สรุปข่าวอาเซียนประจำสัปดาห์ 20 - 26 เม.ย. 2558

26 เม.ย. 2558 | อ่านแล้ว 1763 ครั้ง


	สรุปข่าวอาเซียนประจำสัปดาห์ 20 - 26 เม.ย. 2558

เวียดนาม

ภายหลังกลุ่มบริษัทชัยรัชการ ซึ่งเป็นเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ เข้าซื้อหุ้นของบริษัท Troung Long บริษัทรถยนต์เวียดนาม ในช่วงต้นปี 2015 ซึ่งมีฐานการผลิตที่เมืองโฮจิมินห์ ส่งผลให้กลุ่มบริษัทชัยรัชการกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของบริษัทนี้ คิดเป็นร้อยละ 22.6 จากผู้ถือหุ้นทั้งหมด อย่างไรก็ตามในปี 2018 เวียดนามจะเข้าร่วม ASEAN Free Trade Area (AFTA) และจำเป็นต้องลดภาษีการนำเข้าเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้เกิดการนำเข้ารถจากไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ต่ำกว่า ตลาดรถยนต์ในเวียดนามในสามปีข้างหน้า จึงเป็นหมุดหมายสำคัญของบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จากไทย ลิงค์ข่าว

ชาวบ้านแถบภาคกลางในเวียดนามรวมตัวกันหยุดขบวนการลักลอบตัดไม้ หลังเจ้าหน้าที่ไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการดูแล ส่งผลให้การลักลอบตัดไม้อย่างผิดกฏหมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 6 ของการทำลายป่าทั้งหมด หัวหน้าชุมชน ซึ่งไม่ได้สังกัดกลุ่มอนุรักษ์หรือ NGO เผยว่า ขอความช่วยเหลือไปยังองค์กรต่างๆ แต่ไร้วี่แวว มีคนเอาเงินมาให้เราเพื่อเป็นค่าไม้ แต่ก็หลักจากที่ไม้ถูกตัดไปมหาศาลแล้ว ต้นไม้ในพื้นที่เริ่มลดน้อยลง ตอนนี้จึงรวมตัวกันเพื่อออกมาหยุดกลุ่มตัดไม้โดยการตรวจเช็คคนที่ขับรถเข้าหมู่บ้าน โปรยตะปูเรือใบ หวังช่วงลดทอนการลักลอบที่เขาเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง ลิงค์ข่าว

ฟิลิปปินส์

จากการสู้รบระหว่างกลุ่มกบฏบังซาโมโร (Bangsa Moro Islamic Freedom Fighters) กับรัฐบาลฟิลิปปินส์ ส่งผลให้พลเมืองนับหมื่นคนในเมือง Maguindanao หมู่เกาะมินดาเนา ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่น อพยพออกไปยังค่ายลี้ภัยในหมู่เกาะอื่น ล่าสุดทางคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และกลุ่ม Human Rights Watch จี้รัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและรายงานการละเมิดสิทธิในบริเวณดังกล่าวโดยด่วน นอกจากนี้ยังส่งรถบรรทุกน้ำเข้าไปในค่ายทุกวันเพื่อช่วยคนประมาณ 16,000 คนในศูนย์อพยพทั้งหมด 17 กลุ่มในละแวก Mamasapan และ Datu Salibo ในเมือง Maguindanao และซ่อมแซมสุขาที่สร้างไว้แล้วตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์คล้ายกับปัจจุบัน ลิงค์ข่าว

พม่า

Myint Zaw นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวพม่า ได้รับรางวัล 'Goldman Environmental Prize' จากองค์กรสิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังสามารถหยุดการสร้างเขื่อน Myitsone ที่จะสร้างบนแม่น้ำอิระวดีในปี 2011 ด้วยการเป็นแกนนำเคลื่อนไหวภายใต้แคมเปญ 'Save the Irrawaddy' โดยการปราศัยในที่สาธารณะ กิจกรรมแรลลี่ รวมถึงตระเวนนิทรรศการเพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของแม่น้ำสายนี้ ซึ่งโครงการเขื่อน Myitsone เป็นเมกะโปรเจกต์กำลังผลิต 6000 เมกะวัตต์ วางแผนโดยบริษัทด้านพลังงาน ประเทศจีน หากโครงการถูกสร้างจริงจะทำให้พลเมืองกว่า 18,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย และต้องอพยพไปรัฐใกล้เคียง โดยเขื่อนดังกล่าวถูกต่อต้านจากประเทศในเอเชียอีกหลายประเทศ ลิงค์ข่าว

ชาวโรฮิงญาในเมือง Kyaktaw ตอนกลางของรัฐยะไข่ ได้รับผลกระทบจากการสู้รบระหว่างกลุ่มติดอาวุธชาวยะไข่กับกองทัพพม่า โดยกองทัพของชาวยะไข่ประกอบด้วยกลุ่มติดอาวุธและพลเมืองจากกลุ่มชาติพันธุ์ยะไข่ในแถบ Pidong Sherua ส่งผลให้ชาวโรฮิงญาใน Kyaktaw ต้องพยพไปยังเมืองใกล้เคียง อย่างไรก็ตามชาวโรฮิงญาในพื้นที่ กังวลสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังการสู้รบกับกองทัพพม่าจบลง เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่ากองทัพทหารยะไข่นั้นต่อต้านมุสลิม จึงไม่สามารถคาดเดาสถานะของตัวเองได้แม้ไม่ได้เข้าร่วมสู้รบในครั้งนี้ก็ตาม ลิงค์ข่าว

เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มติดอาวุธชาวยะไข่กับรัฐบาลพม่า รวมถึงชาวโรฮิงญา ในปี 2012 ส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มต้องอพยพเนื่องจากบ้านเรือนเสียหาย บางรายต้องอาศัยในค่ายลี้ภัยถึงสองปี ปัจจุบันพรรค Kaman National Development ซึ่งเป็นพรรคโดยตรงของชาวคามาน หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในรัฐยะไข่ที่มีสถานะเป็นพลเมืองของพม่า กำลังเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลพม่าในการสร้างบ้านราว 4,000 ครัวเรือน หลังถูกทำลายไปในช่วงปี 2012 นอกจากนี้ จากเหตุปะทะดังกล่าวส่งผลให้มีชาวคามานเสียชีวิตกว่า 100 คน และจำนวนมากต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน ขณะที่เลขาพรรคของชาวคามานเผยว่า "ชาวคามานมุสลิมไม่สมควรต้องใช้ชีวิตในค่ายอพยพอย่างทุกวันนี้ และรัฐบาลพม่าต้องสร้างบ้านหรือซ่อมแซมให้เหมือนกับที่ได้ช่วยเหลือชาวยะไข่ เหตุการณ์เมื่อปี 2012 ทำให้กว่า 140,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย และส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญาที่ไม่ได้มีสถานะเป็นพลเมืองอย่างชาวคามาน" ลิงค์ข่าว

อินโดนีเซีย

William Lacy Swing ผอ.ใหญ่ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) แถลงในการประชุมเศรษฐกิจโลกเอเชียตะวันออก ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโอนีเซีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จำนวนผู้คนที่เคลื่อนย้ายระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จนเป็นตัวเลขสูงสุดในประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยจำนวนประชากรโลกที่เพิ่ม เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น รวมถึงความต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้รับความยุติธรรมจากพื้นที่ปลายทางเท่าที่ควรโดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ซึ่ง IOM จะเร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น UNHCR เพื่อเร่งแก้ไข หลังตลอดเดือนที่ผ่านมามีข่าวการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรือประมงอินโดนีเซีย การอพยพดังกล่าวส่งผลให้จำนวนประชากร 1 ใน 7 ของโลก เป็นคนอพยพแทบทั้งสิ้น รวมตัวเลขประมาณ 250 ล้านคนทั่วโลก อีกปัญหาสำคัญที่ IOM เร่งจัดการคือธุรกรรมการเงิน ที่ผู้อพยพจะส่งเงินประมาณ 450 ล้านดอลลาร์ต่อปี กลับประเทศตนเอง เพื่อช่วยเหลืออุดหนุนครอบครัว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมหารือกับสำนักงานไปรณีกย์สากลในเมืองเบิร์น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พยายามผลักดันนโยบายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน ซึ่งคิดเป็น 8% หรืออาจสูงถึง 12% ของค่าโอนเงินในปัจจุบัน ลิงค์ข่าว

ผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของเอเชีย อย่างบริษัทศรีตรัง, Halcyon Agri Corp และอีก 8 บริษัทจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย รวมตัวกันเพื่อวางแผนเพื่อกลยุทธ์ในการปรับราคายางพาราให้สูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันราคายางพาราของตลาดถูกกำหนดโดย Sicom Exchange ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ในสิงคโปร์ โดยโฆษกจากบริษัทศรีตรังเผยสาเหตุที่ออกมารวมตัวกันว่า ราคายางพาราที่เป็นอยู่ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของตลาด จึงรวมบริษัทในประเภทเดียวกันต่อรองกับตลาดใหญ่เนื่องจากที่ผ่านมาราคาตกไปลงมาก และจะรอให้กลไกปรับเองคงไม่ทันการ ลิงค์ข่าว

 

ที่มา

http://www.irrawaddy.org

http://burmatimes.net

http://thejakartaglobe.beritasatu.com

http://www.themalaysianinsider.com

http://edition.cnn.com

news.xinhuanet.com/english

www.bbc.com

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: