ภาคประชาชนแถลงความจำเป็นในบังคับใช้ 'แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน'

กองบรรณาธิการ TCIJ 26 ก.พ. 2562 | อ่านแล้ว 2349 ครั้ง

ภาคประชาชนแถลงความจำเป็นในบังคับใช้ 'แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน'

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนและประชาสังคม “ความจำเป็นในการประกาศและบังคับใช้ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน” เรียกร้องให้รัฐบาลจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสำหรับร่างสุดท้ายอย่างทั่วถึง และยอมรับเอาข้อเสนอแนะของชุมชนและภาคประชาสังคมที่เสนอทั้งหมดไปบัญญัติไว้ในแผนฯ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้และให้มีการประกาศใช้และบังคับใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยเร็ว

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562 มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ได้ร่วมกับเครือข่ายชุมชนและภาคประชาสังคมจัดเวทีติดตามและผลักดันเรื่อง แผนปฏิบัติระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ประเทศไทย เน้นย้ำให้ภาครัฐเห็นความสำคัญต่อการประกาศและบังคับใช้แผนดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

นับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา เครือข่ายชุมชนและภาคประชาสังคมในประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ติดตามและเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องสำหรับแผนปฏิบัติระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน จนมีการระบุเนื้อหาที่เกี่ยวข้องใน 4 ประเด็นหลัก คือ แรงงาน ที่ดินและสิ่งแวดล้อม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และการลงทุนข้ามพรมแดน โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อเสนอข้อเสนอแนะต่อแผนหลายครั้ง และครั้งนี้เป็นการจัดเวทีเป็นครั้งสุดท้ายที่ภาคประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างสุดท้าย และผลักดันให้นำไปปฏิบัติใช้จริง โดยมีกลไกติดตามตรวจสอบและผลักดันให้เกิดการปฏิบัติมากขึ้น

จากการจัดเวทีวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เราพบว่า 4 ประเด็นหลักในแผน ยังไม่ได้ระบุเนื้อหาสำคัญไว้ ได้แก่

ประเด็นแรงงาน ไม่มีการกำหนดเรื่อง การรับรองอนุสัญญา ILO 87 และ 98 ว่าด้วย สิทธิเสรีภาพในการสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง เสรีภาพและการป้องกันการเลือกปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และขาดการกำหนดให้มีการผลักดันการนำไปปรับใช้สำหรับอนุสัญญา ILO 131 ที่กำหนดเรื่องค่าแรงที่เป็นธรรมและทั่วถึง ตลอดทั้งไม่มีเรื่องกองทุนเยียวยาสำหรับแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น

ประเด็นที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ไม่มีการกำหนดเรื่อง การยกเลิกคำสั่งคสช.ที่ลิดรอนสิทธิชุมชนและกระทบต่อปัญหาที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การประกาศกำหนดให้ยกเลิกการใช้ผังเมืองบางกรณี การลิดรอนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก เป็นต้น และในแผนฯยังไม่มีการกำหนดให้ปรับปรุงกระบวนการจัดทำ EIA และ EHIA ที่ให้ต้องครอบคลุมผลกระทบทางสังคม และไม่มีการกำหนดบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญาต่อบริษัทที่จัดทำกรณีให้ข้อมูลเท็จ และไม่มีการกำหนดให้โครงการที่ส่งผลกระทบต้องมีกองทุนฟื้นฟูไว้ก่อนในขณะออกใบอนุญาต เป็นต้น

ประเด็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในแผนขาดการกำหนดให้มีกลไกในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิกรณีถูกฟ้องร้อง จาก SLAPP ไม่มีการกำหนดให้ออกกฎหมาย Anti-SLAPP ไม่มีการเสนอให้ปรับปรุงการใช้กองทุนยุติธรรมให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นต้น

ประเด็นการลงทุนข้ามพรมแดน ในแผนยังไม่มีการกำหนดให้รัฐต้องมีมาตรการและกฎหมายบังคับให้บริษัทและภาคเอกชนในการจัดตั้งกองทุนความเสี่ยง ป้องกัน และเยียวยาต่อประชาชนที่ได้รับหรืออาจจะได้รับผลกระทบจากการลงทุนของภาคเอกชนไทยข้ามพรมแดน หรือก่อตั้งองค์กรเพื่อรับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิข้าพรมแดน เช่น OECD เป็นต้น

พวกเราเชื่อว่าการประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนนี้ จะสามารถทำให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เห็นความสำคัญและเกิดแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อให้เกิดการการลงทุนที่เคารพต่อหลักการสิทธิมนุษยชน แต่อย่างไรก็ตาม ร่างแผนปฏิบัติการฯ ฉบับสุดท้ายที่เผยแพร่มานั้น ยังไม่ครอบคลุมในประเด็นสำคัญหลายๆประเด็นที่จำเป็นต้องมีอยู่ในแผนฯ เราทั้งหมดตามรายชื่อข้างท้ายจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสำหรับร่างสุดท้ายอย่างทั่วถึง และยอมรับเอาข้อเสนอแนะของชุมชนและภาคประชาสังคมที่เสนอทั้งหมดไปบัญญัติไว้ในแผนฯก่อนที่จะมีการประกาศใช้ และให้มีการประกาศใช้และบังคับใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยเร็ว

ลงชื่อ
1. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
2. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จังหวัดเลย
3. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
4. กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวลอำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี
5. กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำพะเนียง
6. กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำลำเซบาย
7. กลุ่มรักษ์น้ำอูน จังหวัดสกลนคร
8. กลุ่มฅนรักษ์เกิดบำเหน็จณรงค์
9. กลุ่มรักษ์บ้านแหง
10. กลุ่มรักษ์ผาปัง
11. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอำเภอแม่สาย
12. กลุ่มรักษ์ถิ่นเกิดตำบลคู
13. กลุ่มลูกปูลม
14. กลุ่มเด็กรักษ์หาดสวนกง
15. กลุ่มฮักเชียงคาน
16. กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา
17. เครือข่ายเยาวชนฅนต้นน้ำ
18. เครือข่ายลุ่มน้ำสรอยจังหวัดแพร่
19. เครือข่ายชุมชนรักอ่าวปากบารา
20. เครือข่ายเทใจให้เทพาหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน
21. เครือข่ายประชาชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี
22. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่แห่งประเทศไทย
23. เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน
24. เครือข่ายอนุรักษ์ภูหินเหล็กไฟ
25. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำป่าสัก
26. เครือข่ายพัฒนาชุมชนประมงท้องถิ่นระยอง
27. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
28. เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
29. เครือข่ายปกป้องดินน้ำป่านครศรีธรรมราช-พัทลุง
30. มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ
31. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
32. สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ
33. สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา
34. สมาคมพลเมืองนครนายก
35. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
36. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
37. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้
38. เครือข่ายประชากรข้ามชาติ
39. เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ สาขาหาดใหญ่
40. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สาขาหาดใหญ่ (ภาคใต้ตอนล่าง)
41. Mekong Butterfly (กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง)
42. เสมสิกขาลัย
43. เอิธร์ไรท์ อินเตอร์เนชั่นแนล
44. Extraterritorial Obligations Watch Coalition (ETOs Watch Coalitions)
45. Solidarity Center
46. กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
47. International Accountability Project
48. ศูนย์พิทักษ์สิทธิชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง
49. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
50. ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา
51. ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
52. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
53. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
54. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคใต้ (กป.อพช.)
55. สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
56. สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณะ (สอพ.)
57. สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ (สปส.)
58. สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน
59. สมาคมรักษ์ทะเลไทย
60. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
61. สมาคมผู้บริโภคสงขลา
62. สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
63. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
64. สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง
65. มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
66. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
67. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
68. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
69. มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
70. มูลนิธิแม่น้ำนานาชาติ
71. มูลนิธิสิทธิมนุษยชนเพื่อการพัฒนา
72. มูลนิธิชีวิตไทย
73. มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)
74. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
75. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
76. มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา
77. เสาวณีย์ แก้วจุลกาญน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
78. ดรุณี ไพศาลพานิชย์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
79. มาลี สิทธิเกรียงไกร ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
80. ชยันต์ วรรธนะภูติศูนย์ ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
81. สุนี ไชยรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
82. รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
83. รัษฎา มนูรัษฏา ทนายความ
84. ชำนัญ ศิริลักษณ์ ทนายความ
85. อธิวัฒน์ เส้งคุ้ย ทนายความ
86. ณริศ ศรศรีวิวัฒน์ ทนายความ
87. ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ
88. นภาพร สงปรางค์ ทนายความ
89. วริยา เทพภูเวียง นักกฎหมาย
90. สุธารี วรรณศิริ นักวิจัยอิสระ
91. ณัฐธิดา ชูมาลัยวงค์
92. ธารา บัวคำศรี
93. นภัส เกษมพาณิชย์
94. เพ็ญพิศ ชงักรัมย์
95. อรญา ชาวน่าน
96. ชัยวัฒน์ พาระคุณ
97. กิ่งกาญจน์ โล่พิกุล
98. ประสิทธิ์ชัย หนูนวล
99. ศุภกิจ นันทะวรการ
100. กฤตยา สูงแข็ง


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ภาคประชาชนหวัง 'แผนปฏิบัติการว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน' ถูกนำไปใช้จริง เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: