เมื่อคนฮ่องกง ‘แข่งกันทำงาน’ แพทย์เตือนระวังสุขภาพ

แปลและเรียบเรียงโดย พัชณีย์ คำหนัก 17 มี.ค. 2561 | อ่านแล้ว 3246 ครั้ง

เมื่อคนฮ่องกง ‘แข่งกันทำงาน’ แพทย์เตือนระวังสุขภาพ

วัฒนธรรมการทำงานที่แข่งขันกันในฮ่องกงเสริมสร้างบรรทัดฐานการทำงานล่วงเวลาหรือไม่? เมื่อแพทย์ออกมาเตือนคนทำงานว่า พวกเขาต้องรู้ว่าตัวเองควรจะขีดเส้นเมื่อไรและตรงไหน ก่อนที่พวกเขาจะหมดไฟในการทำงาน ที่มาภาพ: South China Morning Post

เมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว มีการเปิดเผยกรณีนักข่าว NHK ญี่ปุ่น วัย 31 ปี เสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป ทำให้คนทั้งประเทศต่างพากันตกใจ จากกรณีนางสาว มิวา ซาโดะ ทำงานล่วงเวลาถึง 159 ชั่วโมงใน 1 เดือน และพักผ่อนเพียง 2 วัน ทำให้เธอเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในปี 2013

ในฮ่องกง คณะกรรมการชั่วโมงทำงานที่มาตรฐานซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2013 ได้ประชุมร่วมกับนายจ้างและสหภาพแรงงานเพื่อทำข้อตกลงเรื่องจำนวนชั่วโมงทำงานที่ควรจะเป็น แต่เมื่อเข้าไปดูบรรทัดฐานการทำงานของคนฮ่องกงที่ฝังรากลึก ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุข้อตกลงในเรื่องนี้ (ฝ่ายแรงงานเรียกร้อง 44 ช.ม./สัปดาห์ แต่ฝ่ายรัฐยังไม่ตกลง)

จากการสัมภาษณ์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว “เมื่อเพื่อนร่วมงานของคุณกลายเป็นคนที่ทำงานแข่งขันอย่างดุเดือด การทำงานหลังเลิกงานอีกหลายชั่วโมงจึงกลายเป็นสิ่งที่ถูกคาดหวัง ถึงเวลาที่จะเพลา ๆ ลงได้แล้ว”

"เราจำเป็นต้องรู้ว่ามันมีปัญหา มันไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสามารถในการเอาชนะด้วยความตั้งใจทำงานให้สำเร็จ และเราก็ไม่สามารถพูดได้ว่า ถ้าคน ๆ หนึ่งมีอาการหมดไฟในการทำงาน แล้ว เขาหรือเธอก็ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งงานนั้นอีกต่อไป”

ดร.เฉิง ฉี-มัน กล่าวว่า "นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและภาระงานที่หนัก" จึงเป็นเรื่องอันตรายหากทำงานมากเกินไป ซึ่งอาการเจ็บป่วยจะค่อย ๆ ปรากฎ หากเพิกเฉยกับสัญญาณเริ่มต้น

"เมื่อคุณทำงานหนักเกินไป คุณจะเหนื่อยล้าอยู่บ่อย ๆ นอนไม่หลับ ไม่เจริญอาหารและมีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วย และในระยะยาว จะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาชีพที่ต้องใช้สมาธิสูงมากหรือต้องตัดสินใจทันที เช่น แพทย์ พยาบาล นักบินและคนขับรถ การขาดสมาธิและการยืดเวลาทำงานจะนำไปสู่วงจรอุบาทว์ของการทำงานด้อยประสิทธิภาพ "

ดร.เฉิง กล่าวว่าการทำงานยาวนานเกินไปยังส่งผลต่อสุขภาพจิต "สภาพจิตใจคนมักจะรู้สึกไม่พึงพอใจในงาน วิตกกังวลและท้อแท้ จากนั้นจะนำไปสู่ความรู้สึกหดหู่ซึมเศร้า”

"ความกังวลเกี่ยวกับงานมากเกินไปก็เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน" ในขณะที่ความต้องการทำงานของเราถูกขยายออกไปได้ไกลกว่าสถานที่ทำงาน ดร.เฉิง ยกประเด็นความสำคัญของการกำหนดขอบเขตการทำงาน

“นี่ไม่ใช่การ พักผ่อน หากคุณยังอ่านอีเมล์หรือดูรายงานบนโทรศัพท์มือถือของคุณ แม้คุณจะไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานก็ตาม"

 

แปลและเรียบเรียงจาก
http://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/2136415/hong-kongs-competitive-work-culture-fuelling

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: