จะเข้าใจ Peace talk process ต้องเข้าใจคู่ขัดแย้งหลักด้วย (ตอนแรก)

ดันย้าล อับดุลเลาะ 2 ก.พ. 2559 | อ่านแล้ว 1784 ครั้ง


จุดเริ่มต้นในการเรียกว่า ผู้เห็นต่างจากรัฐ Party B คือ การลงนามในฉันมติทั่วไปว่าด้วยการพูดคุยสันติภาพ General consensus ระหว่างตัวแทนคณะพูดรัฐบาล ที่นำโดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร และพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง กับตัวแทนผู้เห็นต่างจากรัฐ โดย อุซต๊าซฮาซัน ตอยยิบ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013 ซึ่งมี ดาโต๊ะโมฮัมเหม็ด ทายุดดิน บิน อับดุล วาฮับ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งมาเลเซีย เป็นสักขีพยานในการลงนามในครั้งนั้น จนสืบเนื่องมาในวาระปัจจุบัน มีการพูดคุยสันติสุข ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จากคำสั่งนายกรัฐมนตรี 230/2557 จัดตั้งกลไกลขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยฝ่าย Party A มี พล.อ.อักษรา เกิดผล เป็นหัวหน้าคณะ ส่วนฝ่าย Party B ซึ่งในที่นี้หมายถึงกลุ่มมาราปาตานี (MARA PATANI) องค์กรร่มของขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานีมีนายอาวัง ญาบะ จากขบวนการ BRN เป็นประธาน

จากข้อเท็จจริงข้างต้นทำให้เราทุกคนจำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ถึงภาวะและความเป็นไปรวมไปถึงสถานการณ์ความคืบหน้าของฝ่ายต่างๆ อีกทั้งจำเป้นที่ต้องทำการประเมิน วิเคราะห์ จุดยืน เป้าหมาย ของทุกฝ่ายในกระบวนการข้างต้น เรามาเริ่มทำความเข้าใจ การประเมินสถานการณ์และจุดยืนสำคัญ เป้าหมาย ของฝ่าย Party B กันว่าเป็นอย่างไร

คำนิยาม ความหมาย ใครคือ Party B

ในความของคำว่า ผู้เห็นต่างจากรัฐ ยังถือว่ามีความหมายที่กว้างและกำกวมอยู่มากว่า ผู้เห็นต่างจากรัฐหมายถึงใคร ทำอะไร อย่างไร ถึงจะหมายถึงเป็นผู้เห็นต่างจากรัฐ หากจะให้ความหมายตรงๆกับว่า ผู้เห็นต่างจากรัฐแล้ว ย่อมหมายถึง ผู้ที่คิดไม่ตรงกับรัฐ ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐ ซึ่งในสังคมปัจจุบันมีเยอะมากมายหลายกลุ่ม ดังนั้นจึงควรจะระบุคำนิยามให้ชัดว่า ความหมายของคำว่า ผู้เห็นต่างจากรัฐ หมายถึง ใคร ทำอะไร อย่างไร ถึงจะเข้าข่ายความหมาย ของผู้เห็นต่างจากรัฐ หรือให้คำจำกัดความไปเลยว่า กลุ่มไหนอย่างไร

ขบวนการต่อสู้ในปาตานี มีความเป็นอย่างไร

ขบวนการต่อสู้ในปาตานีที่ก่อตั้งขึ้นมาส่วนใหญ่ใช้กระบวนการต่อสู้นอกระบบ ขบวนการต่อสู่ปาตานีคือผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐเลือกที่จะใช้วิธีการต่อสู้นอกระบบ ประเด็นที่ต้องตั้งคำถาม คือ ขบวนการต่อสู้ในปาตานีคือผู้ที่เริ่มต้นใช้ความรุนแรงหรือ การหาคำตอบจากคำถามดังกล่าวจะทำให้เราเข้าใจถึงภูมิหลังของขบวนการและสาเหตุของการวิธีการนอกระบบ ไม่เพียงแค่การมองเห็นผลของความรุนแรงปัจจุบันแล้วตัดสินว่า ขบวนการใช้ความรุนแรง หรือไม่ใช่แค่เอาสถานการณ์ปัจจุบันมาตีตราว่า ผู้ที่ใช้ความรุนแรงทั้งหมดในปาตานีนั้นคือขบวนการต่อสู้ในปาตานีเท่านั้น ผู้ที่ใช้ความรุนแรงในปาตานีมีใครบ้างและเริ่มต้นจากอะไรจนนำไปสู่การใช้ความรุนแรง นี่คือสิ่งที่เราต้องค้นหาและทำความเข้าใจ เอาเข้าจริงแล้วขบวนการต่อสู้ในปาตานีมีความพยายามอย่างมากที่จะต่อสู้ในระบบแต่การต่อสู่ในระบบนั้นไม่สามารถตอบโจทย์ต่อประเด็นที่ต่อสู้ในระบบเลย

การต่อสู้ของคนปาตานีนั้นยังคงไว้ซึ่งร่องรอยการต่อสู้ในระบบ จากการที่มีความพยายามต่อสู้ในระบบมาโดยตลอดดั่งร่องรอยที่ทิ้งไว้ ยังมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้การต่อสู้ของคนปาตานีเลือกที่จะใช้การต่อสู้นอกระบบ เนื่องความไม่น่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมไทย ทำให้การต่อสู้ในระบบนั้นไม่สามารถไปต่อได้

นอกจากการใช้ความรุนแรงในการต่อสู้นอกระบบของขบวนการต่อสู้ในปาตานีแล้ว ขบวนการต่อสู้ยังคงมีการต่อสู้ในรูปแบบอื่นๆอีกด้วย ความพยายามที่จะมีการเจรจา พูดคุยสันติภาพอย่างลับๆของทางการไทยกับขบวนการต่อสู้ในปาตานี ที่ผ่านมามีความพยายามที่จะพูดคุยกันตลอดระยะเวลา 40-50ปีที่ผ่านมา แต่ส่วนใหญ่การพูดคุยที่เกิดขึ้น เกิดมาจากการที่ทางการไทยต้องการที่จะรู้จักกับฝ่ายขบวนการต่อสู้ในปาตานีเพื่อหวังจะนำไปสู่การจำกุมในภายหลัง

ประเด็นสำคัญที่มีคำถามตามมา คือ คนปาตานีคือใคร รวมไปถึงใครบ้าง ใครคือปาตาเนียน

องค์กรร่วมในนาม MARA PATANI ยังไม่มีการอ้างว่า เขาคือตัวแทนของชาวปาตานี และกระบวนการที่กำลังเดินอยู่นั้นยังไม่ถือเป็นการเจรจา แต่อยู่ในขั้นของการทำความคุ้นต่อกัน ยังไม่มีการยื่นข้อเสนออะไรมาก นอกจาสามข้อเสนอสามที่รับรู้ในสาธารณะ

การที่จะทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับกลุ่มขบวนการต่อสู้ในปาตานีนั้นถือว่ายากมาก เนื่องจากองค์กรต่างๆเป็นองค์กรลับ จึงไม่มีช่องทางการสื่อสารอะไรมากนักและไม่ใช่ทุกกลุ่มทุกองค์กรที่จะมีสามารถมีช่องทางการสื่อสารได้ การทำความเข้าใจขบวนการต่อสู้จึงจำเป็นต้องอาศัยงานวิจัยที่ทำเพื่อความเข้าใจกลุ่มขบวนการเหล่านั้น การศึกษางานวิจัยในเรื่องนี้ยังคงมีข้อจำกัดเช่นกัน

หนทางที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับขบวนการต่อสู้นั้น ต้องอาศัยฐานงานวิจัยของฝ่ายความมั่นคงทางการไทย เนื่องจากเขาคือคู่ขัดแย้งหลักและทางการไทยจำเป็นต้องมีข้อมูล องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการต่อสู้ในปาตานี

นอกจากนั้นคงจะต้องหางานวิจัย ข้อมูลที่มีฐานจากต่างประเทศ สิ่งที่น่าสนใจคืองานวิจัยเรื่องเหล่านี้ในภาษามลายูมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ในภาวะความขัดแย้งกำลังดำเนินอยู่ การรับข้อมูลจากฝ่ายขบวนการถือเป็นสิ่งสำคัญ เราคนรับสารไม่ควรตีความขาไปเองโดยไม่มีมูลใดๆ สิ่งที่สำคัญในการประเมินข้อมูลจากฝ่ายขบวนการต่อสู้นั้นต้องมีการประเมินจากหลายๆฝ่าย หลายๆภูมิหลัง หลายๆความคิดเพื่อได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นแก่นมากที่สุด มีอคติน้อยที่สุด และที่สำคัญไม่มีใครได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ด้วยความที่ขบวนการต่อสู้เป็นองค์กรลับ

จุดแข็งและจุดอ่อนของขบวนการต่อสู้ในปาตานีนั้นมีจุดที่ต้องให้ความสนใจอยู่ในมุมมองที่ต่างในแต่ละสถานการณ์ เป็นจุดอ่อนหรือจุดแข็งที่ไม่อาจจะตัดสินได้ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น บางสถานการณ์จุดอ่อนก็เป็นจุดแข็งได้ บางสถานการณ์จุดแข็งก็เป็นจุดอ่อนได้ กล่าวได้ว่ามีความซับซ้อนในจุดต่างๆอยู่มาก แต่ไม่ซับซ้อนจนยากเกินความเข้าใจ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่า ขบวนการต่อสู้นอกระบบนั้นคือองค์กรลับ

กระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นอาจจะยากที่จะเสร็จสิ้นในเร็ววันนี้ อาจจะเรียกว่า กระบวนการสันติภาพที่เริ่มต้นเพื่อเตรียมตัวยู่กระบวนการสันติภาพที่แท้จริงในอนาคต สิ่งที่องค์กรร่มในนามMARAM PATANI ไดยื่นข้อเสนอมาก่อนหน้านี้นั้น ถือเป็นนิมิตที่ดี และเป็นความพยายามของMARA PATANI เองที่จะเชื่อมโยงตัวเองกับประชาชนในพื้นที่ พยายามที่จะเชื่อมโยงตัวเองกับประชาคมอาเซียน และพยายามที่จะเชื่อมโยงตัวเองกับประชาคมโลก สิ่งที่จะต้องผลักดันต่อไปหลังจากนี้เพื่อหนุนเสริมสันติภาพ จะต้องเกิดกลไกเฉพาะเพื่อเปิดทางให้ MARA PATANI(รวมไปถึงขบวนการอื่นๆ)สามารถทำงานการเมืองกับประชาชนในปาตานีเอง นอกจากนั้นจะต้องเปิดพื้นที่เสรีในการถกเถียงและสื่อสารในประเด็นสำคัญดังนี้

  1. ประเด็นที่ว่าใครคือชาวปาตานี รวมถึงใคร

  2. ดินแดนปาตานีมีขอบเขตแค่ไหน อย่างไร

  3. MARA PATANI เป็นตัวแทนของชาววปาตานีหรือไม่ และใครคือตัวแทนของชาววปาตานี

  4. เพื่อรับฟังข้อเสนอของประชาชนชาวปาตานีว่า ประชาชนปาตานี ต้องอะไร

เนื่องจากสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ เสียงของประชาชนปาตานีคือเสียงที่ทั้งสองฝ่ายที่กำลังพูดคุยสันติภาพบนโต๊ะกันอยู่นั้น ต้องรับฟังและได้ยินเสียงของประชาชนชาวปาตานี

หมายเหตุ

  • คำว่าปาตานี ผู้เขียนใช้แทนคำว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ข้อเท็จจริงที่เขียนมานั้นเพื่อเป็นข้อถกเถียงในสังคมเพื่อนำปสู่การหนุนเสริม Peace talk process
  • ผู้เขียนเขียนจากสรุปการเสวนาทางวิชาการในหลักสูตรการสร้างยุทธศาสตร์เพื่อหนุนเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพ โดยวิทยาลัยประชาชน
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: