อดีตพนักงาน-ครอบครัวในเกาหลีใต้ ที่ถูกเลิกจ้างตั้งแต่ปี 2009 ยังทุกข์ยากมาจนถึงปัจจุบัน

แปลโดยพัชณีย์ คำหนัก 8 ก.ย. 2561 | อ่านแล้ว 2902 ครั้ง

อดีตพนักงาน-ครอบครัวในเกาหลีใต้ ที่ถูกเลิกจ้างตั้งแต่ปี 2009 ยังทุกข์ยากมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพ Lee Jeong-a, อดีตตัวแทนคณะกรรมการครอบครัวคนงานซันยองมอเตอร์เช็ดน้ำตาระหว่างที่เธอนำเสนอผลการสำรวจชีวิตหลังถูกเลิกจ้างของพนักงานและครอบครัว ในหัวข้อ "คุณและครอบครัวสามารถยอมรับการเลิกจ้างเช่นนี้ได้หรือไม่" โดยมีองค์กร Warak (big hug) ศูนย์เยียวยาจิตใจและทีมผู้วิจัย นำโดย ศาสตราจารย์ Kim Seung-seop จากมหาวิทยาลัยเกาหลี ณ ศูนย์ Franciscan Education กรุงโซล เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2018 ที่มาภาพ: labortoday.co.kr

อดีตพนักงานและครอบครัวทั้งหมด 30 คน ประสบกับความยากลำบากหลังจากมีการเลิกจ้างพนักงานบริษัทซันยอง มอเตอร์ (Ssangyong Motor) เป็นจำนวนมากเมื่อปี 2009 ชีวิตของพวกเขาและครอบครัวถูกทำลายอย่างย่อยยับ

จากผลการสำรวจคู่สมรสหนึ่งที่ถูกเลิกจ้าง พบว่าพวกเขาคิดหนักมากถึงการฆ่าตัวตายในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขของผู้ที่คิดฆ่าตัวตายในกรณีนี้เป็นที่น่าตกใจ เนื่องจากมีจำนวน 8.67 เท่าของผู้หญิงทั่วไปที่คิดฆ่าตัวตาย (5.7%) จากผลสำรวจตรวจสอบภาวะโภชนาการและสุขภาพแห่งชาติเกาหลีในระหว่างปี 2013-2015

อดีตพนักงานซันยองมอเตอร์ส่วนใหญ่เป็นโรคซึมเศร้า 89.3% ของพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมด และ 82.6% ของครอบครัวคนงานก็เป็นโรคซึมเศร้าเช่นกัน ตัวเลขกรณีนี้สูงถึง 13.30 เท่าและ 8.37 เท่า (ตามลำดับ) เมื่อเทียบกับรายงานสำรวจประชาชนทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 30 ถึง 60 ปีซึ่งสำรวจโดยคณะทำงานด้านสวัสดิการเกาหลีเมื่อปี 2017

เนื่องจากการเลิกจ้างด้วยเหตุผลทางด้านการบริหารเป็นที่ยอมรับถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่ปี 1998 และจากนั้นก็มีการเลิกจ้างคนงานเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามไม่มีการวิจัยสำรวจติดตามผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างที่มีต่อครอบครัวของคนงาน จนกระทั่งได้มีการสำรวจล่าสุด ซึ่งสอบถามอดีตพนักงานซันยองมอเตอร์ที่ถูกเลิกจ้าง รวมทั้งพนักงานและครอบครัวที่กลับไปทำงาน ซึ่งมีข้อสมมติฐานว่า การเลิกจ้างทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัวและส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของคู่สมรส เนื่องจากระบบบเครือข่ายการคุ้มครองทางสังคมยังไม่เพียงพอ

ผลการสำรวจถือเป็นความคิดที่จะกระตุ้นให้มีการศึกษาต่อไป เนื่องจากเป็นงานสำรวจแรกที่ศึกษาถึงปัญหาสุขภาพของครอบครัวของคนงานที่ถูกเลิกจ้างซึ่งผลสำรวจนี้ใช้วิธีส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังคู่สมรสของคนงานที่ถูกเลิกจ้าง 28 คู่ และคู่สมรสของคนงานที่กลับเข้าไปทำงาน 38 คู่


ที่มาแปลและเรียบเรียงจาก
http://www.labortoday.co.kr/news/articleView.html?idxno=153798

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: