จับตา: ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ‘ครูไทย ยุคไทยแลนด์ 4.0’

กองบรรณาธิการ TCIJ 9 ธ.ค. 2561 | อ่านแล้ว 2976 ครั้ง


ผลสำรวจ ‘นิด้าโพลล์’ ระบุ ‘ครูไทย’ ต้องปรับตัวหรือเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่การศึกษาในยุค ไทยแลนด์ 4.0 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.19 ระบุว่า สอนให้นักเรียนมีทักษะทางด้านสังคม ด้านคุณธรรม ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี รองลงมา ร้อยละ 33.36 ระบุว่า ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการเรียนการสอน นอกเหนือจากการท่องจำจากตำรา ร้อยละ 32.64 ระบุว่าครูต้องเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ความสามารถของตัวเองให้มากขึ้น ร้อยละ 28.65 ระบุว่า การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยเป็นสื่อการเรียนการสอน ร้อยละ 27.29 ระบุว่า สอนให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มาภาพประกอบ: thaitribune.org

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพลล์’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ‘ครูไทย ยุคไทยแลนด์ 4.0’ ทำการสำรวจ ระหว่างวันที่ 10 – 12 มกราคม 2561 โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับครูไทย ยุคไทยแลนด์ 4.0 การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกินร้อยละ 1.4   

จากการสำรวจเมื่อถามถึงคุณสมบัติของ “ครู” ที่สำคัญที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 26.98 ระบุว่า เป็นคนดี มีคุณธรรม (เมตตา กรุณา ซื่อสัตย์ สุจริต) รองลงมาร้อยละ 22.82 ระบุว่า เอาใจใส่ ในการสอนอย่างจริงจัง เป็นแบบอย่างที่ดี ร้อยละ 21.79 ระบุว่า มีทักษะในการสอน ถ่ายทอดความรู้ได้ดี ร้อยละ 10.93 ระบุว่าเก่ง มีความรู้ความสามารถพัฒนาตัวเองหาความรู้อยู่เสมอ ร้อยละ 9.02 ระบุว่า เป็นที่ปรึกษาและรับฟังปัญหาของนักเรียนในเรื่องต่างๆ ร้อยละ 4.15 ระบุว่า ใจดีไม่ดุ ไม่ลงโทษเด็ก และมีระเบียบวินัย ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรม/คุณสมบัติของ “ครูไทย” ที่ท่านเห็นแล้วรู้สึกประทับใจมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.45 ระบุว่า ความตั้งใจและเอาใจใส่ในการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้แก่เด็กนักเรียน รองลงมา ร้อยละ 24.82 ระบุว่า เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นแบบอย่างที่ดี ร้อยละ 20.51 ระบุว่า การคอยชี้แนะให้คำแนะนำ คำปรึกษา ในเรื่องต่างๆ ร้อยละ 14.20 ระบุว่า การมีความเมตา กรุณา โอบอ้อมอารี ร้อยละ 6.15 ระบุว่า พูดจาไพเราะ อ่อนน้อม ไม่ดุ ร้อยละ 4.15 ระบุว่า เก่ง มีความรู้ความสามารถ และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายสุด เมื่อถามถึงสิ่งที่ ‘ครูไทย’ ต้องปรับตัวหรือเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่การศึกษาในยุค ไทยแลนด์ 4.0 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.19 ระบุว่า สอนให้นักเรียนมีทักษะทางด้านสังคม ด้านคุณธรรม ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี รองลงมา ร้อยละ 33.36 ระบุว่า ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการเรียนการสอน นอกเหนือจากการท่องจำจากตำรา ร้อยละ 32.64 ระบุว่าครูต้องเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ความสามารถของตัวเองให้มากขึ้น ร้อยละ 28.65 ระบุว่า การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยเป็นสื่อการเรียนการสอน ร้อยละ 27.29 ระบุว่า สอนให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 10.61 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.46 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.88 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคเหนือ ร้อยละ 31.84 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.21 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้  ตัวอย่าง ร้อยละ 52.27 เป็นเพศชาย และร้อยละ 47.73 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.42 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ตัวอย่างร้อยละ 16.12 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.71 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.72 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 17.80 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.23 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 89.78 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.39 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2.08 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 3.75 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่างร้อยละ 24.90 ระบุว่า สถานภาพโสด ร้อยละ 66.24 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.95 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.91 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 26.90 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.09 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.38 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.86 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.07 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.71 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 13.33 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.40 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.91 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.97 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.97 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.68 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 4.79 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.73 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.95 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.63 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.69 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.15 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 9.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 14.68 ไม่ระบุรายได้

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: