สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 19 พ.ค. 2563

กองบรรณาธิการ TCIJ 19 พ.ค. 2563 | อ่านแล้ว 1332 ครั้ง

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 19 พ.ค. 2563

เว็บไซต์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 19 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา

19 พ.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
 

กฎหมาย

1.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด [การลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)] 
2.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. …. 
3.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ….
 

เศรษฐกิจ - สังคม

 
4.       เรื่อง     ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลัดแอกอุตสาหกรรมเหมืองแร่  ที่จังหวัดสระบุรี
5.       เรื่อง     รายงานประจำปี 2562 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
6.       เรื่อง     รายงานผลการเตรียมความพร้อมในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ                             วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
7.       เรื่อง     ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เรื่อง อนุมัติการกู้เงิน Soft   loan ของสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) จำนวน 2,000 ล้านบาท จากธนาคารออมสิน โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน
8.       เรื่อง     “พระพุทธศาสนาในสถานการณ์ COVID-19”
9.       เรื่อง     รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 1
10.     เรื่อง      แนวทางการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนและการสนับสนุนอาหารกลางวันในโรงเรียนรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (โรคโควิด 19)
11.     เรื่อง    ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563
 12.    เรื่อง    ปัญหาการเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกี่ยวกับการกักกันผู้เดินทางที่มาจากต่างประเทศ

ต่างประเทศ

13.      เรื่อง    ร่างบันทึกความร่วมมือด้านไปรษณีย์ระหว่างกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่นและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับใหม่
 14.     เรื่อง    ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ
15.      เรื่อง    ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมทางไกลเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศสมาชิกและคู่เจรจาสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด-19) การรับมือ ความร่วมมือ และความเป็นหุ้นส่วน
16.      เรื่อง    ร่างแถลงการณ์ร่วมเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์

แต่งตั้ง

17.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงยุติธรรม)
18.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
19.      เรื่อง     แจ้งรายชื่อโฆษกกระทรวงพาณิชย์และรองโฆษกกระทรวงพาณิชย์
20.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง   (กระทรวงการต่างประเทศ)
21.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนสมาคม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง
22.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
23.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
 
 

*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
 

 
 
 

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด [การลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)] 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (บจธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   บจธ. เสนอว่า     
                   1. เนื่องจาก บจธ. ยังต้องดำเนินโครงการตามภารกิจต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 (1) และ (5) กำหนดไว้ แต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้ บจธ. หรือคู่สัญญาได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าว ประกอบกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2559 และฉบับลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 จะพ้นกำหนดใช้บังคับในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 จึงมีความจำเป็นต้องขยายกรอบระยะเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามภารกิจของ บจธ. ต่อไป 
                   2. บจธ. จึงได้ประชุมหารือร่วมกับกรมธนารักษ์ กรมที่ดิน และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือเกษตรกรให้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินของเกษตรกร และเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามภารกิจของ บจธ. อย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นชอบให้ บจธ. และคู่สัญญาได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 กรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากอัตราร้อยละ 2 และร้อยละ 1 เหลือในอัตราร้อยละ 0.01 ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2565  
                   3. บจธ. ได้จัดทำประมาณการสูญเสียรายได้ของรัฐตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยมีประมาณการสูญเสียรายได้ของรัฐ จำนวน 14,126,450 บาท จากโครงการที่คาดว่าจะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2565 ดังนี้ 
                             3.1 โครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน 
                                      3.1.1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (8 มิถุนายน 2563 – 30 กันยายน 2563) ประมาณ 1,791,000 บาท  
                                      3.1.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564) ประมาณ 4,847,640 บาท  
                                       3.1.3 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 –7 มิถุนายน 2565) ประมาณ 3,482,500 บาท 
 
                             3.2 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน  
                                      3.2.1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (8 มิถุนายน 2563 – 30 กันยายน 2563) ประมาณ 633,120 บาท  
                                      3.2.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564) ประมาณ 1,806,960 บาท
                                      3.2.3 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 –7 มิถุนายน 2565) ประมาณ 1,565,230 บาท  
                             3.3 โครงการดังกล่าวตามข้อ 3.1 และ 3.2 เป็นการดำเนินการเพื่อให้เกษตรกรและผู้ยากจนมีที่ดินทำกินในเชิงเกษตรกรรม แก้ปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน ป้องกันปัญหาการกระจุกตัวของที่ดินไปสู่นายทุนหรือผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ ซึ่งจะนำไปสู่การกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำด้านที่ดิน
จึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาเพื่อดำเนินการ
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ
                   กำหนดให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 0.01 ตามข้อ 2 (7) (ฎ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ในการบริหารจัดการธนาคารที่ดินของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ในกรณีดังนี้   
                   1. การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของที่ดินโอนให้แก่ บจธ. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ บจธ. ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรหรือผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่ไม่เพียงพอ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในส่วนที่ผู้โอนและผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องชำระ  
                   2. การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ บจธ. โอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เกษตรกรหรือผู้ยากจน ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร หรือผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่ไม่เพียงพอ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในส่วนที่ผู้โอนและผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องชำระ  
                   3. การจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ บจธ. เป็นผู้รับจำนองจากเกษตรกรหรือผู้ยากจน ในส่วนที่ผู้ขอจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องชำระ
 
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. …. 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ดังนี้
                   1. อนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว ตามที่ ดศ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้  
                   2. มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เร่งรัดการดำเนินการเพื่อจัดทำกฎหมายลำดับรอง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่จำเป็นต้องมีเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้
                   หลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. …. มีดังนี้ 
                   หลักการ 
                   กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 
                   เหตุผล 
                   โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้โดยละเอียด โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทุกรายทั่วประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าวโดยเคร่งครัด อย่างไรก็ดี โดยที่การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดนั้นมีรายละเอียดมากและซับซ้อน กับต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานและกิจการต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากทั่วประเทศยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บัญญัติว่า การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนมาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะใด กิจการใด หรือหน่วยงานใด หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่นใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรณีจึงสมควรกำหนดให้บางหน่วยงานและบางกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายนี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ 
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา  
                   เป็นการกำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                   พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
                   มิให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 หมวด 3 หมวด 5 หมวด 6 และหมวด 7 และมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานหรือกิจการตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
                   เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ ดศ. กำหนด
                   บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. ....
                  (1) หน่วยงานของรัฐ
                   (2) หน่วยงานของรัฐต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ
                   (3) มูลนิธิ สมาคม องค์กรศาสนา และองค์กรไม่แสวงหากำไร
                   (4) กิจการด้านเกษตรกรรม
                   (5) กิจการด้านอุตสาหกรรม
                   (6) กิจการด้านพาณิชยกรรม
                   (7) กิจการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
                   (8) กิจการด้านพลังงาน ไอน้ำ น้ำ และการกำจัดของเสีย รวมทั้งกิจการที่เกี่ยวข้อง
                   (9) กิจการด้านการก่อสร้าง
                   (10) กิจการด้านการซ่อมและการบำรุงรักษา
                   (11) กิจการด้านการคมนาคม ขนส่ง และการเก็บสินค้า
                   (12) กิจการด้านการท่องเที่ยว
                   (13) กิจการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และดิจิทัล
                   (14) กิจการด้านการเงิน การธนาคาร และการประกันภัย
                   (15) กิจการด้านอสังหาริมทรัพย์
                   (16) กิจการด้านการประกอบวิชาชีพ
                   (17) กิจการด้านการบริหารและบริการสนับสนุน
                   (18) กิจการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาการ สังคมสงเคราะห์ และศิลปะ
                   (19) กิจการด้านการศึกษา
                   (20) กิจการด้านความบันเทิงและนันทนาการ
                   (21) กิจการด้านการรักษาความปลอดภัย
                   (22) กิจการในครัวเรือนและวิสาหกิจชุมชน ซึ่งไม่สามารถจำแนกกิจกรรมได้อย่างชัดเจน
                   ในกรณีที่มีปัญหาว่าหน่วยงานหรือกิจการใดเป็นหน่วยงานหรือกิจการตามบัญชีท้ายนี้ ให้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้วินิจฉัย
         
3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ….
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. …. และเอกสารประกอบ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ   
                   1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 เห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พร้อมปฏิทินการโอนงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยกำหนดให้สำนักงบประมาณจัดทำข้อเสนอให้นำงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ (Function) งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ (Agenda) งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน และงบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ เพื่อนำไปจัดทำร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. …. ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ โดยไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จึงจำเป็นต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. …. ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 35 (1) ได้กำหนดให้งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย จะโอนหรือนำไปใช้สำหรับหน่วยรับงบประมาณอื่นมิได้ เว้นแต่มีพระราชบัญญัติให้โอนหรือนำไปใช้ได้   
                   2. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของหน่วยรับงบประมาณที่ได้มีการโอนงบประมาณ จำนวน 88,452.5979 ล้านบาท
                   3. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของหน่วยรับงบประมาณที่ได้มีการโอนงบประมาณ จำนวน 88,452.5979 ล้านบาท จำแนกตามงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ (Function) งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ (Agenda) และงบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ ดังนี้
                             1) งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ (Function) จำนวน 39,893.1111 ล้านบาท
                             2) งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ (Agenda) จำนวน 13,256.4868 ล้านบาท
                             3) งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ เป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 35,303.0000 ล้านบาท 
                   4. งบประมาณรายจ่ายที่มีการโอนงบประมาณตามข้อ 2. ให้ตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 88,452.5979 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็น
 

เศรษฐกิจ - สังคม

 
4. เรื่อง  ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลัดแอกอุตสาหกรรมเหมืองแร่  ที่จังหวัดสระบุรี
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี  เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างตามคำขอประทานบัตรที่ 4/2558 ของห้างหุ้นส่วนจำกัด  พลัดแอกอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่จังหวัดสระบุรี  ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมม (อก.) เสนอโดยเมื่อ หน่วยงานเจ้าของพื้นที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่แล้ว ให้ อก. โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   อก. รายงานว่า
                   1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด  พลัดแอกอุตสาหกรรมเหมืองแร่  เป็นผู้ถือประทานบัตรที่ 28608/15360  ชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง  ที่ตำบลหน้าพระลานอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดสระบุรี  เนื้อที่ 267 ไร่ 94 ตารางวา  ซึ่งประทานบัตรดังกล่าวจะครบกำหนดสิ้นอายุในวันที่ 30 พฤษภาคม 2563
                   2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด  พลัดแอกอุตสาหกรรมเหมืองแร่  ได้ยื่นคำขอประทานบัตรใหม่ที่ 4/2558 ชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างทับพื้นที่ประทานบัตรเดิมทั้งหมดของตนเองซึ่งจะครบกำหนดสิ้นอายุในวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 เนื้อที่ 267 ไร่  94 ตารางวา
                   3. พื้นที่คำขอประทานบัตรแปลงนี้เป็นที่ป่าตามมาตรา 4 (1)  แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัด พลัดแอกอุตสาหกรรมเหมืองแร่   ได้ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำเหมืองไว้แล้ว   โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี ของลุ่มน้ำป่าสักตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และอยู่ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2538 เห็นชอบแนวทางการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนแปลงการระเบิดและย่อยหินไปเป็นเทคโนโลยีการทำเหมืองหินสำหรับพื้นที่ทั่วไปและพื้นที่ทดลอง  บริเวณตำบลหน้าพระลาน  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดสระบุรี  และอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมสร้างตนเองพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี   ซึ่งกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการได้อนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ในพื้นที่แล้วพื้นที่ไม่เป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ไม่เป็นพื้นที่ต้องห้ามสำหรับการทำเหมืองตามระเบียบและกฎหมายของส่วนราชการต่าง ๆ และการปิดประกาศการขอประทานบัตรไม่มีผู้ร้องเรียนคัดค้าน
                    4.  การดำเนินโครงการ
                             4.1 เทคนิคและวิธีการทำเหมือง  การออกแบบการทำเหมืองสำหรับคำขอประทานบัตรที่ 4/2558 ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พลัดแอกอุตสาหกรรมเหมืองแร่  เป็นไปตามแผนผังโครงการทำเหมือง   พื้นที่ของโครงการทั้งหมดเนื้อที่ 267 ไล่ 94 ตารางวา  คิดเป็นพื้นที่ทำเหมืองรวม 156 ไร่  มีปริมาณสำรองแร่ที่สามารถทำเหมืองได้ประมาณ 18.8 ล้านเมตริกตัน  คิดเป็นมูลค่า 3,384 ล้านบาท  โดยจะเว้นพื้นที่การทำเหมืองทางด้านทิศเหนือ หน้าเหมืองมีลักษณะเป็นขั้นบันไดบนภูเขา ซึ่งแต่ละขั้นมีความสูง  ไม่เกิน 10 เมตรและมีความลาดเอียงหน้าเหมือง โดยรวมไม่เกิน 45 องศา เพื่อความปลอดภัย
                             4.2 ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ
                             หินปูนเป็นวัตถุดิบสำคัญเพื่อรองรับการเติบโตของโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ แหล่งหินปูนของจังหวัดสระบุรี เป็นแหล่งหินปูนคุณภาพดีมีคุณภาพเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง   แร่ที่ผลิตได้ของโครงการส่วนใหญ่รองรับความต้องการใช้ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและกรุงเทพมหานคร  ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการใช้เพิ่มขึ้น   ความต่อเนื่อง ของการทำเหมืองในพื้นที่ดังกล่าวจะช่วยให้เกิดความมั่นคงของวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
                             ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีการประเมินความคุ้มค่าและความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งจากการประเมินพบว่า  โครงการมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคมต่อท้องถิ่นและประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าความเสียหายจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น โดยพบว่า  ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการอยู่ในระดับที่ดีมาก  โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 346.03  ล้านบาท  ที่อัตราคิดลด (Discount Rate)  ที่ร้อยละ 7.5 และมีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR)  ที่ร้อยละ 28.23 และมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 3.05 ปี  ซึ่งสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาน้อยกว่าอายุประทานบัตร  และเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันสุทธิกับมูลค่าที่สูญเสียไปของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการที่ 40.09 ล้านบาท  ปรากฏว่ามูลค่าโครงการสุทธิภายหลังหักมูลค่าที่สูญเสียไปของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการเท่ากับ 305.94 ล้านบาท
                             การดำเนินการของโครงการจะสร้างผลประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมให้ภาครัฐ ได้แก่ ผลประโยชน์พิเศษเพื่อประโยชน์แก่รัฐเพื่อตอบแทนการออกประทานบัตร ค่าภาคหลวงแร่  เงินบำรุงพิเศษ  ภาษีในรูปแบบต่าง ๆ โครงการจะมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินลงทุน  ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ การจ้างงาน  โดยเน้นการจ้างงานที่เป็นแรงงานท้องถิ่นซึ่งจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้และส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน เช่น 

รายการ จำนวนเงิน (ล้านบาท)
- ค่าภาคหลวงแร่ 135.50
- ผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐ 10.39
- เงินบำรุงพิเศษ 6.78
- ผลประโยชน์ที่ท้องถิ่นจะได้รับ ได้แก่ กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่  และกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ 18.82
- ภาษีเงินได้ 230.34
รวม 401.83

 
                             มีการจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อการฟื้นฟูพื้นที่  พัฒนาท้องถิ่นและการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในพื้นที่  นอกจากนี้ โครงการจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ได้จากอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง  และธุรกิจบริการอื่น ๆ อีกจำนวนมาก
                             4.3 การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
                             การทำเหมืองที่ผ่านมาผู้ถือประทานบัตรได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมครบถ้วน ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้โดยการทำเหมืองที่ผ่านมาไม่พบปัญหาการร้องเรียนคัดค้าน
                             การทำเหมืองต่อไปจะมีลักษณะของกิจกรรมเช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการมาแล้ว  จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญและได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่เสนอไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ทั้งในเรื่องการป้องกันฝุ่นละออง  ระดับเสียง  แรงสั่นสะเทือน คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต  การจ้างแรงงาน  การมีส่วนร่วมสุขภาพอนามัย  และความปลอดภัยของประชาชนซึ่งจะสามารถควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม  รวมถึงการรายงานผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
                             การฟื้นฟูพื้นที่ทำเหมืองได้กำหนดให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนผังโครงการทำเหมือง  โดยทำการฟื้นฟูสภาพพื้นที่หน้าเหมืองที่ผ่านการทำเหมืองแล้วให้มีสภาพปลอดภัย  ทำการจัดทำแนวกำบังธรรมชาติเพื่อสร้างทัศนียภาพที่ดี ปลูกไม้ยืนต้นและพืชคลุมดิน  บำรุงรักษาไม้ยืนต้นบริเวณแนวเขตที่ไม่ทำเหมือง  ทั้งนี้  จะทำการฟื้นฟูควบคู่ไปพร้อมกับการทำเหมือง  โดยมีการจัดตั้งกองทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ทำเหมืองและดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและท้องถิ่นที่ตั้งโครงการ ได้แก่ กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ  กำหนดจากอัตราการผลิตในแต่ละปี ในสัดส่วน  0.5 บาทต่อเมตริกตัน  แต่ไม่น้อยกว่า 200,000บาทต่อปี  และกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่  กำหนดจากอัตราการผลิตในแต่ละปี  ในสัดส่วน 1 บาทต่อเมตริกตัน  แต่ไม่น้อยกว่า 500,000  บาทต่อปี  ตลอดอายุประทานบัตร  และจัดทำหลักประกันการฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมืองและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง  และประกันภัยความรับผิดชอบต่อชีวิต  ร่างกาย  ทรัพย์สิน  ของบุคคลภายนอก  สำหรับการทำเหมืองประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3
                             การบริหารกองทุน  โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ในลักษณะไตรภาคี   ซึ่งมีผู้แทนจากส่วนราชการ  ผู้ประกอบการ  ชุมชน  รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ผู้แทนสถานศึกษา  และวัดในพื้นที่เข้าร่วมในคณะกรรมการ  ทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุนต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานสนับสนุนกิจกรรมทางด้านสังคมและการพัฒนาท้องถิ่นโดยผู้ขอประกอบการต้องรายงานผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินของกองทุนต่าง ๆ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะ ๆ ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ
                   5. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่  ได้ตรวจสอบพื้นที่คำขอประทานบัตรร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี   สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และกรมป่าไม้แล้ว ปรากฏว่า สภาพแวดล้อมไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ  ไม่มีปัญหาด้านมลภาวะหรือสร้างความขัดแย้งกับราษฎรและไม่มีปัญหาร้องเรียนคัดค้านการทำเหมือง
                   6. พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ซึ่งตามบทเฉพาะกาล มาตรา 188 บัญญัติให้บรรดาคำขอทุกประเภทที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับถือว่าเป็นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้และให้พิจารณาดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้  และตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่และการอนุญาตให้ทำเหมืองให้พิจารณาอนุญาตได้เฉพาะในพื้นที่แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่กำหนดให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง
                   7. การดำเนินการในขั้นตอนนี้ไม่ได้เป็นการพิจารณาอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ แต่เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี ทั้งนี้  เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าวแล้ว  จะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรต่อไป
 
5. เรื่อง รายงานประจำปี 2562 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอรายงานประจำปี 2562 ของ กสศ. ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 มาตรา 43 ที่บัญญัติให้กองทุนจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบ โดยรายงานฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
                   ผลการดำเนินงานของ กสศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีโครงการสำคัญ ดังนี้
                   โครงการ
                   1. โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไขหรือทุนเสมอภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
                   ผลการดำเนินงาน จัดสรรเงินช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวม 711,536 คน ในสถานศึกษา 27,805 แห่ง
                    2. โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                   ผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาแบบบูรณาการในพื้นที่ 20 จังหวัด จำนวน 49,474 คน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
 
                   3. โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง
                    ผลการดำเนินงาน ช่วยเหลือเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาและประกอบอาชีพตามความถนัด รุ่นที่ 1 มีนักศึกษาได้รับทุน 2,113 คน ใน 36 สถาบันการศึกษาสายอาชีพ
                   4. โครงการพัฒนาสถาบันต้นแบบด้านการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
                   ผลการดำเนินงาน เด็กปฐมวัยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสใน 20 จังหวัด นำร่องได้รับเงินอุดหนุน 21,136 คน และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด อปท. ได้รับการพัฒนาศักยภาพ 300 ศูนย์
                    5. โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน [ครูรัก(ษ์)ถิ่น]
                   ผลการดำเนินงาน ผลิตครูรุ่นใหม่บรรจุในพื้นที่ห่างไกลที่เป็นบ้านเกิดของตนเอง รุ่นที่ 1 มีเยาวชน    ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสได้รับทุนการศึกษาเพื่อศึกษาต่อในคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ 328 คน ครอบคลุมพื้นที่ 45 จังหวัด
                   6. โครงการทุนเต็มศักยภาพสายอาชีพ
                   ผลการดำเนินงาน สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับเยาวชนที่มีผลการเรียนดี มีความสามารถพิเศษ และมีเจตคติที่ดีต่อสายอาชีพ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก 40 คนต่อรุ่น
                   7. โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                   ผลการดำเนินงาน สนับสนุนให้ 291 โรงเรียน ใน 35 จังหวัด ที่เข้าร่วมโครงการเกิดกระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ที่จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมีครูได้รับการพัฒนา 5,800 คน และนักเรียนได้รับโอกาสพัฒนาศักยภาพ 78,654 คน
                    8. โครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ในโรงเรียนเพื่อความเสมอภาคในการเติบโตเป็นแรงงานคุณภาพยุค 4.0 ของเยาวชนไทย
                   ผลการดำเนินงาน ขยายผลงานวิจัยการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สู่การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในระดับโรงเรียน โดยการพัฒนาวิทยากรแกนนำ 294 คน จาก 84 โรงเรียน ใน 42 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
                   9. โครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส
                   ผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาหลักสูตรอาชีพระยะสั้นที่จะช่วยยกระดับทักษะแรงงานยากจนและด้อยโอกาสตามศักยภาพของชุมชน โดยในระยะแรกมีหน่วยพัฒนาอาชีพเข้าร่วม 71 แห่ง ใน 42 จังหวัด
                   รายงานด้านการบัญชีและการตรวจสอบ ประกอบด้วย
                   รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และรายงานการสอบบัญชีของ กสศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
 
6. เรื่อง รายงานผลการเตรียมความพร้อมในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เสนอดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                   สำนักงาน กสทช. รายงานว่า
                   1. เมื่อเดือนตุลาคม 2562 สำนักงาน กสทช. ได้รายงานความพร้อมในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ต่อรัฐสภา และในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 ได้ขอให้ กสทช. ปรับปรุงกรอบระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาให้กระชับรวดเร็วยิ่งขึ้น ประกอบกับในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ได้ขอให้ กสทช. เพิ่มเติมเนื้อหานิยามคำว่า “การหลอมรวม” ประโยชน์ของการหลอมรวมเทคโนโลยีที่มีต่อประเทศชาติ ประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งปรับปรุงกรอบระยะเวลาและเพิ่มเติมรายละเอียดแผนการดำเนินการออกหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนด้วย
                   2. สำนักงาน กสทช. ได้นำข้อคิดเห็นของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ไปพิจารณาปรับปรุงแผนการดำเนินการ ซึ่งในการประชุม กสทช. เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 ที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบให้มีการปรับปรุงแผนการดำเนินการและกรอบระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                       2.1 การเพิ่มเติมเนื้อหานิยามคำว่า “การหลอมรวม” และประโยชน์ของการหลอมรวมเทคโนโลยีที่มีต่อประเทศชาติ ประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้
                             2.1.1 หน้า 4 ของแผนการดำเนินการฯ “...แม้ว่าการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 จะมีเจตนารมณ์ให้เกิดการใช้คลื่นความถี่และโครงข่ายอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การพัฒนาและการหลอมรวมทางเทคโนโลยีก็ตาม แต่การหลอมรวมตามพระราชบัญญัตินี้หรือที่กำหนดไว้ในแผนการดำเนินการนี้มีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นเพียงการหลอมรวมในมิติคลื่นความถี่ ซึ่งหมายความถึง การที่แต่ละคลื่นความถี่สามารถนำไปประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมได้โดยไม่จำกัดเฉพาะกิจการใด กิจการหนึ่ง แต่มิได้หมายความว่าจะสามารถนำทุกย่านคลื่นความถี่มาหลอมรวมได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และอยู่ภายใต้การอนุญาตและกำกับดูแลของ กสทช. ซึ่งโดยหลักการแล้วการหลอมรวม (Convergence) ที่สมบูรณ์นั้น จะต้องเป็นการหลอมรวมในมิติทางโครงข่ายและเทคโนโลยี...”
                             2.1.2 หน้า 5 ของแผนการดำเนินการฯ “...ในการนี้เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 30 กสทช. ได้จัดทำแผนการดำเนินการและกำหนดกรอบระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกา โดยได้คำนึงถึงความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมายและพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับจากการหลอมรวม ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีที่ใช้กับการสื่อสารประเภทต่าง ๆ มาใช้งานร่วมกันได้...”
                   2.2 การปรับกรอบระยะเวลาดำเนินการและเพิ่มเติมรายละเอียดแผนการดำเนินการในขั้นตอนการออกหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น สรุปได้ดังนี้
                             2.2.1 ปรับกรอบระยะเวลาดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ จากเดิมดำเนินการในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 มาเป็นดำเนินการในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ประกอบด้วย 1) จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนเสนอให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2) พิจารณาผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 3) เสนอพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ต่อคณะรัฐมนตรี
                             2.2.2 เพิ่มเติมรายละเอียดการดำเนินการที่จะต้องเตรียมการจัดทำหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับบทบัญญัติการหลอมรวมให้มีความสมบูรณ์ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) การแก้ไขปรับปรุงแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2562) ในส่วนของภาคผนวก ก. 2) จัดทำหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบกิจการเพิ่มเติม 3) จัดทำหลักเกณฑ์การโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และ 4) จัดทำหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยวิธีอื่นนอกเหนือจากวิธีประมูล ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการศึกษาและยกร่างหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยวิธีอื่นนอกเหนือจากวิธีประมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างเสนอต่อ กสทช. พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการเพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไป ในส่วนหลักเกณฑ์อื่นอีก 3 ฉบับดังกล่าว อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนการดำเนินการฯ
 
7. เรื่อง ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เรื่อง อนุมัติการกู้เงิน Soft loan ของสำนักงาน    ธนานุเคราะห์ (สธค.) จำนวน 2,000 ล้านบาท จากธนาคารออมสิน โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 [เรื่อง โครงการสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) โรงรับจำนำของรัฐสู้ภัยโควิด 19 โดยขยายเวลาตั๋วจำนำและลดดอกเบี้ยรับจำนำและการกู้เงิน Soft loan จำนวน 2,000 ล้านบาท จากธนาคารออมสิน โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกัน] ดังนี้
                   อนุมัติการกู้เงิน Soft loan ของ สธค. จำนวน 2,000 ล้านบาท จากธนาคารออมสิน โดยให้ กค. ค้ำประกัน เพื่อเป็นการเตรียมเงินทุนหมุนเวียนรองรับธุรกรรมการให้บริการรับจำนำแก่ประชาชนสำหรับโครงการ สธค. โรงรับจำนำของรัฐ สู้ภัยโควิด 19 ส่วนการปรับเป้าหมายผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ให้ สธค. เสนอคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้ สธค. ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย
                   สาระสำคัญของเรื่อง 
                   พม. รายงานว่า  ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 31 มีนาคม 2563 อนุมัติการกู้เงิน Soft loan ของ สธค. จำนวน 2,000 ล้านบาท จากธนาคารออมสิน เพื่อเป็นการเตรียมเงินทุนหมุนเวียนรองรับธุรกรรมการให้บริการรับจำนำแก่ประชาชน สำหรับโครงการ สธค. โรงรับจำนำของรัฐ สู้ภัยโควิด 19 ส่วนการปรับเป้าหมายผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้ สธค. เสนอ คนร. ตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้ สธค. ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย  
                   กค. ได้มีหนังสือแจ้งความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้                
                   1. ประเด็นการกู้เงิน 
                             กค. ไม่ขัดข้องในการอนุมัติให้ พม. กู้เงิน Soft loan ให้กับ สธค. จำนวน 2,000 ล้านบาท จากธนาคารออมสิน โดย กค. ค้ำประกัน และเห็นว่า สธค. ควรกำหนดแนวทางการบริหารจัดการภาระหนี้ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรอบคอบ เพื่อลดผลกระทบต่อสภาพคล่องและผลการดำเนินงานของ สธค. รวมทั้ง สธค. ควรดำเนินการก่อหนี้ให้สอดคล้องตามนัยมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วย สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราและเงื่อนไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกันของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2551  
                   2. ประเด็นการเสนอขอปรับเป้าหมายผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่เป็นตัวชี้วัดทางการเงิน (ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อรายได้สุทธิจากการดำเนินงาน) และตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ทางการเงิน (การดำเนินงานตามแผนธุรกิจแต่ละสาขา) 
                             โดยที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (คณะกรรมการฯ) มีอำนาจและหน้าที่ในการ (1) เจรจา (2) จัดทำบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ และ (3) ประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดทำบันทึกข้อตกลง และประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (คณะอนุกรรมการฯ) ดำเนินการในข้อ (1) และ (2) และรายงานให้คณะกรรมการฯ ทราบ รวมทั้งดำเนินการในข้อ (3) แล้วรายงานให้คณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังนั้น การพิจารณาในข้อ (1) และ (2) จึงเป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ และการพิจารณาในข้อ (3) เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ
 
8. เรื่อง “พระพุทธศาสนาในสถานการณ์ COVID-19”
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เรื่อง “พระพุทธศาสนาในสถานการณ์ COVID-19” ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                   กิจกรรม/การดำเนินการ และรายละเอียดกิจกรรม/ผลการดำเนินงาน
                   1. การประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ บท “รตนสูตร” เพื่อความเป็นสวัสดิมงคล สร้างขวัญ และกำลังใจแก่ประชาชน 
                             รัฐบาลและคณะสงฆ์ได้ดำเนินการทั้งในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) และส่วนภูมิภาค ให้มีการเจริญพระพุทธมนต์บท “รตนสูตร” พร้อมกันในวันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยส่วนกลางกำหนดจัดที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดไตรมิตรวิทยาราม โดยวัดราชบพิธฯ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จลงพระอุโบสถ ทรงเป็นประธานในการเจริญพระพุทธมนต์พร้อมด้วยคณะสงฆ์วัด สำหรับในส่วนภูมิภาคกำหนดจัดในวัดที่แต่ละจังหวัดกำหนด ซึ่งได้จัดให้มีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง NBT และช่อง 9 MCOT HD ในการนี้ พศ. ได้จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์บท “รตนสูตร” จำนวน 10,000 เล่ม สำหรับถวายวัดที่ประกอบพิธีและมอบให้แก่ประชาชนที่สนใจด้วย 
                   2. การรณรงค์สร้างความเชื่อมั่นให้วัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศร่วมทำความสะอาด ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 
                             พศ. ดำเนินการประสานความร่วมมือกับวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำร่องการจัดกิจกรรมรณรงค์ ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จำนวน 7 วัด ประกอบด้วย 1. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร 2. วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร 3. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) 4. วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร 5. วัดปากน้ำภาษีเจริญ 6. วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร   7. วัดระฆังโฆสิตาราม
                   ในส่วนภูมิภาค ได้มอบหมายให้ พศ. จังหวัดทุกจังหวัดประสานความร่วมมือกับคณะจิตอาสาในพื้นที่ร่วมกันทำความสะอาดวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 150 วัด 
                   3. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานกัปปิยภัณฑ์ เพื่อจัดหาหน้ากากอนามัยแจกพระสงฆ์ทั่วประเทศ 
                             สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงห่วงใยสุขภาพอนามัยของพระภิกษุสามเณร ตลอดจนประชาชนทั่วไป จึงมีพระบัญชาโปรดให้ไวยาวัจกรจัดกัปปิยภัณฑ์เท่าจำนวน 2 ล้านบาท ประทานเป็นทุนประเดิมสำหรับจัดหาหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานถวายแด่พระภิกษุสามเณรทั่วประเทศ  
                   4. จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (โรงทาน) ตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
                             ศูนย์ช่วยเหลือฯ ได้ประสานภารกิจร่วมกับหน่วยงานและบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ซึ่งประจำอยู่ในพื้นที่ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงทาน และการแจกจ่ายให้เป็นไปตามหลักสุขอนามัย โดยต้องไม่มีการจัดพิธีกร พิธีกรรม กิจกรรม หรือการบริหารจัดการใด ๆ ที่ต้องให้บุคคลจำนวนมากมารวมตัวกัน กับทั้งให้ปฏิบัติตามคำสั่ง มาตรการ และคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด รวมจำนวน 42,186 วัด โรงทาน 804 ศูนย์ (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม-6 พฤษภาคม 2563) 
                   5. พศ. และองค์กรคณะสงฆ์สนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือวัดที่ขาดแคลนและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 
                             1) โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณจากงบเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายสนับสนุนวัดเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรค COVID-19 วงเงิน 21.36 ล้านบาท ดังนี้ 
                            1.1) อุดหนุนวัดที่เป็นศูนย์กลางระดับจังหวัด ๆ ละ 50,000 บาท รวม 3.80 ล้านบาท และ 1.2) อุดหนุนวัดที่เป็นศูนย์กลางระดับอำเภอ ๆ ละ 20,000 บาท รวม 17.56 ล้านบาท  
                             2) งบประมาณจากกองทุน “วัดช่วยวัด” พ.ศ. 2562 วงเงิน 24 ล้านบาท ได้จัดสรรให้กับวัดและพระภิกษุสามเณร ในลักษณะสมทบรายหัว ๆ ละ 40 บาท จำนวน 20,000 รูป (งวดแรก) จากวัดที่ พศ. จังหวัดรายงานและรับรองข้อมูลวัดที่ต้องช่วยเหลือเร่งด่วน         
 
9. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 1
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 1 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยสรุปข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2563 จาก 140 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 98.6 ของส่วนราชการทั้งหมด 142 ส่วนราชการ ดังนี้
                   1. การปฏิบัติงานนอกถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home)
                       ส่วนราชการร้อยละ 100 (140 ส่วนราชการ) ที่รายงานมีการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งซึ่งส่วนราชการร้อยละ 53 (74 ส่วนราชการ) กำหนดสัดส่วนให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ร้อยละ 50 ขึ้นไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ เช่น ส่วนราชการที่เน้นงานระดับนโยบาย เป็นต้น โดยมีการมอบหมายในหลายรูปแบบ เช่น ปฏิบัติงานที่บ้านสลับกับมาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ตั้งของส่วนราชการแบบวันเว้นวัน สัปดาห์ละ 1 วัน สัปดาห์ละ 2 วัน หรือ สัปดาห์เว้นสัปดาห์ เป็นต้น
                   2. การเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ
                       1) ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เหลื่อมเวลาการปฏิบัติงานสำหรับกรณีที่ปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการโดยส่วนราชการส่วนใหญ่เลือกใช้การเหลื่อมเวลาการปฏิบัติงาน เวลา 07.30 – 15.30 น. และเวลา 08.30 – 16.30 น. แต่บางส่วนราชการก็มีรูปแบบการเหลื่อมเวลาการปฏิบัติงานอื่น ๆ อีกด้วย ได้แก่ เวลา 06.00 – 14.00 น. เวลา 14.00 – 22.00 น. เวลา 22.00 – 06.00 น. เช่น กรมประมง กรมทางหลวง เป็นต้น ซึ่งสำนักงาน ก.พ. จะขอความร่วมมือและให้คำแนะนำส่วนราชการในการกำหนดให้มีการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการลดความแออัดและลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                       2) ส่วนราชการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งตามวันเวลาปกติในบางลักษณะงานที่มีความจำเป็น โดยลักษณะงานส่วนใหญ่คือ งานให้บริการประชาชน งานรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล งานในห้องปฏิบัติการ งานตามนโยบายเร่งด่วนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และบางตำแหน่ง เช่น ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการสำนัก/กอง เป็นต้น
                   3. แนวทางการบริหารงานของส่วนราชการ
                       1) รูปแบบการลงเวลาปฏิบัติงานผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การลงเวลาผ่านระบบออนไลน์ Application LINE โปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (Departmental Personnel Information System - DPIS) หรือระบบโปรแกรมเฉพาะของส่วนราชการ
                       2) การกำกับดูแลและบริหารผลงาน เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารที่ส่วนราชการเน้นเพื่อคงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทั้งในและนอกสถานที่ตั้งให้บรรลุผลตามเป้าหมายและให้มั่นใจว่าคุณภาพของการทำงานและการให้บริการไม่ลดลง โดยส่วนราชการส่วนใหญ่กำหนดให้มีการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า และให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รายงานความก้าวหน้าของงานอย่างต่อเนื่องผ่าน Application LINE ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และ Google Form โดยร้อยละ 55 กำหนดให้รายงานความก้าวหน้ารายวัน และร้อยละ 45 กำหนดให้รายงานความก้าวหน้ารายสัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่มอบหมาย
                       3) การนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน ส่วนราชการเลือกใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่าหนึ่งระบบ โดยส่วนใหญ่เลือกใช้ Application LINE (ร้อยละ 98) Zoom (ร้อยละ 60) Microsoft Team (ร้อยละ 29) Cisco Webex (ร้อยละ 24) และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 18) ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์แบบพกพาและโทรศัพท์เคลื่อนที่ รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Tablet และ IPAD
                   4. ข้อจำกัดของส่วนราชการในการมอบหมายข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้แก่ การขาดความพร้อมเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานและสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง และการขาดความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน ลักษณะงานบางประเภทไม่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้ เช่น งานให้บริการประชาชน งานรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล งานในห้องปฏิบัติการ งานภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉิน งานความลับ เป็นต้น รวมทั้งในกรณีส่วนราชการที่มีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคนั้น มีบ้านพักข้าราชการตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่ตั้งของสำนักงาน จึงไม่จำเป็นต้องให้ข้าราชการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้
                   5. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานใน-นอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ ได้แก่ การจัดให้มีอุปกรณ์หรือการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่บ้าน เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น รวมทั้งในกรณีการให้ข้าราชการปฏิบัติราชการในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ ส่วนราชการจะต้องมีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยด้านสุขภาพและชีวิตให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่อย่างเหมาะสม เช่น การมีจุดคัดกรองโดยมีเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิและเตรียมน้ำยาล้างมือฆ่าเชื้อโรค การเตรียมหน้ากากอนามัย การกำหนดระยะห่างของผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น
 
10. เรื่อง  แนวทางการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนและการสนับสนุนอาหารกลางวันในโรงเรียนรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19)
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนและการสนับสนุนอาหารกลางวันในโรงเรียน รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ 
                    สาระสำคัญ
                    1. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปิดเรียนของโรงเรียนในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 9 เมษายน 2563 ได้ประกาศให้โรงเรียนทั้งในและนอกระบบซึ่งอยู่ในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการเปิดเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ดังนี้
                              1.1 ปฏิทินการเปิดภาคเรียน ตามกรอบโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 200 วันต่อปีการศึกษา จำแนกเป็น 2 ภาคเรียน ดังนี้
- ภาคเรียนที่ 1/2563 กำหนดเปิดภาคเรียนระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม  - 13 พฤศจิกายน 2563 รวมจำนวนวันเรียน 93 วัน และกำหนดปิดภาคเรียนระหว่างวันที่ 14-30 พฤศจิกายน 2563   รวมจำนวนวันปิดภาคเรียน 17 วัน
- ภาคเรียนที่ 2/2563 กำหนดเปิดภาคเรียนระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2563 -  9 เมษายน 2564 รวมจำนวนวันเรียน 88 วัน และกำหนดปิดภาคเรียนระหว่างวันที่ 10 เมษายน   - 16 พฤษภาคม 2564 รวมจำนวนวันปิดภาคเรียน 37 วัน
- เวลาที่ขาดหายไป 19 วัน ให้โรงเรียนสอนชดเชยเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนครบตามหลักสูตร  
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้เป็นประธานการประชุมหารือผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนและโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักจัดประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับสิทธิตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนและโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย อย่างต่อเนื่องและครบถ้วน
3. กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดประชุมหารือเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 โดยมีข้อสรุปแนวทางดำเนินการที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19)   และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน ดังนี้
3.1 โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ดื่มนม จำนวน 260 วันต่อปีการศึกษา ตามประกาศของคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน  พ.ศ. 2563 และ (ฉบับที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563 จึงมีแนวทางบริหารจัดการ ดังนี้
- กรณีภาคเรียนที่ 1/2563 เปิดภาคเรียนวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ให้นักเรียนบริโภคนมชนิด ยู เอช ที ตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม  ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 
- กรณีภาคเรียนที่ 1/2563 เปิดภาคเรียนหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 หรือกรณีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ หรือกรณีการสลับวันมาเรียน ให้นักเรียนบริโภคนมชนิด ยู เอช ที ตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ 

3.2 โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวัน จำนวน 200 วันต่อปีการศึกษา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 ที่เห็นชอบให้นักเรียนตั้งแต่เด็กเล็ก และชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวันทุกคน จำนวน 200 วัน และเพิ่มเงินอุดหนุนจากอัตรา 10 บาทต่อคนต่อวัน เป็น 13 บาท ต่อคนต่อวัน และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556 ที่ให้เพิ่มเงินอุดหนุนเป็นอัตรา 20 บาท   ต่อคนต่อวัน จึงมีแนวทางบริหารจัดการ ดังนี้
- กรณีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ หรือกรณีการสลับวันมาเรียน ทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนที่โรงเรียนได้ จึงจำเป็นต้องจ่ายงบประมาณค่าอาหารกลางวันนักเรียนให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อนำไปจัดหาอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทานที่บ้าน ทั้งนี้ ให้รวมถึงอาหารมื้ออื่น ๆ ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐเคยจัดให้ ตั้งแต่วันเปิดภาคเรียนวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
- กรณีการจัดการเรียนการสอนชดเชย ให้โรงเรียนดำเนินการจัดอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนที่โรงเรียนได้เช่นเดียวกับวันจัดการเรียนการสอนตามปกติ
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทยจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ                          และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ได้พิจารณาว่า สืบเนื่องจากการปรับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง ปีการศึกษา 2563 จากวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 เป็นวันที่ 1   กรกฎาคม 2563 ประกอบกับความประสงค์ให้นักเรียนได้รับสิทธิตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนและโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ในช่วงการปิดภาคเรียนดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและครบถ้วน  จึงมีมติมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย อย่างต่อเนื่องและครบถ้วน โดยให้พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้นักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียนได้รับอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันด้วย กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับสิทธิตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนและโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนที่มีคุณภาพถูกหลักอนามัย อย่างต่อเนื่องและครบถ้วน โดยให้สอดคล้องกับปฏิทินการเปิดภาคเรียน
 
11. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2563
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2563 ลดลงจากไตรมาสที่สี่ของปี 2562 ร้อยละ 2.2 (%QoQ_SA)
1.1 ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว การใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนปรับตัวลดลง การส่งออกรวมปรับตัวลดลงตามการส่งออกบริการที่ปรับตัวลดลงมาก ในขณะที่การส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนและกึ่งคงทน สอดคล้องกับการชะลอตัวของฐานรายได้ที่สำคัญ ๆ ในระบบเศรษฐกิจและการลดลงของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนและหมวดบริการขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 8.8 ตามการลดลงของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หมวดสินค้ากึ่งคงทนลดลงร้อยละ 4.4 สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีปริมาณค้าปลีกสินค้ากึ่งคงทนและดัชนีปริมาณการนำเข้าสินค้าหมวดสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม ในขณะที่การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนส่วนหนึ่งจากการเตรียมการของภาคครัวเรือนเพื่อรองรับการระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มหลายรายการขยายตัว และการใช้จ่ายในหมวดบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 49.7 เทียบกับระดับ 56.8 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 2.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายรวมอยู่ที่ร้อยละ 25.3 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 22.3 ในไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อน) การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 6.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลดลงของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง ร้อยละ 5.7 และร้อยละ 4.3 ตามลำดับ และการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 9.3 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนของรัฐบาลลดลงร้อยละ 22.1 สอดคล้องกับความล่าช้าของการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 12.1 อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 10.5 เทียบกับอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 18.2 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

  1. .2 ด้านภาคต่างประเทศ
  2. มีมูลค่า 60,867 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 1.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในขณะที่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.4 กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าขยายตัว เช่น น้ำตาล (ร้อยละ 16.2) คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 11.0) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 15.0) เครื่องปรับอากาศ (ร้อยละ 14.8) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 12.4) และอาหารสัตว์ (ร้อยละ 10.6) เป็นต้น กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าลดลง เช่น ข้าว (ลดลงร้อยละ 25.0) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 2.7) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 19.0) รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 11.1) รถกระบะและรถบรรทุก (ลดลงร้อยละ 27.4) เคมีภัณฑ์ (ลดลงร้อยละ 14.0) ปิโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 10.7) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 4.4) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดอาเซียน (9) และตะวันออกกลาง (15) ขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (15) และออสเตรเลียปรับตัวลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว
    มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.1 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 0.5
  3.    การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 52,817 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 ในขณะที่ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.9

การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและเศรษฐกิจของประเทศสำคัญ

ประเทศ GDP (%YoY) มูลค่าการส่งออกสินค้า (%YoY)
2561 2562 2563 ต่ำสุดในรอบ 2561 2562 2563
ทั้งปี ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1 (ไตรมาส) ทั้งปี ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1
สหรัฐฯ 2.9 2.1 2.3 2.3 0.3 41 7.8 -1.7 -1.4 -1.3 -3.3
ยูโรโซน 1.9 1.3 1.0 1.2 -3.2 42 8.7 -1.4 -0.9 -2.6 -4.6
สหราชอาณาจักร 1.3 1.3 1.1 1.4 -1.6 41 10.2 -12.1 5.1 -3.6 -10.2
ออสเตรเลีย 2.7 1.8 2.2 1.8 - - 11.3 7.8 -0.8 5.3 -6.4
ญี่ปุ่น 0.3 1.7 -0.7 0.7 - - 5.7 -1.3 -4.4 -4.4 -4.4
จีน 6.7 6.0 6.0 6.1 -6.8 113 9.9 -0.3 2.0 0.5 -13.3
อินเดีย 6.8 5.1 4.7 5.3 - - 8.7 -3.8 -1.0 0.1 -12.8
เกาหลีใต้ 2.7 2.0 2.3 2.0 1.3 42 5.4 -12.3 -11.8 -10.4 -1.7
ไต้หวัน 2.7 3.0 3.3 2.7 1.5 16 5.9 -0.9 1.8 -1.4 3.7
ฮ่องกง 2.8 -2.8 -3.0 -1.2 -8.9 185 6.8 -6.3 -2.6 -4.1 -8.8
สิงคโปร์ 3.5 0.7 1.0 0.7 -2.2 44 10.3 -7.8 -3.5 -5.2 -3.6
อินโดนีเซีย 5.2 5.0 5.0 5.0 3.0 73 6.6 -6.9 -3.8 -7.0 2.8
มาเลเซีย 4.8 4.4 3.6 4.3 0.7 42 14.2 -3.5 -3.2 -4.3 -0.9
ฟิลิปปินส์ 6.3 6.3 6.7 6.0 -0.2 85 0.9 2.2 6.2 2.3 -5.2
เวียดนาม 7.1 7.5 7.0 7.0 3.8 44 13.3 10.5 8.5 8.4 7.6
 
  ที่มา: CEIC รวบรวมโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.3 ด้านการผลิต การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม สาขาการขนส่ง และสาขาก่อสร้างปรับตัวลดลง ขณะที่การผลิตสาขาการขายส่งและ
การขายปลีก สาขาไฟฟ้าและก๊าซ สาขาการเงินและการประกันภัย และสาขาข้อมูลข่าวสารขยายตัว โดยสาขาเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 5.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการลดลงของผลผลิตพืชเกษตรสำคัญซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ผลผลิตพืชผลสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 29.4) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ลดลงร้อยละ 29.2) อ้อย (ลดลงร้อยละ 12.7) ปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 19.1) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 5.4) และกลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 0.4) เป็นต้น ผลผลิตพืชผลสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา (ร้อยละ 1.1) ด้านผลผลิตหมวดประมงลดลงร้อยละ 8.3 ขณะที่ผลผลิตหมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องในเกณฑ์ดีร้อยละ 3.6 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 123.2) กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 23.4) ข้าวเปลือก (ร้อยละ 6.7) และอ้อย (ร้อยละ 17.3) อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ยางพารา (ลดลงร้อยละ 9.0) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 11.8) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ลดลงร้อยละ 10.0) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.0 สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 2.7 ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 – 60 ลดลงร้อยละ 19.0 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 2.2 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ 0.8 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 18.8) การผลิตน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 37.7) และการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 4.3) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ร้อยละ 13.0) การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ร้อยละ 6.9) และการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง (ร้อยละ 12.7) เป็นต้น อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 66.7 ลดลงจากร้อยละ 70.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ลดลงร้อยละ 24.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศและรายรับจากนักท่องเที่ยวลดลงมาก โดยในไตรมาสนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 6.69 ล้านคน ลดลงร้อยละ 38.0 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 13 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่สี่ของปี 2559) เมื่อรวมกับการลดลงของนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว 0.515 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.2 ประกอบด้วย (1) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 0.332 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 40.4 โดยรายรับจากนักท่องเที่ยวจากประเทศสำคัญที่ลดลง ประกอบด้วย รายรับจากนักท่องเที่ยวจีน มาเลเซีย อินเดีย และเกาหลีใต้ ตามลำดับ และ (2) รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย 0.183 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.6 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 51.50 ลดลงจากร้อยละ 71.26 ในไตรมาสก่อนหน้า และลดลงจากร้อยละ 78.62 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ลดลงร้อยละ 6.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของบริการขนส่งผู้โดยสารเป็นสำคัญ โดยบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 20.8 บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงลดลงร้อยละ 4.2 และบริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 2.4 อย่างไรก็ตาม บริการขนส่งทางน้ำขยายตัวร้อยละ 2.2 และบริการไปรษณีย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 4.4 ชะลอลงจากขยายตัวร้อยละ 10.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของบริการโทรคมนาคมและบริการการจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นสำคัญ และสาขาการเงินและการประกันภัย ขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงจากสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่ออุปโภคบริโภคของบริษัทผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน และผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้น ส่วนด้านการประกันภัยโดยรวมขยายตัวเร่งขึ้น
 
1.4 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.4 บัญชีเดินสะพัดเกินดุล 9.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (295.8 พันล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 7.1 ของ GDP เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2563 อยู่ที่ 226.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 7,018.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.0 ของ GDP
 
2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2563
เศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ (-6.0) - (-5.0) เนื่องจาก (1) การปรับตัวลดลงรุนแรงของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) การลดลงรุนแรงของจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ (3) เงื่อนไขและข้อจำกัดที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศ และ (4) ปัญหาภัยแล้งโดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 8.0 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ (-1.5) - (-0.5) และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 4.9 ของ GDP
2.1 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2562 และการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในการประมาณการเดิม ตามแนวโน้มการลดลงของฐานรายได้ที่สำคัญ ๆ ในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และความเชื่อมั่นผู้บริโภค รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคและมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ในช่วงที่เหลือของปี ตามแนวโน้มการลดลงของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และจำกัดการเดินทางของภาครัฐ และปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2562 และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.6 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มอัตราเบิกจ่ายงบรายจ่ายประจำภายใต้งบประมาณประจำปี 2563 รวมทั้งแรงขับเคลื่อนเพิ่มเติมจากการใช้จ่ายภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ทั้งในส่วนของแผนงานด้านสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค และแผนงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
 
2.2 การลงทุนรวมคาดว่าจะลดลงร้อยละ 2.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 2562 และการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยการลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในปี 2562 และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลจากการเบิกจ่ายงบลงทุนภายใต้งบเหลื่อมปีที่มีแนวโน้มสูงกว่าสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และการเพิ่มขึ้นของวงเงินภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ ในส่วนของแผนงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะลดลงร้อยละ 4.2 ปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปี 2562 และการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม การส่งออก การบริโภคภายในประเทศ และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ
 
2.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะลดลงร้อยละ 8.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.2 ในปี 2562 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการปรับลดประมาณการปริมาณการส่งออกสินค้าจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 เป็นการลดลงร้อยละ 6.0 สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกจากการขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 2.4 เป็นการลดลงร้อยละ 2.8 และร้อยละ 10.0 ตามลำดับ และการปรับลดสมมติฐานราคาสินค้าส่งออกซึ่งคาดว่าจะลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 เป็นการลดลงร้อยละ 2.0 ตามการปรับลดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ เมื่อรวมกับการส่งออกบริการที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงตามการปรับลดสมมติฐานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจาก 39.8 ล้านคน เป็น 12.7 ล้านคน คาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 17.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.9 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า และการลดลงร้อยละ 2.6 ในปี 2562
3. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2562
การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2563 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การประสานนโยบายการเงินการคลังเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจในช่วงการลดลงอย่างรุนแรงของรายได้จากการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการลดลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าภาคธุรกิจมีความพร้อมในการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรคโควิด 19 และเงื่อนไขข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่อนคลายลง (2) การผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และข้อจำกัดการเดินทางควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 อย่างรัดกุม และดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนให้พฤติกรรมในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนและภาคธุรกิจสามารถปรับตัวเข้าสู่ระดับใกล้เคียงภาวะปกติ รวมทั้งสามารถปรับตัวสอดคล้องกับมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของภาครัฐ และการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคและรูปแบบการประกอบธุรกิจที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด 19 (3) การให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้าเพื่อไม่ให้การส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงรุนแรงมากเกินไป รวมทั้งเพื่อช่วยลดผลกระทบจากการลดลงของรายได้จากการท่องเที่ยว โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการกีดกันทางการค้าในช่วงที่ผ่านมาและได้รับประโยชน์เพิ่มเติมจากการระบาดของโรคโควิด 19 ในต่างประเทศ ซึ่งทำให้ความต้องการสินค้าบางรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น (4) การเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้กรอบต่าง ๆ ของภาครัฐ ประกอบด้วย (i) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90.2 ของวงเงินงบประมาณ โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 99.0 และร้อยละ 55.0 ตามลำดับ (ii) การเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90.0 (iii) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75.0 และ (iv) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้กรอบพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฯ (5) การขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาวภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีและกรอบงบลงทุนรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง และ (6) การเตรียมการรองรับความเสี่ยงสำคัญ ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปีและในระยะปานกลาง

 
12. เรื่อง ปัญหาการเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกี่ยวกับการกักกันผู้เดินทางที่มาจากต่างประเทศ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามนโยบายของรัฐบาลและศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตอาการของบุคคลโดยเฉพาะผู้เดินทางมาจากต่างประเทศสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากงบกลางได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณกำหนด ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 อันเป็นเวลาที่เริ่มบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติประการอื่นตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ตามที่นายกรัฐมนตรีมีบัญชามอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) พิจารณาปัญหาการเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกี่ยวกับการกักกัน (Quarantine) ผู้เดินทางที่มาจากต่างประเทศซึ่งส่วนราชการต่าง ๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้รับมอบหมายจากทางราชการให้รับผิดชอบการจัดสถานที่แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และตามข้อกำหนดออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้ประชุมหารือเรื่องดังกล่าวร่วมกับปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รองปลัดกระทรวงกลาโหม รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และผู้แทนกรมบัญชีกลางแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เพื่อทำความเข้าใจถึงแนวปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานและแนวทางการแก้ปัญหา ปรากฏผลดังนี้
                   1. ปัญหา
                       เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขึ้นรัฐบาลได้มีนโยบายให้ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศกักกันตัวเป็นเวลาประมาณ 14 วัน ณ สถานที่ที่รัฐจัดไว้ให้ (State Quarantine) ซึ่งเป็นมาตรการที่ใช้กันทั่วโลก โดยการดำเนินการในเรื่องนี้รัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้อาศัยความสมัครใจของผู้ถูกกักกันและเป็นไปเพื่อผลประโยชน์แก่การป้องกันการติดต่อและแพร่ระบาดของโรค หน่วยงานที่รับมอบหมายให้รับผิดชอบคือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงคมนาคม หน่วยงานดังกล่าวจึงได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการจัดหาที่พัก อาหาร และยานพาหนะ รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมโรคให้แก่ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศตั้งแต่ก่อนที่จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (26 มีนาคม 2563) จนถึงปัจจุบัน โดยทุกส่วนราชการได้ดำเนินการเบิกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือทดลองจ่ายไปบ้างแล้วบางส่วน เบื้องต้นกระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อเบิกจ่ายในเรื่องดังกล่าว ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ใช้งบประมาณในส่วนของตนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น พ.ศ. 2560 และอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งของแต่ละท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงดำเนินการไปตามความฉุกเฉินเร่งด่วนเฉพาะหน้าตามนโยบายของรัฐบาล แต่ทุกส่วนราชการยังมีความกังวลใจว่าการดำเนินการดังกล่าวชอบด้วยพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 41 และมาตรา 42 หรือไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้เจ้าของพาหนะ หรือผู้ควบคุมพาหนะ หรือผู้เดินทางรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเอง
                   2. ผลการหารือ
                       ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การเกิดโรคระบาดโควิด-19 เป็นกรณีอุบัติใหม่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่ได้มีการวางแผนหรือเตรียมตัวล่วงหน้าในระบบบริหารจัดการปกติและการตรากฎระเบียบไว้รองรับ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเทียบเคียงกับการปฏิบัติที่เคยดำเนินการมาร่วมกับแนวปฏิบัติใหม่ที่เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติในนานาประเทศเพื่อให้สามารถดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที และเมื่อพิจารณามาตรา 41 และมาตรา 42 ของพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 แล้วเห็นว่าเป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้เป็นสิทธิของรัฐในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะ หรือผู้เดินทางเข้าประเทศ หากเกิดโรคระบาดระหว่างประเทศขึ้น ดังนั้นรัฐจึงมีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้ ซึ่งรัฐบาลเคยดำเนินการรับผิดชอบเสียเองในทำนองเดียวกันนี้ในการจัดส่งเครื่องบินไปรับคนไทยในต่างประเทศเพื่ออพยพหลบภัยธรรมชาติ หรือภัยสงครามหรือจากการก่อความไม่สงบ ตลอดจนภัยอื่น ๆ เพื่อเดินทางกลับประเทศไทยโดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายมาแล้ว ดังนั้น ในกรณีนี้ซึ่งเป็นการเกิดโรคระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลกไม่ได้จำกัดบริเวณและมีระยะเวลาการฟักตัวอย่างน้อย 14 วัน เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตราย ประกอบกับรัฐไม่เคยเจรจากับสายการบินหรือผู้ถูกกักกันตัวไว้ก่อนให้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในทางตรงกันข้ามหลายคนขอกลับไปกักตัวเองที่ภูมิลำเนาโดยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง แต่รัฐเห็นว่าบุคคลบางกลุ่มมีความเสี่ยงสูงเพราะเดินทางมาจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค มีประวัติการใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ สมควรควบคุมให้อยู่ในที่เดียวกันภายใต้การดูแลของรัฐ เพื่อสะดวกแก่การเฝ้าระวังระยะฟักตัวและแก้ไขหากปรากฏอาการ อีกทั้งรัฐธรรมนูญมาตรา 47 บัญญัติให้บุคคลมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งมาตรการกักกันตัวถือว่าเป็นมาตรการป้องกันโรคติดต่อเพื่อประโยชน์ของผู้นั้นเองและการแพร่ระบาดไปยังประชาชนทั่วไปที่รัฐพึงจัดให้มีขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นรัฐจึงไม่ควรต้องเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าว
                   จากการหารือดังกล่าว ที่ประชุมเห็นว่าคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมือ่วันที่ 7 เมษายน 2563 ให้กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐในการบริหารจัดการเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 ให้เกิดความชัดเจน เช่นในประเด็นการดำเนินการตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อแห่งขาติ พ.ศ. 2558 โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาด จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการตามนโยบายของรัฐบาลและศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตอาการของบุคคลโดยเฉพาะผู้เดินทางมาจากต่างประเทศสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากงบกลางได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณกำหนด ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 อันเป็นเวลาที่เริ่มบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติประการอื่น
 

ต่างประเทศ

13. เรื่อง ร่างบันทึกความร่วมมือด้านไปรษณีย์ระหว่างกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่นและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับใหม่
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือด้านไปรษณีย์ระหว่างกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่นและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย (Memorandum of Cooperation in the Postal Field between the Ministry of Internal Affairs and Communications of Japan and  the Ministry of Digital Economy and Society  of the Kingdom of Thailand) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
                   สาระสำคัญ
                    ร่างบันทึกความร่วมมือด้านไปรษณีย์ระหว่างกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับใหม่ เป็นการจัดทำร่างบันทึกความร่วมมือฯ เพื่อใช้บังคับแทนบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับเดิม ที่สิ้นสุดการใช้บังคับเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยคงหลักการและทิศทางในแนวทางเดิม แต่ปรับรายละเอียดเนื้อหาและเพิ่มกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และการดำเนินงานในปัจจุบัน เช่น การแปลงที่ทำการไปรษณีย์ในประเทศไทยให้ประชาชนได้นำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นหรือผลิตภัณฑ์เกษตรมาขายในช่องทางออนไลน์ และกำหนดให้การสิ้นสุดของบันทึกความร่วมมือฯ จะไม่มีผลต่อกิจกรรมความร่วมมือข้างต้นที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการในช่วงที่บันทึกความร่วมมือฯ หมดอายุลง รวมทั้งเปลี่ยนการลงนามเป็นรัฐมนตรีว่าการของทั้งสองฝ่ายเพื่อยกระดับความร่วมมือด้านไปรษณีย์
                   สาระสำคัญร่างบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับใหม่ ดังนี้
                   วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านไปรษณีย์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นตามกฎหมายและนโยบายภายในประเทศของแต่ละประเทศและข้อผูกพันระหว่างประเทศ
                   ขอบเขตความร่วมมือ ประกอบด้วย 1. การแบ่งปันข้อมูลและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านไปรษณีย์ของทั้งสองฝ่าย 2. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างไปรษณีย์ญี่ปุ่นและไปรษณีย์ไทย 3. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเอกชน/รัฐของญี่ปุ่น (Japanese private/public agencies) และไปรษณีย์ไทย ทั้งร่วมกันทำโครงการผลิตภัณฑ์ และการให้บริการ เพื่อพัฒนาการบริการให้ทันสมัย และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของไปรษณีย์ไทย รวมถึงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการไปรษณีย์และที่ทำการไปรษณีย์ การเชื่อมโยงระหว่าง Platform e-commerce ของญี่ปุ่น และของไปรษณีย์ไทยในการเอาสินค้าท้องถิ่นมาเชื่อมกันให้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของสองประเทศ 4. สนับสนุนให้มีการดำเนินงานตามข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือต่างๆ 5. คงความรู้การถ่ายทอดจากฝ่ายญี่ปุ่นภายใต้ความร่วมมือฯ ไว้เป็นการเฉพาะภายในภาครัฐและไปรษณีย์ไทย
                   ร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีระยะเวลา 3 ปี แต่ทั้งนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถขอสิ้นสุดได้ก่อนกำหนดโดยการทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งอีกฝ่ายล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน การสิ้นสุดของบันทึกความร่วมมือฯ จะไม่มีผลต่อกิจกรรมความร่วมมือข้างต้นที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการในช่วงที่บันทึกความร่วมมือฯ หมดอายุลง และร่างบันทึกความร่วมมือฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมาย
 
14. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและสหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ และเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่วมกับสหพันธรัฐรัสเซีย เนื่องจากเป็นการดำเนินงานตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ลงนามรับรองไว้แล้วเมื่อปี พ.ศ. 2548 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
                   สาระสำคัญ      
                   ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับรัสเซียในการพัฒนา จัดโครงการเฉพาะ หรือกิจกรรมด้านการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกของคู่ภาคีที่หามาได้ โดยขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในประเทศ กฎ ระเบียบ และนโยบายแห่งชาติซึ่งใช้บังคับในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนและรัสเซีย โดยมีเป้าหมายของโครงการความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติระหว่าง 2 ฝ่าย คือ มุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการบรรเทาความเสี่ยงจากภัยพิบัติ รวมถึงสนับสนุนการปฏิบัติงานของ AHA Centre และศูนย์ภาวะวิกฤตของรัสเซีย โดยสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                   1 ขอบเขตความร่วมมือ
                              (1) สนับสนุนการเตือนภัยล่วงหน้า และการติดตามการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากผลกระทบดังกล่าว
                              (2) อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
                              (3) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการบรรเทาความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
                              (4) ส่งเสริมการฝึกอบรมความเชี่ยวชาญในเรื่องการจัดการภัยพิบัติ
                              (5) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง AHA Centre  และศูนย์ภาวะวิกฤตของรัสเซีย
2. กลไกการดำเนินการและโครงการความร่วมมือ ทั้ง 2 ฝ่ายจะพัฒนาความร่วมมือหรือร่วมกันจัดโครงการโดยเฉพาะหรือกิจกรรมด้านการจัดการภัยพิบัติ โดยอาศัยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกของทั้ง 2 ฝ่าย โดยขึ้นอยู่กับกฎหมาย กฎ ระเบียบภายในของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนและรัสเซีย
3. ผลของบันทึกความเข้าใจ  บันทึกความเข้าใจเป็นเพียงการบันทึกความตั้งใจของคู่ภาคี และไม่ก่อให้เกิดการสร้างภาระผูกพันภายใต้กฎหมายภายในประเทศ หรือกฎหมายระหว่างประเทศ หรือก่อให้เกิดกระบวนการทางกฎหมายใดๆ หรือก่อให้เกิดภาระหน้าที่ที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย
4. การเริ่มมีผลบังคับใช้และระยะเวลา บันทึกความเข้าใจจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ได้มีการลงนาม โดยมีผลบังคับใช้ช่วงระยะเวลา 3 ปี และจะมีผลบังคับใช้ใหม่โดยอัตโนมัติในอีก 3 ปีถัดไป หลังจากนั้นทั้ง 2 ฝ่ายอาจขยายระยะเวลาตามที่ได้ตกลงร่วมกัน
 
15. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมทางไกลเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศสมาชิกและคู่เจรจาสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การรับมือ ความร่วมมือ และความเป็นหุ้นส่วน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงเจ้าหน้าที่อาวุโสสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ว่าด้วยความร่วมมือและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง โดยให้อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโส IORA ของไทย หรือผู้ได้รับมอบหมาย ร่วมให้การรับรองเอกสารดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
                   สาระสำคัญ
                   ร่างถ้อยแถลงฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศสมาชิกในการแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันในการรับมือกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                   1. แสดงความเสียใจต่อความสูญเสียและผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และรับทราบความพยายามและความท้าทายของแต่ละประเทศสมาชิกในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พร้อมทั้งสนับสนุนบทบาทและการดำเนินการขององค์การอนามัยโลกในการควบคุมและจำกัดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                   2. แสดงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มาตรการและแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศ การจัดตั้งช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูล การเปิดตลาดการค้าการลงทุน ความร่วมมือพหุภาคี การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนร่วม การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสมาชิกที่เปราะบาง และประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด
 
16. เรื่อง  ร่างแถลงการณ์ร่วมเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการรับรอง ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
                   สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อย้ำเจตนารมณ์ร่วมกันของรัฐภาคีสนธิสัญญาฯ ต่อการอนุวัติพันธกรณีของสนธิสัญญาฯ ในมิติต่าง ๆ อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ โดยได้ให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ (1) การส่งเสริมความเป็นสากลของสนธิสัญญาฯ (2) การตระหนักถึงความล่าช้าของการดำเนินงานด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์และเรียกร้องให้ประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ (nuclear-weapon State) เร่งรัดการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง (3) การตระหนักถึงผลกระทบทางมนุษยธรรมร้ายแรงอันเกิดจากใช้อาวุธนิวเคลียร์ (4) การย้ำความสำคัญของการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในทุกภูมิภาค ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญต่อการป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และ (5) การเรียกร้องให้รัฐภาคีร่วมกันหารืออย่างเปิดเผย โปร่งใสและสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันให้สนธิสัญญาฯ มีความก้าวหน้า
                   ทั้งนี้ การร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ถือเป็นการย้ำถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของไทยในฐานะรัฐภาคีสนธิสัญญาฯ และประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง (non-nuclear-weapon State) ที่จะร่วมกับรัฐภาคีสนธิสัญญาฯ ในการผลักดันให้การดำเนินการของสนธิสัญญาฯ มีความคืบหน้าและเป็นรูปธรรม เพื่อที่จะสามารถบรรลุตามความมุ่งหมายของการมีโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนี้ ยังเป็นการย้ำบทบาทที่สำคัญของไทยในกรอบการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ซึ่งไทยได้มีบทบาทร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศในการผลักดันการดำเนินการที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง
 

แต่งตั้ง

17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงยุติธรรม)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง นายอภิชาต จารุศิริ รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาเฉพาะด้านนโยบายและการบริหารงานยุติธรรม (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายเกษม
ทวีปัญญสกุล ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้านให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563  ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
 
19. เรื่อง แจ้งรายชื่อโฆษกกระทรวงพาณิชย์และรองโฆษกกระทรวงพาณิชย์
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้งโฆษกกระทรวงพาณิชย์และรองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ชุดใหม่ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ 
                   1. นายสุพพัต อ่องแสงคุณ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นโฆษกกระทรวงพาณิชย์  
                   2. นางลลิดา จิวะนันทประวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ 
                   3. นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นรองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ 
         
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (กระทรวงการต่างประเทศ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นางสาวศศิริทธิ์ ตันกุลรัตน์ กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ
 
21. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนสมาคม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเทวัญ ลิปตพัลลภ) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนสมาคม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง รวม 9 คน แทนประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนสมาคม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้ 
                   ประธานกรรมการ 
                   1. นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์  
                   กรรมการผู้แทนสมาคม
                   2. นายนพปฎล เมฆเมฆา (ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจขายตรง) 
                   3. นายนคร เสรีรักษ์ (ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจตลาดแบบตรง)
                   4. นายทวี กาญจนภู (ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค)  
                   5. นายบรรจง บุญรัตน์ (ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค)  
                   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 
                   6. พลตำรวจโท ปัญญา เอ่งฉ้วน 
                   7. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี (ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน)
                   8. นายจุลพงษ์ ทวีศรี 
                   9. พันเอก ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ (ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน)
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้ 
                   1. นายเธียรชัย ณ นคร เป็นประธานกรรมการ 
                   2. นายนวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 
                   3. พันตำรวจโท เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 
                   4. นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
                   5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์  
                   6. นางสาวฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย 
                   7. ศาสตราจารย์ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย  
                   8. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพ
                   9. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน          
                   10. นางเมธินี เทพมณี เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ)
 
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอให้โอนข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้ 
                   1. โอน นายทวีศักดิ์ วาณิชย์เจริญ อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  
                   2. โอน นายอนันต์ วงศ์เบญจรัตน์ รองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารสูง) กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 
                   3. โอน นายสันติ ป่าหวาย อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  
                   4. โอน นายนิวัฒน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 

         
 
.............
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: