จับตา: สถานะเจรจาการค้าเสรี 26 ข้อตกลง (มิ.ย.2561)

กองบรรณาธิการ TCIJ 22 ก.ค. 2561 | อ่านแล้ว 6721 ครั้ง


 

ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับประเทศและเขตการค้าเสรีต่างๆ 26 ข้อตกลง อัพเดท ณ เดือน มิ.ย. 2561 ที่มาภาพประกอบ: FTW Online

TCIJ เรียงเรียงข้อมูลจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (เข้าถึงข้อมูล 30/6/2561) พบความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับประเทศและเขตการค้าเสรีต่าง ๆ 26 ความตกลงดังนี้

 

1.การเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ AFTA

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา เมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกขยายตัวมากขึ้น อาเซียนจึงได้มุ่งกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันจนมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้นในปี 2535 (นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี) ในปีดังกล่าวผู้นำอาเซียนและรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน จึงถือเป็นการประกาศการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

กลไกการลดภาษี กลไกการลดภาษีที่สำคัญของ AFTA คือระบบ CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน กล่าวคือ การที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องลดภาษีสินค้าชนิดเดียวกันด้วย โดยต้องลดลงมาถึงร้อยละ 20 จึงจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

ทั้งนี้ CEPT Agreement ได้พัฒนาเป็น ATIGA (ASEAN Trade in Goods Agreement) ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านการค้านั้นๆ เช่น มาตรการที่มิใช่ภาษี มาตรการด้านศุลกากร SPS TBT ส่วนในเรื่องของกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า  ATIGA กำหนดให้สินค้าที่จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีจะต้องมีสัดส่วนมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อย่างน้อยร้อยละ 40 หรือมีการผลิตจนเกิดการเปลี่ยนพิกัดในระดับ 4 หลัก (Change in Tariff Heading : CTH) และสามารถคำนวณวัตถุดิบในอาเซียนแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin)  โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำของวัตถุดิบเท่ากับร้อยละ 20

การค้าสินค้า ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน) ต้องลดภาษี ดังนี้ - 1 มกราคม 2546 สินค้าจำนวนร้อยละ 60 ของรายการสินค้าทั้งหมด ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 - 1 มกราคม 2550 สินค้าจำนวนร้อยละ 80 ของรายการสินค้าทั้งหมด ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 - ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ไทยได้ลดภาษีสินค้าทั้งหมดลงเหลือร้อยละ 0 แล้ว ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว 4 รายการ คือ กาแฟ มันฝรั่ง มะพร้าวแห้ง และไม้ตัดดอก เก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 5

สถานะล่าสุด

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการประชุม AFTA Councilครั้งที่ 31 ว่าที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาผลการดำเนินการด้านการค้าสินค้าของอาเซียนภายใต้ AEC Blueprint 2025 หลังจากที่อาเซียนได้เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าโดยรวมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนลดเป็นศูนย์แล้วกว่าร้อยละ 96 ของรายการสินค้าทั้งหมดแล้ว และมุ่งเน้นการลดอุปสรรคทางการค้าจากมาตรการที่มิใช่ภาษีลง และเน้นการดำเนินการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการอาเซียนสามารถดำเนินธุรกิจระหว่างกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งย้ำเป้าหมายลดต้นทุนธุรกรรมลงร้อยละ 10 ภายในปี 2563 และรับรองเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคเป็น 2 เท่าภายในปี 2568

ผลงานเด่นๆ ของอาเซียนด้านสินค้ามีดังนี้

1. ผลสำเร็จจากการลดภาษีระหว่างกันของอาเซียน โดยภาษีนำเข้าของอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไนฯ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ร้อยละ 99.2 ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมดเป็น 0 แล้ว ขณะที่ภาษีนำเข้าของ CLMVได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ถูกยกเลิกไปแล้วร้อยละ 90.9 ในภาพรวมภาษีนำเข้าของอาเซียน 10 ประเทศ จึงเป็น 0 แล้วถึงร้อยละ 96.01

2. อาเซียนกำลังดำเนินการปรับโอนพิกัดศุลกากรตารางข้อผูกพันภาษีสินค้าและสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศจากระบบฮาร์โมไนซ์ ฉบับปี 2012 เป็นฉบับปี 2017 (AHTN 2012 เป็น AHTN 2017) รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขบัญชีกฎเฉพาะรายสินค้าของอาเซียนจาก AHTN 2012 เป็น AHTN 2017 เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโอนรายการพิกัดศุลกากรขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งเป็นไปตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมุ่งหวังให้เริ่มดำเนินการได้ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2561

3. การดำเนินโครงการนำร่องระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (ASEAN-wide Self-certification) มี 2 โครงการนำร่อง คือ โครงการที่ 1 การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ผลิตและผู้ค้า มี 6 ประเทศเข้าร่วม ได้แก่ บรูไนฯ กัมพูชา มาเลเซีย เมียนมา สิงคโปร์ และไทย และมีผู้ได้รับอนุญาตให้รับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง จำนวน 455ราย และโครงการที่ 2 ให้รับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองเฉพาะผู้ผลิต มี 5 ประเทศ เข้าร่วม ได้แก่ อินโดนีเซีย สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม มีผู้ได้รับอนุญาต 127ราย ซึ่งอาเซียนอยู่ระหว่างเร่งเจรจาเพื่อปรับระเบียบปฏิบัติของสองโครงการให้เป็นระบบเดียว เพื่อให้สามารถเริ่มใช้งานระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียนทุกประเทศได้ภายในปี 2561 ทั้งนี้ การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง จะส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ตามความตกลง ATIGAสามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องไปขอรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจากภาครัฐ และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในขั้นตอนการขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

4. ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า รัฐมนตรีอาเซียนได้รับรองแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียน (AEC 2025 Trade Facilitation Strategic Action Plan: ATF-SAP)และตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการอำนวยความสะดวกทางการค้าในอาเซียน (ASEAN Seamless Trade Facilitation Indicators: ASTFIs)โดย ATF-SAPกำหนดแนวทางดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าภายในอาเซียนเพื่อส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ (1) ลดต้นทุนธุรกรรมทางการค้าภายในภูมิภาคลงร้อยละ 10 ภายในปี 2563(2) เพิ่มการค้าภายในภูมิภาคเป็น 2 เท่าภายในปี 2568และ (3) ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในระดับโลกดีขึ้น โดยมี ASTFIs เป็นตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์และความก้าวหน้าของการดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ประเทศสมาชิกอาเซียนดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ภาคเอกชนและผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อช่วยให้การอำนวยความสะดวกทางการค้าในอาเซียนบรรลุผลสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น

5. อาเซียนให้ความสำคัญกับการใช้คลังข้อมูลทางการค้าอาเซียน (ASEAN Trade Repository: ATR) (atr.asean.org) และคลังข้อมูลระดับประเทศ (National Trade Repository: NTR) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลกฏระเบียบทางการค้าของสมาชิก เช่น พิกัดศุลกากร อัตราภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) โดย ATR และ NTRจะเป็นเครื่องมือในการรับมือกับมาตรการ NTMs เพิ่มความโปร่งใส และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่าย และช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ในส่วนของคลังข้อมูลการค้าของไทย (www.thailandntr.com)จัดตั้งแล้วเสร็จเมื่อปี 2557 โดยในปี 2559 มีผู้เยี่ยมชมมากกว่า 1.5แสนครั้ง และ NTR ของไทยได้เชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับคลังข้อมูลทางการค้าอาเซียนแล้ว

6. อาเซียนให้ความสำคัญกับระบบ ASSIST (ASEAN Solutions for Investment, Services and Trade) ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ให้ภาคธุรกิจสามารถยื่นข้อร้องเรียนและรับการตอบสนองเกี่ยวกับประเด็นอุปสรรคทางการค้า และการลงทุนภายใต้กรอบอาเซียน แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการยังไม่ค่อยใช้ประโยชน์จากระบบ ASSIST มากนัก จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ภาคเอกชนเข้ามาใช้ประโยชน์จากช่องทางนี้ให้มากขึ้น

7. อาเซียนก้าวสู่พัฒนาการอีกขั้นของ ASEAN Single Window: ASW(การพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน) โดยได้จัดตั้งศูนย์ PMO (Project Management Office) ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อบริหารจัดการงานของ ASW ปัจจุบัน สมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ได้ดำเนินโครงการนำร่องในการแลกเปลี่ยน e-Form D(หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์) แล้ว และอาเซียนมีเป้าหมายจะแลกเปลี่ยนเอกสารข้ามแดนอื่นๆ เช่น e-Phyto (เอกสารสุขอนามัยพืชแบบอิเล็กทรอนิกส์) ภายในเดือนธันวาคม 2560และ e-ACDD (เอกสารใบศุลกากรอาเซียนแบบอิเล็กทรอนิกส์) ในปี 2561ด้วย ทั้งนี้ อาเซียนได้รับรองการปรับปรุงแก้ไขระเบียบปฏิบัติการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Operational Certification Procedures: OCP) และการมีผลใช้บังคับของพิธีสารว่าด้วยกรอบกฎหมาย (Protocol on Legal Framework: PLF) เพื่อให้ ASW เริ่มดำเนินการได้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ซึ่งจะอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งการนำเข้า การส่งออก ลดต้นทุนการบริหาร การจัดการ และการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในส่วนของไทย กรมศุลกากรได้เตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 36 หน่วยงาน ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดระยะเวลาในการเตรียมและยื่นเอกสารสำหรับผู้นำเข้า-ส่งออก และสามารถช่วยลดต้นทุนด้านการขนถ่ายสินค้าลงได้

ข้อมูล ณ วันที่ : 12/09/2560

 

2.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ ASEAN-Australia-New Zealand (AANZFTA)

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ผู้นำอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ตกลงให้เริ่มการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว

กรอบการเจรจา พันธกรณี - มีผลใช้บังคับ 12 มีนาคม 2553 - สินค้า ออสเตรเลีย ปัจจุบันลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 แล้ว 95.96% ของรายการสินค้า และจะลดเหลือ 0 ทุกรายการที่เหลือในวันที่ 1 มกราคม 2563 นิวซีแลนด์ ปัจจุบันลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 แล้ว 90.13% ของรายการสินค้า และจะลดเหลือ 0 ทุกรายการที่เหลือในวันที่ 1 มกราคม 2563 ไทย ปัจจุบันลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 แล้ว 89.77% ของรายการสินค้า ภายใน 1 มกราคม 2563 จะลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 98.80% ของรายการสินค้า ทั้งนี้ สำหรับรายการที่เหลือที่ได้แก่ สินค้าที่ไทยมีโควตาภาษีภายใต้ WTO ไม่ถูกนำมาลดภาษีภายใต้ความตกลงนี้ (Unbound) - บริการ - พื้นฐานมาจาก GATS - มีภาคผนวก 2 เรื่อง ได้แก่ บริการการเงิน และโทรคมนาคม โดยประเทศภาคีมีสิทธิใช้มาตรการควบคุมเพื่อความมั่นคง เสถียรภาพ เป็นต้น - ลงทุน - ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ การเปิดเสรีการลงทุนและการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน - การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน: พันธกรณีคล้ายคลึงกับกรอบอื่นๆ และกรอบ WTO - ยังไม่มีข้อผูกพันการเปิดเสรีการลงทุนจนกว่าภาคีจะจัดทำตารางข้อสงวนให้แล้วเสร็จ - หัวข้อหลักของการเจรจา ได้แก่ การค้าสินค้า กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การลดภาษีสินค้า ความตกลงฯ ครอบคลุมเรื่องการลด/การยกเลิกภาษีศุลกากร การยกเลิกการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตร การประติบัติเยี่ยงคนชาติในการเก็บภาษีอากรและระเบียบข้อบังคับภายใน ค่าธรรมเนียมและค่าภาระที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและการส่งออก เป็นต้น - สำหรับการลด/การยกเลิกภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลง AANZFTA ประเทศภาคีแต่ละประเทศจะต้องลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรตามตารางข้อผูกพันภาษีศุลกากรของตนที่ปรากฏอยู่ในภาคผนวกของความตกลง โดยให้แก่ประเทศอื่นทั้ง 11 ประเทศ ด้านการค้าบริการ ข้อผูกพันด้านการค้าบริการจะมีการเปิดเสรีแบบเป็นก้าวหน้าตามลำดับ โดยเจรจาเป็นรอบๆ ไป และให้มีการเจรจาครั้งแรกไม่ช้ากว่า 3 ปี นับจากความตกลงมีผลบังคับใช้ ด้านการลงทุน การเปิดเสรีการลงทุนและการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนความตกลง AANZFTA ใช้แนวทางการเปิดเสรีที่ระบุเฉพาะสาขาและมาตรการที่ไม่เปิดเสรี (Negative List Approach) โดยแต่ละประเทศจะมีตารางข้อสงวนหนึ่งตารางที่ระบุสาขาและมาตรการที่จะสงวนสิทธิในการที่จะให้การปฏิบัติที่ดีกว่าต่อนักลงทุนของประเทศตน ทั้งนี้ ทุกประเทศจะต้องจัดทำตารางข้อสงวนให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี นับจากวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้

กลไกการเจรจา จัดตั้ง ASEAN-Australia and New Zealand Trade Negotiation Committee: AANZTNC เพื่อเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาขิกอาเซียน โดยมีบรูไนเป็นหัวหน้าเจรจาฝ่ายอาเซียน และผู้แทนจากออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ผลบังคับใช้ ความตกลง AANZFTA มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553

แนวทางการเจรจา ภายหลัง AANZFTA มีผลบังคับใช้ มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภายใต้ความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA Joint Committee: JC) เพื่อกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานภายใต้ AANZFTA

สถานะล่าสุด

การดำเนินการเพื่อทบทวนความตกลง AANZFTA เริ่มในปี 2559 โดยแบ่งเป็นสองระยะ โดยในระยะที่ 1 ได้เสนอรายงานผลการดำเนินงานและการใช้ประโยชน์ที่ผ่านมาในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AEM – CER) ครั้งที่ 21 เมื่อเดือนกันยายน 2560 และในระยะที่ 2 ให้เสนอรายงานผลการศึกษา/ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและยกระดับความตกลงแก่ที่ประชุม AEM – CER ในเดือนสิงหาคม 2561 ซึ่งการศึกษาเพื่อทบทวนความตกลงฯจะนำผลลัพธ์/ความคืบหน้าของความตกลง RCEP และ FTA ที่อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นภาคีอยู่มาใช้ประกอบการพิจารณาทบทวนเพื่อต่อยอดความตกลงฯ มีประโยชน์และทันสมัยยิ่งขึ้น ฒยฬ- การดำเนินการตามพันธกรณี ในส่วนการแก้ไขความตกลง AANZFTA ตามพิธีสารฉบับที่ 1 บังคับใช้เมื่อเดือนตุลาคม 2558 มีเนื้อหาในการแก้ไขข้อบทว่าด้วยกฎถิ่นกำเนิดสินค้า โดยแก้ไขให้ใช้บัญชีกฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าสำหรับทุกพิกัดสินค้า และแก้ไขข้อปฏิบัติในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า รวมถึงกำหนดแนวทางการปรับโอนพิกัดศุลกากรสำหรับบัญชีกฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้า ซึ่งในขณะนี้มีเพียงอินโดนีเซียประเทศเดียวที่ยังไม่สามารถลงนามได้เนื่องจากติดกระบวนการภายในประเทศ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2561

ประโยชน์ที่ไทยได้รับ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ร้อยละ 3.87 โดยล่าสุดปี 2560 ไทยได้ดุลการค้า 7,069.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าไทยที่ได้ประโยชน์ คือ สินค้าส่งออกไปออสเตรเลีย ได้แก่ สิ่งทอ ชิ้นส่วนยานยนต์ รองเท้า เคมีภัณฑ์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และสินค้าส่งออกไปนิวซีแลนด์ ได้แก่ เครื่องหนัง เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า

ข้อมูล ณ วันที่ : 15/03/2561

 

3.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ ASEAN-China

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ผู้นำอาเซียน-จีนได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะเจรจา อาเซียน-จีน (Trade Negotiation Committee: TNC) เพื่อจัดทำกรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาเซียน-จีน ที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีนที่สมบูรณ์ภายใน 10 ปี ซึ่งต่อมา TNC ได้สรุปผลการเจรจาและจัดทำกรอบความตกลง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้นำอาเซียน-จีน ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน (ASEAN-China Summit) ครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545

กรอบการเจรจา ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็น การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า การเปิดเสรีด้านการค้าบริการ และการลงทุน ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ

กลไกการเจรจา จัดตั้ง TNC เป็นเวทีหารือระหว่างอาเซียนกับจีน โดยไทยเป็นประธานฝ่ายอาเซียน และจัดตั้ง ASEAN Trade Negotiating Group (TNG) เป็นเวทีประชุมหารือระหว่างสมาชิกอาเซียน - ปัจจุบันได้เปลี่ยนกลไกการหารือจาก TNC เป็น ACFTA-JC เพื่อให้ครอบคลุมทั้งด้านการเจรจาและการติดตามการดำเนินการภายใต้ความตกลง

แนวทางการเจรจา การเปิดเสรีการค้าสินค้า (ที่มีผลบังคับใช้แล้ว) - ผู้นำไทยและจีนได้เห็นชอบให้ไทยกับจีนเริ่มลดภาษีระหว่างกันในสินค้าเกษตรพิกัด 07-08 (ผัก และผลไม้) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ภายใต้กรอบ Early Harvest อาเซียน-จีน หรือ 3 เดือนก่อนประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ - การเปิดเสรีการค้าส่วนแรก (Early Harvest) ในสินค้าพิกัด 01-08 และสินค้าเฉพาะ (Specific products) อีก 2 รายการ คือ ถ่านหินแอนทราไซด์และถ่านหินโค้ก/เซมิโค้ก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 โดยประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน ลดภาษีลงเหลือ 0% ในปี 2549 ส่วนอาเซียนใหม่ให้ยืดหยุ่นได้ถึงปี 2553 - การเปิดเสรีการค้าสินค้าทั่วไป ได้จัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า (Agreement on Trade in Goods) โดย (1) สินค้าปกติ เริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 และลดลงเหลือ 0% ภายในปี 2553 (2) สินค้าอ่อนไหว จะเริ่มลดภาษีในปี 2555 และจะลดภาษีเป็น 0-5% ในปี 2561 (3) สินค้าอ่อนไหวสูง จะคงอัตราภาษีไว้ได้ถึงปี 2558 จึงจะลดภาษีมาอยู่ที่ไม่เกิน 50% กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (1) สินค้าเกษตรพื้นฐาน ใช้หลัก Wholly obtained (2) สินค้าอื่นๆ มูลค่าของวัตถุดิบที่ใช้ภายในประเทศไม่ต่ำกว่า 40% โดย นำมูลค่าของวัตถุดิบจากประเทศสมาชิกมารวมกันได้ (3) กฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules: PSR) สำหรับบางสินค้า การเปิดเสรีด้านการค้าบริการ อาเซียนและจีนได้ลงนามความตกลงฯ พร้อมข้อผูกพันการเปิดตลาดกลุ่มที่ 1 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 และมีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2550 โดยไทยเปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากข้อผูกพันภายใต้ WTO ครอบคลุมกิจกรรมบริการบางประเภทในสาขาวิชาชีพ การศึกษา บริการด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางเรือ

สถานะล่าสุด

ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เน้นการกระชับความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน เร่งรัดเจรจาประเด็นคงค้างตามแผนงานพิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน เริ่มการหารือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนอาเซียน-จีนเพื่อถกปัญหาเหล็กจีนทะลักอาเซียน

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในโอกาสที่อาเซียนครบรอบ 50 ปี จีนเสนอให้มีการจัดทำแถลงการณ์ร่วมเรื่องความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานระหว่างอาเซียนและจีน ซึ่งอาเซียนและจีนได้ตั้งเป้าให้มีการประกาศในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ในเดือนพฤศจิกายนนี้ แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเป็นการริเริ่มให้มีการเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทอาเซียนด้านความเชื่อมโยง (Master Plan on Connectivity: MPAC) กับนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ของจีน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน และการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม โดยจีนมีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและมีแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการต่างๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียนในอนาคต

นอกจากนั้น รัฐมนตรีอาเซียนและจีนยังได้หารือในประเด็นสำคัญอื่นๆ ได้แก่ การเร่งรัดการเจรจากฎเฉพาะรายสินค้าภายใต้พิธีสารให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างคู่ภาคี ตลอดจนการเร่งหารือประเด็นคงค้างภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน อาทิ การเปิดเสรีสินค้าอ่อนไหวเพิ่มเติม เป็นต้น นอกจากนั้น อาเซียนและจีนจะร่วมกันแก้ไขปัญหาเหล็กจีนทะลักสู่ตลาดอาเซียน โดยจะมีการจัดการประชุมร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนของอาเซียนกับจีน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาและทิศทางอุตสาหกรรมเหล็กอาเซียน-จีน ในช่วงต้นปีหน้า

ข้อมูล ณ วันที่ : 12/09/2560

 

4.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ ASEAN-EU

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ 8 ณ ประเทศบรูไน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปโดยเป็นการเจรจาระหว่างภูมิภาคต่อภูมิภาค

กรอบการเจรจา ครอบคลุมเรื่องการเปิดตลาดสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ

กลไกการเจรจา ตั้งคณะกรรมการร่วมจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (Joint Committee on ASEAN-EU FTA) ทำหน้าที่เป็นคณะเจรจาหลัก (Trade Negotiating Committee: TNC) สำหรับการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป และจะมีการตั้งคณะทำงานและกลุ่มเจรจาต่างๆ ขึ้น หลังจากสามารถตกลงหัวข้อการเจรจาทั้งหมดได้แล้ว

แผนการเจรจา กำหนดให้มีการเจรจาปีละ 4 ครั้ง โดยการเจรจาครั้งแรกจะมีขึ้นในเดือนมกราคม 2551 - ในการเจรจาแต่ละครั้ง สหภาพยุโรปจะจัดให้มีการสัมมนาหรือประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเจรจาของอาเซียนก่อนการประชุม

สถานะล่าสุด

อาเซียนและอียูให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองภูมิภาคและได้ติดตามความคืบหน้าการมอบหมายให้คณะทำงานร่วมอาเซียน-อียู ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ไปจัดทำกรอบความคาดหวังการรื้อฟื้นการเจรจา FTA อาเซียน-อียู ที่หยุดชะงักไปตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งปัจจุบันทั้งสองฝ่ายตั้งความคาดหวังจากการเจรจาไว้ต่างกันอยู่และมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจระหว่างกัน จึงได้มอบหมายให้คณะทำงานร่วมอาเซียน-อียู หารือกันต่อไปเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และจัดทำกรอบความคาดหวังการรื้อฟื้น FTA โดยให้รายงานผลต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับกรรมาธิการยุโรปด้านการค้าครั้งต่อไปที่กำหนดจัดขึ้นในปี 2562

ข้อมูล ณ วันที่ : 07/03/2560

 

5.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ ASEAN-GCC

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา อาเซียนและ Gulf Cooperation Council หรือ GCC เริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างกันในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN General Assembly) ซึ่งมีข้อสรุปให้มีการหารือระหว่างเลขาธิการอาเซียนและเลขาธิการ GCC และการศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดทำ FTA ระหว่างกัน - ในกรอบการต่างประเทศ ได้มีการพบปะหารือกันอย่างเป็นทางการรวมทั้งสิ้น 2 ครั้ง และได้มีการลงนามร่วมรับแผนปฏิบัติการระยะ 2 ปี (ASEAN-GCC Two-Year Action Plan 2553-55) ซึ่งระบุถึงความต้องการที่จะให้มีความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ - รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ที่จัดทำโดย Centre for International Economic: CIE ระบุว่าเห็นควรให้มีการจัดทำเขตการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญกับการเจรจาด้านการค้าบริการและการลงทุน เพราะน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าการเจรจาการค้าสินค้าที่ในภาพรวมมีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำอยู่แล้ว - รองเลขาธิการอาเซียนเข้าพบเลขาธิการ GCC เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 โดยปรึกษาหารือถึงการปรับความเข้าใจระหว่างสองภูมิภาคในด้านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) ทั้งนี้ การเข้าพบดังกล่าวเป็นไปตามแผนปฏิบัติการระยะ 2 ปี (ASEAN-GCC Two-Year Action Plan 2553-55) - ที่ประชุม AEM ครั้งที่ 42 (ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน) เห็นควรให้ SEOM (ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจของอาเซียน) จัดประชุมและพิจารณาแผนปฏิบัติการระยะ 2 ปี (ASEAN-GCC Two-Year Action Plan 2553-55) ก่อนจะมีการตัดสินใจในเชิงนโยบายใดๆ

สถานะล่าสุด

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (ด้านเศรษฐกิจ)ของโอมาน ได้เข้าหรือกับอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ฝ่ายโอมานได้ยื่นเอกสารตัวอย่าง Framework Agreement โดยแจ้งว่าเป็นรูปแบบความตกลงที่ GCC ใช้เป็นรากฐานในการเจรจา การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน-GCC มีขึ้นครั้งแรก ณ เมืองซาลาลาห์ รัฐสุลต่านโอมาน เมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2554 โดยที่ประชุมเห็นชอบให้เจรจากรอบความตกลงการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจในลำดับต่อไป สำหรับอาเซียน มีความเห็นในที่ประชุมว่าควรให้มีการพัฒนากรอบการจัดการ (Framework Arrangement) มากกว่าจะให้เป็นกรอบความตกลง (Framework Agreement) เพราะต้องคำนึงถึงประเด็นภายในของรัฐบางรัฐซึ่งกังวลว่าหากใช้คำว่า Agreement อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการภายในของตน นอกจากนี้ยังมีประเด็นความร่วมมือระหว่างธนาคารและภาคเอกชน โดยเสนอให้มีการจัดฟอรั่มภาคเอกชนและงาน Symposium เพื่อสานสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น

ข้อมูล ณ วันที่ : 01/09/2554

 

6.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ ASEAN-Hong Kong

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2554 ฮ่องกงยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงขอเข้าร่วมความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) อย่างเป็นทางการต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียน-จีน - สำนักเลขาธิการอาเซียนได้ว่าจ้าง Singapore's National University ทำการศึกษาผลกระทบต่อประเทศสมาชิกอาเซียน ผลการศึกษาเบื้องต้นระบุว่า ในภาพรวมการเข้าเป็นสมาชิก ACFTA ของฮ่องกงจะก่อให้เกิดเป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ Welfare และ Flow ของสินค้าที่จะเข้าสู่ตลาดจีนได้สะดวกขึ้น พร้อมทั้งยังก่อให้เกิดผลทางบวกกับการรวมกลุ่มในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม อาเซียนจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อย หากการเข้าเป็นภาคีของฮ่องกงจะเป็นลักษณะ equal treatment (คือจีนจะต้องเปิดตลาดให้อาเซียนเพิ่มเติมจนเท่ากับที่จีนเปิดให้ฮ่องกง) และอาเซียนจะเสียประโยชน์ หากจีนเปิดตลาดให้อาเซียน ได้เพียงร้อยละ 80 ของที่จีนเปิดให้ฮ่องกง และไทยอาจได้รับผลกระทบในภาคบริการด้านการเงิน ธนาคาร และประกันภัย ซึ่งเป็นสาขาที่ฮ่องกงมีศักยภาพ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วคงเป็นไปได้ยากที่จีนจะเปิดตลาดให้กับอาเซียนในระดับดังกล่าว - ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าอาเซียน (AEM-Retreat) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 ณ ประเทศเวียดนาม มีมติเสนอให้อาเซียนจัดทำเขตการค้าเสรีกับฮ่องกง (ASEAN-Hong Kong FTA) แทนการรับฮ่องกงเข้าเป็นภาคีสมาชิกความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ในการนี้ ที่ประชุมผู้นำอาเซียนได้รับรองมติของ AEM ให้อาเซียนจัดทำเขตการค้าเสรีกับฮ่องกง (ASEAN-Hong Kong FTA) เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2556 ณ ประเทศบรูไน - ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน – ฮ่องกง (SEOM – Hong Kong Consultations) ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ประชุมมีมติว่าฮ่องกงและอาเซียนควรจะเริ่มการเจรจาในปี 2014 - ไทยรับเป็นประเทศผู้ประสานงาน (Country Coordinator) สำหรับการเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน – ฮ่องกง

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติเห็นชอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – ฮ่องกง (ASEAN-Hong Kong Free Trade Agreement: AHKFTA) และความตกลงด้านการลงทุนระหว่างอาเซียน-ฮ่องกง (ASEAN-Hong Kong Investment Agreement: AHKIA) ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดสัมมนาประชาพิจารณ์ความตกลงดังกล่าวแล้ว ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนได้รับทราบสาระสำคัญของความตกลงฯ และไม่ขัดข้องต่อการลงนามในความตกลงทั้งสองฉบับ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) ร่วมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและรัฐมนตรีการค้าฮ่องกง (นายเอ็ดเวิร์ด เหยา) มีกำหนดจะลงนามในความตกลง AHKFTAในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 31 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีเศรษฐกิจของชาติสมาชิกอาเซียนและฮ่องกงได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีและความตกลงด้านการลงทุนระหว่างอาเซียน-ฮ่องกงแล้ว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ หลังจากทั้งสองฝ่ายประกาศความสำเร็จของการเจรจาเมื่อกันยายน ที่ผ่านมา ในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน โดยความตกลงจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562

ทั้งนี้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง และความตกลงด้านการลงทุน มีสาระสำคัญโดยสรุปได้ ดังนี้ 1) การค้าสินค้า ได้กำหนดกรอบการลดอัตราภาษีนำเข้า โดยแบ่งกลุ่มสินค้า แบ่งเป็นสินค้าปกติ (ลดภาษีเป็นศูนย์ภายใน 3 ปี และ 10 ปี) สินค้าอ่อนไหว (ลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 12 ปี) สินค้าอ่อนไหวสูง (ลดภาษีเหลือน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ภายใน 14 ปี) และสินค้าไม่ลดภาษี โดยฮ่องกงจะได้รับประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้าสินค้าที่ต่ำลงของอาเซียน ส่วนอาเซียนจะได้รับประโยชน์จากการที่ฮ่องกงยินยอมผูกพันภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการจากอาเซียนในอัตรา 0% ซึ่งสร้างความแน่นอนต่อการส่งออกไปยังฮ่องกงว่าฮ่องกงไม่สามารถขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากอาเซียนได้ในอนาคต ทั้งนี้ ความตกลงได้กำหนดกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่รัดกุม ป้องกันการสวมสิทธิจากประเทศที่ไม่ใช่ภาคีสมาชิกของความตกลงนี้

2) การค้าบริการ สมาชิกอาเซียนและฮ่องกงมีข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการแยกเป็นรายประเทศ โดยฮ่องกงจะเปิดตลาดการค้าบริการให้อาเซียนมากกว่าที่เปิดให้แก่ประเทศอื่นๆ ภายใต้ WTOเช่น อนุญาตให้ผู้ให้บริการของภาคีสมาชิกเข้าไปลงทุนในฮ่องกงโดยถือหุ้นได้ถึงร้อยละ 100 ในสาขาบริการต่าง ๆ จำนวนกว่าร้อยละ 90 ของสาขาบริการ และเปิดตลาดการค้าบริการเพิ่มเติมตามที่ไทยเรียกร้องในสาขาบริการการผลิตเนื้อหารายการแก่ผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยผู้ให้บริการของภาคีสมาชิกสามารถถือหุ้นได้ร้อยละ 100 สำหรับการให้บริการโดยบุคคลธรรมดา

3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ อาเซียนและฮ่องกงได้จัดทำแผนงาน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือใน 5 สาขา ได้แก่ (1) บริการวิชาชีพ (2) พิธีการศุลกากร (3) การอำนวยความสะดวกทางการค้า/ โลจิสติกส์ (4) SMEs และ (5) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยฮ่องกงได้จัดสรรให้เงินสนับสนุน จำนวน 25 ล้านเหรียญฮ่องกง สำหรับโครงการความร่วมมือในระยะเวลา 5 ปี หลังความตกลงมีผลใช้บังคับ

4) ด้านการลงทุน จะครอบคลุมการคุ้มครองการลงทุนและการส่งเสริมและการอำนวยความสะดวกการลงทุน แบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลัก คือ (1) การเปิดตลาด อาเซียนและฮ่องกงตกลงจะพิจารณาประเด็นของการเปิดตลาดด้านการลงทุนภายในเวลา 1 ปีหลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับแล้ว (2) การคุ้มครองการลงทุนให้แก่นักลงทุนของภาคีหลังจากที่ได้เข้ามาจัดตั้งธุรกิจแล้วในอีกภาคีหนึ่ง รวมถึงการปฏิบัติต่อการลงทุนด้วยความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันและการให้ความคุ้มครองและความมั่นคงอย่างครบถ้วน และ (3) การส่งเสริมและการอำนวยความสะดวกการลงทุน เช่น การสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน การทำให้กระบวนการสำหรับการยื่นขอและการอนุมัติการลงทุน ง่ายขึ้น การส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลด้านการลงทุน และการจัดตั้งศูนย์การลงทุนแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว เป็นต้น

สถานะล่าสุด

อาเซียนและฮ่องกงอยู่ระหว่างการหารือประเด็นในทางปฏิบัติจริงให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนสิงหาคม 2561 เพื่อให้ทันต่อการดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2562

ข้อมูล ณ วันที่ : 10/04/2561

 

7.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ ASEAN-India

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ผู้นำอาเซียน-อินเดีย ได้ร่วมลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดทำ FTA อาเซียน-อินเดีย (Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between ASEAN and India) เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2546 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย เริ่มเจรจาความตกลงการค้าสินค้าเมื่อเดือนมีนาคม 2547 และเจรจาอย่างเป็นทางการรวมทั้งสิ้น 21 ครั้ง จึงสามารถจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ใช้เวลาการเจรจาเปิดเสรีภาคสินค้ารวม 4 ปี 8 เดือน

กรอบการเจรจา ครอบคลุมการค้าสินค้า บริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กลไกการระงับข้อพิพาท และให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) - การเปิดเสรีการค้าสินค้า ผู้นำได้ตั้งเป้าหมายให้เจรจาแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2550 แต่ได้เสร็จสิ้นการจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยลดภาษีสินค้าส่วนใหญ่เป็น 0% ภายในปี 2554 และช้าสุดภายในปี 2558 - การเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน ให้เจรจาภายหลังข้อตกลงการค้าสินค้า โดยให้มีการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนรายสาขา - การค้าสินค้า - มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553

กลไกการดำเนินการ ตั้ง ASEAN Trade Negotiating Group (TNG) เป็นเวทีประชุมหารือระหว่างสมาชิกอาเซียน  และจัดตั้งคณะเจรจาการค้าอาเซียน-อินเดีย (ASEAN-India Trade Negotiating Committee: TNC) เป็นเวทีหารือระหว่างอาเซียน-อินเดีย โดยมีมาเลเซียเป็นประธานฝ่ายอาเซียน - ตั้งคณะทำงานด้านการค้าบริการ (Working Group on Trade in Services-WGS) และคณะทำงานด้านการลงทุน (Working Group on Trade in Investment-WGI) ทำหน้าที่เจรจาในเรื่องเฉพาะด้าน

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ในมาตราที่ 6 ภายใต้กรอบความตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอินเดียและอาเซียน (Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between India and ASEAN) อาเซียนและอินเดียกำหนดให้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจรวม 8 สาขา เช่น ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

สถานะล่าสุด

ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน – อินเดีย ครั้งที่ 14 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ แสดงความพร้อมในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและอินเดีย ภายหลังประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการจัดงาน ASEAN-India Expo and Forum 2017 ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย เมื่อวันที่ 2 – 5 สิงหาคม 2560 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและอินเดีย และผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและเอกชนของอาเซียนและอินเดีย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการนำอาเซียนและอินเดียก้าวสู่ทศวรรษใหม่อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ASEAN-India Business Council ได้ร่วมกับ ASEAN Advisory Business Council จัดงาน ASEAN-India BizTech Expo and Conference เมื่อวันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของอาเซียนและอินเดียในการดึงภาคธุรกิจเข้ามาผสมผสานกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนและอินเดีย

ข้อมูล ณ วันที่ : 18/09/2560

 

8.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ ASEAN-Japan

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่นได้ร่วมลงนามในกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (Framework for Comprehensive Economic Partnership between ASEAN and Japan) เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2546 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP) มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าสินค้า และกำหนดให้เริ่มเจรจาจัดทำข้อบทการค้าบริการและการลงทุน 1 ปี หลังจากความตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ประเทศสมาชิกจึงได้เริ่มเจรจาข้อบทการค้าบริการ และการลงทุน เมื่อเดือนมิถุนายน 2553

กรอบการเจรจา ครอบคลุมใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1) การเปิดเสรี (การค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน)  2) กฎเกณฑ์ทางการค้า (กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า) 3) การอำนวยความสะดวกทางการค้า (พิธีการศุลกากร การค้าไร้กระดาษ) และ 4) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เช่น SMEs, ICT,HR

สรุปผลความตกลงฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1) การเปิดเสรีการค้าสินค้า ญี่ปุ่น สินค้าร้อยละ 96.7 ของมูลค่านำเข้าจากอาเซียนจะถูกนำมาลด/ยกเลิกภาษีนำเข้า โดยร้อยละ 90 ของมูลค่าสินค้านำเข้าจะลดเป็น 0 ทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ ส่วนไทย สินค้าร้อยละ 93.8 ของมูลค่านำเข้าจากญี่ปุ่นจะถูกนำมาลด/ยกเลิกภาษีภายใน 10 ปีหลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับ 2) การค้าบริการ  อยู่ระหว่างการเจรจาข้อบทด้านการค้าบริการ โดยคณะอนุกรรมการว่าด้วยการค้าบริการ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2555 3) การลงทุน อยู่ระหว่างการเจรจาข้อบทด้านการลงทุน โดยคณะอนุกรรมการว่าด้วยการลงทุน ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2555 4) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (1) สินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากภายใน ประเทศสมาชิก AJCEP (2) สินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากภายนอกประเทศสมาชิก AJCEP ใช้หลัก i) สินค้าที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly obtained) ii) การแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation) หรือ iii) กำหนดมูลค่าของวัตถุดิบ (Regional Value Content: RVC) 5) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ จะส่งเสริมความร่วมมือสำหรับผลประโยชน์ร่วมกันในการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศภาคี ในสาขาความร่วมมือด้านกระบวนการที่เกี่ยวกับการค้า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา พลังงาน ข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การท่องเที่ยวและ Hospitality การขนส่งและโลจิสติกส์ เกษตรประมงและป่าไม้ สิ่งแวดล้อม นโยบายการแข่งขัน และสาขาอื่นๆ ตามแต่จะตกลงกัน โดยไทยส่งข้อเสนอโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจจำนวน 2 โครงการ เข้าสู่การพิจารณาภายใต้ AJCEP คือ 1) โครงการ Carbon Footprint of renewable Energy for ASEAN Countries 2) โครงการ Capacity Building on Forest Biodiversity Management for ASEAN under AJCEP

การมีผลบังคับใช้ ความตกลง AJCEP มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 สาระสำคัญของพิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลง AJCEP - สาขาบริการที่ไทยเปิดเสรีให้ญี่ปุ่น ไทยได้ผูกพันเปิดตลาดในทุก Mode ( แบ่งออกเป็น 4 Mode ได้แก่ การให้บริการข้ามพรมแดน การบริโภคในต่างประเทศ การจัดตั้งธุรกิจ และการให้บริการโดยบุคคลธรรมดา) โดยเฉพาะใน Mode 3 อนุญาตให้ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ร้อยละ 49 ใน 92 สาขาย่อย อาทิ สาขาบริการธุรกิจ ( บริการด้านกฎหมาย บริการด้านบัญชี) บริการด้านโทรคมนาคม และสาขาการเงินและการธนาคาร เป็นต้น และร้อยละ 70 ใน 23 สาขาย่อย อาทิ สาขาบริการธุรกิจ ( พยากรณ์อากาศและอุตุนิยมวิทยา) บริการคอมพิวเตอร์ บริการด้านการวิจัยและพัฒนา บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นต้น พร้อมระบุข้อจำกัด / ข้อสงวนเป็นเงื่อนไขการเข้าสู่ตลาด - สาขาบริการที่ญี่ปุ่นเปิดเสรีให้ไทยและอาเซียน ญี่ปุ่นเปิดให้อาเซียนเข้าไปลงทุนจัดตั้งธุรกิจได้โดยสามารถถือหุ้นได้ร้อยละ 100 แบบไม่มีเงื่อนไข 137 สาขาย่อย อาทิบริการร้านอาหาร บริการสปา บริการโรงแรม บริการทัวร์และไกด์ บริการจัดประชุม บริการจัดเลี้ยง บริการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ บริการโฆษณาบริการด้านการวิจัยและการพัฒนา และบริการอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น และแบบมีเงื่อนไข (เช่นใบประกอบวิชาชีพ) 41 สาขาย่อย อาทิ บริการด้านโทรคมนาคม สาขาบริการธุรกิจ (บริการด้านกฎหมายบริการด้านบัญชี) และธุรกิจค้าส่ง / ค้าปลีก เป็นต้น - การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา ไทยอนุญาตให้นักธุรกิจญี่ปุ่นและอาเซียนสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ 2 ลักษณะ คือ การโอนย้ายบุคคลภายในองค์กร (1 ปี) และการเยี่ยมเยียนทางธุรกิจระยะสั้น (90 วัน) ในขณะที่ญี่ปุ่นอนุญาตให้นักธุรกิจไทยและอาเซียนสามารถเข้ามาทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้ 6 ลักษณะ คือ การโอนย้ายบุคคลภายในองค์กร (1 ปี) การเยี่ยมเยียนทางธุรกิจระยะสั้น (90 วัน) นักลงทุน (5 ปี) ผู้ให้บริการด้านวิชาชีพในสาขากฎหมาย บัญชีและภาษี (5 ปี) ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยี และความรู้ในสาขานักมนุษย์ศาสตร์ นักสิ่งแวดล้อม และนักฟิสิกส์ (5 ปี) และคู่สมรสและบุตร - การลงทุน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) การเปิดเสรีการลงทุน : ปัจจุบัน ยังไม่มีการเปิดตลาดการลงทุน 2) การคุ้มครองการลงทุน : กลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน ( ISDS) ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถฟ้องรัฐได้โดยตรง 3) การส่งเสริมการลงทุน : การส่งเสริมงานจับคู่ธุรกิจและ และ 4) การอำนวยความสะดวกการลงทุน : การจัดตั้งศูนย์การลงทุนแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service)

แผนการเจรจา ตั้งเป้าหมายลงนามพิธีสารแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ภายในปี 2562

สถานะล่าสุด

อาเซียนและญี่ปุ่น บรรลุผลการเจรจาจัดทำบทการค้าบริการ และการงทุน เมื่อเดือนธันวาคม 2560 และมีกำหนดจะลงนามพิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลง AJCEP ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม 2561 เพื่อให้พิธีสารฯ มีผลบังคับใช้ภายในปี 2561

ข้อมูล ณ วันที่ : 28/05/2561

 

9.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ ASEAN-Korea

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ในการประชุมผู้นำอาเซียน-เกาหลี เมื่อ ธันวาคม 2548 อาเซียนและเกาหลีสามารถสรุปผลการเจรจาและได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และความตกลงว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาท ต่อมาในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-เกาหลี ครั้งที่ 3 เมื่อพฤษภาคม 2549 อาเซียน 9 ประเทศ (ยกเว้นไทย) และเกาหลีได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า

กรอบการเจรจา ครอบคลุมการเปิดเสรีในด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน โดยมีการตกลงเรื่องกฎเกณฑ์ทางการค้า การระงับข้อพิพาท และการดำเนินโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ด้วย

สรุปผลความตกลงฯ 1) กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ลงนามเมื่อ 13 ธันวาคม 2548 มีผลบังคับใช้ เมื่อ 1 มิถุนายน 2550 มีสาระสำคัญกำหนดขอบเขตการเจรจาและความร่วมมือต่างๆ ระหว่างอาเซียน-เกาหลี 2) ความตกลงว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาท ลงนามเมื่อ 13 ธันวาคม 2548 มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2550 มีสาระสำคัญกำหนดแนวทางการไกล่เกลี่ยหรือคลี่คลายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติตามพันธกรณี 3) ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า ลงนามเมื่อ 24 สิงหาคม 2549 มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2550 สำหรับไทยลงนาม 27 กุมภาพันธ์ 2552 และมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2553 มีสาระสำคัญใน การเปิดเสรีการค้าสินค้า โดยอาเซียนและเกาหลีจะลดภาษีนำเข้าสินค้าจำนวนร้อยละ 90 ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้าให้เหลือศูนย์ภายในปี 2553 สำหรับเกาหลี ปี 2555 สำหรับบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ปี 2560 สำหรับไทย ปี 2561 สำหรับ เวียดนาม และปี 2563 สำหรับกัมพูชา ลาว และพม่า [กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ 1.สินค้าที่ผลิตหรือใช้วัตถุดิบทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออก 2.กฎเกณฑ์ทั่วไป 2.1) สินค้าที่ผลิตในประเทศภาคี โดยมีสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบในประเทศภาคีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของราคา FOB หรือ 2.2) มีการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรในระดับ 4 หลัก (CTH) 3.กฎเฉพาะรายสินค้า (PSR) 4.กฎเกณฑ์อื่นๆ] 4) ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ลงนามเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2550 มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2552 ส่วนไทยลงนาม 27 กุมภาพันธ์ 2552 และมีผลบังคับใช้ 1 มิถุนายน 2552 มีสาระสำคัญในการเปิดเสรีการค้าบริการ โดยเกาหลีจะเปิดตลาดในระดับที่สูงกว่าข้อผูกพันรอบอุรุกวัย รวม 43 สาขา อาทิ บริการด้านกฎหมาย บริการด้านบันเทิง เป็นต้น ส่วนไทยจะเปิดเสรีสาขาบริการภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบันและในสาขาที่สนับสนุนนโยบายให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค 5) ความตกลงว่าด้วยการลงทุน ลงนามเมื่อ 1 มิถุนายน 2552 มีผลบังคับใช้ 1 กันยายน 2552 มีสาระสำคัญในการเปิดเสรีและให้ความคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน โดยจะมีการจัดทำตารางข้อสงวนการเปิดเสรีภายใน 5 ปี และ 6) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ครอบคลุมความร่วมมือ 19 สาขา เช่น พิธีการศุลกากร รัฐวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง การท่องเที่ยว เป็นต้น

สถานะล่าสุด

การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 ที่ประชุมมีความยินดีที่ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN-Korea Free Trade Area: AKFTA) ครบรอบ 10 ปี ซึ่งถือเป็นกลไกขับเคลื่อนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและเกาหลีใต้อย่างมีนัยสำคัญ

ในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีอาเซียน – เกาหลีใต้ ได้รับทราบความคืบหน้าการเจรจาเปิดตลาดสินค้าอ่อนไหวเพิ่มเติมระหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้ ซึ่งล่าสุด เข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อเสนอการเปิดตลาดแล้ว (Request & Offer) ซึ่งสินค้าที่ไทยต้องการผลักดันให้เกาหลีใต้เปิดตลาดเพิ่มเติม ได้แก่ แป้งสตารช์ ผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูป เม็ดพลาสติก เซรามิค และสิ่งทอ เป็นต้น นอกจากนั้น ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกันเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือด้านต่างๆ ในอนาคต ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน อาทิ อุตสาหกรรม 4.0 Big Data ปัญญาประดิษฐ์Internet of Things e-Commerceตลอดจนการพัฒนา SMEs เพื่อให้สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มของโลกได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกาหลีใต้มีความเชี่ยวชาญและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่อาเซียน ในการนี้ รัฐมนตรีอาเซียน – เกาหลีใต้ยังมีโอกาสหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับสภาธุรกิจอาเซียน – เกาหลีใต้ (ASEAN-Korea Business Council: AKBC) ซึ่งที่ผ่านมา AKBC มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อาทิ การทำเว็บไซด์ให้ข้อมูลด้านการค้าและการลงทุนในอาเซียน-เกาหลีใต้อย่างครบวงจร กิจกรรมพัฒนาและสนับสนุนการพัฒนาSMEs รายสาขา การจัดตั้งคณะกรรมการรายสาขา (เหล็กและการรักษาพยาบาล) เพื่อเป็นเวทีกระชับความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชน แก้ไขปัญหาต่างๆ และสร้างเครือข่ายระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย

 

ข้อมูล ณ วันที่ : 12/09/2560

 

10.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ Australia

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2545 นายกรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ได้ประกาศให้เริ่มการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement: TAFTA)

กรอบการเจรจา ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกด้าน (Comprehensive) การเจรจาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ * การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการและการลงทุน * ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่างๆ

สรุปผลความตกลงฯ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลง TAFTA เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 ณ กรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย และความตกลง ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) การเปิดเสรีการค้าสินค้า ออสเตรเลียลดภาษีเหลือ 0% ในวันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ประมาณ 83% ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือทยอยลดภาษีเหลือ 0% ภายในปี 2553 และ 2558 ส่วนไทยลดภาษีเหลือ 0% ในวันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ประมาณ 49% ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือทยอยลดภาษีเหลือ 0% ภายในปี 2553 สำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมบางรายการที่มีความอ่อนไหว เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า (ออสเตรเลีย) และเนื้อวัว เนื้อหมู นม เนย ชา และกาแฟ (ไทย) ภาษีจะเหลือ 0% ภายใน 10, 15 และ 20 ปี โดยมีมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguards) สำหรับสินค้าบางรายการ (2) การค้าบริการและการลงทุน ออสเตรเลียให้ไทยเข้าไปลงทุนในธุรกิจทุกประเภทได้ 100% ยกเว้น หนังสือพิมพ์ การกระจายเสียง การขนส่งทางอากาศ และท่าอากาศยาน แต่หากเป็นการลงทุนเกิน 10 ล้านเหรียญออสเตรเลียต้องขออนุญาตก่อน และได้ผ่อนคลายเงื่อนไขการให้บุคลากรไทยเข้าไปให้บริการ ส่วนไทยเปิดให้ออสเตรเลียถือหุ้นข้างมากได้ถึง 60% สำหรับกิจกรรมย่อยๆ บางประเภท เช่น ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ หอประชุม มารีน่า และเหมืองแร่ เป็นต้น (3) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ใช้หลัก i) สินค้าที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly obtained) ii) การแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation) หรือ iii) กำหนดมูลค่าของวัตถุดิบ (Regional Value Content: RVC) และ (4) ความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น ด้านมาตรการสุขอนามัย โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาโดยกำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาที่แน่นอน ด้านพิธีการศุลกากร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทางปัญญา และนโยบายการแข่งขัน เป็นต้น

สถานะล่าสุด

จะต้องทบทวนความตกลง และเจรจาเรื่องการค้าบริการ นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ และมาตรการปกป้องพิเศษ ส่วนด้านการค้าบริการนั้นทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างหารือเรื่องรูปแบบ/แนวทางการเจรจา เพื่อเปิดตลาดสาขาบริการเพิ่มเติม

ข้อมูล ณ วันที่ : 29/06/2560

 

11.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ Bahrain

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2545 ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเพื่อจัดตั้งความตกลงการค้าเสรีไทย-บาห์เรน ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2545 รัฐมนตรีการค้าของทั้งสองประเทศได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-บาห์เรน ซึ่งรวมถึงการลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที (Early Harvest: EH) จำนวน 626 รายการ โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ 0 – 3% (ซึ่งจะลดลงเหลือ 0% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2548) และมีผลบังคับใช้เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีการแลกเปลี่ยน Notice of Fulfillment ระหว่างกัน

กรอบความตกลงฯ มีสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ 1.การลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที (Early Harvest) 2.การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน และ 3.ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ

กลไกการเจรจา จัดตั้ง Technical Working Group เพื่อเจรจารายละเอียดของความตกลง

แนวทางการเจรจา เจรจาให้มีผลทางปฏิบัติในด้านการลดภาษีศุลกากรระหว่างกันก่อน ส่วนด้านอื่นๆ จะมีการเจรจารายละเอียดต่อไป

สถานะล่าสุด

ขณะนี้ได้หยุดการเจรจาความตกลงการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจไทย-บาห์เรน ตั้งแต่ปี 2005 เนื่องจากซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นสมาชิกของ GCC เช่นเดียวกับบาห์เรน ไม่เห็นด้วยที่ประเทศสมาชิก GCC จะทำ FTA ทวิภาคี โดยต้องการให้ทำ FTA กับ GCC ทั้งภูมิภาค

การดำเนินการขั้นต่อไป 1) ไทยและบาห์เรนได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-บาห์เรน เพื่อเป็นกลไกติดตามความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม 2) ไทยจะสนับสนุนบาห์เรนในการผลักดันให้มีการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่าง ASEAN กับ GCC ซึ่งบาห์เรนเป็นสมาชิกอยู่ด้วย

ข้อมูล ณ วันที่ : 19/08/2553

 

12.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ BIMSTEC

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMSTEC ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6-7 มีนาคม 2546 ณ ประเทศศรีลังกา ที่ประชุมได้เห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อร่างกรอบความตกลงการค้าเสรี BIMSTEC และได้จัดทำกรอบความตกลงแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2546 ซึ่งได้รับความเห็นชอบและลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMSTEC รวม 6 ประเทศ ยกเว้นบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 ในช่วงการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย และบังกลาเทศได้ร่วมลงนามกรอบความตกลงฯ ในเดือนมิถุนายน 2547

กรอบการเจรจา ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็นการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน

การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า เจรจาลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรสินค้าระหว่างสมาชิก ซึ่งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) จะได้รับการลดหย่อนภาษีจากประเทศกำลังพัฒนา เร็วขึ้นกว่าที่ลด/ยกเลิกภาษีระหว่าง LDCs ด้วยกันเอง - พร้อมกันนี้ ให้มีสินค้าที่จะไม่นำมาลดภาษีได้ (Negative List) จำนวนหนึ่ง - การค้าบริการและการลงทุน ให้เริ่มเจรจาในปี 2548 และเสร็จสิ้นภายในปี 2550 โดยการใช้แนวทาง positive list approach และให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและความยืดหยุ่นแก่ LDCs - ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในสาขาความร่วมมือต่างๆ ของ BIMSTEC ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น รวมทั้ง พิธีการศุลกากร การทดสอบและรับรองมาตรฐาน และการเดินทางของนักธุรกิจ เป็นต้น

กลไกการเจรจา จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้า BIMSTEC TNC (BIMSTEC Trade Negotiating Committee) เพื่อเจรจารายละเอียดเรื่องการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และการจัดทำความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันศรีลังกาเป็นประธานการประชุม BIMSTEC TNC

สถานะล่าสุด

ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม BIMSTEC TNC ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2554 ตกลงแนวทางการลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรของสินค้าได้แล้ว โดยใช้อัตราภาษี MFN Applied Rate ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2550 เป็นอัตราฐานในการลด/ยกเลิกภาษี และกำหนดสัดส่วนรายการสินค้าที่จะมีการลด/ยกเลิกภาษี ในกลุ่มต่างๆ ตามพิกัดฯ HS 2007 ในระดับ 6 หลัก  - กำหนดเริ่มลดภาษีสินค้ากลุ่ม Fast Track วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 และเริ่มลดภาษีสินค้า Normal Track Elimination และ Normal Track Reduction ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 - ให้แต่ละประเทศสมาชิกเวียนตารางข้อผูกพันภาษีของรายการสินค้าที่จะมีการลด/ยกเลิกภาษี เพื่อแนบท้ายความตกลงการค้าสินค้า - ตั้งเป้าหมายสรุปผลการจัดทำความตกลงการค้าสินค้าฉบับสมบูรณ์ให้แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2554 และกำหนดลงนามความตกลงฯ ภายในสิ้นปี 2554 - ประเทศสมาชิกสามารถหาข้อสรุปสาระสำคัญของการจัดทำความตกลงการค้าสินค้าได้แล้ว รวมทั้งกำหนดแนวทางการลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ความตกลงการค้าสินค้ายังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปผลการจัดทำตารางข้อผูกพันภาษีศุลกากรของสินค้า เพื่อแนบท้ายความตกลงฯ ได้ โดยศรีลังกาเป็นประเทศเดียวที่ยังไม่จัดส่งข้อเสนอการลดภาษี ทำให้ไม่สามารถจัดทำความตกลงการค้าสินค้าฉบับสมบูรณ์ได้แล้วเสร็จ - อยู่ระหว่างเจรจาจัดทำความตกลงการค้าบริการและการลงทุน

การดำเนินการขั้นต่อไป ขอให้ศรีลังกาเร่งส่งข้อเสนอการลดภาษี เพื่อที่จะได้สรุปการจัดทำตารางข้อผูกพันภาษีศุลกากร แนบท้ายความตกลงการค้าสินค้า

ข้อมูล ณ วันที่ : 11/10/2556

 

13.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ Canada

ความเป็นมา/การดำเนินการ

นายกรัฐมนตรีของไทย (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และนายกรัฐมนตรีแคนาดา (นาย Stephen Harper) ได้เห็นพ้องให้เริ่มการหารือ Exploratory Discussion เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ไทย-แคนาดา เมื่อเดือนมีนาคม 2555 ฝ่ายไทยได้หารือ Exploratory Discussion กับฝ่ายแคนาดาอย่างเป็นทางการแล้ว 2 ครั้ง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 และเดือนมกราคม 2556 โดยทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการเจรจา FTA ในประเด็นต่างๆ ระหว่างกัน เช่น การเปิดตลาดสินค้า กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร การค้าบริการ การลงทุน การจัดซื้อโดยรัฐ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ทั้งนี้การดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 - กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ไทย-แคนาดา ซึ่งโครงการศึกษาจะแล้วเสร็จในช่วงกลางเดือนกันยายน 2556 โดยโครงการศึกษาดังกล่าวประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1) การจัดรับฟังความคิดเห็น (Focus Group) โดยครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งด้านสินค้าและบริการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 2) การจัดสัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ FTA ไทย-แคนาดา ในกรุงเทพฯ และภูมิภาค รวม 4 ครั้ง และ 3) การเผยแพร่บทความเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำ FTA ไทย-แคนาดา ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ - กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ คาดว่าจะสามารถเสนอกรอบการเจรจา FTA ไทย-แคนาดา ให้คณะรัฐมนตรีและรัฐสภาให้ความเห็นชอบได้ในช่วงปลายปี 2556-ต้นปี 2557 และจะสามารถเริ่มเจรจา FTA กับฝ่ายแคนาดาได้ในช่วงกลางปี 2557

สถานะล่าสุด

การหารือ Exploratory Discussion ครั้งที่ 3 แคนาดาได้เสนอให้มีการหารือกันในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2556 ส่วนไทยเห็นว่าการหารือดังกล่าวจะเป็นการสรุปผลการหารือทั้งหมด และขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการศึกษา เพื่อให้มีเวลาเตรียมข้อมูลอย่างเพียงพอ จึงควรรอผลการดำเนินโครงการศึกษาฯ และรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ของไทยซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2556 ก่อนที่จัดการหารือ Exploratory Discussion ครั้งที่ 3 ต่อไป

ข้อมูล ณ วันที่ : 11/10/2556

 

14.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ Chile

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา การจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี เกิดขึ้นจากแนวคิดในการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีของไทยกับประธานาธิบดีของชิลี (H.E. Mr. Ricardo Lagos Escobar) ในการเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2546 - กรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ซึ่งต่อมาได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 และวันที่ 15 กันยายน 2553 ตามลำดับ - เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ในช่วงการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ณ ประเทศญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีของไทย (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) และประธานาธิบดีของชิลี (H.E. Mr. Sebastian Piaera) ได้ร่วมกันประกาศให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน - เริ่มมีการเจรจาครั้งแรกระหว่างไทย-ชิลี เมื่อเดือนเมษายน 2554 และสามารถสรุปผลการเจรจาได้เมื่อเดือนสิงหาคม 2555

กรอบการเจรจา พันธกรณีมีผลใช้บังคับ 5 พฤศจิกายน 2558 - สินค้า ไทยและชิลี ร้อยละ 90 ของรายการสินค้าจะลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 ทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ สำหรับสินค้าที่เหลืออีกร้อยละ 10 ของรายการสินค้าทั้งหมด ทั้งสองฝ่ายมีหลักเกณฑ์การลดภาษีเป็นลำดับ คือ (1) ลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 3 ปี (2) ลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 5 ปี และ (3) สินค้าอ่อนไหว ลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 8 ปี - บริการ ไทยเสนอเปิดตลาดการค้าบริการให้ชิลีในระดับที่ใกล้เคียงกับการเปิดตลาดของไทยภายใต้กรอบอาเซียน (ข้อผูกพันการค้าบริการอาเซียนชุดที่ 8) ชิลี - เปิดตลาดโดยอนุญาตให้ไทยเข้าไปลงทุนเกือบทุกสาขาบริการได้ถึงร้อยละ 100 - เปิดตลาดให้ไทยมากกว่าในกรอบ WTO ได้แก่ บริการด้านกฎหมาย บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ/วิศวกรรม บริการด้านคอมพิวเตอร์ บริการค้าส่ง/ค้าปลีก บริการเกี่ยวเนื่องภาคการผลิต ส่วนบริการนวดแผนไทยและบริการกีฬา/นันทนาการ รวมถึงมวยไทย - เปิดตลาดให้ไทยมากกว่า FTA อื่นๆ ที่ชิลีเป็นภาคี - ลงทุน ข้อบทการลงทุนจะเจรจาภายหลังความตกลงมีผลใช้บังคับแล้ว 2 ปี สรุปสาระสำคัญของความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี

 

ความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี เป็นความตกลงที่มีกรอบกว้าง (Comprehensive Agreement) โดยรวมข้อบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการค้าและการลงทุนในความตกลงฉบับเดียว ได้แก่ (1) การค้าสินค้า (2) พิธีการศุลกากร (3) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (4) มาตรการปกป้องและเยียวยาทางการค้า (5) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (6) มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (7) การค้าบริการ (8) การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ (9) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และ (10) ความโปร่งใส ส่วนข้อบทการลงทุนจะมีการเจรจาภายใน 2 ปี นับจากความตกลงมีผลใช้บังคับ สาระสำคัญ มีดังนี้ การค้าสินค้า สินค้านำเข้าจากชิลีและไทย อย่างน้อยร้อยละ 90 ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้าจะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ทันทีในวันที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ สำหรับสินค้าที่เหลืออีกร้อยละ 10 ของรายการสินค้าทั้งหมด ทั้งสองฝ่ายมีหลักเกณฑ์วิธีการลดภาษีเป็นลำดับ กล่าวคือ (1) ลดภาษีภายใน 3 ปี (2) ลดภาษีภายใน 5 ปี และ (3) สินค้าอ่อนไหว ลดภาษีในสินค้าที่เหลือภายใน 8 ปี ในการเปิดตลาด ชิลีตกลงที่จะยกเลิกภาษีให้กับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยทันทีที่ความตกลง มีผลใช้บังคับในหลายรายการ ได้แก่ ยานยนต์ ปลาแปรรูป (ปลากระป๋อง) โพลิเมอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง (ปูนซีเมนต์) เม็ดพลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง และอัญมณี เป็นต้น สำหรับสินค้าข้าวนั้น ชิลีจะทยอยยกเลิกภาษีนำเข้าให้แก่ไทยภายใน 5 ปี ซึ่งดีกว่าที่ชิลีเปิดตลาดข้าวให้กับเวียดนามและจีน ในส่วนการเปิดตลาดสินค้าของไทย ไทยจะยกเลิกภาษีสินค้าวัตถุดิบทันทีนับตั้งแต่วันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของชิลีและไทยมีความต้องการนำเข้าอยู่แล้ว เช่น ทองแดง สินแร่เหล็ก เป็นต้น รวมทั้งลดภาษีไวน์ จำนวน 9 รายการในระดับเดียวกับที่ไทยจะเปิดให้ออสเตรเลีย (อัตราภาษีเป็นศูนย์ภายในปี 2558) ส่วนสินค้าแอลกอฮอล์ที่เหลือ ชิลียอมรับให้ไทยจัดเป็นสินค้าอ่อนไหวทั้งหมด (ใช้เวลา 8 ปีในการลดภาษี) ทั้งนี้ สินค้าที่ชิลีส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าแร่ธาตุ ประมง และไวน์ และภาคธุรกิจที่เป็นหลักสำคัญของเศรษฐกิจชิลี คือ การค้าบริการ (Trade in Services) ในการเปิดเสรีระหว่างกัน สินค้าของแต่ละฝ่ายที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จะต้องมีคุณสมบัติของกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้ในแต่ละรายการ (Product Specific Rules : PSR) ทั้งนี้ โดยทั่วไป ทั้งสองฝ่ายกำหนดให้ใช้วัตถุดิบภายในไทย/ชิลีเป็นสัดส่วนสำคัญในการผลิต (Qualifying Value Content) ซึ่งส่วนใหญ่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 40 ของราคาสินค้า การค้าบริการ ไทยเสนอเปิดตลาดการค้าบริการให้ชิลีในระดับที่ใกล้เคียงกับการเปิดตลาดของไทยภายใต้กรอบอาเซียน (ข้อผูกพันการค้าบริการอาเซียน ชุดที่ 8) คือ ให้ต่างชาติถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 70 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด โดยบริษัทนั้นต้องมีคนไทยถือหุ้นที่เหลือ (ร้อยละ 30) และกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารบริษัทต้องเป็นคนสัญชาติไทยและมีถิ่นพำนักในประเทศไทย นอกจากนี้ ไทยเปิดตลาดในบางสาขาที่ไทยได้เปิดตลาดให้ออสเตรเลียแล้วในความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ในสาขาที่ไทยต้องการ know how จากต่างชาติ เช่น บริการให้คำปรึกษาด้านการจัดการ ก่อสร้างสาธารณูปโภค ชิลีเปิดตลาดโดยอนุญาตให้ไทยเข้าไปลงทุนเกือบทุกสาขาบริการได้ถึงร้อยละ 100 โดยตอบสนองข้อเรียกร้องของไทยในการเปิดตลาดเพิ่มเติมให้ไทยมากเกินกว่าในกรอบ WTO ได้แก่ บริการด้านกฎหมาย บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ/วิศวกรรม บริการด้านคอมพิวเตอร์ บริการค้าส่ง/ค้าปลีก บริการเกี่ยวเนื่องภาคการผลิต ส่วนบริการนวดแผนไทยและบริการกีฬา/นันทนาการ รวมถึง มวยไทย ชิลีเปิดตลาดให้ไทยมากกว่าความตกลงการค้าเสรีอื่น ๆ ที่ชิลีเป็นภาคี

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มีสาระครอบคลุมสาขาต่าง ๆ รวม 17 สาขา ได้แก่ (1) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน (2) วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา (3) เกษตร ประมง อุตสาหกรรมอาหารและป่าไม้ (4) เหมืองแร่ (5) พลังงาน (6) วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (7) ท่องเที่ยว (8) การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (9) พัฒนาชุมชนและร่วมมือทางวัฒนาธรรม (10) ประเด็นเรื่องเพศกับการค้า (11) โลจิสติกส์และการขนส่งระหว่างประเทศ (12) สิ่งแวดล้อม (13) แรงงาน (14) การจัดซื้อโดยรัฐ (15) เทคโนโลยีสารสนเทศ (16) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (17) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

กลไกการดำเนินการ ไทยแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้า (Trade Negotiation Committee: TNC) และภายใต้ TNC ประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Group) ด้านต่างๆ เพื่อเจรจารายละเอียดทางเทคนิคเฉพาะด้าน

สถานะล่าสุด

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมาธิการการค้าเสรีภายใต้ความ ตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี ครั้งที่ 1 (The 1st Meeting of Free Trade Commission between Thailand and Chile) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2560 กรุงเทพมหานคร - ชิลีได้ยกร่างข้อเสนอ Code of Conduct for the Dispute Settlement Proceedings ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการและแนวปฏิบัติของคณะอนุญาโตตุลาการภายใต้บทบัญญัติเรื่องการระงับข้อพิพาทของความตกลง TCFTA ซึ่งฝ่ายไทยโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้พิจารณาแล้วในเบื้องต้นว่าไม่ขัดข้องต่อเนื้อหาของร่างเอกสารโดยรวม - ความตกลง TCFTA กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายตกลงเกี่ยวกับการริเริ่มการเจรจาจัดทำข้อบทการลงทุนภายใน 2 ปี นับจากวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แสดงความพร้อมที่จะเริ่มการหารือเกี่ยวกับข้อบทด้านการลงทุน โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบให้จัดตั้ง Task Force on Investment เพื่อดำเนินการเจรจาข้อบทด้านการลงทุนระหว่างกัน ทั้งนี้ ฝ่ายชิลีเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนจุดติดต่อประสานงาน (Contact Point) ของผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนของทั้งสองฝ่ายเพื่อหารือกันก่อนเบื้องต้น เช่น ผ่านทาง Video Conference - ชิลีได้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือในด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม และประเด็นเรื่องเพศกับการค้า แต่ยังไม่มีข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือ ซึ่งฝ่ายชิลีจะจัดทำข้อเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนประเด็นความร่วมมือด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม ได้ขอให้จุดติดต่อประสานงาน (Contact Point) ของแต่ละฝ่ายที่คณะกรรมาธิการฯ ได้จัดตั้งขึ้นหารือร่วมกันต่อไป - ไทยได้จัดทำข้อเสนอความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ 2 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและการจับคู่ธุรกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่าย มีศักยภาพร่วมกัน และความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนในสาขาที่แต่ละฝ่ายมีศักยภาพ เช่น การแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนการค้า การจัดสัมมนาทางธุรกิจร่วมกัน โดยสาขาที่ไทยมีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และ (2) ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเสนอให้มีความร่วมมือระหว่าง Thaitrade.com กับ E-marketplace ของชิลี เพื่อส่งเสริมการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการจัดกิจกรรมความร่วมมือ อาทิ การแลกเปลี่ยน Banner ระหว่างเว็บไซต์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ซื้อผู้ขาย การใช้ Electronic Direct Mail (EDM) เพื่อทำตลาดออนไลน์ เป็นต้น ทั้งนี้ ชิลีจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาข้อเสนอของไทยต่อไป

ประโยชน์ที่ไทยได้รับ - มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับชิลีในปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ร้อยละ 25.36 โดยล่าสุดปี 2560 ไทยได้ดุลการค้า 376.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไทยส่งออก 749.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้า 372.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าไทยที่ได้ประโยชน์ คือ สินค้าส่งออกไปชิลี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก ลิเธียม ทองแดง และเครื่องใช้ไฟฟ้า - ชิลีเปิดตลาดโดยอนุญาตให้ไทยเข้าไปลงทุนเกือบทุกสาขาบริการได้ถึงร้อยละ 100 - ชิลี เปิดตลาดเพิ่มเติมให้ไทยมากเกินกว่าในกรอบ WTO ได้แก่ บริการด้านกฎหมาย บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ/วิศวกรรม บริการด้านคอมพิวเตอร์ บริการค้าส่ง/ค้าปลีก บริการเกี่ยวเนื่องภาคการผลิต รวมทั้งบริการนวดแผนไทยและบริการกีฬา/นันทนาการ รวมถึง มวยไทย ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจในชิลี - ชิลีเปิดตลาดให้ไทยมากกว่า FTA อื่นๆ ที่ชิลีเป็นภาคี

ข้อมูล ณ วันที่ : 15/03/2561

 

15.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ EFTA

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ประธานาธิบดีแห่งสมาพันธรัฐสวิสได้เสนอให้มีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2547 ซึ่งนายกรัฐมนตรีของไทยได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2557 เห็นชอบให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายเกริกไกร จีระแพทย์) เป็นหัวหน้าคณะเจรจา โดยได้มีการเจรจามาแล้ว 2 รอบ คือเดือนตุลาคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต และเดือนมกราคม 2549 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการเจรจาครอบคลุมในทุกเรื่อง อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อเดือนกันยายน 2549 ทำให้การเจรจาหยุดชะงักลง  ต่อมานายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้หารือกับประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ (นาง Doris Leuthard) ในช่วงการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) 2553 ครั้งที่ 40 ระหว่างวันที่ 29-31 มกราคม 2553 ณ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส โดยประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์เสนอให้ไทยพิจารณาจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับ EFTA ต่อไป และนายกรัฐมนตรีแจ้งว่าจะให้กระทรวงพาณิชย์ไปศึกษาข้อดี ข้อเสียต่อการเจรจาจัดทำการค้าเสรีไทย-EFTA

แนวทางการเจรจา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการจัดทำ FTA ไทย-EFTA ทั้งทางบวกและทางลบ ที่มีต่อภาคการผลิต การค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุนในภาพรวมและในรายสาขา รวมทั้งสังคม เช่น ด้านทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งแวดล้อม แรงงาน การพัฒนาที่ยั่งยืน ความเป็นอยู่ของประชาชน และเศรษฐกิจโดยรวมของไทย รวมทั้งรายการสินค้า และสาขาบริการที่อาจได้ประโยชน์และได้รับผลกระทบ จากการจัดทำความตกลง และข้อเสนอแนะว่าไทยควรที่จะดำเนินการเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับ EFTA ต่อหรือไม่

สถานะล่าสุด

ไทยและ EFTA ได้เคยเจรจา FTA มาแล้ว 2 รอบ ในปี 2548-2549 แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย เมื่อเดือนกันยายน 2549 ทำให้การเจรจาหยุดชะงักลง - กรอบการเจรจา FTA ไทย-EFTA ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อ ตุลาคม 2556  - ฝ่าย EFTA แจ้งว่ายังสนใจการทำ FTA กับไทยในช่วงเวลาที่เหมาะสม

ข้อมูล ณ วันที่ : 29/06/2560

 

16.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ India

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา เดือนพฤศจิกายน 2544 ผู้นำของไทยและอินเดียเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมไทย-อินเดีย (Joint Working Group: JWG) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement) โดยผลการศึกษาได้สรุปว่า การจัดทำ FTA จะเป็นประโยชน์ร่วมกันในการขยายการค้าและการลงทุน และเกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตั้งคณะเจรจาร่วม (Joint Negotiating Group: JNG) เพื่อจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย (Framework Agreement for Establishing Free Trade Area between Thailand and India) ต่อมาเดือน ตุลาคม 2546 รัฐมนตรีพาณิชย์ของไทยและอินเดียร่วมลงนามในกรอบความตกลงฯ โดยกรอบความตกลงฯ กำหนดให้มีการเปิดเสรีสินค้านำร่องบางส่วน (Early Harvest Scheme : EHS) และจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้าไทย-อินเดีย (Trade Negotiating Committee: TNC)

กรอบการเจรจา ครอบคลุมการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีโดยมีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า: - ลดและยกเลิกภาษีสินค้าบางส่วน (Early Harvest Scheme: EHS) 82 รายการ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2547 และลดภาษีเป็น 0% ในวันที่ 1 กันยายน 2549  ครอบคลุมสินค้า เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน ลำไย อาหารทะเลกระป๋อง อัญมณี ส่วนประกอบเครื่องยนต์ พัดลม ตู้เย็น เป็นต้น - ลด/ยกเลิกภาษีสินค้านอกเหนือจาก EHS โดยแบ่งการลด/ยกเลิกภาษีสินค้าเป็น 2 ระยะคือ สินค้าทั่วไป (Normal Track) และสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) การค้าบริการ: ให้ยกเลิกการเลือกปฏิบัติหรือลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการระหว่างกันอย่างมากพอ และให้มีการเปิดเสรีแบบก้าวหน้าเป็นลำดับโดยครอบคลุมสาขาบริการส่วนใหญ่ การลงทุน: ส่งเสริมการลงทุนและสร้างระบบการลงทุนที่เสรี อำนวยความสะดวกในการลงทุน พัฒนาระบบการลงทุนให้มีความโปร่งใส รวมทั้งให้มีการคุ้มครองการลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ: กระชับความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เช่น การอำนวยความสะดวกทางการค้า การส่งเสริมการค้าและการลงทุน เป็นต้น

กลไกการเจรจา ตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้าไทย-อินเดีย (India-Thailand Trade Negotiating Committee: TNC) และคณะทำงาน (Working Group) กลุ่มต่างๆ เพื่อเจรจารายละเอียดทางเทคนิคเฉพาะด้าน

แนวทางการเจรจา จัดทำความตกลงเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ (Comprehensive FTA) ซึ่งจะรวมเรื่องการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจเข้าไว้ในความตกลงฉบับเดียวกัน

แผนการเจรจา ในการเยือนอินเดียของนายกรัฐมนตรีไทย ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2555 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ผู้นำสองฝ่ายได้ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันให้สรุปผลการเจรจา FTA ไทย-อินเดีย ภายในปี 2555

สถานะล่าสุด

อยู่ระหว่างเจรจา FTA ฉบับสมบูรณ์ เพื่อเปิดเสรีสินค้าเพิ่มเติม การค้าบริการและการลงทุน สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และอุปสรรคทางเทคนิค (TBT) - การค้าสินค้า ไทยและอินเดียได้กลับมา รื้อฟื้นการเจรจาการเปิดตลาดการค้าสินค้าภายใต้ FTA ไทย-อินเดีย หลังจากหยุดการเจรจามาระยะหนึ่ง เพื่อขยายการเปิดตลาดเพิ่มจากสินค้า 83 รายการที่มีผลใช้บังคับแล้ว -โดยล่าสุด อินเดียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าไทย-อินเดีย ครั้งที่ 30 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

ข้อมูล ณ วันที่ : 29/06/2560

 

17.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ Japan (JTEPA)

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ในระหว่างการประชุม Boao Forum for Asia ณ มณฑลไหหลำ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2545 ผู้นำของไทยและญี่ปุ่นได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานพันธมิตรทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Working Group on Japan-Thailand Economic Partnership: JTEP) เพื่อผลักดันความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน รวมทั้งการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายสามารถยกร่างรายงานเสนอแนวทางความร่วมมือใน 21 สาขา ในเดือนพฤศจิกายน 2546  ผู้นำของทั้งสองประเทศจึงได้เห็นชอบให้เริ่มการเจรจาหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Closer Economic Partnership: JTEP) อย่างเป็นทางการ ในระหว่างการประชุม ASEAN-Japan Commemorative Summit ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2546

กรอบการเจรจา ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกด้าน โดยให้มีการเปิดเสรีทั้งด้านสินค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือในสาขาต่างๆ

สรุปผลความตกลง ได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 โดยนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศ และความตกลงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป สาระสำคัญของความตกลง JTEPA คือ 1) การเปิดเสรีการค้าสินค้า โดยจะลด/ยกเลิกภาษีมากกว่า 90% ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้า และมีมาตรการปกป้องสองฝ่ายในกรณีที่การลด/เลิกภาษีก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ  2) การค้าบริการ ไทยสามารถไปลงทุนเปิดกิจการและทำงานในญี่ปุ่นได้มากขึ้นและง่ายขึ้นในหลายสาขา เช่น บริการด้านดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย บริการสปา บริการโรงแรม บริการร้านอาหาร บริการอู่ซ่อมรถ เป็นต้น รวมทั้งมาตรการปกป้องฉุกเฉิน 3) การลงทุน ให้บริษัทไทย/คนไทยเข้าไปลงทุนในทุกสาขา ยกเว้น อุตสาหกรรมผลิตยา อุตสาหกรรมอวกาศและยานอวกาศ อุตสาหกรรมผลิตน้ำมัน อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมการกระจายเสียง การทำเหมืองแร่ การประมง การเกษตร ป่าไม้ และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ สามารถแก้ไขข้อผูกพันแบบถอยหลังได้ แต่อาจต้องมีการชดเชยหรือปรับข้อผูกพันอื่น เพื่อให้ประโยชน์โดยรวมไม่ลดลง 4) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ใช้หลัก Wholly-Obtained หรือ เกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร หรือ เกณฑ์มูลค่าเพิ่มภายในประเทศ 40% หรือ เกณฑ์กระบวนการผลิต 5) โครงการความร่วมมือในกรอบ JTEPA ทั้ง ๗ โครงการ ได้แก่ โครงการความร่วมมือเพื่อสนับสนุนโครงการครัวไทยสู่โลก  โครงการอนุรักษ์พลังงาน โครงการเศรษฐกิจสร้างมูลค่า  โครงการหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชน  โครงการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โครงการอุตสาหกรรมเหล็ก และโครงการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์

สถานะล่าสุด

อยู่ระหว่างการเจรจาทบทวนการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติมภายใต้ความตกลง JTEPA การทบทวนทั่วไป (General Review) สำหรับการเปิดตลาดเพิ่มเติมจะมีขึ้นในปี 2560 (ปีที่ 10 หลังความตกลงมีผลบังคับใช้แล้ว)

ข้อมูล ณ วันที่ : 29/06/2560

 

18.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ New Zealand

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา เมื่อวันที่ 17-21 ตุลาคม 2546 ในระหว่างการประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 11 ณ กรุงเทพฯ ผู้นำไทยและนิวซีแลนด์ได้เห็นชอบให้จัดทำการศึกษาร่วมความเป็นไปได้ในการทำความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น (CEP) ระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ และเห็นชอบให้เริ่มการเจรจา เมื่อเดือนพฤษภาคม 2547 ได้เริ่มเจรจาจัดทำความตกลงฯ และสามารถสรุปผลการเจรจาได้ในเดือนพฤศจิกายน 2547

กรอบการเจรจา พันธกรณี - มีผลใช้บังคับ 1 กรกฎาคม 2548 - สินค้า ไทยปัจจุบันภาษีร้อยละ 0 แล้ว 99.17% และภายในปี 2568 สินค้าทุกรายการจะลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 (เหลือรายการสินค้าเกษตรอ่อนไหวที่มีมาตรการปกป้องพิเศษ เช่น เนื้อวัว เครื่องในวัว/หมู นมและครีมแบบผง และมาตรการโควตาภาษี เช่น นมและครีม มันฝรั่ง และหัวหอม) ทั้งนี้ TNZCEP ระบุให้ทบทวน มาตรการ SSG ภายใน 3 ปี นับจากความตกลงมีผลใช้บังคับ (2551) นิวซีแลนด์ สินค้าทุกรายการลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 แล้วตั้งแต่ปี 2558 - บริการ - ยังไม่มีการจัดทำข้อบทการค้าบริการ และข้อผูกพันการเปิดตลาด - อยู่ระหว่างหารือเรื่องการเปิดตลาดการค้าบริการ - ลงทุน ไทย เปิดตลาดให้นิวซีแลนด์มาลงทุนได้ 100% ในธุรกิจผลิตสินค้าบางประเภทที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน เช่น ธุรกิจผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซอฟท์แวร์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์กระดาษ การแปรรูปอาหารที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ นิวซีแลนด์ เปิดตลาดให้คนไทยไปลงทุนในธุรกิจทุกประเภทได้ 100% ยกเว้นประมง

สถานะล่าสุด

ไทยและนิวซีแลนด์มีกำหนดที่จะประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความตกลง TNZCEP เพื่อเจรจาต่อตาม built-in agenda ในเดือนกันยายน 2561 โดยไทยจะติดตามโครงการให้ความช่วยเหลือเรื่องการปรับตัวภาคโคนมเพื่อรองรับการเปิดเสรีสินค้านมและผลิตภัณฑ์ในปี 2564 และ 2568

ไทยได้ทบทวนปรับเพิ่มปริมาณนำเข้า (Trigger Volume) ภายใต้ TNZCEP ของสินค้า หางนม (เวย์) 20% ไขมันเนย 10% และเนยแข็ง 10% โดยมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมีการนำเข้าจริงสูงกว่าเพดานปริมาณนำเข้ามาก ตามความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ และจะเป็นการช่วยให้อุตสาหกรรมโคนมไทยได้ปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีในอนาคตอันใกล้

การค้าบริการ จะต้องเจรจาจัดทำข้อบทการค้าบริการภายใน 3 ปี (คือ ภายในปี 2551) นับจากความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ (มีผลบังคับใช้ในปี 2548) โดยไทยพร้อมที่จะเจรจาจัดทำข้อบทการค้าบริการในรูปแบบ Positive List อย่างไรก็ดี นิวซีแลนด์ประสงค์ที่จะใช้รูปแบบ Negative List Approach

ประโยชน์ที่ไทยได้รับ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ในปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ร้อยละ 194.87 โดยล่าสุดปี 2560 ไทยได้ดุลการค้า 1,004.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไทยส่งออก 1,643.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้า 639.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าไทยที่ได้ประโยชน์ คือ สินค้าส่งออกไปนิวซีแลนด์ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องหนัง เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า

คนไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจทุกประเภทได้ 100% ยกเว้นประมง นอกจากนี้ นิวซีแลนด์จะให้การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน เช่น จะไม่เวนคืนทรัพย์สินของนักลงทุนต่างชาติ ยกเว้นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ ในลักษณะที่ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และให้สิทธินักลงทุนต่างชาติในการฟ้องร้องรัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ หากรัฐมีการทำผิดพันธกรณีที่ได้ตกลงกันไว้

ข้อมูล ณ วันที่ : 26/02/2561

 

19.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ Peru

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ในช่วงการประชุมผู้นำเอเปค ในเดือนตุลาคม 2545 ณ เมืองลอสคาบอส ประเทศเม็กซิโก นายกรัฐมนตรีของไทย (นายทักษิณ ชินวัตร) และประธานาธิบดีของเปรู (นายเอลคานโดร โตเลโด) มีความเห็นร่วมกันในหลักการให้มีการเจรจา FTA และให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน โดยผลการศึกษาของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศสรุปได้ว่าไทยจะได้รับประโยชน์ในระยะยาวจากการเปิดตลาดภูมิภาคอเมริกาใต้ ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทยกับเปรู (Framework Agreement on Closer Economic Partnership between the Republic of Peru and the Kingdom of Thailand) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี และได้ลงนามกรอบความตกลง เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2546 ภายหลังฝ่ายเปรูและฝ่ายไทยได้ให้สัตยาบันเพื่อให้กรอบฯ มีผลใช้บังคับ เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2548 และ 20 ธันวาคม 2548 ตามลำดับ

กรอบการเจรจา ครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน รวมทั้งอำนวยความสะดวกทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

การค้าสินค้า ไทยและเปรูได้จัดทำพิธีสารเพื่อเร่งเปิดเสรีการค้าสินค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างไทย-เปรู ปี พ.ศ. 2548 และพิธีสารเพิ่มเติมฯ พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 2 และพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ระหว่างปี 2549-2553 โดยไทยจะลด/ยกเลิกภาษีสินค้าบางส่วน (Early Harvest) เป็นจำนวน 5,962  รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยแบ่งเป็นสินค้าที่พร้อมลดภาษีเป็นศูนย์ทันที ประมาณร้อยละ 50 และสินค้าที่พร้อมจะทยอยลดภาษีเป็นศูนย์ใน 5 ปี จำนวนประมาณร้อยละ 20

กลไกการเจรจา จัดตั้งคณะเจรจาการค้าเสรีไทย-เปรู เพื่อเจรจาจัดทำความตกลงในรายละเอียด - หัวหน้าคณะเจรจาสำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-เปรู แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) หัวหน้าคณะเจรจาในระดับการเมือง คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ 2) ระดับข้าราชการประจำ คือ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

สถานะล่าสุด

ไทยและเปรูอยู่ระหว่างสรุปผลการเจรจาความตกลงฉบับสมบูรณ์

ข้อมูล ณ วันที่ : 29/06/2560

 

20.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ RCEP

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นการพัฒนามาจากแนวคิด ASEAN+3/ASEAN+6 เป็นยุทธศาสตร์ AEC Blueprint ที่อาเซียนต้องการรักษาบทบาทในการเป็นศูนย์กลาง (ASEAN Centrality) ขับเคลื่อนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นในภูมิภาค โดยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ (ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์) ได้ออกปฏิญญาร่วมเพื่อประกาศให้มีการเริ่มเจรจาอย่างเป็นทางการในปี 2556 และเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ในการประชุม RCEP Summit ณ มาเลเซีย ผู้นำ RCEP ได้ออกแถลงการณ์ขยายระยะเวลาการเจรจาจากเป้าหมายเดิมปี 2558 เป็นปี 2559

กรอบการเจรจา ความตกลง RCEP จะแบบองค์รวม (Comprehensive Agreement) ที่มีมาตรฐานสูง ประกอบไปด้วยความร่วมมือทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยจะครอบคลุมทุกมิติในด้านการเข้าถึงตลาด และตั้งเป้าที่จะลดภาษีระหว่างกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการลดอุปสรรคทางการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน และจะเปิดกว้างผนวกประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน อาทิ เรื่องนโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา เข้าไปในความตกลงด้วย

กลไกการเจรจา กลไกการเจรจา รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้เห็นชอบการจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP หรือ (RCEP Trade Negotiating Committee: RCEP-TNC) เพื่อเป็นกลไกหลักในการเจรจาจัดทำความตกลง RCEP โดยมีการเจรจาภายใต้คณะทำงานและคณะทำงานย่อยใน 14 เรื่อง ได้แก่ การค้าสินค้า (กฎถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช) การค้าบริการ (การเงิน โทรคมนาคม) การลงทุน การแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กฎหมาย และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

แผนการเจรจา ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการเจรจาจัดทำความตกลง RCEP ครั้งที่ 23 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 17-27 กรกฎาคม 2561 ซึ่งจะเป็นการประชุมรอบสำคัญก่อนการประชุมรัฐมนตรี RCEP ครั้งที่ 6 ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2561

สถานะล่าสุด

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงผลการเข้าร่วมการรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) สมัยพิเศษ ครั้งที่ 4 ซึ่งสิงคโปร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561 ว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจและผู้แทนระดับสูงจากสมาชิก 16 ประเทศได้เน้นย้ำถึงความตั้งใจร่วมกันที่จะทำให้การเจรจา RCEP มีความคืบหน้าเพื่อให้สามารถสรุปผลได้อย่างมีนัยสำคัญภายในปีนี้ อีกทั้งยินดีที่จะให้มีแผนงานสำหรับการเจรจาในปี 2561 เพื่อให้คณะเจรจาดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแต่ละรอบ

นางสาวชุติมา กล่าวเพิ่มเติมว่าผลจากการประชุมครั้งนี้จะทำให้การเจรจามีความคืบหน้ามาก โดยที่ประชุมร่วมกันหารือและมอบแนวทางการเจรจาในประเด็นสำคัญ โดยในเรื่องการเปิดตลาดสินค้า ทุกประเทศตกลงให้มีการยื่นปรับปรุงข้อเสนอการเปิดตลาดครั้งที่ 3 ที่ครอบคลุมสินค้าทุกรายการ โดยให้เป็นไปตามโครงสร้างรูปแบบการลดภาษีตามที่อาเซียนเสนอ ภายในวันที่ 13 เมษายน 2561 และตั้งเป้าให้ได้ข้อสรุปภายในการประชุมคณะกรรมการเจรจาจัดทำความตกลง RCEP ครั้งที่ 22 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2561 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์

ในส่วนของการเปิดตลาดบริการ ซึ่งสมาชิกหลายประเทศเห็นว่าภาคบริการมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยที่ประชุมตกลงที่จะให้มีการเจรจาสองฝ่ายไปพร้อมกับที่จะให้มีการปรับปรุงข้อเสนอเปิดตลาดให้ตอบสนองต่อสาขาที่ประเทศสมาชิกสนใจ สำหรับการเปิดเสรีการลงทุน สมาชิกจะปรับปรุงข้อผูกพันเปิดตลาดการลงทุนก่อนการประชุมรอบที่ 22 และให้มีการเจรจาสองฝ่ายเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถเรียกร้องและพยายามตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของสมาชิกซึ่งจะเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้การเปิดตลาดการลงทุนมีระดับสูงขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า โดยเห็นว่ากฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าควรอยู่บนหลักการของความเรียบง่าย เอื้ออำนวยต่อการค้า ส่งเสริมโอกาสในการส่งออกของผู้ประกอบการขนาดย่อม ตระหนักถึงกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและเครือข่ายการผลิตในภูมิภาค ในขณะที่สามารถป้องกันการลอบให้สิทธิพิเศษทางภาษีได้ ในส่วนของการเจรจากฎเกณฑ์การค้า เช่น พิธีการศุลกากร สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า เป็นต้น มีเป้าหมายที่จะให้สรุปผลโดยเร็ว

นางสาวชุติมา กล่าวเสริมว่าในการประชุมครั้งนี้ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างอาเซียนกับอินเดียเพื่อผลักดันอินเดียให้หาข้อสรุปในประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้และให้อินเดียสนับสนุนในประเด็นที่มีท่าทีร่วมกัน และการหารือร่วมกันระหว่างอาเซียนกับจีนเพื่อขอการสนับสนุนในประเด็นสำคัญซึ่งส่วนใหญ่จีนมีท่าทีที่สอดคล้องกัน โดยทั้งสองประเทศยอมรับที่ร่วมมือกับอาเซียนผลักดันประเทศสมาชิกอื่น เพื่อให้การเจรจาเดินหน้าต่อไปได้

ข้อมูล ณ วันที่ : 22/06/2561

 

21.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ EU

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและสหภาพยุโรป ประกาศเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - สหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 โดยมีคณะกรรมการร่วมจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (Joint Committee for ASEAN-EU FTA) ทำหน้าที่ควบคุมการเจรจาในภาพรวม ซึ่งคณะกรรมการร่วมฯ ได้มีการหารือแล้วรวม 7 ครั้ง ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นแตกต่างกันมาก ได้แก่ การเปิดตลาดสินค้าและบริการ อาเซียนได้ยื่นข้อเสนอให้สหภาพยุโรปพิจารณา โดยที่กำหนดการเปิดตลาดสินค้าเพียงร้อยละ 75-80 ในขณะที่สหภาพยุโรปต้องการให้เปิดตลาดในระดับร้อยละ 90 ในการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 4-5 มีนาคม 2552 ณ ประเทศมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศหยุดพัก (Pause) การเจรจา เนื่องจากฝ่ายสหภาพยุโรป มีปัญหาด้านนโยบายระหว่างประเทศที่ไม่ยอมรับให้พม่าเข้าร่วมในการเจรจาและไม่สามารถลงนามในสัญญาใดๆ ร่วมกับพม่าได้ ประกอบกับสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างในระดับการพัฒนาทำให้มีปัญหาในด้านการเปิดตลาดภูมิภาคในที่สุด สหภาพยุโรปส่งสัญญาณว่าจะไม่เจรจาภายใต้กรอบภูมิภาคต่อไปโดยเสนอการเจรจาทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่พร้อมเจรจาเพียง 3 ประเทศ ซึ่งสหภาพยุโรปได้แสดงความสนใจที่จะเจรจากับสิงคโปร์ เวียดนาม และไทย

ร่างกรอบการเจรจา ร่างกรอบการเจรจาฯ ได้ผ่านความเห็นชอบในเบื้องต้นจากคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการจัดทำความตกลงการค้าเสรี ภายใต้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) แล้ว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 - คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 เห็นชอบร่างกรอบการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป และรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 - สาระสำคัญของร่างกรอบการเจรจาฯ ครอบคลุม 17 ประเด็น ได้แก่ การค้าสินค้า พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า มาตรการปกป้องด้านดุลการชำระเงิน มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า การค้าบริการ การลงทุน การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ความโปร่งใส การแข่งขัน การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน ความร่วมมือ และเรื่องอื่นๆ

แนวทางการเจรจา สหภาพยุโรป ได้เสนอเปลี่ยนแนวทางการเจรจา FTA แบบภูมิภาคเป็นแบบทวิภาคี และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ได้เห็นชอบอย่างเป็นทางการให้เปลี่ยนแนวทางการเจรจาเป็นแบบทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียน

สถานะล่าสุด

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าได้รับรายงานจากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ ว่า เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2560 คณะมนตรีการต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) ลงมติให้รื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการเมืองกับไทยในทุกระดับ รวมถึงการเจรจา FTA ไทย-อียู โดยให้คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเริ่มเจรจากันต่อภายหลังการเลือกตั้งของไทย ซึ่งการออกแถลงการณ์มติของอียูครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการสานต่อความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและอียู หลังจากฝ่ายอียูระงับการเยือนไทยของผู้แทนระดับสูงของต้นแต่เดือนมิถุนายน 2557

มติของคณะมนตรีการต่างประเทศของอียูครั้งนี้ สะท้อนถึงพัฒนาการทางการเมืองที่ดีขึ้นของไทย และความสนใจของอียูที่ชื่นชมบทบาททางเศรษฐกิจของไทยในอาเซียน ซึ่งไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานในกรอบความสัมพันธ์อาเซียน-อียู จึงเห็นควรเริ่มรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างเป็นทางการกับไทยได้ในทุกระดับอย่างค่อยเป็นค่อยไป และให้คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะกลับมาเจรจา FTA ไทย-อียู หลังจากที่ไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี ในข้อมติดังกล่าวระบุว่า อียูจะติดตามและให้ความสำคัญกับการจัดการเลือกตั้งในช่วงปลายปี 2561 สิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความเห็นของไทย

กระทรวงพาณิชย์ได้มอบให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศติดตามพัฒนาการของอียูในการจัดทำ FTA หรือข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมของไทยเมื่ออียูพร้อมจะรื้อฟื้นการเจรจา FTA โดยในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้เดินหน้าปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าที่สำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย อาทิ กฎหมายการแข่งขันทางการค้าและพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่ออำนวยความสะดวก รวมทั้งส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เป็นธรรมด้วย ซึ่งการเจรจา FTA กับอียูถือเป็นความท้าทาย เนื่องจากการเจรจาไม่ได้มุ่งหวังเพียงแต่การลดภาษีนำเข้าสินค้า แต่จะมีประเด็นอื่นที่เชื่อมโยงกับการค้าซึ่งไทยคงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแข่งขันทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหากการเจรจา FTA มีความคืบหน้าสามารถหาข้อสรุปได้ คาดว่าจะช่วยดึงดูดการลงทุนและทำให้เกิดการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากขึ้น

ข้อมูล ณ วันที่ : 14/12/2560

 

22.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ Pakistan

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ในระหว่างการเยือนประเทศไทยของนายรัฐมนตรีปากีสถาน (H.E.Mr. Shaukat Aziz) ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2548 นายกรัฐมนตรีปากีสถานได้หารือกับนายกรัฐมนตรีไทย (นายทักษิณ ชินวัตร) และเห็นพ้องที่จะจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี โดยให้เริ่มเจรจาโดยเร็วที่สุด และเริ่มการเจรจาเร่งลดภาษีกลุ่มแรก (Early Harvest Scheme) ก่อน ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งกลุ่มศึกษาร่วม (Joint Study Group: JSG) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ไทย-ปากีสถาน การประชุมครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 ณ กรุงอิสลามาบัด และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JSG ไทย-ปากีสถาน ครั้งที่ 4 (ครั้งสุดท้าย) ในวันที่ 29-61 มกราคม 2550 ณ กรุงเทพฯ โดยมีข้อสรุปร่วมกันว่าในปัจจุบันการค้าระหว่างไทยกับปากีสถานยังมีลักษณะที่ขาดความส่ำเสมอของการส่งออก/นำเข้า และมีมูลค่าการค้าในระดับต่ำเมื่อเทียบกับการค้าโลก

การดำเนินการของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการจัดทำ FTA ไทย-ปากีสถาน และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบของไทยจากความตกลงดังกล่าว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 โดยมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมประชุม โดยยังไม่ได้มีมติชัดเจนว่าควรจัดทำ FTA ไทย-ปากีสถานหรือไม่ แต่เห็นว่าการจัดทำ FTA ไทย-ปากีสถานน่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ไทยและไม่น่าจะเกิดผลกระทบในทางลบมากนัก ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า หากไทยยังไม่พร้อมทำ FTA ก็สามารถเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) เพื่อเป็นเวทีส่งเสริมการค้าระหว่างกัน - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไท ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดประชุมเพื่อหารือท่าทีในการจัดทำ FTA ระหว่างไทย-ปากีสถานอีกครั้ง ในวันที่ 8 ธันวาคม 2552 โดยสรุปเห็นว่าการจัดทำ FTA ไทย-ปากีสถานน่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ไทย - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ปากีสถาน (15 กุมภาพันธ์ 2553) แจ้งว่าการจัดทำ FTA ของไทยในปัจจุบัน ต้องมีขั้นตอนดำเนินการภายในประเทศ ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายปากีสถานไม่ขัดข้อง ไทยเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) เพื่อเป็นเวทีในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน และลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันต่อไป - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล) เยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนางฮินา รับบานี คาร์ห รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน ในระหว่างวันที่ 9-12 มกราคม 2556 ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันให้พิจารณารื้อฟื้นการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-ปากีสถาน

กรอบการเจรจา  1. การค้าสินค้า  -ให้มีการลดหรือยกเลิกอากรศุลกากร ค่าธรรมเนียม และเงินอื่นใดที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้า ให้ครอบคลุมการค้าระหว่างกันให้มากที่สุด โดยเน้นให้คู่เจรจาลดภาษีสินค้าที่ไทยมีเป้าหมาย/ศักยภาพในการส่งออกไปยังประเทศคู่เจรจา และให้มีความสมดุลระหว่างสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม -ให้มีการลดหรือยกเลิกมาตรการกีดกัน และอุปสรรคทางการค้าให้มากที่สุด -ให้มีระยะเวลาในการปรับตัวที่เหมาะสมแก่สินค้าที่มีความอ่อนไหว รวมทั้งมาตรการอื่นๆเพื่อลดผลกระทบจากการลดภาษี -ให้ใช้พิกัดศุลกากรมาตรฐานระหว่างประเทศตามที่คู่ภาคีตกลงกัน หรือตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศที่คู่ภาคีเป็นสมาชิกอยู่ 2.พิธีการศุลกากร  -ให้มีความร่วมมือในด้านพิธีการศุลกากร เพื่อลด/ขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน และอำนวยความสะดวกทางการค้า ให้การค้ามีประสิทธิภาพ และไม่สร้างภาระต้นทุนที่ไม่เหมาะสม 3.กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า -กำหนดกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าให้สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตสินค้าของไทย -ร่วมมือจัดทำและ/หรือปรับปรุงระเบียบปฏิบัติในการรับรองถิ่นกำเนินสินค้าให้โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ไม่สร้างภาระต้นทุนที่ไม่เหมาะสม และอำนวยความสะดวกทางการค้าให้มีประสิทธิภาพ -ให้ใช้พิกัดศุลกากรตามมาตรฐานระหว่างประเทศตามที่คู่ภาคีตกลงกัน หรือตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศที่คู่ภาคีเป็นสมาชิกอยู่ 4.มาตรการปกป้องและมาตรการเยียวยาด้านการค้า -ให้มีมาตรการปกป้องสองฝ่าย เพื่อคุ้มกันและ/หรือเยียวยาภาคเกษตรและอุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบอย่างร้านแรงจากการทะลักของสินค้านำเข้า รวมทั้งมาตรการปกป้องกรณีที่เกิดปัญหาด้านดุลการชำระเงิน -ให้มีแนวทางการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และมาตรการตอบโต้การอุดหนุนที่ไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก 5.มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช - ให้การใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสอดคล้องตามความตกลงขององค์การการค้าโลก -จัดตั้งกลไกการหารือ รวมทั้งระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบการติดต่อระหว่างกัน เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากากรใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ -หาแนวทางลดอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากกฎระเบียบด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า -เน้นย้ำให้การใช้มาตรการด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย -จัดตั้งกลไกการหารือ รวมทั้งระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบการติดต่อระหว่างกัน เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กฎระเบียบทางเทคนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ -หาแนวทางลดอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจากกฎระเบียบทางเทคนิคหรือมาตรฐานของประเทศคู่เจรจา 7.การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ -ให้จัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องกับการตีความ หรือการใช้บังคับความตกลงโดยมีขั้นตอนและกลไกที่ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมแก่รัฐภาคีคู่พิพาท ที่เป็นไปตามหลักการ และกลไกการระงับข้อพิพาทที่ยอมรับโดยสากล 8.ความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกทางการค้า -ให้มีความร่วมมือเพื่อเพิ่มการอำนวยความสะดวกและมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศ -ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย 9.ความโปร่งใส -ให้มีกฎหมายและข้อบังคับภายในที่มีความโปร่งใส และมีกระบวนการในการเผยแพร่กฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวให้แก่สาธารณชนและผู้ประกอบการ และจะต้องพยายามจัดให้มีระยะเวลาตามสมควรระหว่างเวลาที่ประกาศหรือเผยแพร่กฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวต่อสาธารณชนกับเวลาที่กฎหมายและข้อบังคับนั้นมีผลใช้บังคับ 10.เรื่องอื่นๆ -เรื่องอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในภาพรวม

แผนการเจรจา ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าที่จะสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในกลางปี 2561 ปากีสถานจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 10 เดือนมกราคม 2561

สถานะล่าสุด

ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อเรียกร้องสินค้าสำคัญ 200 รายการของแต่ละฝ่าย และทบทวนข้อเสนอเปิดตลาดเพื่อแลกกันอีกครั้งภายในเดือนธันวาคม 2560

ข้อมูล ณ วันที่ : 25/12/2560

 

23.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ Sri Lanka

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา เมื่อวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2558 ประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (นายไมตรีปาละ สิริเสนา) เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางกา และได้เข้าพบและหารอข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะขยายมูลค่าการค้า และการลงทุนระหว่างกัน ต่อมารองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้เดินทางเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยคณะภาครัฐและเอกชน เมื่อวันที่ 8 – 12 มีนาคม 2559 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน และไดเข้าพบและหารือกับผู้นำระดับสูงของศรีลังกา ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกรทรวงยุทธศาสตร์การพัฒนาและการค้าระหว่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพื้นฐาน ซึ่งไทยและศรีลังกาเห็นพ้องร่วมกันว่า การเจรจาภายใต้กรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาวิชาและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) ที่ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกไม่มีความคืบหน้ามากนัก จึงเห็นควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ระหว่างไทยและศรีลังกา เพื่อเป็นเครื่องมือในการขยายมูลค่าการค้าและการลงทุน และบรรลุเป้าหมายการค้าสองฝ่าย ณ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563

กรอบการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับศรีลังกาจะเป็นแบบกรอบกว้าง (Comprehensive) ครอบคลุมด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน - การค้าสินค้า ให้มีการลดหรือยกเลิกอากรศุลกากรที่คนอบคลุมการค้าระหว่างกันให้มากที่สุด รวมทั้งให้มีการลด หรือเลิกมาตรการกีดกันและอุปสรรคทางการค้าโดยอาจมีการเจรจามาตรการโควตาภาษี (Tariff Rate Quota: TRQ) ทั้งนี้ ให้มีการเจรจาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้า อาทิ พิธีการศุลกากร กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช - การค้าบริการ ให้เปิดเสรีภาคบริการอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยให้ระดับการเปิดเสรีโดยรวมสูงกว่าระดับการเปิดเสรีภายใต้องค์การค้าโลก และให้เจรจาบนพื้นฐานของการจัดทำข้อเสนอในรูปแบบ Positive List Approach - การลงทุน ให้มีขอบเขตการเจรจาเปิดเสรีด้านการลงทุนที่ดึงดูด เปิดเสรี ส่งเสริม อำนวยความสะดวก และคุ้มครองการลงทุน โดยให้การเปิดเสรีการลงทุนรายสาชาขึ้นอยู่กับผลการเจรจาของคู่ภาคี - ทรัพย์สินทางปัญญา ให้มีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งให้มีความร่วมมือในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรชีวภาพ - ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอื่นๆ เพื่อเพิ่มการอำนวยความสะดวก และมูลค่าการค้าระหว่างกัน ให้มีความร่วมมือทางวิชาการ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการ รวมทั้งให้มีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย - การบวนการระงับข้อพิพาท ให้มีกระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด และโปร่งใส

กลไกการเจรจา ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการเจรจา (Trade Negotiations Committee: TNC) โดยหัวหน้าคณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม และจัดตั้งคณะทำงาน (Working Group: WG) เพื่อเจรจาประเด็นทางเทคนิคต่างๆ

แนวทางการเจรจา การเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-ศรีลังกา มีสาระสำคัญครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินคา 11 ประเด็น สรุปได้ดังนี้ 1.การค้าสินค้า ให้มีการลด หรือยกเลิกอากรศุลกากรให้รอบคลุมการค้าระหว่างกันให้มากที่สุด โดยเน้นให้ลดภาษีในสินค้าที่ไทยมีศักยภาพส่งอก โดยให้มีความสมดุลระหว่างสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ลด หรือ เลิกมาตรการกีดกันและอุปสรรคทางการค้าให้มากที่สุด ให้มีระยะเวลาในการปรับตัวที่เหมาะสม ให้ใช้พิกัดศุลกากรตามมาตรฐานระหว่างประเทศ 2.พิธีการศุลกากร ให้มีความร่วมมือในด้านพิธีการศุลกากรเพื่อลด/ขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน อำนวยความสะดวกทางการค้า และไม่สร้างภาระทางต้นทุนที่ไม่เหมาะสม 3.กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า กำหนดกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าให้สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตของไทย ร่วมมือจัดทำและ/ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าให้โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกทางการค้าให้ใช้พิกัดศุลกากรตามมาตรฐานระหว่างประเทศ 4.มาตรการปกป้องและมาตรการเยียวยาด้านการค้า ให้มีมาตรการปกป้องสองฝ่ายเพื่อปกป้องและ/เยียวยาภาคเกษตรและอุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง ให้มีแนวทางการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และมาตรการตอบโต้การอุดหนุนที่ไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก 5.มาตรการปกป้องดุลการชำระเงิน ให้มีมาตรการปกป้องกรณีที่เกิดปัญหาด้านดุลการชำระเงิน 6.มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชให้ใช้มาตรการที่สอดคล้องกับองค์การการค้าโลก ให้มีกลๆกการหารือระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ และอำนวยความสะดวกทางการค้าโดยคำนึงถึงการปกป้องชีวิต หรือสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ พืช ภายในประเทศ 7.อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ให้การใช้มาตรการด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ให้มีกลไกการหารือระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ และอำนวยความสะดวกทางการค้าที่เกิดจากกฎระเบียบด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 8.การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐให้จัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องกับการตีความ หรือการใช้บังคับความตกลง โดยให้มีขั้นตอนและกลไกที่ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมแก้รัฐภาคีคู่พิพาทที่เป็นไปตามหลักการและกลไกการระงับข้อพิพาทที่ยอมรับโดยสากล 9.ความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกทางการค้า ให้มีความร่วมมือเพื่อเพิ่มการอำนวยความสะดวก และมูลค่าการค้าระหว่างกัน และให้มีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย 10. ความโปร่งใสให้มีกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับภายในที่มีความโปร่งใส และมีกระบวนการในการเผยแพร่กฎหมาย และข้อบังคับดังกล่าวให้แก่สาธารณชน และผู้ประกอบการ 11.เรื่องอื่นๆ หารือรื่องอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในภาพรวม

แผนการเจรจา ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าให้มีการประกาศเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย – ศรีลังกา และการเริ่มเจรจา FTA ไทย – ศรีลังกา รอบแรก รวมทั้งการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ในระหว่างการพบกันของผู้นำระดับสูงของสองประเทศภายในปี 2561 ซึ่งปัจจุบันศรีลังกามี FTA กับอินเดีย (เฉพาะด้านการค้าสินค้า) ปากีสถาน และสิงคโปร์ และอยู่ระหว่างการเจรจาเพิ่มเติมกับอินเดีย (Comprehensive) จีน และ BIMSTEC

สถานะล่าสุด

(ณ เดือน มิ.ย. 2561 ยังไม่มีข้อมูลในเว็บกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)

ข้อมูล ณ วันที่ : 24/05/2561

 

24.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ Turkey

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา ไทยและตุรกี ได้จัดตั้ง Joint Trade Commission (JTC) ภายใต้ความตกลงทางการค้าไทย-ตุรกี ที่ลงนามตั้งแต่ปี 2530 เป็นเวทีในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนไทย-ตุรกี ต่อมาในระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2555 ประธานสภานักธุรกิจตุรกี-ไทย (นาย Refik Gokcek) เดินทางมาเยือนประเทศไทย ได้เข้าพบหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ) เพื่อช่วยสนับสนุนและผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจไทย-ตุรกี รวมทั้งนักธุรกิจตุรกีต้องการผลักดันการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ตุรกี ซึ่งไทยรับที่จะพิจารณาด้วยดี ในฐานะที่ไทยมีนโยบายเปิดกว้างกับการค้าเสรี นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เดินทางเยือนสาธาณรัฐตุรกี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 ซึ่งในโอกาสดังกล่าวนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าเป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2561) และเห็นควรให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ (Joint Feasibility Study) ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี โดยการจัดทำการศึกษาร่วมฯ

การจัดทำ FTA ไทย-ตุรกี จะเป็นประโยชน์แก่ไทย ตุรกีมีจุดเด่น คือ มีทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่ดี โดยตั้งอยู่ระหว่างทวีปเอเชีย ยุโรป และอดีตสหภาพโซเวียต สามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเอเชียกับยุโรป เป็นประเทศมุสลิมแบบเปิดจึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางที่เป็นประเทศมุสลิมด้วยกัน เป็นตลาดใหญ่มีประชากรกว่า 80 ล้านคน มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่แบบยุโรป มีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณปีละ 36.7 ล้านคน ซึ่งจุดเด่นเหล่านี้ทำให้ไทยสามารถใช้ตุรกีเป็นประตูการค้าเพื่อกระจายสืนค้าไปยังทวีปต่างๆ เช่น ยุโรป กลุ่มประเทศบอลข่าน คอเคซัส ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ นอกจากนี้ ปัจจุบันตุรกีเป็นสหภาพศุลกากรเดียวกับสหภาพยุโรป (EU-Turkey Custom Union) ซึ่งหากไทยจัดทำ FTA กับตุรกี จะทำให้ไทยสามารถนำเข้าสินค้าไปยังตุรกีโดยไม่ต้องเสียภาษี และจะสามารถส่งผ่านสินค้าเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้ เพราะปัจจุบันตุรกีก็มีมาตรการทางภาษีที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรมีอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 41.7 และยังมีการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับสินค้าไทยหลายรายการด้วย - ตุรกีให้สิทธิ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยมีเงื่อนไขการให้สิทธิและการตัดสิทธิเช่นเดียวกันกับการให้สิทธิ GSP ของสหภาพยุโรปในปี 2555 ไทยส่งออกสินค้าไปยังตุรกีภายใต้สิทธิ GSP คิดเป็นมูลค่า 568.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 23.17  สินค้าสำคัญที่มีการขอใช้สิทธิ ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างและผนัง โพลิเมอร์ของสไตรีนในลักษณะปฐม โพลิเมอร์ของเอทิลีน เส้นใยสั้นเทียม เครื่องปรับอากาศไม่มีหน่วยทำความเย็น และโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ทั้งนี้การทำ FTA กับตุรกีจะทำให้ไทยได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีศูนย์จากตุรกีเป็นการถาวรโดยไม่ต้องพึ่งพาสิทธิ GSP

กรอบการเจรจา  1. การค้าสินค้า  -ให้มีการลดหรือยกเลิกอากรศุลกากร ค่าธรรมเนียม และเงินอื่นใดที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้า ให้ครอบคลุมการค้าระหว่างกันให้มากที่สุด โดยเน้นให้คู่เจรจาลดภาษีสินค้าที่ไทยมีเป้าหมาย/ศักยภาพในการส่งออกไปยังประเทศคู่เจรจา และให้มีความสมดุลระหว่างสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม  -ให้มีการลดหรือยกเลิกมาตรการกีดกัน และอุปสรรคทางการค้าให้มากที่สุด  -ให้มีระยะเวลาในการปรับตัวที่เหมาะสมแก่สินค้าที่มีความอ่อนไหว รวมทั้งมาตรการอื่นๆเพื่อลดผลกระทบจากการลดภาษี -ให้ใช้พิกัดศุลกากรมาตรฐานระหว่างประเทศตามที่คู่ภาคีตกลงกัน หรือตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศที่คู่ภาคีเป็นสมาชิกอยู่  2.พิธีการศุลกากร  -ให้มีความร่วมมือในด้านพิธีการศุลกากร เพื่อลด/ขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน และอำนวยความสะดวกทางการค้า ให้การค้ามีประสิทธิภาพ และไม่สร้างภาระต้นทุนที่ไม่เหมาะสม  3.กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า -กำหนดกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าให้สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตสินค้าของไทย  -ร่วมมือจัดทำและ/หรือปรับปรุงระเบียบปฏิบัติในการรับรองถิ่นกำเนินสินค้าให้โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ไม่สร้างภาระต้นทุนที่ไม่เหมาะสม และอำนวยความสะดวกทางการค้าให้มีประสิทธิภาพ -ให้ใช้พิกัดศุลกากรตามมาตรฐานระหว่างประเทศตามที่คู่ภาคีตกลงกัน หรือตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศที่คู่ภาคีเป็นสมาชิกอยู่  4.มาตรการปกป้องและมาตรการเยียวยาด้านการค้า  -ให้มีมาตรการปกป้องสองฝ่าย เพื่อคุ้มกันและ/หรือเยียวยาภาคเกษตรและอุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบอย่างร้านแรงจากการทะลักของสินค้านำเข้า รวมทั้งมาตรการปกป้องกรณีที่เกิดปัญหาด้านดุลการชำระเงิน  -ให้มีแนวทางการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และมาตรการตอบโต้การอุดหนุนที่ไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก  5.มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช  - ให้การใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสอดคล้องตามความตกลงขององค์การการค้าโลก -จัดตั้งกลไกการหารือ รวมทั้งระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบการติดต่อระหว่างกัน เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากากรใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ -หาแนวทางลดอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากกฎระเบียบด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า -เน้นย้ำให้การใช้มาตรการด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย -จัดตั้งกลไกการหารือ รวมทั้งระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบการติดต่อระหว่างกัน เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กฎระเบียบทางเทคนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ -หาแนวทางลดอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจากกฎระเบียบทางเทคนิคหรือมาตรฐานของประเทศคู่เจรจา 7.การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ -ให้จัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องกับการตีความ หรือการใช้บังคับความตกลงโดยมีขั้นตอนและกลไกที่ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมแก่รัฐภาคีคู่พิพาท ที่เป็นไปตามหลักการ และกลไกการระงับข้อพิพาทที่ยอมรับโดยสากล 8.ความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกทางการค้า -ให้มีความร่วมมือเพื่อเพิ่มการอำนวยความสะดวกและมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศ -ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย  9.ความโปร่งใส -ให้มีกฎหมายและข้อบังคับภายในที่มีความโปร่งใส และมีกระบวนการในการเผยแพร่กฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวให้แก่สาธารณชนและผู้ประกอบการ และจะต้องพยายามจัดให้มีระยะเวลาตามสมควรระหว่างเวลาที่ประกาศหรือเผยแพร่กฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวต่อสาธารณชนกับเวลาที่กฎหมายและข้อบังคับนั้นมีผลใช้บังคับ 10.เรื่องอื่นๆ –เรื่องอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในภาพรวม

แผนการเจรจา การเจรจาครั้งต่อไปกำหนดจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2561 ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี

สถานะล่าสุด

การเจรจา FTA ไทย-ตุรกี รอบที่ 2 เมื่อวันที่ 13-15 ธันวาคม 2560 ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนร่างข้อบทการค้าสินค้า ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดตลาด และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรการต่อต้านการอุดหนุน และมาตรการปกป้อง เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการจัดทำข้อบทร่วมในการเจรจาครั้งต่อไปที่กำหนดจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2561 ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี

ข้อมูล ณ วันที่ : 19/12/2560

 

25.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ TPP

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ขอบเขตความตกลง ความตกลง TPP เป็นความตกลงเปิดเสรีทางเศรษฐกิจที่มีมาตรฐานสูง ครอบคลุมทั้งในด้านการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ทั้งสิ้น 30 ข้อบท ประกอบด้วย (1) ความจำกัดความทั่วไป (2) การค้าสินค้า (3) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (4) กฎถิ่นกำเนิดสินค้า (5) การบริหารจัดการทางศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (6) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (7) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (8) มาตรการเยียวยาทางการค้า (9) การลงทุน (10) การบริการข้ามพรมแดน (11) บริการด้านการเงิน (12) การเคลื่อนย้ายนักธุรกิจ (13) โทรคมนาคม (14) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (15) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (16) นโยบายการแข่งขัน (17) รัฐวิสาหกิจ (18) ทรัพย์สินทางปัญญา (19) แรงงาน (20) สิ่งแวดล้อม (21) ความร่วมมือและการเสริมสร้างศักยภาพ (22) ความสามารถในการแข่งขันและการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ (23) การพัฒนา (24) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (25) ความสอดคล้องของกฎระเบียบ (26) ความโปร่งใสและการต่อต้านการคอร์รัปชั่น (27) การบริหารจัดการและสถาบัน (28) การระงับข้อพิพาท (29) ข้อยกเว้น และ (30) บทสรุป

สมาชิกความตกลง TPP ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ในจำนวนนี้มี 3 ประเทศที่ไทยยังไม่มีความตกลงการค้าเสรีด้วย ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก

การเข้าร่วมเป็นสมาชิก TPP เพิ่มเติม ประเทศที่ประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกความตกลง TPP ต้องแสดงเจตนารมณ์การเข้าร่วมโดยการยื่นหนังสืออย่างเป็นลายลักษณ์อักษรต่อนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับมอบสัตยาบันสาสน์และผู้เก็บรักษาสนธิสัญญา (Depositary) และจะต้องได้รับฉันทามติจากประเทศสมาชิกทั้งหมดในการยอมรับการเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งประเทศที่แสดงเจตนารมณ์อย่างเป็นทางการ ภายหลังจากที่ TPP สรุปผลการเจรจา ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

ขนาดเศรษฐกิจของ TPP ความตกลง TPP ถือเป็นความตกลงระดับภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดครอบคลุมการค้าโลกประมาณร้อยละ 40 ด้วยมูลค่าการค้าเฉลี่ยประมาณ 295,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี โดย GDP รวมของทั้ง 12 ประเทศ มีมูลค่า 28.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 38 ของ GDP โลก มีประชากรรวม 800 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11 ของประชากรโลก

การค้าระหว่างไทยกับสมาชิก TPP ในปี 2558 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสมาชิก TPP มีมูลค่า 163,911 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.3 ของการค้ารวมของไทย ไทยส่งออกไปตลาด TPP มูลค่า 83,317 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.2 ของการส่งออกไทยไปโลก และไทยนำเข้าจากประเทศสมาชิก TPP มูลค่า 75,593 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.3 ของการนำเข้าไทยจากโลก

สถานะปัจจุบันของความตกลง TPP -การสรุปผลความตกลง TPP: เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 ณ เมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐมนตรีการค้าของประเทศสมาชิกความตกลง TPP นำโดย Ambassador Michael Froman ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้แถลงข่าวประกาศสรุปผลการเจรจาความตกลง TPP และเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2015 สมาชิก TPP ได้ทำการเผยแพร่ข้อบทความตกลงทั้งฉบับ (Full Text) ต่อสาธารณชน-การลงนามความตกลง TPP: เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 สมาชิก TPP ทั้ง 12 ประเทศ ได้ร่วม ลงนามความตกลง TPP ณ เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ โดยต่อจากนี้ ประเทศสมาชิก TPP จะต้องดำเนินกระบวนการภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี เพื่อให้สัตยาบันก่อนที่ความตกลงฯ จะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์

ผลสรุปการศึกษาความพร้อมในการเจรจา TPP ทั้งในส่วนของสถาบันปัญญาภิวัตน์ และในส่วนของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ซึ่งผลสรุปของ 2 ฉบับเป็นไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ การเจรจา TPP จะก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวม แต่มีประเด็นที่อ่อนไหวซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อไทยใน 5 ประเด็น คือ สิทธิบัตรยา ซึ่งกำหนดให้ขยายความคุ้มครองข้อมูลยา (Data Exclusivity) ผู้ผลิตไทยไม่สามารถขึ้นทะเบียนยาชื่อสามัญได้ ซึ่งจะทำให้ยาที่มีสิทธิบัตรมีราคาแพง ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข แต่ในที่ประชุมไม่ได้มีการประเมินตัวเลขผลกระทบ ซึ่งในประเด็นนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาประเด็นนี้โดยเฉพาะ และจะนำเสนอผลสรุปเพื่อกำหนดแนวทางการเจรจาร่วมกันในลำดับต่อไป ส่วนประเด็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งอาจจะมีปัญหาลักลั่นกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Trade Mark) ซึ่งใช้ในสหรัฐ ประเด็นการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรพันธุ์พืชและสัตว์ โดยกำหนดให้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา UPOV 1991 อาจทำให้ราคาเมล็ดพันธุ์สูงขึ้น และเกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ตามวิถีชีวิตปกติได้ การตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาโจรสลัดชีวภาพ และสุดท้ายประเด็นแรงงานซึ่งมีข้อกำหนดให้กระทรวงแรงงานต้องเข้าเป็นภาคีด้านแรงงานสากล (ILO Declaration) 2 ฉบับ คือ 87 และ 98 ซึ่งให้ความคุ้มครองแรงงานในระดับเข้มข้น ซึ่งจากตัวอย่างการเจรจาประเด็นแรงงานของเวียดนาม กำหนดให้แรงงานต่างด้าวในประเทศสามารถตั้งสหภาพแรงงานได้ โดยมีหนังสือแนบท้ายยินยอม แต่แรงงานต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของเวียดนาม แต่ในส่วนของไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับสำหรับข้าราชการ หน่วยงานราชการมีเพียงรัฐวิสาหกิจและเอกชนเท่านั้น ทางออกประเด็นนี้กระทรวงแรงงานจะรับหน้าที่ไปปฏิบัติ ส่วนประเด็นเรื่องเปิดเสรีบุหรี่เป็นประเด็นที่มีทางออกที่พอแก้ไขได้แล้วตามแนวทางของบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย

สถานะล่าสุด

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาความพร้อมของไทยต่อความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ (พกค.) ว่าที่ประชุมได้รับฟังข้อมูลเบื้องต้นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีความเห็นตรงกันว่าควรหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะจากภาคประชาสังคมเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก รวมถึงให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องไปหาข้อมูลเพิ่มอีก เนื่องจากที่ประชุมได้ศึกษาสาระสำคัญของ TPP แล้ว พบว่าเป็นข้อตกลงที่จะส่งผลกระทบเชิงปฏิรูปต่อประเทศในด้านการค้าและการลงทุน

ทั้งนี้ภาคเอกชนยังได้แสดงความเห็นว่ากฎระเบียบทางการค้าหลายอย่างของไทยกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยเอง จึงควรให้เอกชนและภาคประชาสังคมได้ไปประเมินตัวเองอีกครั้งว่าต้องการให้มีการปรับปรุงในส่วนใดบ้าง “จะมีการประชุมอีกครั้ง แต่จะพยายามหาข้อสรุปเพื่อนำเสนอความเห็นเบื้องต้นต่อ พกค. ที่จะมีการประชุมในวันที่ 4 เม.ย.นี้” สำหรับประเด็นที่เป็นข้อกังวล ได้แก่ เรื่องสิทธิบัตรยา ที่ประชุมได้หารือกันแล้ว และพบว่าอุตสาหกรรมยาของไทยมีการพัฒนาไปได้ระดับหนึ่งแล้ว จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสรุปข้อมูลเชิงลึกอีกครั้ง โดยเฉพาะจากกลุ่มประชาสังคม

นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าได้รับมอบหมายให้เป็นประธานการจัดหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยจะเน้นการหารือกับกลุ่มประชาสังคมเกี่ยวกับด้านยา เพื่อหารือถึงเงื่อนไขที่แต่ละประเทศใช้เป็นแนวทางในการรับมือกับข้อตกลง โดยข้อตกลงเปิดให้มีบทแนบท้าย หรือ Side letter ที่สามารถขอเลื่อนกำหนดเวลาเปิดเสรี หรือขอยกเว้นการเปิดเสรีในสินค้าบางรายการได้ โดยไทยกำลังศึกษาข้อมูลที่ประเทศต่างๆ ใช้อยู่ ส่วนการรับสมาชิกใหม่ของ TPP มีเงื่อนไข คือ ต้องเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ก่อนซึ่งไทยเป็นสมาชิกอยู่ โดยจะเปิดรับสมัครอีก 2 ปี หลังจากที่ประเทศสมาชิก 12 ประเทศให้สัตยาบันจนครบแล้ว โดยประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ต้องส่งจดหมายไปยังสมาชิก TPP เพื่อรอรับการตอบรับและเงื่อนไขการยอมรับเป็นสมาชิกก่อน

ข้อมูล ณ วันที่ : 09/03/2559

 

26.ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทยกับ USA

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2545 ณ เมืองลอสคาบอส ประเทศเม็กซิโก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยและสหรัฐฯ ร่วมลงนามกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement between the United States and the Kingdom of Thailand: TIFA) เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน รวมทั้งเพื่อปูทางสำหรับการจัดตั้งเขตการค้าเสรีในอนาคต ต่อมาในการประชุมผู้นำเอเปคเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2546 ณ กรุงเทพฯ ผู้นำของทั้งสองประเทศได้เห็นชอบให้เริ่มการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน โดยให้เริ่มการเจรจาในปี 2547

กรอบการเจรจา - ครอบคลุมเรื่องการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ - การเจรจาแบ่งออกเป็นกลุ่ม 22 กลุ่ม ได้แก่ (1) การเปิดตลาดสินค้าเกษตร (2) การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (3) การเปิดตลาดสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป (4) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (5) การค้าบริการ (6) การลงทุน (7) โทรคมนาคม (8) การเปิดเสรีภาคการเงิน (9) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (10) ระเบียบพิธีการศุลกากร (11) มาตรการสุขอนามัย (12) มาตรการเยียวยาทางการค้า (13) ความโปร่งใส (14) การระงับข้อพิพาท (15) การจัดซื้อโดยรัฐ (16) นโยบายการแข่งขัน (17) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (18) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) (19) ทรัพย์สินทางปัญญา (20) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (21) การสร้างขีดความสามารถทางการค้า (22) แรงงานและสิ่งแวดล้อม

กลไกการเจรจา จัดตั้งคณะเจรจาและ Expert Group เพื่อเจรจารายละเอียดในแต่ละเรื่อง

สถานะล่าสุด

การเจรจาได้หยุดชะงักในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เนื่องจากการประกาศยุบสภาของไทย หลังจากการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 สหรัฐฯ ประกาศจะไม่เจรจา FTA กับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเจรจา FTA ระหว่างกันอีก และหลังจากการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ ได้หยุดชะงักลง ได้มีการจัดตั้งกลไกประชุมหารือทวิภาคีระหว่างไทย-สหรัฐฯอย่างไม่เป็นทางการในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ FTA เช่น ประเด็นปัญหาการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-สหรัฐฯ และประเด็นอื่นๆ ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม

ข้อมูล ณ วันที่ : 19/08/2553

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: