3 ทศวรรษกับเชื้อเอชไอวี

12 ก.พ. 2558 | อ่านแล้ว 2462 ครั้ง


รายงานดังกล่าวระบุว่า ในระหว่างปี พ.ศ.2544-2552 อัตราของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ทั่วโลกลดลงเกือบ 25% โดยเฉพาะในอินเดียมีอัตราการลดลงของจำนวนผู้ป่วยเอดส์รายใหม่มากกว่า 50% และ 35% ในแอฟริกาใต้ ซึ่งทั้งอินเดียและแอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีจำนวนมากที่สุดของทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ

แม้อัตราของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ทั่วโลกจะ ลดลง แต่จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกยังคงมีอยู่สูงมาก กล่าวคือ ราว 7,000 รายต่อวัน รายงานดังกล่าวของ UNAIDS ระบุว่า 26% ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ทั้งหมด เป็น ผู้หญิงอายุ 15-24 ปี และการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของสตรีวัยเจริญพันธุ์ รายงาน AIDS at 30: Nations at the crossroads ของ UNAIDS ระบุว่า นับตั้งแต่มีรายงานการพบโรคเอดส์เป็นครั้งแรกเมื่อ 30 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ไปแล้วจำนวนเกือบ 30 ล้าน คนทั่วโลก (25-33 ล้านคน) และประมาณการว่าปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยเอดส์ราว 34 ล้านคน (30.9-36.9 ล้านคน)

“ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในเด็ก เนื่องจากสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีและได้รับยาต้านไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ คลอดบุตร และช่วงให้นมลูก มีจำนวนมากขึ้น โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่เป็นเด็กในปี พ.ศ.2552 มีจำนวนน้อยกว่าในปี พ.ศ.2544 ถึง 26%” รายงานดังกล่าวของ UNAIDS ระบุ

ในปี พ.ศ.2552 มีจำนวนทารกที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการติดเชื้อ เอชไอวี หรือการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ราว ๆ 370,000 คนทั่วโลก ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในกลุ่ม ประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา ขณะที่การรักษาหรือการเข้าถึงยาที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเอดส์ รายงานดังกล่าวของ UNAIDS ระบุว่า จนถึงสิ้นปี พ.ศ.2553 ผู้ป่วยเอดส์จำนวน 6.6 ล้านคนในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายได้รับยาต้านไวรัส (antiretroviral therapy) ซึ่ง เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเกือบ 22 เท่าเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสในปี พ.ศ.2544 โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2553 มีผู้ป่วยเอดส์ที่เริ่มได้รับยาต้านไวรัสเป็นจำนวนถึง 1.4 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งเป็นจำนวนผู้ป่วยเอดส์ที่เข้าถึงยาต้านไวรัสมากกว่าในทุก ๆ ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังมีเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสจำนวนมากกว่า 420,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากกว่ า 50% ของจำนวนเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสในปี พ.ศ.2551 อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องว่างของการเข้าถึงยาต้านไวรัสอยู่มาก กล่าวคือ จนถึงสิ้นปี พ.ศ.2553 มีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเอดส์ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเป็นจำนวนประมาณ 9 ล้านคน แต่ผู้ป่วยเหล่านี้กลับไม่ได้รับยาต้านไวรัส

ด้านการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ระบุว่า อัตราผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ที่ลดลงค่อนข้างมากนั้น เป็นผลมาจากความพยายามในการรณรงค์ป้องกัน โดยเฉพาะการส่งเสริมพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยในหมู่หนุ่มสาว อย่างไรก็ตาม พบว่า วัยรุ่นหญิงแค่ 49% ที่มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ ขณะที่วัยรุ่นชาย 74% รับรู้ในเรื่องนี้

ด้านทรัพยากรในการต่อสู้กับโรคเอดส์ ระบุว่า การลงทุนต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อการรณรงค์รักษาและป้องกันโรคเอดส์ของ บรรดาประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง หรือประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าใน ระหว่างปี พ.ศ.2544 ถึงปี พ.ศ.2552 โดยเพิ่มจาก 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 15.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรของนานาชาติเพื่อการนี้ลดลงอย่างมาก ในปี พ.ศ.2553 จากเหตุผลที่ว่าการต่อสู้กับโรคเอดส์ของประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาทรัพยากรที่เป็นเงินบริจาคจากนานาชาติ

ที่มา

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.adamslove.org

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: