ภาคธุรกิจร่วมโครงการ ‘Mega Farm Enterprise’ สนองนโยบาย ‘ประชารัฐรวมกลุ่มเกษตรกร-ภาคเอกชน’

ทีมข่าว TCIJ: 16 มิ.ย. 2562 | อ่านแล้ว 6798 ครั้ง

ส่อง ‘โครงการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่’ (Mega Farm Enterprise) 9 เอกชน ใน 10 แปลงต้นแบบ สานนโยบายประชารัฐรวมกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ แปลงใหญ่มันสำปะหลัง 'สยามคูโบต้า', แปลงใหญ่อ้อยโรงงาน 'น้ำตาลมิตรผล', แปลงใหญ่สับปะรด 'สวิฟท์', แปลงใหญ่พืชอาหารสัตว์ 'เอฟแอนด์เอ็น’, แปลงเกษตรผสมผสาน 'สวิฟท์-ซี.พี. อินเตอร์เทรด-แดรี่โฮม', แปลงโคนม 'แดรี่พลัส', แปลงใหญ่ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 'เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง', แปลงใหญ่ข้าวเพื่อสุขภาพพันธุ์ กข 43 'ข้าว ซีพี' ที่มาภาพประกอบ: Catkin (CC0)

เมื่อเดือน พ.ค. 2562 นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุกับสื่อมวลชนว่าได้รับรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ (Mega Farm Enterprise) เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกร ว่าได้เร่งดำเนินแนวทางบริหารจัดการ  พื้นที่จัดทำโครงการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบ 10 แปลง ขยายผลมาจากนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อเป็นกลไกปฏิรูปภาคการเกษตร ช่วยให้เกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตที่แน่นอนขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการผลิตและขายผลผลิตอีกด้วย

โดยขนาดพื้นที่วิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ กำหนดให้มีขนาดพื้นที่ติดกันรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 500 ไร่ ขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาดจากการผลิต (Economy of Scale) ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ภาคเอกชนกับเกษตรกรจะตกลงหารือร่วมกันก่อนว่าจะทำการเกษตรชนิดไหนหรือจะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์อะไรที่เป็นความต้องการของตลาด หมดปัญหาการขายผลผลิตไม่ได้ เป็นไปตามนโยบายการตลาดนำการผลิต

“การบริหาร ให้เกษตรกรเจ้าของที่ดินใช้ที่ดินของตนเองลงทุนร่วมกันในวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ เหมือนการร่วมกันทำนาด้วยการลงแขกในอดีต มีข้อตกลงให้เอกชนลงทุนออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักร หรือแนะนำวิธีการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่และหรือรับซื้อผลผลิตของวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยได้เริ่มโครงการในฤดูกาลผลิตใหม่นี้” นายกฤษฎา ระบุ [1]

เปิด 10 แนวทางการปฏิรูปภาคการเกษตร ของ 'กฤษฎา บุญราช ' ตาม พ...เศรษฐกิจการเกษตร ปี 2522

 

สำหรับสาระสำคัญแนวทางการปฏิรูปภาคการเกษตรของนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตาม พ.ร.บ.เศรษฐกิจการเกษตร ปี 2522 ประกอบไปด้วย

(1.) แนวโน้มเกษตรกรรมของไทยควรมุ่งไปสู่การรวมผืนที่ดินเป็นเกษตรแปลงใหญ่ โดยรวมเกษตรกรรายเล็กรายน้อยให้เป็น “วิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่”

(2.) วิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ หรือ  Mega Farm Enterprise (MFE) เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขยายผลมาจากนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ โดยจะเป็นความหวังใหม่ที่จะนำมาเป็นกลไกปฏิรูปภาคการเกษตรของไทย ช่วยให้เกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตที่แน่นอนขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต และยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการผลิตและขายผลผลิตอีกด้วย 

(3.) ขนาดพื้นที่วิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ กำหนดให้มีขนาดพื้นที่ติดกันรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 500 ไร่ ขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาดจากการผลิต (Economies of Scale) ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

(4.) กระทรวงเกษตรฯ จะรวบรวมกลุ่มเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินเพื่อจดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตร หรือวิสาหกิจชุมชน

(5.) มีการแต่งตั้ง  “ผู้จัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่”  โดยคัดเลือกจากเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่มีศักยภาพ และต้องการทำการเกษตรเอง หรือคัดเลือกจากบุตร/หลานเกษตรกรในพื้นที่ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการเกษตรกรรมขณะเป็นทหารกองประจำการของกองทัพภาคต่างๆ/คัดเลือกบุตรหลานของเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farmer) ของกรมส่งเสริมการเกษตรมาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการประจำวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ 

(6.) ภาครัฐและเอกชนจะร่วมกันสนับสนุนองค์ความรู้และวิทยาการจัดการสมัยใหม่แบบเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) จัดหลักสูตรอบรมให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนให้การแนะนำวิธีการผลิตและการจัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ที่ใช้ต้นทุนต่ำแต่ให้ผลผลิตสูงพร้อมคุณภาพที่ดี

(7.) ภาคเอกชนกับเกษตรกรจะลงทุนร่วมกัน โดยจะหารือและตกลงร่วมกันก่อนว่าจะทำการเกษตรชนิดไหนหรือจะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์อะไรที่เป็นความต้องการของตลาด หลังจากนั้นให้เกษตรกรเจ้าของที่ดินจะใช้ที่ดินของตนเองลงทุนร่วมกันในวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ เหมือนการร่วมกันทำนาด้วยการลงแขกในอดีต โดยมีข้อตกลงให้เอกชนลงทุนออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักร หรือแนะนำวิธีการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่และหรือรับซื้อผลผลิตของวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

(8.) การจำหน่วยผลผลิต มอบหมายให้สหกรณ์การเกษตร หรือวิสาหกิจชุมชน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเกษตรกรรวบรวมผลผลิตในโครงการขายให้กับภาคเอกชน หรือส่งไปจำหน่ายในตลาด รวมทั้งส่งออกไปขายต่างประเทศ หรือขายในระบบออนไลน์ เป็นต้น

(9.) ส่งเสริมการยกระดับมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตจากวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ ด้วยเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาตั้งโรงงานรวบรวมผลผลิต หรือตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตของโครงการโดยตรงในลักษณะอุตสาหกรรมการเกษตร และ

(10.) องค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิรูปภาคการเกษตรตาม พระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 ในส่วนกลางให้ใช้คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานและมีกรรมการจากส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งภาคเอกชนและผู้แทนกลุ่มเกษตรกรเป็นกรรมการทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการจัดการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมในด้านต่างๆ เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัด กษ. นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ในระดับพื้นที่ให้ใช้คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อ.พ.ก.) ซึ่งมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและมีกรรมการประกอบด้วยหน่วยราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ทำหน้าที่ร่วมกันขับเคลื่อนงาน โดยมีการประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อกำหนดภารกิจและหน่วยงานผู้รับผิดชอบแต่ละด้านในการบริหารจัดการปฏิรูปภาคการเกษตรตามแนวทางในข้อ 1-9 ดังกล่าวข้างต้นให้ประสบความสำเร็จให้จงได้ [2]

 

เอกชนตกลงร่วมมือโครงการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่

สำหรับแปลงที่เอกชนตกลงร่วมมือแล้วได้แก่ แปลงใหญ่มันสำปะหลังร่วมกับบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด, แปลงใหญ่อ้อยโรงงานร่วมกับบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด, แปลงใหญ่สับปะรด ร่วมกับบริษัท สวิฟท์ จำกัด, แปลงใหญ่พืชอาหารสัตว์ร่วมกับบริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด, แปลงเกษตรผสมผสาน ร่วมกับบริษัท สวิฟท์ จำกัด บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัท แดรี่โฮม จำกัด, แปลงโคนมร่วมกับบริษัท แดรี่พลัส จำกัด

ส่วนที่เหลือมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบประสานภาคเอกชนให้สัมฤทธิผลโดยเร็ว ล่าสุดกรมการข้าวได้กำหนดพื้นที่แปลงใหญ่ข้าวเพิ่มเติม 2 แปลงคือกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลโพนข่า อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เกษตรกร 90 ราย พื้นที่ 1,200 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ร่วมกับบริษัท เจียเม้ง มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, กลุ่มนาแปลงใหญ่สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เกษตรกร 100 ราย พื้นที่ 2,000 ไร่ ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพพันธุ์ กข 43 เป็นแปลงร่วมกับบริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ จะรวบรวมกลุ่มเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินเพื่อจดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตร หรือวิสาหกิจชุมชน แล้วแต่งตั้งผู้จัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ โดยคัดเลือกจากเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่มีศักยภาพ และต้องการทำการเกษตรเอง หรือคัดเลือกจากบุตร/หลานเกษตรกรในพื้นที่ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการเกษตรกรรมขณะเป็นทหารกองประจำการของกองทัพภาคต่างๆ/คัดเลือกบุตรหลานของเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farmer) ของกรมส่งเสริมการเกษตรมาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการประจำวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ ส่วนการจำหน่ายผลผลิต มอบหมายให้สหกรณ์การเกษตร หรือวิสาหกิจชุมชน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเกษตรกรรวบรวมผลผลิตในโครงการขายให้กับภาคเอกชน หรือส่งไปจำหน่ายในตลาด รวมทั้งส่งออกไปขายต่างประเทศ หรือขายในระบบออนไลน์ เป็นต้น อีกทั้งส่งเสริมการยกระดับมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตจากวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ ด้วยเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาตั้งโรงงานรวบรวมผลผลิต หรือตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตของโครงการโดยตรงในลักษณะอุตสาหกรรมการเกษตร [3]

ส่องการทำธุรกิจ/รายได้/กำไร ปี 2561 ของ 9 เอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

TCIJ ได้สืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 10 มิ.ย. 2562) ของเอกชน 9 รายประกอบไปด้วย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด, บริษัท สวิฟท์ จำกัด, บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด, บริษัท แดรี่โฮม จำกัด, บริษัท แดรี่พลัส จำกัด, บริษัท เจียเม้ง มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท ซีพี จำกัด ที่เข้าร่วมโครงการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ 10 แปลง (บริษัท สวิฟท์ จำกัด เข้าร่วมโครงการ 2 แปลง) มีรายละเอียด วัตถุประสงค์การประกอบธุรกิจ, รายได้รวม และกำไรสุทธิ จากการส่งงบการเงินปีล่าสุด ดังนี้

 

อ้างอิง
[1] วิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่เริ่มทำแล้วฤดูกาลผลิตใหม่นี้ (สำนักข่าวไทย, 12 พ.ค. 2562)
[2] 'กฤษฎา บุญราช' ตอกหมุด '10 ประเด็น' แนวทางการปฏิรูปภาคการเกษตร (มติชนออนไลน์, 11 พ.ค. 2562)
[3] วิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่เริ่มทำแล้วฤดูกาลผลิตใหม่นี้ (สำนักข่าวไทย, 12 พ.ค. 2562)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
จับตา: พระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522
ขึ้นปีที่ 3 'เกษตรแปลงใหญ่' รวมพื้นที่แล้ว 3.38 ล้านไร่ เกษตรกรเข้าร่วม 249,106 ราย
สำรวจ 'เกษตรแปลงใหญ่' ภายใต้วิกฤตพืชผลราคาตก
จำนวนเกษตรกรเข้าโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ณ มิ.ย. 2560

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: