เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เรียกร้อง 'ไทย-กัมพูชา-พม่า' ไม่ทิ้งแรงงานข้ามชาติ

กองบรรณาธิการ TCIJ | 17 ธ.ค. 2563 | อ่านแล้ว 3206 ครั้ง

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เรียกร้อง 'ไทย-กัมพูชา-พม่า' ไม่ทิ้งแรงงานข้ามชาติ

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network - MMN) ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์กรภาคประชาสังคมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งมีเป้าหมายการทำงานด้านการรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมสิทธิและสวัสดิการของแรงงานข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion - GMS) จัดงานเสวนาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ประกอบไปด้วยผู้มีส่วนได้เสียจากหลายภาคส่วน เช่น ตัวแทนจากกระทรวงแรงงานประเทศไทย ตัวแทนจากภาคประชาสังคมจากประเทศไทยและกัมพูชาและแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์ นำเสนอมุมมองที่หลากหลายต่อนโยบายการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่โควิด 19 และผลกระทบของโรคระบาดที่มีต่อต่อแรงงานชาติและครอบครัว งานเสวนาเริ่มโดยการกล่าวต้อนรับและแนะนำผู้เสวนาโดยคุณปรานม สมวงศ์ ในฐานะผู้ดำเนินรายการ

คุณธนเดช ปัญญาวิวัฒนากร นักวิชาการแรงงานชานาญการ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานอธิบายถึงนโยบายของรัฐบาลไทยที่อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติอยู่อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยช่วงที่มีการแพร่ระบาดใหญ่โควิด 19 ผ่านการขยายเวลาให้อยู่อาศัยและทำงานรวมไปถึงการผ่อนผันด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสถานะผู้เข้าเมือง ผู้แทนจากกระทรวงแรงงานกล่าวว่า "ทางการไทยพร้อมที่จะประสานงานกับประเทศต้นทางเพื่อสนับสนุนแรงงานข้ามชาติ แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 ที่ส่งผลให้พรมแดนต้องปิดและรอคำสั่งจากรัฐบาลทำให้กระทรวงแรงงานไม่สามารถดำเนินการเรื่องต่างๆได้มากนัก"

คุณ Reiko Harima ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเสนอข้อค้นพบทางการวิจัยเบื้องต้นจากโครงการวิจัยร่วมของ MMN ประเด็นผลกระทบของการระบาดโควิด 19 ต่อแรงงานข้ามชาติที่จะเผยแพร่ในเร็ว ๆ นี้ ข้อค้นพบเบื้องต้นชี้ให้เห็นถึงการตัดสินใจของผู้ย้ายถิ่นระหว่างภาวะการระบาดใหญ่ คุณ Harima บรรยายถึงปัจจัยที่ซับซ้อนหลายอย่างที่ทำให้แรงงานข้ามชาติตัดสินใจว่าจะอยู่ในประเทศไทยหรือพยายามที่จะกลับไปยังประเทศต้นทางในช่วงที่เกิดความวุ่นวาย ซึ่งรวมถึง “ความต้องการของครอบครัว ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ความกังวลด้านสุขภาพ ความรู้สึกผูกผัน รวมไปถึงประเด็นที่ถูกนำมาพิจารณาในการตัดสินใจในทางปฏิบัติ เช่น การปิดชายแดน ความหวังและแรงบันดาลใจในอนาคต” คุณ Harima สรุปการนำเสอโดยกระตุ้นให้ผู้กำหนดนโยบายพัฒนานโยบายที่ให้คุณค่าและยึดโยงกับมุมมองของผู้ย้ายถิ่นให้มากขึ้น

คุณ Su Myat Hlaing แรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ที่อยู่ในประเทศไทยเล่าถึงความท้าทายต่างที่เธอต้องเผชิญท่ามกลางวิกฤติการระบาดโควิด 19 หลังจากที่เธอและแรงงานคนอื่นๆจำนวน 136 คนตกงานเนื่องจากข้อพิพาทด้านแรงงานไม่นานก่อนที่จะเกิดโรคระบาด เธอตระหนักว่าสถานการณ์ของเธอนั้นจะแย่ลงเรื่อย เธอดิ้นรนหางานทำในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ความจริงที่ว่าเธอและเพื่อนร่วมงานของเธอที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทแรงงานถูกนายจ้างในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าดังกล่าวขึ้นบัญชีดำทำให้โรงงานอื่นก็ไม่รับเธอเข้าทำงาน เธอพยายามหางานทำในภาคการจ้างงานอื่น เช่น เกษตรกรรม แต่ก็ไม่ได้งานเพราะว่านายจ้างมีแนวโน้มจะจ้างคนงานชาย ที่เธอสามารถอยู่รอดได้จนถึงปัจจุบันเพราะได้รับความช่วยเหลือด้านอาหารจากองค์กรภาคประชาสังคม ยิ่งไปกว่านั้นการผ่อนผันเอกสารคนเข้าเมืองของแรงงานข้ามชาติก็กลายเป็นความท้าทายที่เพิ่มเข้ามา เธอเล่าว่า “คนงานส่วนใหญ่ต้องจ้างนายหน้าให้เดินเอกสารต่ออายุบัตร ส่วนผู้ที่ไม่สามารถจ่ายได้ก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปล่อยให้เอกสารหมดอายุ” แม้กำลังเผชิญความท้าทายเหล่านี้แต่เธอกล่าวว่าเธอตัดสินใจที่จะอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากไม่มีโอกาสได้งานในประเทศเมียนมาร์และหวังว่าสถานการณ์การจ้างงานจะดีขึ้นในไม่ช้าเพราะว่าเธอต้องเลี้ยงดูครอบครัวของเธอ

คุณ Sokchar Mom ผู้อำนวยการองค์กร Legal Support for Children and Women ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคีสมาชิกของ MMN ที่ดำเนินการทำวิจัยร่วมได้ตั้งข้อสังเกตต่อรัฐบาลกัมพูชาที่ตอบสนองต่อผู้ย้ายถิ่นชาวกัมพูชาในประเทศไทยและวิเคราะห์ถึงช่องโหว่ในแนวทางการดำเนินนโยบายว่าสถานทูตกัมพูชาให้ความช่วยเหลือในด้านการเผยแพร่ข้อมูล การให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารและการบรรเทาทุกข์ในกรณีฉุกเฉินแก่ผู้ที่ติดค้างในประเทศไทยหรือผู้ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหาร อย่างไรก็ตามคุณ Mom ชี้ว่าการทำงานของสถานทูตกัมพูชายังมีข้อจำกัดอยู่มากเพราะว่ามีชาวกัมพูชาจำนวนมากในประเทศไทยที่เสี่ยงต่อการตกอยู่ในภาวะสิ้นเนื้อประดาตัว ส่วนมุมต่อช่องโหว่ทางนโยบายของรัฐบาลกัมพูชา เขาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “จนถึงขณะนี้ รัฐบาลกัมพูชายังไม่มีแผนการที่ชัดเจนว่าควรตอบสนองต่อการช่วยเหลือผู้ย้ายถิ่นอย่างไร” เขาเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชากำหนดแผนการที่รัดกุมมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานข้ามชาติเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงที่จะเกินขึ้นได้ในอนาคตหากการระบาดยังคงมีอยู่ไป

คุณ Brahm Press ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation) เสนอข้อเสนอแนะของ MMN ที่องค์กรของเขาเป็นหนึ่งในภาคีสมาชิกการทำวิจัยร่วมว่ารัฐบาลไทยไม่ควรประชากรผู้ย้ายถิ่นไว้เบื้องหลังในภาวะการแพร่ระบาดของโควิด 19 เนื่องจาก “ผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากถือว่าประเทศไทยเป็น ‘บ้าน’ ของพวกเขา” เขากำหนดความจำเป็นในการลดช่องโหว่ที่มีอยู่ในระบบประกันสังคมของไทยโดยการจัดการกับวิธีเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติ อาทิ การแก้ไขขั้นตอนที่ยาวนานและซับซ้อน การขาดข้อมูลในภาษาของแรงงานข้ามชาติ รวมไปถึงการกีดกันแรงงานที่ไม่มีเอกสารทำงานที่ถูกต้องและแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้ทำงานเต็มเวลา “ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาตินอกระบบเหล่านี้เป็นกลุ่มใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประกันสังคม”

คุณปรานม สมวงศ์ กล่าวสรุปงานเสวนาในฐานะตัวแทนของ MMN โดยเรียกร้องมีการรวมแรงงานข้ามชาติที่อยู่อาศัยในประเทศไทยประมาณ 4 ล้านคนเข้าอยู่ในนโยบายคุ้มครองสังคม เธอกล่าวว่า“ แรงงานข้ามชาติเป็นกลไกสำคัญที่สิ่งที่สร้างและพัฒนาประเทศไทยมาเป็นระยะยาวนานแต่นยังคงได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นแรงงานชั่วคราว” นอกจากนี้เธอยังกล่าวอีกว่า MMN คาดหวังที่จะร่วมมือกับกระทรวงแรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ

การเสวนาจบลงด้วยช่วงถามตอบซึ่งผู้ร่วมอภิปรายก็ได้ย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงนโยบายและการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐในการกระบวนการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสถานะผู้เข้าเมืองให้ง่ายขึ้นและไม่ทิ้งผู้ย้ายถิ่นไว้เบื้องหลังซึ่งพวกเขาต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก รวมทั้งการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เกี่ยวกับเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network – MMN)

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  (Mekong Migration Network – MMN) เป็นองค์กรภาคประชาสังคมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 สมาชิกในเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงปฏิบัติหน้าที่ทั้งในประเทศต้นทางของแรงงานข้ามชาติและประเทศปลายที่แรงงานข้ามชาติเดินทางเข้ามาทำงาน มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำงานกับแรงงานข้ามชาติในระดับการทำงานภาคสนาม และทางเครือข่ายมีการจัดการหารือกับผู้มีส่วนได้เสียภาครัฐบาลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกรุณาเยี่ยมชมหน้าเว็บของเรา www.mekongmigration.org

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

Ms. Reiko Harima, MMN Regional Coordinator (English and Japanese) at: reiko@mekongmigration.org

Mr. Brahm Press, Executive Director, MAP Foundation (English and Thai) at: brahm.press@gmail.com

Mr. Sokchar Mom, Executive Director, Legal Support for Children and Women, Cambodia (Khmer and English) at: sokchar_mom@lscw.org; or on +855 12943767

นางสาวญาณิน วงค์ใหม่ ผู้ประสานงานโครงการเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ภาษาไทยและอังกฤษ) อีเมลล์ yanin@mekongmigration.org เบอร์โทร (+66) 860918186

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ

  

Like this article:
Social share: