Pre-International Women’s Day 2021: ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาสิทธิมนุษยชน

ฐิตาภา เมธีธนกุล นักศึกษาวิทยาลัยศาสนศึกษา ผู้ผ่านการอบรม School of Feminist: Feminist Theory and Practice 2020 และนักกิจกรรมเฟมมินิสต์ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ | 7 มี.ค. 2564 | อ่านแล้ว 2945 ครั้ง


Pre-International Women’s Day 2021: Rise for Gender and Social Justice ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาสิทธิมนุษยชน

 

วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี นั้นเป็นวันสตรีสากล ซึ่งเดิมที่วันสตรีสากลนั้นมีต้นกำเนิดมาจากกรรมกรหญิง ที่ลุกขึ้นต่อต้านค่าแรงที่ไม่เป็นธรรมจากนายจ้างที่กดขี่พวกเธอ  และวันสตรีสากลนั้นเปรียบเหมือนเป็นสัญลักษณ์ในการระลึกถึงความสำเร็จของผู้หญิงในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19  แต่ถ้าเราลองกลับมาดูในปัจจุบัน ในช่วงศตวรรษที่ 21 เราจะค้นพบว่า ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างในสังคม ที่ยังปรากฎให้เห็นแน่ชัดว่า ผู้หญิง แรงงาน คนชายขอบ รวมถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมและยังคงโดนเลือกปฎิบัติอยู่

ในวันที่ 6 มีนาคม 2564 องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน ร่วมกับ V Day Thailand, Feminista, และ Thaiconsent ซึ่งเป็นองค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง School of Feminist ได้ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะ ที่มีชื่อว่า การประชุมก่อนวันสตรีสากล ประจำปี 2564 : ลุกขึ้นเพื่อความเป็นธรรมทางเพศและทางสังคม หรือ The Pre International Women’s Day 2021: Rise for Gender and Social  Justice เพื่อสร้างพื้นที่เพื่อการรณรงค์ สร้างการแลกเปลื่ยนการเรียนรู้และการตระหนักรู้ ร่วมถึงสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคมเพื่อคนชายขอบ ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้หญิง แรงงาน และเยาวชน ที่โดนเลือกปฎิบัติจากสังคม โดยรูปแบบของานเสวนานั้นจัดขึ้น ตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงช่วงเย็นของวันที่ 6 มีนาคม 2564 และได้มีการแลกเปลื่ยนประสบการณ์การ การทำงานของวิทยากร ปัญหาและอุปสรรคระหว่างทำงาน และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 4 เวทีเสวนา เวทีแรก “ขบวนการเคลื่อนไหวเฟมินิสต์เพื่อพัฒนาความเป็นธรรม​​​​ทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์” เวทีที่สอง “ขบวนการเคลื่อนไหวLGBTIQNA+ เพื่อความเป็นธรรมทางเพศ​​​​และความเป็นธรรมทางสังคม” เวทีที่สาม “ขบวนการเคลื่อนไหวชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อความเป็นธรรมทางเพศ​​​และความเป็นธรรมทางสังคม” และเวทีที่สี่ “ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาสิทธิมนุษยชน”  โดยประเด็นสิทธิมนุษยชนนั้นมีวิทยากรผู้ร่วมพูดทั้งหมด 3 คน ทั้ง 3 คนได้มีการแลกเปลื่ยนประเด็นปัญหา สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน บริบท สภาพชุมชน การถูกเลือกปฏิบัติ ความไม่เป็นธรรมในสังคมการทำงานขององค์กรและเครือข่าย ข้อท้าทายและความสำเร็จขององค์กร และการมองสถานการณ์ไปข้างหน้า ข้อเสนอแนะ ต่อรัฐ สังคม ชุมชน ฯลฯ เพื่ออนาคตที่ปราศจากการเลือกปฎิบัติ และมีสิทธิมนุษยชนเต็มรูปแบบ

โดยเริ่มต้นจาก คุณมัจฉา พรอินทร์ ผู้อำนวยการ จากองค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ที่ทำงานในประเด็นเยาวชน สิทธิ LGBTIQA สิทธิผู้หญิง และสิทธิเพื่อชนเผ่าพื้นเมือง ได้สะท้อนสถานการ์ณประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และการถูกเลือกปฎิบัติ คุณมัจฉา เป็น LGBTQ เป็นเฟมินิสต์ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิ และความเท่าเทียมทางเพศ ให้เกิดขึ้นในสังคม เธอกล่าวว่า ระบบชายเป็นใหญ่และระบบทุนนิยมนั้น เป็นระบบที่ทำร้ายคนตัวเล็กตัวน้อย คนชายขอบ ผู้หญิง ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งสองระบบผลักให้บุคคลเหล่านี้ถูกเลือกปฎิบัติ และในสังคมไทยนั้น เป็นสังคมที่ไม่เป็นมิตรต่อความหลากหลายทางเพศ เพราะในปัจจุบันนั้น ยังมีการทำร้ายผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ กฎหมายสมรมเท่าเทียมก็ไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่าที่ควร และในรัฐธรรมนูญนั้น ไม่มีคำว่า ความหลากหลายทางเพศบัญญัติไว้อีกด้วย  คุณมัจฉากล่าวว่า เราต้องต่อสู้กับระบบความคิด ความเชื่อที่เชื่อว่ามีแค่2เพศ เพราะว่ามันจะการทำลายกรอบความคิด และทำลายความชอบธรรมในการทำร้ายผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย และเธอยังกล่าวอีกว่าชนกลุ่มน้อย คนชายขอบ ไม่ได้รับการดูแลจากรัฐมากเท่าที่ควร หรือมีสิทธิในสังคมมากเท่าที่ควร ระบบชายเป็นใหญ่นั้นไม่มีพื้นที่ให้กับชนกลุ่มน้อย ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งนั้นเป็นสิ่งที่ควรจะหมดไปในสังคม เธอเน้นย้ำว่า สิทธิมนุษยชนต้องเป็นพื้นฐานของประเทศนี้ กฎหมายและนโยบายต่าง ๆ  เป็นต้องเป็นไปเพื่อปกป้องคุ้มครอง ผู้ที่ไม่มีสิทธิเสรีภาพ ต้องได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ สิทธิเสรีภาพของผู้ที่โดยกดทับมาโดยตลอดจะต้องเพิ่มขึ้นและเท่าเทียมกับคนในสังคม และนักการเมืองต้องทำตามหน้าที่ ต้องดูแลประชาชนให้เหมาะสมกับการที่ประชาชนนั้นเลือก และควรรับฟังเสียงของประชาชน การเลือกตั้งจะต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง การเลือกตั้งที่ไม่ได้เกิดอย่างที่ถูกต้องนั้นไม่อาจยอมรับได้

คุณมัจฉาได้กล่าวถึงปัญหาในการรณรงค์ นั้นคือ การที่สื่อกระแสหลักนั้นไม่ได้ให้ความสนใจมากเท่าที่ควร ขบวนการเคลื่อนไหวที่มีอำนาจมากพอ ไม่สนใจ แต่อย่างไรก็ดี มันก็ยังมีผลสำเร็จเกิดขึ้น ความเข้าใจการเคียงบ่าเคียงไหล่กัน เพื่อสร้างการเปลื่ยนแปลง จนสามารถก้าวไปสู่ระดับโลกได้ และสามารถใช้การเข้าถึงระดับโลกในการเผยแพร่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยให้ทั่วโลกได้รับรู้ได้  คุณมัจฉาได้กล่าวว่า สิ่งที่เธออยากเห็นนั้น คือการที่เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและโลกใบนี้ อยากเห็นความเท่าเทียมทางเพศ ผู้หญิงและผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศนั้นต้องมีความเท่าเทียม และถูกคุ้มครอง ถูกยอมรับ มีสิทธิมนุษยชน และระบบชายเป็นใหญ่และระบบทุนนิยม ระบบศาสนาที่สุดโต่งที่ทำร้ายผู้คนนั้น ค่อย ๆ หมดไป และสิ่งที่เธออยากเห็นอีกนั้นคือ ความเป็นธรรมทางเพศและความเป็นธรรมทางสังคม ชนเผ่าพื้นเมือง คนชายขอบ ต้องได้รับความเท่าเทียม ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ต้องคำนึงถึงธุรกิจเล็ก ๆ และให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน และทรัพยากรสิ่งแวดล้อมต้องถูดจัดสรรอย่างเป็นธรรม การกระจายอำนาจที่เป็นธรรม และสุดท้ายทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่สนับสนุนประชาธิปไตย

คุณมัจฉาได้ให้ข้อเสนอแนะและข้อเรียกร้องต่อปัญหา โดยมีใจความว่า อยากให้สังคมไทยให้ความสำคัญกับความรู้ ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ให้ความสำคัญกับเรื่องเล่า ประสบการ์ณของคน อาจจะมีการใช้การวิจัยมาช่วยด้วยก็ได้ รณรงค์ให้สังคมสนับสนุสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เพราะการเคารพสิทธิเป็นรากฐานสู่ประชาธิปไตย มีการเคลื่อนไหวที่ประชาคมเป็นศูนย์กลาง จะได้ไม่ถูกเบียดขับโดยรัฐ สิ่งที่อยากเรียกร้อง อยากเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งเงินทุนให้ได้มากกว่านี้ อยากให้ชนกลุ่มน้อย คนชายขอบ กระบวนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เข้าไปถึงขบวนการเคลื่อนไหวใหญ่ ๆ   มีพื้นที่ให้ชนพื้นเมือง คนชายขอบได้พูด ให้พื้นที่ให้พวกเขาได้พูดถึงปัญหาของตนเอง และลุกขึ้นเคียงบ่าเคียงไหล่ ต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

คนต่อมาคือ คุณ กิ่ง จากมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการ​​​​พัฒนา และเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ ทำงานในประเด็นแรงงานข้ามชาติ และเป็นทนายความ สำหรับสถานการณ์แรงงานข้ามชาติ คุณกิ่งได้อธิบายเกี่ยวกับความหมายของแรงงานข้ามชาติ นั้นมีความหมายว่า เป็นคนที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย หรือคนที่มีสัญชาติอื่น ที่มาอาศัยในประเทศไทย ปัญหาของแรงงานข้ามชาตินั้นเป็นปัญหาที่ค่อนข้างเป็นไปในเชิงลบ เพราะว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากรัฐไทยที่ต้องการสร้างชาติโดยการสร้างศัตรูขึ้นมา และในสังคมไทยมีการใช้สื่อไปเชิงลบกับแรงงานข้ามชาติ หรือยกตัวอย่างง่าย ๆ จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในช่วงการระบาดของโควิด ที่แรงงานข้ามชาติถูกตีตราว่าเป็นบุคคลที่ทำให้เกิดการระบาด ทั้ง ๆ ที่ จริง ๆ  แล้ว มันเกิดจากปัญหาโครงสร้างของรัฐไทย มันทำให้คนต้องกลายเป็นคนผิดกฎหมายหรือจนมุม อย่างเช่น การนำเข้าแรงงาน คุณกิ่งได้กล่าวว่า ในความจริงแรงงานส่วนใหญ่อยากเข้าเมืองมาแบบถูกกฎหมาย แต่มีปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายและการทำเอกสารนั้นยุ่งยากอย่างมาก และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องได้เพราะว่ามีปัญหาเรื่องข้อมูลที่ถูกต้อง มันเลยการเปิดช่องทางให้กับคนที่อยากฉวยโอกาส เลยทำให้เกิดแรงงานผิดกฎหมาย และปัญหาต่อมาคือเรื่องความบอบบางเรื่องสถานะ กฎหมายไทยมีช่องโหว่เยอะมากในการทำผิดกฎหมาย ซึ่งมันทำให้เจ้าหน้าที่รัฐบางคนสามารถเข้ามาแทรกแซงได้  คุณกิ่งได้ยกตัวอย่างการกระทำที่เลือกปฎิบัติในสังคมจากกรณีแรงงานข้ามชาติที่สมุทรสาคร รัฐไทยมีวิธีการดูแลเกี่ยวกับโรคระบาดได้ค่อนข้างแย่ ไม่ได้ให้การดูแลอย่างเท่าเทียมเหมือนคนในสังคมทั่วไป และปัญหาของแรงงานก็ยังมีเรื่องของภาษาอีกด้วย แรงงานนั้นแทบไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องได้เลย และแรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยตนเองได้ งานของคุณกิ่ง เลยเป็นงานที่จะช่วยแรงงานข้ามชาติให้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องทางกฎหมาย และชี้ช่องทางต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ดูแลแรงงาน และทำงานกับหน่วยงานที่มีอำนาจมากพอเพื่อช่วยเหลือในด้านสิทธิต่าง ๆ และผลักดันสิทธิที่แรงงานควรจะได้รับ และผลักดันให้แรงานมีความรู้ทั้งด้านกฎหมาย และสามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้

สำหรับในส่วนของข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะนั้น คุณกิ่งอยากฝากไปถึงสังคมไทย ต้องยอมรับว่า การขับเคลื่อนประเทศการเคลื่อนทางเศรษฐกิจนั้นมาจากแรงงานข้ามชาติเป็นส่วนใหญ่ ถ้าไม่มีแรงงานข้ามชาติ ประเทศของเราอาจจะหยุดนิ่งหรือไม่พัฒนาไปไหนได้ เรียกร้องให้รัฐต้องให้สิทธิ และออกนโยบายให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิให้ได้มากที่สุด และอยากให้คนไทยเข้าใจว่าแรงงานข้ามชาติแค่มาทำงาน เพื่อหาเงินส่งกลับไปที่ประเทศหรือบ้านของพวกเขาเท่านั้น เหมือนคนไทยที่ไปทำงานต่างประเทศแล้วส่งเงินกลับมาบ้าน แรงงานข้ามชาติก็เหมือนกัน และสุดท้ายอยากเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐปฎิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงาน ใช้ดุลพินิจ โดยปราศจากอคติ

คนสุดท้ายของการเสวนาเวทีนี้ คือ คุณอรนุช ผลภิญโญ: ผู้อำนวยการ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน จะมีกรณีปัญหาทั้งหมด 3 ส่วน  ส่วนที่หนึ่ง พื้นที่ป่า  ส่วนที่สอง พื้นที่สาธาณะประโยชน์ และพื้นที่สาม คือพื้นที่คมนาคม ถ้าพูดถึงเรื่องของการละเมิดนั้น เริ่มจากปี 2534 ประเด็นปัญหาที่ดินมักจะถูกโยงเข้ากับเรื่องของความมั่นคง โดยในปี 2534 นั้นได้มีการไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ โดยอ้างว่า จะมีโครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับชาวบ้าน แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้น เธอกล่าวว่าในปัจจุบัน ในยุคของ คสช. มีปัญหาเรื่องที่ดินโดยการอ้างว่าพื้นที่ป่าต้องได้ 40 เปอร์เซ็นต์ ของทั่วประเทศ แต่สุดท้ายแล้วก็เอาพื้นที่ป่าไปให้นายทุนเพื่อหาผลประโยชน์ต่อไป คุณอรนุชมองว่า การกระทำแบบนี้ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดสิทธิชุมชน เพราะชุมชนนั้นอยู่มาก่อนตั้งนานแล้ว ประเด็นต่อไป คุณอรนุช ได้พูดถึงกระบวนการต่อสู้ของชุมชน เพื่อเรียกร้องในสิทธิต่อที่ดินทำกิน จนกระทั่งแกนนำในการต่อสู้นั้น ได้โดยถูกบังคับให้สูญหาย และไม่จำเป็นต้องพูดถึงกระบวนการของรัฐที่ล้มเหลวในการหาสาเหตุของการสูญหาย ล้มเหลวในด้านความยุติธรรมที่เชื่อมโยงในเรื่องของสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชนในเรื่องที่ดินและทรัพยากร คุณอรนุชยังได้กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์ชาติของรัฐนั้น ประชาชนไม่มี้สิทธิเข้าถึง และมีส่วนร่วมในการคิดแผนยุทธศาสตร์ชาติ และไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบวิถีชีวิตของตัวเองเลย โดยได้ยกตัวอย่างกรณีพี่น้องบางกลอยที่ถูกละเมิดและถูกบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด เป็นความล้มเหลวของรัฐโดยสิ้นเชิง คุณอรนุชได้ฝากไว้ว่า ผลกระทบจากกฎหมายที่ไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเลย อาจจะทำให้ส่งผลเสียต่อสังคมได้ การปฎิรูปที่ดินไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้ 

และสุดท้ายนี้คุณอรนุชได้ฝากข้อเสนอแนะและข้อเรียกร้องคือ อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างนโยบายแก้ไขปัญหา ชุมชน และได้สิทธิในการเข้าถึงสิทธิในที่ดิน และอยากให้ประชาชนช่วยกนไป เรียกร้องที่ธรรมเนียนรัฐบาล ให้เปลื่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ถ้าสามารถเปลื่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ให้อิสระกับพื้นที่ท้องถิ่นในการดำเนินการ และให้สิทธิมนุษยชนกับประชาชนที่เป็นเจ้าของที่ดิน

 

สำหรับงาน การประชุมก่อนวันสตรีสากล ประจำปี 2564 : ลุกขึ้นเพื่อความเป็นธรรมทางเพศและทางสังคม หรือ The Pre International Women’s Day 2021: Rise for Gender and Social  Justice นั้นชี้ให้เราปัญหาหลายอย่างในสังคมไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการไม่เคารพสิทธิของคนในสังคม ร่วมถึงระบบปิตาธิปไตยและระบบทุนนิยมที่สอดแทรกอยู่ในทุกปัญหาของสังคม ระบบปิตาธิปไตยที่แฝงอยู่ในความคิดของเขา ระบบทุนนิยมที่ไม่คำนึงถึง ผู้ประกอบการรายย่อย ไม่คำนึงถึงแรงงาน โดยเฉพาะปัญหาของ ชนเผ่าพื้นเมือง คนชายขอบ ผู้หญิง แรงงาน และผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ   เรายังเห็นได้ชัดในปัจจุบันว่า ผู้คนเหล่านี้ ยังคงถูกรัฐทอดทิ้ง และเป็นผู้ที่โดนระบบปิตาธิปไตยและระบบทุนนิยมทำร้ายมากที่สุด และรัฐก็ไม่ยอมลดอคติลงเพื่อจะได้มองเห็นปัญหา เราจึงได้เห็นได้ว่าปัญหาบางอย่างนั้น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้วเป็น10 – 20 ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น  ฉะนั้นแล้วขบวนการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนนั้นจึงต้องทำงานอย่างหนักเพื่อ สร้างสังคมที่พัฒนาและสังคมที่น่าอยู่มากขึ้น รวมถึงการสร้างเครือข่ายและการรณรงค์เพื่อเผยแพร่ กระจายปัญหาต่าง ๆ ให้บุคคลอื่น ๆ ได้รับรู้ เพราะการที่มีบุคคล หรือแนวร่วมมากขึ้น จะทำให้ขบวนการเข้มแข็งขึ้น และสามารถที่จะกดดันรัฐให้มองเห็นปัญหาและรีบแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และมันจะค่อย ๆ ทำลายระบบปิตาธิปไตยและระบบทุนนิยมให้ค่อย ๆ หมดไป

นั้นแสดงให้เราเห็นว่า การขับเคลื่อนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในไทยนั้น ต้องใช้พลังกายและพลังใจอย่างมหาศาล เพราะว่าการเรียกร้องในแต่ละเรื่องนั้น ค่อนข้างเป็นไปอย่าง ยากลำบาก แต่ถึงจะลำบากเพียงใด ขบวนการ การขับเคลื่อนเพื่อสิทธิมนุษยชน ก็ได้สร้างการเปลื่ยนแปลงมากมาย ทั้งในด้านความคิดของคนในสังคม ด้านการใช้ชีวิตต่าง ๆ การเปลื่ยนแปลงเริ่มผลิบานมากขึ้นเรื่อย ๆ อนาคตในภายภาคหน้า เยาวชนรุ่นใหม่ ๆ จะได้มีอนาคตที่ดี ไม่มีระบบปิตาธิปไตย เศรษฐกิจจะมีความเท่าเทียมมากขึ้น ได้อยู่ในสังคมที่เท่าเทียมและมีสิทธิมนุษยชน และวันที่ 8 มีนาคม จะเป็นวันที่เราได้เฉลิมฉลองความสำเร็จของ ผู้หญิง แรงงาน ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ชนเผ่าพื้นเมืองและคนชายขอบอย่างแท้จริง

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: