จับตา: ระบบการแพทย์ฉุกเฉินและ Fee schedule ใน ‘ญี่ปุ่น-ไต้หวัน’

กองบรรณาธิการ TCIJ 21 เม.ย. 2562 | อ่านแล้ว 4228 ครั้ง


ดูตัวอย่างจากต่างประเทศ ‘ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน’ และ ‘ระบบการเบิกจ่ายตามรายการที่กำหนด’ (Fee schedule) ในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ที่มาภาพประกอบ: Clinical Pain Advisor

ข้อมูลจาก งานวิจัยโครงการพัฒนาข้อเสนอ UCEP ด้านการเงินการคลัง โดยสถาบันระบบสาธารณสุข (สวรส.) เผยแพร่เมื่อ ก.ย. 2561 ได้ระบุระบุถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินและระบบการเบิกจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee schedule) ในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ไว้ดังนี้

ประเทศญี่ปุ่น

ระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นมีหลายระบบ อีกทั้งโรงพยาบาลภาครัฐมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพและเป็นภาระด้านค่าใช้จ่ายของรัฐ ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศ จึงต้องมีการกำหนดมาตรฐานบริการ เงื่อนไขบริการและราคาเบิกจ่ายในอัตราเดียวกันทั้งประเทศ ระบบการเบิกจ่ายใช้การจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee schedule) จึงถูกนำมาใช้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ทั้งหน่วยบริการของทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อควบคุมกำกับด้านมาตรฐาน เงื่อนไข รวมทั้งราคาในการเบิกจ่ายโดยรัฐ ภายใต้การมีกฎหมายรองรับ

ในทุกๆ 2 ปี ระบบการเบิกจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee schedule) จะถูกทบทวนและปรับปรุงรายการและรายการจะถูกกำหนดจากรายการหัตถการ รายการยา รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งหมด โดยกระบวนการต่อรองจะเกิดจากการหารือกันระหว่าง ตัวแทนจากกองทุน/ผู้จ่ายเงิน ตัวแทนจาก ผู้ให้บริการ และตัวแทนจากภาคประชาชน แต่เมื่อไม่กี่ปีผ่านมานี้ กระทรวงการคลังและรัฐบาลจะทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดอัตราที่แท้จริงสำหรับปรับเพิ่มหรือลดในการทบทวนเบิกจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee schedule) โดยอัตรา โดยรัฐบาลจะมีการตั้งราคาที่ชัดเจน เพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายในสถานบริการทุกระดับตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลจนถึงระดับคลินิก ในส่วนของค่ายา หากเป็นยาตัวใหม่จะมีการสนับสนุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมในการผลิตภัณฑ์ด้วยการตั้งค่าที่สูงขึ้นกับราคายาที่จดทะเบียนใหม่ โดยในปี 2011 รัฐบาลได้มอบรางวัลแก่อุตสาหกรรมยา ซึ่งสามารถสร้างนวัตกรรมยาที่เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งของการเบิกจ่ายค่ายานี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มแรงจูงใจให้กับแพทย์ผู้ดูแลในการสั่งจ่ายยาอีกด้วย

การกำหนดรายการและอัตราค่าบริการล่วงหน้าดังกล่าวนี้ส่งผลดีคือทำให้โรงพยาบาลและผู้มีสิทธิทราบและใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถช่วยในเรื่องของการกำกับการให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐานได้โดยสะดวก การจ่ายตามรายการที่กำหนดถูกกำหนดขึ้น สืบเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายโดยรวมด้านสุขภาพของประเทศญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ในขณะที่การจัดเก็บรายได้จากภาษีมีอัตราที่ลดลง สัดส่วนผู้สูงอายุ ที่สูงเพิ่มขึ้นเริ่มๆ แต่ในทางกลับกันวัยแรงงานกลับมีจำนวนลดลง ทางด้านการเจ็บป่วยลักษณะของโรคที่พบ ก็มีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปจากโรคติดต่อเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง โดยพบว่า มะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้มีอัตราตายสูงในประเทศญี่ปุ่น

ด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน The Japanese Association for Acute Medicine (JAAM) ถูกตั้งขึ้นเพื่อดูแลในเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน ในปี 1973 และเป็นที่แรกของเอเซีย เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางท้องถนน และเป็นครั้งแรกที่ถูกสร้างให้มีแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และระบบการแพทย์ฉุกเฉินของญี่ปุ่นในปัจจุบัน จะมี 3 รูปที่แบบ ได้แก่ the multi specialist-type, the ICU-type และ the ER-type models

ประเทศไต้หวัน

ระบบประกันสุขภาพของไต้หวัน ภายใต้การดูแลของสำนักประกันสุขภาพแห่งชาติ (The Bureau of National Health Insurance หรือ BNHI) เป็นศูนย์กลางของการจัดการระบบสุขภาพ รูปที่แบบการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ เป็น 2 ระบบ คือ ส่วนแรก ระบบประกันสุขภาพจะดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่าย โดยจะจ่ายเงินเบิกจ่ายเงินให้กับสถานบริการ ในรูปที่แบบของ A fee-for-service schedule โดยจะมีคณะกรรมการทางการแพทย์ร่วมกันพิจารณารายการและค่าใช้จ่ายในใช้บริการบ่อยครั้งและจัดทำ The fee-for-service fee schedule เพื่อเป็นรายการและอัตราสำหรับการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ส่วนที่ 2 ค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่ประชาชนต้องรับภาระเอง ในรูปที่แบบของ A case-payment system ซึ่งเมื่อประชาชนไปรับบริการที่คลินิกหรือสถานพยาบาล นอกจากกรมประกันสุขภาพจะช่วยจ่ายในส่วนค่าบริการทางการแพทย์ให้แล้ว ประชาชนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอีกส่วนหนึ่ง หรือค่าบริการทางการแพทย์ที่รับผิดชอบเอง “มาตรการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอย่างจำกัดอย่างไม่ฟุ่มเฟือย” โดยรายการที่ต้องรับผิดชอบเอง ได้แก่ ค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยนอกในส่วนที่ต้องรับภาระเอง ค่ายาผู้ป่วยในส่วนที่ต้องรับผิดชอบเอง กรณีที่ต้องรับการรักษาด้วยกายภาพบำบัด หรือรักษาการบาดเจ็บทางการแพทย์แผนจีน และค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยใน ในส่วนที่ต้องรับภาระเอง แต่อย่างไรก็ตาม หากประชาชนไม่สามารถจ่ายเพิ่มในส่วนนี้ได้ รัฐก็จะมีมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่มีความลำบากในการรักษาพยาบาล ในรูปที่แบบการอุดหนุนเบี้ยประกันแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ค่าใช้จ่ายในการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น ค่าดูแล ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่ายาและเวชภัณฑ์ กรมประกันสุขภาพจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ให้ และประชาชนก็จะรับผิดชอบ “ส่วนที่ต้องรับภาระเองในการเข้ารับบริการฉุกเฉิน” เท่านั้น ค่าอุปกรณ์พิเศษ โดยทั่วไปกรมประกันสุขภาพจะทำหน้าที่จ่ายในส่วนนี้อย่างเพียงพอ แต่อย่างไรก็ตาม จะเปิดทางเลือกให้ประชาชนมีทางเลือกในการรักษาโดยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง อาทิ ประเภทเพิ่มสมรรถนะเครื่องคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ, ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดเคลือบยาหรือเคลือบชั้นพิเศษ, ข้อสะโพกเทียมทำจากวัสดุพิเศษ, เลนส์แก้วตาเทียมชนิดพิเศษ, ลิ้นหัวใจเทียมจากเนื้อเยื่อแบบทนทาน, ระบบระบายน้ำจากโพรงสมองลงช่องท้องแบบปรับความดัน, การรักษาหลอดเลือดแดงต้นขาชั้นตื้นอุดตันด้วยอุปกรณ์เคลือบยา เป็นต้น

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: