บทวิเคราะห์ชี้คนดู 'ทีวี' ไม่ได้ลดลง 'ออนไลน์' แค่ช่องทางใหม่ให้คนดูสะดวกขึ้น

กองบรรณาธิการ TCIJ 16 พ.ย. 2561 | อ่านแล้ว 2677 ครั้ง

บทวิเคราะห์ชี้คนดู 'ทีวี' ไม่ได้ลดลง 'ออนไลน์' แค่ช่องทางใหม่ให้คนดูสะดวกขึ้น

จากบทวิเคราะห์ยอดรวมคนดูทีวีจากทีวีดิจิตอลทุกช่องในแต่ละเดือนพบว่าสถิติเรตติ้งจำนวนคนดูทีวีในระบบไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางการเติบโตของช่องทางดูทีวีทางออนไลน์ แต่ช่องทางการรับชมรายการทีวีทางออนไลน์มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ชม สามารถรับชมรายการย้อนหลังได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แหล่งรายได้ใหม่ของทีวีแต่ละช่อง นอกเหนือจากรายได้ที่เกิดจากค่าโฆษณา

เว็บไซต์ positioningmag.com ได้เผยแพร่รายงานเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2561 โดยอ้างบทวิเคราะห์ของฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีกับธุรกิจทีวีในประเทศไทย ที่เผยแพร่ให้กับกลุ่มลูกค้าและนักลงทุนเมื่อไม่นาน โดยนำเอาตัวเลข ยอดรวมคนดูทีวีจากทีวีดิจิตอลทุกช่องในแต่ละเดือนจากนีลเส็นพบว่าสถิติเรตติ้งจำนวนคนดูทีวีในระบบไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางการเติบโตของช่องทางดูทีวีทางออนไลน์

แต่ช่องทางการรับชมรายการทีวีทางออนไลน์มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ชม สามารถรับชมรายการย้อนหลังได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แหล่งรายได้ใหม่ของทีวีแต่ละช่อง นอกเหนือจากรายได้ที่เกิดจากค่าโฆษณามากกว่าจะเป็นรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำชัดเจนนัก

ข้อมูลจากสมาคมโฆษณาดิจิทัล หรือ DAAT ได้คาดการณ์ตลาดโฆษณาทางออนไลน์ว่า จะเติบโตถึง 21% หรือคิดเป็น 13% ของมูลค่าโฆษณารวมในปี 2018 หลักทรัพย์ภัทรคาดการณ์ว่ารายได้จากโฆษณาออนไลน์จะเติบโตขึ้นเป็นสัดส่วน 30% ของมูลค่าตลาดรวมภายในปี 2025 ส่วนมูลค่าโฆษณาในสื่อเดิมจะโตแค่ประมาณปีละ 2% ในอีก 7 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ช่องทางรับชมทีวีทางออนไลน์นั้น ยังช่วยให้บรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ด้วย โดย 2 ค่ายมือถือถือ เอไอเอส และทรู ได้มีบริการ OTT ได้แก่ AIS Play และ TrueID ทั้งสองบริการนี้ ไม่ได้มีรายการได้จากค่าโฆษณาออนไลน์แต่อย่างใด แต่ต้องการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการรับชมคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายมือถือ ตามการคาดการณ์แล้ว หากมูลค่าตลาดโฆษณาออนไลน์จะเป็นสัดส่วน 30% ของตลาดโฆษณารวมภายในปี 2568 แล้ว จะเท่ากับมูลค่า 15% ของรายได้จากการให้บริการเครือข่ายในปีเดียวกัน

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: