องค์กรนานาชาติย้ำระบบนิเวศมีส่วนสำคัญช่วยป้องกันโรคระบาดในอนาคต

กองบรรณาธิการ TCIJ 22 มิ.ย. 2563 | อ่านแล้ว 4653 ครั้ง

องค์กรนานาชาติย้ำระบบนิเวศมีส่วนสำคัญช่วยป้องกันโรคระบาดในอนาคต

เนื่องใน 'วันอนุรักษ์ป่าฝนเขตร้อนสากล' (World Rainforest Day) 22 มิ.ย. องค์กรนานาชาติย้ำระบบนิเวศมีส่วนสำคัญช่วยป้องกันโรคระบาดในอนาคต | ที่มาภาพประกอบ: Public Domain Pictures

การตัดไม้ทำลายป่าที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หนักหน่วงที่สุดในขณะนี้ วันที่ 22 มิ.ย. ของทุกปีเป็นวันอนุรักษ์ป่าฝนสากล (World Rainforest Day) เป็นโอกาสสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเร่งด่วนในการปกป้องระบบนิเวศ เนื่องจากระบบนิเวศที่ดีเป็นหัวใจสำคัญในการดำรงอยู่ของเราบนโลกใบนี้ และยังช่วยป้องกันโรคระบาดในอนาคตได้ด้วย

ข้อมูลจากมหาวิทยาแมรี่แลนด์ ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ Global Forest Watch ระบุว่าในปี 2019 โลกเราสูญเสียพื้นที่ป่าฝนขนาดเท่าหนึ่งสนามฟุตบอลทุกๆ หกวินาที โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ (UNEP) เตือนว่า 75% ของโรคชนิดใหม่ที่เกิดกับมนุษย์นั้นเป็นโรคระบาดจากสัตว์ (Zoonotic) หมายความว่าเป็นโรคที่มีต้นกำเนิดในสัตว์ กิจกรรมของมนุษย์เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ากระจัดกระจาย การรุกล้ำพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เพิ่มความเสี่ยงในการส่งผ่านโรคระบาด องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า "หากหลังจากโควิด-19 นี้ เราอยากจะกลับมาให้ดีกว่าเดิม กระบวนการฟื้นฟู้จะต้องให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างคนและธรรมชาติ"

วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้จัดการฝายแคมเปญประจำประเทศไทยของซิเนอร์เจีย แอนิมอลกล่าวว่า "เราทำลายป่า เอาอนาคตของเราไปแลกกับการผลิตอาหารอย่างเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้น้ำมันปาล์ม ซึ่งไม่ได้จำเป็นต่ออาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพเลย”

เนื้อสัตว์ ถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตรหลักที่ทำให้เกิดการทำลายป่าฝน

บราซิล สาธารณรัฐคองโก อินโดนีเซีย โบลิเวีย เปรู และโคลอมเบีย เป็นประเทศ ซึ่งสูญเสียพื้นที่ป่าฝนไปมากที่สุดในปี 2019 ตามลำดับ และประเทศเหล่านี้ก็มีสิ่งหนึ่งเหมือนกันก็คือ การเกษตรเป็นปัจจัยหลักในการตัดไม้ทำลายป่า ในประเทศลาตินอเมริกา การตัดไม้ทำลายป่าตั้งแต่ปี 2001

ถึง 2018 กว่า 59% เกิดจากผลิตภัณฑ์การเกษตรที่เกิดจากการค้า โดยมากคือเนื้อวัวและการผลิตถั่วเหลือง

พื้นที่ป่าขนาดใหญ่ในเขตลุ่มน้ำแอมะซอนและเซอร์ราโด้กำลังถูกทำลาย และแทนที่ด้วยพืชเช่นถั่วเหลือง ซึ่งจะนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อผลิตเนื้อสัตว์ นม และไข่ทั่วโลก ประมาณสามในสี่ของถั่วเหลืองทั้งโลก นำไปเป็นอาหารให้สัตว์

วิชญะภัทร์กล่าวว่า "บราซิลเป็นประเทศผู้ส่งออกถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยส่งออกถั่วเหลืองกว่า 44.5% ของการส่งออกทั้งหมดและประเทศไทยก็เป็นผู้นำเข้าถั่วเหลืองจากบราซิลรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสาม ธัญพืชเหล่านี้ส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ซึ่งเลี้ยงไว้เพื่อผลิตอาหาร หมายความว่าแม้เรากินผลิตภัณฑ์จากสัตว์อยู่ที่นี่ แต่เราก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่าในอเมริกาใต้ " แต่นี่ไม่ใช่ภัยเพียงอย่างเดียว เรื่องทำนองเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นเดียวกัน การเก็บเกี่ยวพืชผลเพื่อบริโภคในครัวเรือนอย่างยั่งยืนกำลังถูกแทนที่ด้วยการเกษตรเชิงอุตสาหกรรม ในเชียงใหม่การปลูกพืชผลแบบดั้งเดิมกำลังเปลี่ยนไปเป็นการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยมากแล้วข้าวโพดที่ปลูกได้จะนำไปเป็นอาหารสัตว์ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การตัดไม้ทำลายป่าตั้งแต่ปี 2001 ถึง 2018 กว่า 80% เกิดจาก ผลิตภัณฑ์การเกษตรเพื่อการค้า ซึ่งผลิตภัณฑ์สำคัญก็คือน้ำมันปาล์ม ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ ในเขตเส้นศูนย์สูตร เช่น มาเลเซีย การผลิตน้ำมันปาล์มเป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ป่าฝนเขตร้อนลดลง น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่คนนิยมบริโภคมากที่สุดในโลกและยังเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ขายตามซุเปอร์มาเก็ต เช่นไอศกรีม ช็อกโกแลต มาการีน คุ้กกี้และขนมปัง

ชะตาของป่าอยู่ในมือเรา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าป่ามีความสำคัญมาก ไม่ใช่แค่ช่วยป้องกันโรคระบาดระลอกใหม่เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการดำรงอยู่ต่อไปในอนาคตของเรา แม้ตอนนี้ป่าเขตร้อนจะครอบคลุมพื้นที่เพียง 7% ของพื้นดินในโลก แต่ก็เป็นที่อยู่ของสายพันธุ์เกินกว่าครึ่ง และยังเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์มากที่สุดในโลกอีกด้วย นอกจากนี้ป่ายังเป็นแหล่งผลิตน้ำให้เราดื่ม และเป็นที่อยู่ของชนเผ่าท้องถิ่น ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง และการกัดเซาะพื้นดิน เป็นแหล่งทำกินให้อีกนับล้านๆ ชีวิต

นอกจากนี้ การหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่านี่เองเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ หากการตัดไม้ทำลายป่าเขตร้อนนับเป็นประเทศหนึ่ง ก็จะเป็นประเทศผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์เป็นอันดับสามในโลกตามหลังจีนและสหรัฐอเมริกา

"ต้องเกิดการเปลี่ยนเปลงนโยบายอย่างเร่งด่วนในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้” วิชญะภัทร์แนะนำว่า "ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็มีส่วนช่วยได้โดยการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล และลดการตัดไม้ทำลายป่าได้ โดยการลดหรือเลิกบริโภคเนื้อสัตว์ นม และไข่ และหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม นี่เป็นหนทางหนึ่งที่เราพอจะทำได้"

องค์กรนานาชาติซิเนอร์เจีย แอนิมอลเสนอให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมโครงการท้าลอง 22 วัน ซึ่งผู้เข้าร่วมจะได้รับการสนับสนุนรายวัน สูตรอาหารต่างๆ และคำแนะนำด้านโภชนาการเพื่อให้เปลี่ยนไปบริโภคอาหารแบบมังสวิรัติได้อย่างยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ การเข้าร่วมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ www.thaichallenge22.org

องค์กรดังกล่าวยังขอให้ผู้นำประเทศไทยเริ่มปรับใช้มาตรการเพื่อป้องกันโรคระบาดระลอกใหม่อย่างเร่งด่วน และการยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่าก็เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องด้วย คนไทยสามารถไปร่วมลงชื่อได้ที่ www.change.org/pandemicsthailand

เกี่ยวกับซิเนอร์เจีย แอนิมอล
ซิเนอร์เจีย แอนิมอล เป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับนานาชาติ ทำงานในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสัตว์ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และสิ่งเสริมการบริโภคที่เห็นอกเห็นใจสัตว์มากขึ้น เราได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในองค์กรที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดย Animal Charity Evaluators

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: