ระเบียบรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโซลาร์ฟาร์มส่วนราชการ

ทีมข่าว TCIJ : 24 ม.ค. 2559 | อ่านแล้ว 2320 ครั้ง


ผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วม: หน่วยงานของส่วนราชการ และองค์กรที่รัฐจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม และสหกรณ์ประมงตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์

ความเป็นเจ้าของ: หน่วยงานราชการหรือสหกรณ์ฯ ที่ได้รับการตอบรับเข้าร่วมโครงการ เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งสามารถมีผู้สนับสนุนโครงการ ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภท บ.จก. หรือ บมจ. ได้ โดยที่หน่วยราชการ หรือสหกรณ์ฯ หรือผู้สนับสนุนโครงการ จะเป็นผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าและลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานจะกำหนดหลักเกณฑ์ระเบียบการคัดเลือก และพิจารณารับซื้อ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและความสามารถรองรับของสายส่ง

เป้าหมายรับซื้อ: 800 เมกะวัตต์

จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD): ระยะที่ 1 ภายใน 30 กันยายน 2559 ระยะที่ 2 ระหว่าง1 มกราคม-30 มิถุนายน 2561

ที่ตั้งโครงการ: กรณีหน่วยราชการ ตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุซึ่งหน่วยราชการที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ครอบครองและได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้นำพื้นที่ราชพัสดุมาใช้ประโยชน์ในโครงการนี้ หรือเป็นที่ที่หน่วยงานราชการเป็นเจ้าของ กรณีสหกรณ์ ตั้งอยู่ในที่ดินที่สหกรณ์เป็นเจ้าของหรือที่ดินที่สมาชิกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองตามกฎหมาย

ขนาดกาลังการผลิตติดตั้ง: ไม่เกิน 5 เมกกะวัตต์ต่อโครงการ

Capacity Factor: ร้อยละ 16

อัตรารับซื้อ: 1) ปริมาณพลังงานไฟฟ้าในส่วนที่ไม่เกิน Capacity Factor ได้รับอัตรา FiT5.66 บาท/หน่วย 2) ส่วนที่เกิน Capacity Factor ได้รับอัตรารับซื้อเท่ากับอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ย ณ ระดับแรงดัน 11-33 kV (อัตราขายส่งเฉลี่ย 12 เดือน) รวมค่า Ft ขายส่งเฉลี่ย 12 เดือน แต่ไม่เกิน 5.66บาท/หน่วย สำหรับปีแรกและปีสุดท้าย หากไม่ครบปีปฏิทินให้ใช้อัตรา 5.66บาท/หน่วยโดยไม่ต้องนำ Capacity Factor มาบังคับใช้

อายุสัญญา: 25 ปี

มูลค่าการรับซื้อ: ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายจริงจาก Meter ที่การไฟฟ้ากำหนด คูณ อัตรารับซื้อ ทั้งนี้หากในช่วง 15 นาทีใด ๆ ที่ผู้เข้าร่วมโครงการจ่ายปริมาณพลังไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเกินกว่าปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายสูงสุด การไฟฟ้าจะไม่คิดค่าพลังงานไฟฟ้าในส่วนที่เกินในทุก 15 นาที

ข้อห้าม: 1) นาเชื้อเพลิงอื่นมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งอื่นมาขายเข้าระบบ 2) ติดตั้งแผง PVเพิ่มเติมจากที่ระบุในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

บทปรับ: เสียค่าปรับ 5,000 บาท/kWp หรือ 5,000,000 บาท/MWp และสิ้นสุดสัญญา

การเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า: ตามมาตรฐานในด้านความปลอดภัยและมาตรฐานในการเชื่อมโยงเข้ากับระบบตามข้อกำหนดระบบโครงข่ายไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าขอสงวนสิทธ์ที่จะเข้าตรวจสอบเองหรือขอให้ผู้เข้าร่วมโครงการตรวจสอบ และมีสิทธิสั่งการให้แก้ไขปรับปรุง โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

การโอนสิทธิ: ห้ามโอนสิทธิและหน้าที่ในคำขอขายไฟฟ้าหรือในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเห็นชอบ.

 

 

ที่มาข้อมูล: เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “แนวทางการประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์” วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558ณ ห้องราชมณเฑียร แกรนด์ บอลลูม โรงแรมมณเฑียร โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: