จับตา: คู่มืออาสาสมัครนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงรุ่นใหม่ในจังหวัดชายแดนใต้ (โดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม)

กองบรรณาธิการ TCIJ 22 ธ.ค. 2562 | อ่านแล้ว 3953 ครั้ง


อนึ่งมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่าคู่มือฯ เป็นเครื่องมือสำหรับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงในพื้นที่ ใช้เป็นแนวทางการทำงานในพื้นที่ขัดแย้งในการส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน และช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อไป โดยเน้นการให้ความเข้าใจเรื่องหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษ

คู่มือฯฉบับนี้เขียนขึ้นจากนักกฎหมายที่มีประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและอาสาสมัครนักปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยได้รวบรวมประสบการณ์การทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิในประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อให้อาสาสมัครหญิงนำไปใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากสถานการณ์ความขัดแย้งและการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่มีองค์กรภาคประชาสังคมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อมาเติมเต็มการปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในที่ถูกละเมิดสิทธิในด้านต่างๆ เพราะรัฐยังไม่สามารถปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวภาคประชาสังคม โดยเฉพาะอาสาสมัครสตรีจึงเป็นหนึ่งในบทบาทที่สำคัญในการช่วยเหลือ สนับสนุน ติดตาม หรือเรียกร้องให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐเลี่ยงการกระทำอันอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเปิดตัวคู่มืออาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนหญิงรุ่นใหม่ในจังหวัดชายแดนใต้ที่จังหวัดปัตตานีในวันที่ 28 พ.ย. 2562 ที่โรงแรมปาร์ควิว จังหวัดปัตตานี พร้อมกันนี้ได้มีการอบรมการใช้คู่มือจากผู้เขียนหนังสือ วงแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านเด็กและสตรี และการหนุนเสริมการทำงานของอาสาสมัครหญิงรุ่นใหม่อย่างมีทิศทาง

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทำงานด้านความยุติธรรมและการคุ้มครอง ส่งเสริม และเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ร่วมกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการติดตามความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการช่วยเหลือในผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่มากว่า 15 ปี

สำหรับผู้สนใจในประเด็นการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายแดนใต้ สามารถติดต่อรับ คู่มือเพื่อเป็นแนวทางการทำงานได้ดังนี้

- สำนักงานกลุ่มด้วยใจ จังหวัดปัตตานี
- สำนักงานเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD) จังหวัดปัตตานี
- เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP) จังหวัดยะลา
- ตัวแทนเครือข่าย CIVIC WOMEN
- สำนักงานมูลนิธินูซันตารา จังหวัดยะลา
- สำนักงานศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดยะลา
- สำนักงานศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- สำนักงานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
- เครือข่ายปกป้องเด็กชายแดนใต้ (CPN)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: