การพัฒนาเส้นทางรถไฟแลนด์บริดจ์

29 ก.ย. 2557 | อ่านแล้ว 3653 ครั้ง


รัฐบาลมองว่าแลนด์บริดจ์มีความจําเป็นต่อโครงข่ายการขนส่งของไทย เนื่องจากประเทศไทยมีข้อได้เปรียบเชิงกายภาพและมีปัจจัยแวดล้อมที่จะทําให้การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ การศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยจะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจมหาภาคของประเทศไทย เสริมสร้างศักยภาพ โอกาส และการเพิ่มขีดความสามารถที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลก

ทั้งนี้การพัฒนาการขนส่งทางรถไฟ จึงมีความจําเป็นที่ได้รับการจัดลําดับความสําคัญเร่งด่วน เพื่อให้มีการศึกษาและออกแบบโครงข่ายการกระจายสินค้าด้วยการขนส่งทางรถไฟที่จะทําให้เกิดการพัฒนาเชิงบูรณาการ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งระยะทางปานกลางและระยะไกลด้วยระบบการขนส่งทางรถไฟร่วมกับระบบการขนส่งหลายรูปแบบเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์

จากผลการศึกษาในเบื้องต้น ตําแหน่งแนวเส้นทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนาระบบรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและท่าเรือฝั่งอันดามัน ปรากฏว่าผลการศึกษาเปรียบเทียบเชิงลึกแนวเส้นทางรถไฟทั้งหมดรวม 5 แนวทาง ดังนี้

1. กลุ่มที่ปรึกษาเสนอให้พัฒนาแนวเส้นทางรถไฟ 2A (ท่าเรือน้ําลึกปากบารา-อําเภอระงู-อําเภอควนกาหลง- อําเภอรัตภูมิ-อําเภอหาดใหญ่-อําเภอนา-หม่อม-อําเภอจะนะ-ท่าเรือน้ําลึกสงขลาแห่งที่ 2) ระยะทางรวม 142 กิโลเมตร กําหนดก่อสร้างเป็นโครงสร้างทางยกระดับ ในทะเล 4.50 กิโลเมตร บนบก 29 กิโลเมตร และโครงสร้างดินถม 109 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สายหาดใหญ่- ปาดังเบซาร์และสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ที่บริเวณด้านทิศใต้ของชุมทางหาดใหญ่ พร้อมกับกําหนดระบบบริการพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้น พื้นที่ลุ่มน้ําชั้น 1A ภายในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชน และสามารถตอบสนองความต้องการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. โครงสร้างทางรถไฟประกอบด้วยทางรถไฟระดับดินและทางรถไฟยกระดับทั่วไป ซึ่งใช้ในกรณีที่เส้นทางรถไฟผ่านในพื้นที่ป่าโดยทําการออกแบบให้สอดคล้องกับความลาดชันสูงสุด

3. ระบบทางรางรถไฟทั่วไปประกอบด้วย ทางรถไฟระดับดินและยกระดับที่มีลักษณะหินโรยทาง(Ballasted Track) และสะพานทางรถไฟ ในทะเลแบบไม่มีหินโรย (Ballastless Track) เชื่อมท่าเรือน้ําลึกปากบารา มาตรฐานรางรถไฟที่ใช้เป็น BS100A เพื่อเป็นทางประธานเชื่อมต่อกันตลอดแนวเส้นทาง และ BS80A สําหรับทางหลีก และย่านจอดรถในศูนย์ซ่อมบํารุง โดยจะทําการวางรางรถไฟบนหมอนคอนกรีตอัดแรงระยะห่างประมาณ 0.60 เมตร ขนาดความกว้างทางรถไฟ 1.00 เมตร (Meter Gauge) โดยมีระยะห่างระหว่างแนวศูนย์กลางทางรถไฟทางคู่ไม่น้อยกว่า 4 เมตร

4. สถานีโดยสาร มี 2 สถานีประกอบด้วย

4.1 สถานีระงู ตั้งอยู่ที่ตําบลปากน้ํา อําเภอละงู จังหวัดสตูล ห่างจาก ท่าเรือน้ําลึกปากบารา 2 กิโลเมตร

4.2 สถานีควนกาหลง ตั้งอยู่ที่ตําบลควนกาหลง อําเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ห่างจากท่าเรือน้ําลึกปากบารา 40 กิโลเมตร

5. ศูนย์ซ่อมบํารุงและอุปกรณ์โรงงานตั้งอยู่ที่อําเภอควนกาหลง เพื่ออํานวยความสะดวกงานบํารุงรักษารถจักร (Locomotives) และรถสินค้าหรือรถพ่วง (Wagons) มีสํานักงานพร้อมอุปกรณ์ที่จําเป็นสําหรับงานซ่อมบํารุงขบวนรถไฟ พร้อมกับมีระบบ บําบัดน้ําเสียและอาคารบ้านพักเจ้าหน้าที่

สําหรับการพัฒนาเส้นทางรถไฟสะพานเศรษฐกิจ แลนด์บริดจ์ สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะที่ 1 พัฒนาระบบรถไฟเพื่อการส่งออกและนําเข้าสินค้า สนับสนุนท่าเรือน้ําลึกปากบารา โดยก่อสร้างเป็นรถไฟทางเดี่ยวช่วงท่าเรือ น้ําลึกปากบารา-ชุมทางหาดใหญ่ เป็นระบบ Meter Gauge คือมีขนาดความกว้างทางรถไฟ 1.00 เมตร เพื่อเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟของ ร.ฟ.ท. ที่บริเวณด้านใต้ของชุมทาง

หาดใหญ่บนเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์

ระยะที่ 2 พัฒนาระบบรถไฟเพื่อการส่งออกและนําเข้าสินค้า สนับสนุนท่าเรือปากน้ําลึกสงขลา 2 โดยก่อสร้างเป็นรถไฟทางเดี่ยว เป็นระบบ Meter Gauge ต่อขยายจากระยะที่ 1 และเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟขยายจากระยะที่ 1 และเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟของ ร.ฟ.ท. ที่บริเวณด้านใต้ของชุมทางหาดใหญ่บนเส้นทางสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก-ไปยังท่าเรือน้ําลึกสงขลา 2 อาจกล่าวได้ว่าเป็นแลนด์บริดจ์ในระยะแรก

ระยะที่ 3 พัฒนาแลนด์บริดจ์ระยะกลาง โดยติดตั้งทางรถไฟและปรับปรุงอาณัติสัญญาณให้เป็นรถไฟทางคู่ตลอดแนวเส้นทาง เพื่อรองรับการเป็นสะพานเศรษฐกิจโดยสมบูรณ์ในระยะกลาง และขยายขีดความสามารถของระบบรางในการรองรับการขนส่งสินค้าส่งออกและนําเข้า ตลอดจนสินค้า Transshipment ระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวสามารถก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นรถไฟทางสามหรือทางสี่ในเขตทางที่ได้จัดเตรียมไว้ (50 เมตร) ซึ่งขึ้นอยู่ปริมาณสินค้าที่มาใช้บริการ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากระยะเวลา 30 ปีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ โดยทางใหม่นี้อาจจะเป็นระบบรถไฟทางคู่ที่มีความกว้างทาง 1 เมตร หรือ 1.43 เมตร เพื่อทําหน้าที่ขนส่งสินค้า Transshipment โดยไม่มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย และไม่อนุญาตให้มีการเดินรถไฟขนส่งผู้โดยสารในทางอิสระนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขนส่งสินค้า

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง จวกรัฐบาลลัดขั้นตอนจ่อผุดแลนด์บริดจ์ ชี้ย้ำรอยเดิม-พัฒนาแบบไม่ฟังชาวบ้าน

ที่มา

กรมการขนส่งทหารเรือ

ขอบคุณรูปภาพจาก https://encrypted-tbn0.gstatic.com

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: