จับตา: คู่มือการตรวจวินิจฉัย โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางห้องปฏิบัติการ

กองบรรณาธิการ TCIJ 15 มี.ค. 2563 | อ่านแล้ว 3153 ครั้ง


'คู่มือการตรวจวินิจฉัย โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางห้องปฏิบัติการ' โดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019; COVID-19) เดิมเรียกว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) พบรายงานผู้ป่วยโรคปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลเหอเป่ย์สาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมาวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าโรคปอดอักเสบที่ระบาดที่อู่ฮั่น มีสาเหตุจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน โดยสถานการณ์ได้เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น และระบาดไปอีกหลายเมืองในเวลาต่อมา ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในทุกมณฑลของจีน และพบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ซึ่งพบผู้ป่วยติดเชื้อรายแรกเป็นหญิงชาวจีนที่เดินทางมาเที่ยวเมืองไทย

กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินเป็นระดับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิดและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการทำงานแบบบูรณาการทุกกระทรวงรวมทั้งประสานงานกับองค์การอนามัยโลก และประเทศในอาเซียน เพื่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยมาตรฐานระดับสูงสุดในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ให้พัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ รวดเร็ว เพื่อให้ทันต่อการรักษาผู้ป่วยและการควบคุมโรค แล้วได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยให้กับห้องปฏิบัติการเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน สำนักงานป้องกันควบคุมโรค โดยห้องปฏิบัติการเครือข่ายต้องผ่านการประเมินความสามารถ และการตรวจสอบคุณภาพ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อนจะเปิดบริการตรวจวินิจฉัยได้ ขณะนี้มีหน่วยงานห้องปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถตรวจ COVID-19 ครอบคลุมทุกเขตบริการสุขภาพของประเทศไทย ซึ่งมั่นใจได้ว่าจะสามารถรองรับสถานการณ์การระบาดของโรค และการเฝ้าระวังโรคได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และอย่างมีประสิทธิภาพกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลทุกระดับ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: