นักวิชาการชี้เขื่อนขนาดกลางและเล็กยิ่งมีความเสี่ยงสูง

กองบรรณาธิการ TCIJ 2 ส.ค. 2560 | อ่านแล้ว 1591 ครั้ง

นักวิชาการชี้เขื่อนขนาดกลางและเล็กยิ่งมีความเสี่ยงสูง

นักวิชาการระบุไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่ 33 แห่ง เขื่อนขนาดกลาง 367 แห่ง และเขื่อนขนาดเล็ก 4,000 กว่าแห่ง ชี้ยิ่งเขื่อนขนาดกลางและเขื่อนขนาดเล็กยิ่งมีความเสี่ยงที่จะวิบัติสูง ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

เว็บไซต์ Nation TV รายงานเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2560 ที่ผ่านมาว่า ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บอกว่า ประเทศไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่ 33 แห่ง เขื่อนขนาดกลาง 367 แห่ง และเขื่อนขนาดเล็ก 4,000 กว่าแห่ง

โดยเขื่อนขนาดใหญ่ที่ผลิตไฟฟ้าอยู่ในความรับผิดชอบของ กฟผ. ที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน และยังมีหน่วยงานอื่น ๆ เป็นเจ้าของ เช่น กรมพัฒนาที่ดินเขื่อนทุกขนาด แทบจะไม่มีการประเมินความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง และยังไม่มีเขื่อนไหนที่จัดทำแผนเผชิญกับความเสี่ยงให้กับท้องถิ่น เพื่อให้รับมือกับภัยพิบัติจากเขื่อนที่มิได้ตั้งแต่ภัยพิบัติจากการปล่อยน้ำทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน ไปจนถึงเขื่อนวิบัติหรือเขื่อนพัง

นอกจากนั้นยังไม่มีระบบการเตือนภัยให้กับประชาชนที่อยู่ท้ายเขื่อน ยิ่งเขื่อนขนาดกลางและเขื่อนขนาดเล็กยิ่งมีความเสี่ยงที่จะวิบัติสูง เนื่องจากเขื่อนเหล่านี้ไม่ได้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการก่อสร้างบางเขื่อนมีผู้รับเหมาช่วงหลายต่อ ทำให้มีการลดต้นทุนในการสร้างเขื่อนหากจะป้องกันภัยพิบัติจากเขื่อน หน่วยงานเจ้าของเขื่อนจะต้องเร่งประเมินความเสี่ยงจัดลำดับความเสี่ยงแก้ปัญหาความเสี่ยงด้วยการบำรุงรักษาเขื่อนให้มั่นคง จัดทำแผนเผชิญกับความเสี่ยงทุกรูปแบบให้กับท้องถิ่น มีระบบการเตือนภัยและที่สำคัญ ซึ่งต้องทำตั้งแต่ตอนนี้ไม่ใช่รอให้เขื่อนวิบัติหรือปล่อยน้ำให้ท่วมชาวบ้านท้ายเขื่อนตามยถากรรม

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: