จับตา: รายละเอียด 'โครงการวังหีบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครศรีธรรมราช'

กองบรรณาธิการ TCIJ 6 ม.ค. 2562 | อ่านแล้ว 3663 ครั้ง


ข้อมูลจาก สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 10 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ระบุถึงประวัติความเป็นมา 'โครงการวังหีบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช' ไว้ดังนี้

1. ประวัติโครงการ

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศบริเวณที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำกะลูแป ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งได้ทรงรับสั่งให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำปิดกั้นคลองวังหีบ และอ่างเก็บน้ำสาขาด้วย ที่บริเวณบ้านนาหลวงเสน และบ้านนาประดิษฐ์ ตลอดจนฝายทดน้ำต่าง ๆ ในเขตอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามที่ราษฎรได้กราบบังคมทูลพระราชทาน และกรมชลประทานได้มอบหมายให้กองวางโครงการ (ปัจจุบัน คือ สำนักบริหารโครงการ) ดำเนินการศึกษาวางโครงการต่อไป

กรมชลประทานโดยกองวางโครงการได้ศึกษาจัดทำรายงานเบื้องต้นขึ้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 เพื่อกำหนดขอบเขตของงานสำรวจข้อมูลพื้นฐานในการศึกษารายละเอียดโครงการฯ และภายหลังจากได้รับข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ศึกษาและจัดทำรายงานวางโครงการ (Pre-feasibility Report : PR) แล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 แต่จากการศึกษาพบว่าถ้าหากต้องการเก็บกักน้ำให้เต็มศักยภาพ บริเวณพื้นที่น้ำท่วมของอ่างเก็บน้ำจะเข้าเขตพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 มิให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ จึงส่งผลให้โครงการวังหีบต้องลดระดับเก็บกักน้ำลงมาทำให้เก็บน้ำได้ในปริมาณที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ ทำให้ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำได้

ต่อมา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 ได้มีมติคณะรัฐมนตรี ผ่อนผันการขอใช้พื้นทื่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ให้ดำเนินการศึกษาโครงการได้แต่ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังนั้นกรมชลประทานจึงได้ดำเนินงานโดยศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการวังหีบ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีตามมติดังกล่าวต่อไป

2. ที่ตั้งโครงการ

โครงการวังหีบเป็นการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดกลาง ปิดกั้นคลองวังหีบบริเวณหมู่ที่ 1 บ้านสระแก้ว และหมู่ที่ 5 บ้านคอกช้าง ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

3. วัตถุประสงค์ของโครงการวังหีบ

1) เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้เพื่อการเพาะปลูกทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง
2) เพื่อใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภคของราษฎรและสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่โครงการและใกล้เคียง
3) เพื่อใช้เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดให้ราษฎรได้ใช้บริโภค และมีรายได้เสริมจากการจับสัตว์น้ำ
4) เพื่อช่วยบรรเทาอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ
5) ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของราษฎรที่อาศัยบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่โครงการ

4. ลักษณะและรูปแบบองค์ประกอบของโครงการวังหีบ

โครงการวังหีบเป็นการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดกลาง ปิดกั้นคลองวังหีบบริเวณหมู่ที่ 1 บ้านสระแก้ว และหมู่ที่ 5 บ้านคอกช้าง ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภค-บริโภคในเขตตำบลนาหลวงเสน ตลอดจนมีปริมาณน้ำเพียงพอที่จะปล่อยลงคลองวังหีบ โดยจะมีการบริหารจัดการน้ำในคลองวังหีบ เพื่อส่งน้ำให้ทั้งสองฝั่งของคลองวังหีบในเขตตำบลนาหลวงเสน ตำบลหนองหงส์ ตำบลควนกรด และตำบลนาไม้ไผ่ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำดิบสำรองเพื่อใช้ในกิจกรรมของสำนักงานประปาทุ่งสง นอกจากนั้นในบริเวณพื้นที่อ่างจะเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมงพื้นบ้านในบริเวณรอบอ่างตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของราษฎรในบริเวณพื้นที่โครงการและจากนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนด้วย

5. ผลประโยชน์ของโครงการวังหีบ

· พื้นที่รับประโยชน์ (เพื่อการเกษตร) มีพื้นที่ 13,014 ไร่ ซึ่งครอบคลุม 24 หมู่บ้าน ใน 4 ตำบล คือ ตำบลนาหลวงเสน ตำบลหนองหงส์ ตำบลควนกรดและตำบลนาไม้ไผ่
· หมู่บ้านรับประโยชน์ (เพื่อการอุปโภคบริโภค) ครอบคลุม 20 หมู่บ้าน ใน 3 ตำบล คือ ตำบลนาหลวงเสน ตำบลหนองหงส์และตำบลนาไม้ไผ่

6. ผลกระทบของโครงการ

ผลกระทบต่อการชดเชยที่ดินและทรัพย์สินของราษฎร การชดเชยที่ดินและทรัพย์สินในพื้นที่อ่างเก็บน้ำคลองวังหีบ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1) การชดเชยที่ดิน : ที่ดินของประชาชนในบริเวณพื้นที่องค์ประกอบโครงการ ได้แก่ พื้นที่หัวงาน พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ฝายในคลองวังหีบ รวมทั้งแนวท่อส่งน้ำและถนนทดแทน มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 419 ไร่ คิดเป็นค่าชดเชยที่ดินประมาณ 16.760 ล้านบาท

2) การชดเชยอาคารและสิ่งปลูกสร้าง : มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำ รวมจำนวน 28 หลัง ซึ่งจำแนกเป็นบ้าน จำนวน 27 หลัง และโรงรีดยาง จำนวน 1 หลัง โดยมีผู้ถือครองจำนวน 27 ราย รวมเป็นค่าชดเชยทั้งสิ้น 9.049 ล้านบาท

3) การชดเชยพืชผลทางการเกษตร : มีไม้ยืนต้นและไม้ผลในพื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งบริเวณถนนทดแทน ชนิดพืช ได้แก่ ยางพารา เงาะ ทุเรียน มังคุด เป็นต้น คิดเป็นค่าชดเชยพืชผลทางการเกษตรทั้งสิ้นประมาณ 37.437 ล้านบาท

7. ราคาโครงการ

 

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: