ผู้ลี้ภัยชายแดนไทย-พม่าเผชิญแรงผลักดันกลับประเทศหลังพบเงินบริจาคลดลง

กองบรรณาธิการ TCIJ 12 พ.ค. 2560 | อ่านแล้ว 2780 ครั้ง

ผู้ลี้ภัยชายแดนไทย-พม่าเผชิญแรงผลักดันกลับประเทศหลังพบเงินบริจาคลดลง

ความพยายามที่จะนำตัวผู้ลี้ภัยชาวพม่าในประเทศไทย 98,000 คนกลับประเทศ โดยมีสหประชาชาติ (UN) เป็นผู้สนับสนุนกำลังดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ภายใต้แรงกดดันจากผู้บริจาคระหว่างประเทศที่จะลดจำนวนเงินที่ให้กับค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง 9 แห่งทางภาคตะวันตกของประเทศไทย แต่ความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาสาธารณสุขและโครงสร้างสาธารณูปโภค ยังเป็นสาเหตุหลังที่ทำให้กลุ่มผู้ลี้ภัยเหล่าลังเลที่จะกลับสู่ประเทศพม่า แม่ว่ารัฐบาลพม่าจะพยายามหาทางจัดทำข้อตกลงสันติภาพกับกองกำลังกลุ่มต่างๆ แต่กระบวนการดังกล่าวยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น

อย่างไรก็ตามรายงานของ The Border Consortium ในประเทศไทยระบุว่ามีหลักฐานชัดเจนถึงเงินบริจาคที่ลดลง จากองค์กรผู้บริจาคทั้งในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน และสหรัฐอเมริกา รายงานมีรายงานอีกว่าเจ้าหน้าที่ราว 10,000 คนที่ทำงานอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยท้ัง 9 แห่งอาจถูกลดเงินเดือน สืบเนื่องจากเงินบริจาคระหว่างประเทศที่ลดลงเช่นเดียวกัน โดย Sally Thompson ผู้อำนวยการ The Border Consortium เผยว่า ไม่มีปัจจัยดึงดูดให้ผู้ลี้ภัยกลับไปยังพม่า กล่าวคือกระบวนการสันติภาพยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้า และผู้คนก็ยังคงไม่เชื่อใจในกองทัพพม่า และอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ นอกจากนี้ยังขาดแรงจูงใจทั้งทางด้านสาธารณสุข การศึกษา และเศรษฐกิจอีกด้วย

ด้านนาย Saw Paul Sein Twa ผู้อำนายการ Karen Environmental and Social Action Network เผยว่าแม้ผู้ลี้ภัยส่วนมากจะยังไม่อยากกลับสู่ประเทศพม่า แต่ก็อาจไม่สามารถทนแรงกดดันจากเงินบริจาคจากองค์กรระหว่างประเทศที่ลดลง แต่อีกด้านหนึ่งหากผู้ลี้ภัยกลับไปโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานหรือความร่วมมือจากทางรัฐบาลพม่ารองรับ ก็อาจทำให้เกิดความวุ่นวายอีกอยู่ดี

ที่มาข่าวและภาพประกอบ: VOA, 12/5/2017

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: