ปี 2562 คนไทยคุยกันบนโซเชียล 7.2 พันล้านข้อความ

กองบรรณาธิการ TCIJ 7 มี.ค. 2563 | อ่านแล้ว 1419 ครั้ง

ปี 2562 คนไทยคุยกันบนโซเชียล 7.2 พันล้านข้อความ

เปิดสถติคนไทยคุยกันบนโซเชียลมีเดียปี 2562 กว่า 7.2 พันล้านข้อความ สูงขึ้นจากปี 2561 36% ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานในโซเชียลมีเดียไม่ได้เพิ่มขึ้น

สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อปลายเดือน ก.พ. 2563 ว่านายกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคท่ีเปลี่ยนไปจากเดิม สถิติจำนวนข้อความบนโลกโซเชียลตลอดปี 2562 ที่สูงถึง 7.2 พันล้านข้อความสูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 36 ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานในโซเชียลมีเดียไม่ได้เพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนผู้ใช้งานอยู่ที่ร้อยละ 74 เท่ากับปีที่แล้ว ในส่วนของแบรนด์ไวซไซท์เก็บข้อมูล 1,399 แบรนด์ พบว่าร้อยละ 84 ของ แบรนด์ใช้โซเชียลมีเดียตั้งแต่ 2 แพลตฟอร์ม ขึ้นไปในการสื่อสารกับผู้บริโภคเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ในแต่ละแพลตฟอรม์ จะมีค่ากลางเพื่อใช้วัดผลการสื่อสารบนโซเชียลมีเดีย มีประสิทธิภาพหรือทำได้ดีพอหรือไม่ เมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น ในแพลตฟอรม์ยูทูปมีค่ากลางคือได้รับค่าวิว 630,480 วิว จะถือว่าคลิปนั้นมีประสิทธิภาพ ถ้าเจาะลลึกลงในกลมุ่ผลิตภัณฑ์สินค้านม และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมรวมถึงโยเกิรต์ ไอศกรีม ต้องมีค่าวิวถึง 9,074,842 วิว ถึงจะเรียกว่ามีประสิทธิภาพ ในด้านของอินฟลูเอนเซอร์ก็มีการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอเนื้อหาโดยจะเห็นว่าหลายคนมีเนื้อหาท่ีหลากหลาย มากขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่หมวดหมู่ท่ีถูกกำหนดไว้ โดยมากกว่าร้อยละ 97 ของอินฟลูเอนเซอร์มีการนำเสนอ เนื้อหาข้ามหมวดหมู่ตั้วแต่2หมวดขึ้นไปเช่น อินฟลูเลนเซอรห์ความสวยงามเริ่มหันมาเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการออกกำลังกายมากขึ้นและยังคงได้รับความนิยมสูงจากผู้ติดตาม รวมถึงกระจายเนื้อหาไปได้ในวงกว้างมากขึ่นทำให้การวัดผลที่ผ่านมาอาจจะไม่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของอินฟูลเลนเซอร์ แบรนด์จึงพลาด โอกาสในการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมกับแผนการตลาดอย่างแท้จริง

ไวซ์ไซท์ได้พัฒนามาตรฐานการวัดประสิทธิภาพของอินฟูลเลนเซอร์ที่เรียกว่า Influencer Report เป็นการจัดอันดับผลงานของอินฟูลเลนเซอร์ทั้งตลาด ซึ่งเป็นการจัดอันดับผลงานของอินฟูลเลนเซอร์ทั้งจลาดเพื่อให้แบรนด์สามารถเลือกอินฟูลเลนเซอร์ได้ตรงกับแผนการตลาดมากขึ้น ไวซ์ไซท์ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาความต้องการที่ซ่อนอยู่บนโลกโซเชียลของผู้บริโภคผ่านการทำงานและเครื่องมือที่ให้บริการอยู่ ในปีนี้สิ่งที่แบรนด์ควรจะต้องให้ความสำคัญ คือ การฟังเสียงลูกค้า เพื่อให้รู้เท่าทันและปรับตัวให้ทันกับโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงต้องมองภาพรวมให้รอบด้านเพื่อประเมินสถานการณ์และคู่แข่ง สุดท้ายควรเลือกใช้เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประหยัดเวลาในการทำงานแบะว่วแผนรับมือได้ทันท่วงที

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: