เผชิญอยู่  จึงนับว่าการเสวนาในครั้งนี้มีคุโณปการอย่างยิ่งต่อสังคม เพราะได้สะท้อนเสียง ความต้องการ ตลอดจนข้อเสนอแนะในเรื่องของความเป็นธรรม ในการเข้าถึงวัคซีน COVID -19 สำหรับทุกคน

บริบท เสียงสะท้อนความต้องการ และข้อเสนอแนะเรื่องการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19

โครงการข้อมูล เสียงสะท้อนจากชุมชน

การระบาดของ Covid -19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกคนในประเทศ ต่อทุกสาขาอาชีพ แต่กลับมีประชากรบางกลุ่มที่ไม่มีโอกาสได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การเยียวยา การบริการสาธารณสุขและการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ซึ่งคุณกสินธร หงส์ลาวัณย์ จากมูลนิธิแอพคอม ได้เปิดเผยข้อมูลจากโครงการข้อมูล ที่ได้สำรวจผลกระทบของโควิค 19 กับกลุ่มประชากร  ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชายรักชาย คนข้ามเพศ ผู้ขายบริการทางเพศ แรงงานข้ามชาติและผู้ที่ติดเชื้อ hiv  ได้เข้าร่วมทำแบบสอบถาม 1,430 คน เป็นผู้ที่ติดเชื้อ hiv อยู่ 838 ราย แล้วก็เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศอยู่ 81.61% คุณกสินธรกล่าวว่า “เกือบครึ่งนึงของผู้ทำแบบสอบถาม ว่างงาน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับข้อมูลของกรมสถิติของประเทศไทยที่มีผู้ตกงานอยู่ว่างงานอยู่ประมาณ 1-2% ในช่วงเวลาล็อคดาวน์ของปีที่แล้ว จะเห็นได้ว่ากลุ่มประชากรของเรามีอัตราว่างงานสูงกว่าสูงกว่าสถิติของประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว  ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบทางด้านรายได้ 93.08% ซึ่งคือเกือบทั้งหมดได้รับผลกระทบทางด้านรายได้ เกินครึ่งไม่ได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินกับทางภาครัฐ” นี่คือปัญหาที่คุณกสินธรสะท้อน นอกจากนี้ในกลุ่มประชากรซึ่งรวมผู้ติดเชื้อ HIV ด้วยนั้น ยังมีมิติปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือต่างจากผู้อื่นคือ การเข้าถึงบริการที่เกี่ยวกับ HIV เช่นการตรวจรับยา Prepหรือยาต้านไวรัสในช่วงเวลาในช่วงเวลาล็อคดาวน์ หรือการรับยาต้านไวรัสนอกสิทธิ์โรงพยาบาลที่ตัวเองรักษาอยู่ ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบไปถึงความรุนแรงทางด้านร่างกาย จิตใจ 

“หากไม่มีแผนวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและยังต้องมีการล็อคดาวน์ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 ที่ 6 ต่อไปเรื่อย ๆ การที่ต้องทุกคนต้องอยู่ในสถานที่ปิดเป็นระยะเวลานานก็เกิดความเครียดสะสมได้ ทำให้เกิดความรุนแรงต่อกลุ่มประชากรได้” เสียงสะท้อนจากคุณกสินธรต่อกรณีการเข้าถึงวัคซีนสำหรับทุกคน

มิดไนท์  พูนเกษตรวัฒนา ผู้อำนวยการมูลนิธิ APCOM กล่าว การทำงานขององค์ APCOM ทำงานในระดับภูมิภาค เป็นเวลา 13 ปี ครอบคลุมกว่า 35 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก  ในประเด็นการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 สำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะองค์กรที่ทำงานกับชุมชนที่มีความหลากหลายทางเพศ วันนี้นอกจากเราจะได้สะท้อนความต้องการของชุมชน ในเรื่องความเท่าเทียม ในการเข้าถึงโอกาส ในการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ในอนาคต  ซึ่งนี่เอง ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนนำร่องโครงการหนึ่ง ที่สามารถจะทำให้องค์กรต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องนี้ และเข้ามามีส่วนร่วมกันมากขึ้น ซึ่งเราสามารถผลักดันได้ทั้งในระดับประเทศ อย่างเชื่อมโยงกับเครือข่ายในระดับภูมิภาค

เช่นเดียวกันประเด็นพนักงานบริการ - Sex Worker เป็นอีกหนึ่งอาชีพสำคัญที่เป็นฐานรากสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ปฏิเสธไม่ได้ว่ารายได้สำคัญของประเทศมาจากภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและสถานบันเทิง ซึ่งพนักงานบริการ-Sex worker เหล่านี้มีส่วนร่วมอย่างมากในห่วงโซ่ธุรกิจ กลับไม่ถูกยอมรับให้เป็นอาชีพ และถูกตีตราว่าเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมาย ไร้สวัสดิการ และกฎหมายคุ้มครอง  ในการระบาดของ Covid 19  ซึ่งคุณ ซีซ่า หรือ นพนัย ฤทธิวงศ์ จากมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ Swing Thailand  กล่าวถึงการถูกละเลยของอาชีพ Sex worker ว่า เราอย่าลืมว่าสถานบริการทางเพศเป็นสถานที่แรกที่ถูกปิดและเป็นสถานที่สุดท้ายที่ถูกให้เปิดเมื่อโควิดระบาด ซึ่ง sex worker ก็เป็นแรงงานที่ต้องตกงานและลำบาก ซึ่งวันนี้เป็นวันแรงงานแต่ sex worker ก็ยังคงไม่ได้ทำงานซึ่งหยุดยาวมาตั้งแต่ล็อคดาวน์รอบที่ 1 รอบที่ 2 และปัจจุบันก็ยังคงไม่ได้ทำงาน คุณซีซ่ายังกล่าวต่อไปด้วยว่า Sex worker บางคนกลายการเป็นคนไร้บ้านในทันทีของการระบาดของโควิดในรอบที่ 3 นี้

ด้านคุณเอก สมชัย พรหมสมบัติ จากมูลนิธิเดอะพอสโฮม เซ็นเตอร์ ได้สะท้อนปัญหาของกลุ่มผู้อยู่ร่วมกับ HIV ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กันและกลุ่มผู้อยู่ร่วมกับ HIV ก็เผชิญกับปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ นี่สะท้อนว่าปัญหา (COVID 19) ที่มันเกิดขึ้นนี้ ผลกระทบจึงไม่ใช่ส่งเฉพาะแค่กลุ่มหรือคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ว่ามันจะรวมทุกกลุ่มประชากรทั้งหมด นี่เองจึงเชื่อว่ากลุ่มประชากรทั้งหมดมีเจตนาเดียวกันมีประสงค์เดียวกันก็คือเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและรายได้และสุดท้ายคือความการเข้าถึงมาตรการเยียวยาของภาครัฐอย่างเท่าเทียม ส่วนในเรื่องการเข้าถึงวัคซีน โควิด 19 คือต้องได้รับครบทุกคน 

ชนเผ่าพื้นเมืองไร้สัญชาติ - ผู้เผชิญทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และผลกระทบจากสงครามชายแดนไทย - พม่า - รัฐกะเหรี่ยง

อีกกลุ่มที่เผชิญกับทั้งกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และผลกระทบจากสงครามชายแดนไทย - พม่า - รัฐกะเหรี่ยง คือ ชนเผ่าพื้นเมืองไร้สัญชาติ ซึ่งคุณมัจฉา พรอินทร์  ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งองค์กรสร้างสรรค์เยาวชน และผู้ประสานงานองค์กร V- Day ประเทศไทย ซึ่งทำงานด้านสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองและความเป็นธรรมทางเพศ ได้ออกมาสะท้อนเสียงของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองให้พวกเราฟังว่า

พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยถูกเลือกปฏิบัติในมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความแตกต่าทางบริบทเ ความเป็นมา ซึ่งไม่ถูกรับรู้อย่างรอบด้านในสังคมไทย ส่งผลให้ไม่ได้รับหารปกป้องคุ้มครอง แต่กลับถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้งประเทศไทยไม่ได้นิยามชนเผ่าพื้นเมือง ไว้ในกฎหมายใดๆ เหล่านี้ส่งผลถึงการ ไม่มีสิทธิบนที่ดิน การไม่สามารถที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงวิถีชีวิต ซึ่งหมายถึงทั้งหมดในการมีการดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่าในสังคม เป็นต้น”

ปัญหาชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยในปัจจุบันยังรวมถึงภาวะที่ต้องเผชิญกับผลกระทบจากสงครามชายแดน ที่มีการปะทะกันของกองกำลังกะเหรี่ยงและกองกำลังทหารพม่า เมื่อผนวกกับสถานการณ์ Covid 19 ก็ยิ่งทำให้พี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะที่มีสถานะไร้สัญชาติอยู่อย่างยากลำบาก ที่ต้องอพยพออกจากชุมชนไปอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวที่รัฐจัดให้ ซึ่งคุณมัจฉาสะท้อนให้เราฟัง สรุปได้ว่า ผลกระทบจาก Covid 19และความต้องการของชนเผ่าพื้นเมืองไร้สัญชาติ ดังนี้

มิติที่ 1 การเข้าไม่ถึงข้อมูลเกี่ยวกับ Covid 19 ได้อย่างรอบด้าน ทั้งในส่วนของข้อมูลพื้นฐาน ไปจนถึงข้อมูลที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์ ที่คำนึงถึงบริบทชนเผ่าพื้นเมือง นี่ยังไม่นับเข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ เพราะการมีเงื่อนไขและต้องใช้แอฟพลิเคชั่นต่างๆ สิ่งเหล่านี้กีดกันทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองเข้าไม่ถึงทั้งข้อมูล การช่วยเหลือและเยียวยาจากภาครัฐ โดยเฉพาะการใช้เงื่อนไขการมีบัตรประชาชน นี่ทำให้คนชนเผ่าพื้นเมืองไร้สัญชาติถูกเลือกปฏิบัติซ้ำซ้อน

ข้อเสนอแนะคือ รัฐต้องคำนึงถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และต้องเอื้อให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลที่รอบด้าน โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยเฉพาะมิติเรื่องข้อมูล การเยียวยา รวมถึงเรื่องวัคซีนโควิด 19 ด้วย

มิติที่ 2 การเข้าไม่ถึงอุปกรณ์ทั่วไปในการป้องกันโควิด 19 และมาตรการการป้องกันโควิด 19 ที่มีประสิทธิภาพ เ ช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอลล์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองยังเข้าไม่ถึง และมีราคาแพง ซึ่งข้อเสนอคือ รัฐควรจัดให้อุปกรณ์ป้องกันโควิด 19 ฟรีให้ทุกชุมชน ชนเผ่าพื้นเมือง

 ในส่วนมาตรการและนโยบายต่าง ๆ เช่น การออกมาตรการล็อคดาวน์ การกักตัว ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ในบริบทชุมชน ชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดน ที่มีบริบทแตกต่างจากในเมือง ไม่มีตลาดหรือซุปเปอร์มาเก็ตที่เปิดปิดตามเวลา รวมทั้งกฎหมายบางฉบับก็ละเมิดสิทธิชุมชนในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เข้าไม่ถึงแหล่งอาหาร บางบ้านต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านเล็กๆตั้งแต่ 5 - 10 คนนอกจากจะกักตัวไม่ได้แล้ว ยังเผชิญกับภาวะอดอยาก ข้อเสนอคือ รัฐ คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเจ้าของปัญหา ในกรณีนี้คือ ชนเผ่าพื้นเมืองไร้สัญชาติ ต้องทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการที่จะออกนโยบายเพื่อจัดการแก้ไขปัญหา ผลกระทบจากโควิด 19 และสิ่งที่รัฐบาลควรจะทำมากที่สุดตอนนี้คือ มอบเงินเยียวยาให้ชุมชน ชนเผ่าพื้นเมืองไร้สัญชาติ เพราะตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ชุมชนยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาใดๆจากรัฐบาลไทย

มิติที่ 3 ความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ ต่อ เด็ก ผู้หญิง และเยาวชนที่มีคามหลากหลายทางเพศ: ผลกระทบจากโควิด 19 และปัญหาที่ซับซ้อนอย่างยิ่งในชุมชน นเผ่าพื้นเมืองไร้สัญชาติ ส่งผลให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง  และเยาวชนที่มีคสามหลากหลายทางเพศ ข้อเสนอแนะคือ

ข้อเสนอแนะต่อ ภาครัฐ คือ รัฐต้องทำงานอย่างมีส่วนร่วม กับชุมชนและองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความเป็นธรรมทางเพศ เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนากลไกทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวครัวและความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง เด็กและเยาวชน ที่มีความหลากหลายทางเพศ

ในส่วนของข้อเสนอแนะเรื่องการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 มัจฉา จากองค์กรสร้างสรรคฝือนาคตเยาวชน และองค์กร  V-Day ประเทศไทย มีดังนี้

1) รัฐบาลต้องผลักดันคนที่อยู่ในสังคมไทย เข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย อย่างทั่วถึง เป็นธรรม และรวดเร็ว โดยต้องไม่กีดกันการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ด้วยการใช้เงื่อนไขว่า ต้องมีบัตรประชาชน ที่จะกีดกันกลุ่มพี่น้องกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และเด็ก เยาวชนตัว G

2) รัฐบาลต้องเปิดพื้นที่ที่จะรับฟังความคิดเห็น สนับสนุนการมีส่วนร่วม ของชุมชน องค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน องค์กรในระดับชุมชน และภาคธุรกิจ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 รวมร่วมผลักดันให้สังคมไทย มีทางเลือกด้านวัคซีนโควิด 19 แต่ต้องมีเงื่อนไขในการป้องกันไม่ให้เกิดแสวงหาผลประโยชน์จากภาคธุรกิจ

3) ข้อเสนอที่ 1 และ 2 จะเกิดขึ้นมิได้ หากประเทศไทยมีการปกครองด้วยประชาธิไตยที่สะท้อนเสียง และความต้องการตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น ข้อเสนอที่สำคัญมาก คือ การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย

แรงงานทั้งผอง คือ พี่น้องกันและเราร่วมเรียกร้องการเข้าถึงวัคซีนที่เป็นธรรม สำหรับทุกคน

เนื่องจากวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ยังเป็นวันสำคัญอีกหนึ่งวัน คือวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งเป็นวันที่ให้ความสำคัญกับเหล่าผู้ใช้แรงงาน ผู้เข้าร่วมเสวนาทั้ง 6 ท่านล้วนเป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงาผลกำไรจากรัฐ ทำงานพัฒนามนุษย์และสังคม แม้ในสถานการณ์เสี่ยงของโรคระบาดก็ยังคงลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ปราศจากสวัสดิการที่มั่นคงในชีวิต “NGO ก็เป็นด่านหน้าที่จะต้องพบเจอกับกลุ่มที่มีความเสี่ยง ที่มีความสำคัญมากๆอย่างบุคลากรทางการแพทย์ก็ได้รับวัคซีนไปแล้ว ซึ่งบุคคลที่อยู่ระหว่างกลางแบบพวกเราอาจจะไม่ถูกพูดถึงมากนัก ในการพูดวันนี้ไม่ได้จะออกมาเรียกร้องว่าเราควรจะได้วัคซีน แต่อยากพูดถึงคนที่ลืมอยู่ข้างหลัง ยังมีแรงงานที่สำคัญที่ยังสามารถช่วยเหลือปัญหาเรื่องโควิดได้อยู่ ซึ่งยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูล ความช่วยเหลือ และไม่สามารถ work from home ได้ คุณทฤษฎี สว่างยิ่ง จากเครือข่ายสุขภาพและโอกาส พูดถึงสถานการณ์การทำงานของ NGO ที่กำลังเผชิยอยู่ตอนนี้ซึ่งสอดคล้องกับที่คุณซีซ่าเองได้พูดถึงเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่ติดโควิดจากการลงพื้นที่เช่นกัน จนต้องปิดมูลนิธิชั่วคราวทำให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือไม่สามารถเข้าถึงได้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการเข้าถึงวัคซีนสำหรับทุกคน

“เรื่องความเป็นธรรมในการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 เรื่องของทุกคนในสังคม ที่เราควรจะต้องเห็นใจ เพราะถ้าคุณคิดว่าคุณปลอดภัย คุณอยู่แค่ในบ้านของคุณ แต่คนรอบบ้านของคุณติดเชื้อหมดแล้ว คุณคิดว่าคุณจะรอดไหม ถ้าคุณไม่ช่วยกันส่งเสริม การเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง ไม่ช่วยกันตรวจสอบว่า การทำงาน การบริหาร  มีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง และปล่อยให้ประชาชนส่วนใหญ่ ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ไม่ปลอดภัย สังคมไทยก็จะไม่มีทางแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ถือเป็นข้อสรุปที่ดีจากคุณทฤษฎี ให้ความสำคัญกับแรงงาน คนทำงานในภาวะที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 และร่วมส่งเสียงผลักดันการเข้าถึงวัคซีนสำหรับทุกคน เพราะสุดท้ายแล้วเราทุกคนควรในประเทศนี้ ควรจะต้องถูกปกป้อง คุ้มครองและส่งเสริมจากภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนทุกคนปลอดภัยจากโรคโควิด 19 โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: