‘ขาหุ้นปฏิรูป’เดินเท้าจากสงขลาเข้ากทม. จี้แก้นโยบาย‘พลังงาน-ไฟฟ้า’ทั้งระบบ

วันชัย พุทธทอง TCIJ 19 ส.ค. 2557 | อ่านแล้ว 1602 ครั้ง

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 19 สิงหาคม เครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน ประกาศออกเดินเท้าจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อจัดเวทีพูดคุยประเด็นพลังงานที่เป็นธรรม ตลอดสองข้างทางที่ขบวนเดินผ่าน ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.)และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 27 ที่บัญญัติให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ จำนวน 11 ประเด็น โดยประเด็นพลังงานซึ่งถูกบรรจุในมาตรา 27 ประเด็นที่ (7) เป็นประเด็นสำคัญที่เครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน เห็นควรปฏิรูปอย่างถูกทางและเป็นธรรม โดยการปฏิรูปต้องยึดหลักประโยชน์ของประชาชนโดยรวมเป็นประการสำคัญ

แก้ปัญหา 5 ประเด็น พลังงาน-ไฟฟ้า

นายประสิทธิชัย หนูนวล ผู้ประสานงาน ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน กล่าวว่า กิจกรรมการเดินครั้งนี้เพื่อจะนำเสนอสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพลังงานใหม่ โดยเฉพาะปิโตรเลียม ทั้งระบบอยู่ 5 ประเด็นหลักด้วยกัน ประเด็นแรกเพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์สูงสุด ขอให้เปลี่ยนระบบสัมปทานปิโตรเลียมเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งได้พิสูจน์จากนานาประเทศว่า จะทำให้ประเทศได้ความเป็นเจ้าของปิโตรเลียมคืนมา

ประเด็นต่อมา ขอให้จัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ เพื่อควบคุมปิโตรเลียมให้ประชาชนใช้ก่อนในราคาที่เป็นธรรม และให้มีการแบ่งพื้นที่ปิโตรเลียม และพื้นที่ผลิตอาหาร การท่องเที่ยวอย่างชัดเจน เพื่อการพัฒนาที่สมดุล เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ขอให้ปลดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินออกจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าและเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพดังที่นานาประเทศกำลังปฏิบัติ

ประเด็นสุดท้ายเพื่อความมั่นคงด้านพลังงงานไฟฟ้า ประชาชนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของการผลิตไฟฟ้าได้ขอให้ผลักดันกฎหมายพ.ร.บ.พลังงานหมุนเวียนที่เป็นธรรมโดยเร็ว กิจกรรมการเดินครั้งนี้มุ่งหมายเพื่อแสดงเจตนารมณ์ปฏิรูปพลังงานเท่านั้นไม่มีจุดประสงค์ด้านการเมือง ก่อความขัดแย้ง หรือกระทำการเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะแต่อย่างใด

นายประสิทธิชัยกล่าวอีกว่า ประเด็นที่คนจำนวนมากไม่ทราบคือ การจัดอันดับประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ โดยองค์กรของสหรัฐอเมริกาชื่อ Energy Information Administration และ The World Fact Book ของ CIA พบว่า ประเทศไทยสามารถ ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้มากกว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มโอเปค โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นเศรษฐีน้ำมันอย่างบรูไน และสามารถผลิตได้ 3 ใน 4 ของปริมาณการผลิตน้ำมันของประเทศเอกวาดอร์ ในปี 2552 ประเทศไทยผลิตน้ำมันอยู่ในอันดับที่ 35 และก๊าซธรรมชาติ อันดับที่ 27 จาก 224 ประเทศ และในปี 2554 ประเทศไทยผลิตน้ำมันอยู่ในลำดับที่ 33 และ  26 ของโลกสำหรับก๊าซธรรมชาติ

ไทยนำเข้าน้ำมันทำให้ราคาแพง รัฐขวางประชาชนผลิตไฟฟ้าใช้เอง

คนทั่วโลกรู้ว่าประเทศไทยมีแหล่งปิโตรเลียมมาก แต่คนไทยมักเชื่อว่าประเทศไทยพลังงานกำลังจะหมดและเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันเกือบร้อยเปอร์เซ็น ทำให้ต้องใช้น้ำมันในราคาแพง ปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกน้ำมัน มากกว่า 300,000 ล้านบาท ในปี 2551 สูงกว่าการส่งออกข้าว และรายได้จากขายพลังงาน มีมูลค่าใกล้เคียงกับประเทศส่งออกน้ำมันอย่างเอกวาดอร์ ซึ่งอยู่ในประเทศกลุ่มโอเปก

ไม่แตกต่างจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ประชาชนคนไทยมีสิทธิที่จะซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเท่านั้น สิทธิที่จะเป็นเจ้าของพลังงานหมุนเวียน เพื่อผลิตและขายให้กับรัฐแทบเป็นศูนย์ พลังงานหมุนเวียนมีทุกพื้นที่แต่ประชาชนไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของพลังงานเหล่านั้น นโยบายและกฏหมายพลังงานอุดปากประชาชนให้แบมือรอซื้อ แต่กลับเปิดช่องให้อุตสาหกรรมถ่านหินเติบโตแทน หากประชาชนเดินหน้าประหยัดพลังงานสำเร็จ จะทำให้ประเทศไม่ต้องลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่อย่างน้อย 17,000 เมกะวัตต์ แต่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะขาดรายได้และส่งผลต่อการลงทุนสัมปทานถ่านหินทั้ง ในและต่างประเทศรวมทั้งการเจรจาขอซื้อเทคโนโลยีถ่านหินระยะยาว นี่คือความจริงที่ทำให้ ประชาชนขาดความเป็นเจ้าของพลังงานทั้งระบบ คนไทยจึงต้องทนจ่ายแพงให้กับการ สูญเสียด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้กับกลุ่มผลประโยชน์พลังงาน ภายใต้การ ผูกขาดและผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงานรัฐ ข้าราชการประจำและนักการเมือง หากประชาชนขาดความเป็นเจ้าของพลังงาน อย่าหวังกับราคาพลังงานที่เป็นธรรม

จี้ชะลอสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21

นายประสิทธิชัยกล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแทนระบบสัมปทาน การใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตเป็นเรื่องของความเป็นเจ้าของโดยประชาชนของประเทศ และจะต้องไม่ปล่อยให้ทรัพยากรปิโตรเลียมของประชาชน ไปสร้างความร่ำรวยให้กับเอกชนที่ได้สัมปทาน แต่ประชาชนยากจนลงและต้องจ่ายแพงขึ้น เพราะต้องซื้อน้ำมันในราคานำเข้าจากต่างประเทศ ตามที่พ.ร.บ.ปิโตรเลียมกำหนดไว้ ทั้งนี้ประชาชนต้องเป็นเจ้าของข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศ ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันตามจริงและเป็นปัจจุบัน เพื่อตรวจสอบปริมาณน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เอกชนสูบขึ้นมาทั้งบนบกและทะเล

แต่ระบบสัมปทานทำให้ประเทศไทย ในฐานะเจ้าของทรัพยากรได้รับข้อมูลตามที่บริษัทเอกชนเจ้าของ สัมปทานจะรายงานให้ทราบเป็นรายเดือนเท่านั้น แม้นักวิชาการด้านพลังงานบางคนอ้างว่า แหล่งปิโตรเลียมไทยมีขนาดเล็ก ขุดยากและต้นทุนสูงจึงไม่สามารถใช้ระบบการแบ่งปัน ผลผลิตได้ แต่ผู้บริหารบริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย กลับระบุว่า ข้ออ้างดังกล่าวไม่น่าเป็นไปได้ เพราะทั้งสองประเทศอยู่ในสภาพธรณีวิทยาใกล้เคียงกัน และมีการขุดร่วมกันบางแหล่ง อีกทั้งมาเลเซียก็เริ่มระบบนี้จากเล็ก ๆ

ดังนั้นการเร่งเปิดสัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยรอบ 21 จะต้องยุติ จนกว่าจะมีการยกร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนและประเทศด้วยระบบการแบ่งปันผลผลิต

ตั้งนักการเมือง-ขรก.นั่งบอร์ดพลังงาน ขวางประชาชนพ้นทาง

ประเด็นการปรับโครงสร้างคณะกรรมการพลังงานของประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมากประเด็นหนึ่ง แต่ที่ผ่านมา การแต่งตั้งคณะกรรมการทุกระดับในด้านนโยบายพลังงาน ได้กันประชาชนออกวงนอก ในฐานะผู้ ซื้อพลังงาน ทั้ง ๆ ที่ประชาชนคือเจ้าของพลังงานของประเทศ การทับซ้อนของผลประโยชน์ด้านพลังงาน ทั้งปิโตรเลียมและไฟฟ้า คือความหายนะต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ หน่วยงานผูกขาดการดูแลทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศไทย คือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและบริษัท ปตท. กรรมการที่เข้ามาดูแลกิจการพลังงานของประเทศไทย มาจากนักการเมือง ข้าราชการประจำทั้งทหาร ตำรวจและบางรายมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการดูแลผลประโยชน์ของชาติกับผลกำไรของบริษัทอย่างชัดเจน ข้าราชการที่ นั่งควบเป็นกรรมการบริษัทเอกชนด้านพลังงานไม่สามารถควบคุมราคาพลังงานได้ เพราะกำไรจากราคาพลังงานมีผลโดยตรงต่อเบี้ยประจำเดือน เบี้ยประชุมและโบนัสของตน เช่น ค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท ปตท.สูงถึง 42.1 ล้านบาท จากผลกำไร 9.8 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ประเทศนอร์เวย์จ่ายเพียง 19.5 ล้านบาท จากกำไร 2.7 แสนล้านบาท และสัดส่วนกรรมการน้อยกว่าปตท.อีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกฏหมายเปิดช่อง ทำให้ข้าราชการ ระดับสูงที่เป็นกรรมการในปตท.หรือกฟผ.เข้ามานั่งเป็นกรรมการและรับผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทเอกชนหลายราย ท้าให้ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและ ประเทศชาติตกเป็นของบริษัทเอกชนและตนเอง

นอกจากนี้โครงสร้างใหญ่สุดของการวางแผนพลังงานของประเทศอยู่ที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่จะอนุมัติการเปิดสัมปทานพลังงานและการลงทุน ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในจังหวัดต่างๆ ทุกสมัยของการเมืองจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติไร้เงาสัดส่วนของคณะกรรมการที่มาจากภาค ประชาชนอย่างสิ้นเชิง ทุกตำแหน่งมาจากข้าราชการด้านพลังงาน รัฐมนตรีกระทรวงภายใต้ การนำของประธานคือนายกรัฐมนตรี แผนพลังงานของประเทศคือตัวชี้ชะตาความมั่นคงใน การจัดการพลังงานของประเทศ เมื่อขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและถูกบิดเบือนภายใต้ผลประโยชน์ทับซ้อน จึงเป็นเรื่องยากที่การจัดการพลังงานจะชอบธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงานของประเทศ จะต้องเปิดให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม อีกทั้งต้องแก้ไขพ.ร.บ.คุณสมบัติ มาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 ให้ระบุห้ามกรรมการของรัฐวิสาหกิจนั่งควบตำแหน่งกรรมการหรือผู้บริหารบริษัทเอกชนที่รัฐวิสาหกิจมีหุ้นอยู่ และห้ามจ่ายเงินโบนัสที่เกิดจากผลกำไรโดยตรงให้กับกรรมการบริษัทพลังงาน

แนะดูกิจการพลังงานของมาเลย์เป็นตัวอย่าง

สำหรับประเด็นการจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นของรัฐ มาเลเชียคือตัวอย่างประเทศในอาเซียนที่ใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต และจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติปิโตรนาส ซึ่งรัฐถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ไม่ได้หากำไรเพื่อมาแบ่งปันกันแบบบริษัทเอกชน แต่เป็นองค์กรเพื่อบริการสาธารณะแห่งชาติ ประชาชนมาเลเซียทุกคนเป็นเจ้าของหุ้นส่วนบริษัทปิโตรนาส ในฐานะเจ้าของประเทศ ในปี 2554 บริษัทน้ำมันแห่งชาติ ส่งเงินเป็นรายได้ให้รัฐบาลเป็นเงิน 657,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 40 ของ งบประมาณแผ่นดิน ทำให้ไม่ต้องเก็บเงินภาษีน้ำมัน อีกทั้งยังนำเงินรายได้มาชดเชยราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลประมาณลิตรละ 6-7 บาท และอุดหนุนผู้ใช้ก๊าซในราคาถูกแต่ไม่ขาดทุน ให้กับภาคครัวเรือน

ราคาก๊าซหุ้งต้มที่ประชาชนมาเลเซียใช้จึงมีราคากิโลกรัมละ 19 บาท รวมค่าขนส่งถึงบ้าน ในปีเดียวกันประเทศไทยที่ใช้ระบบสัมปทาน ซึ่งมูลค่าปิโตรเลียมที่ผลิตจากประเทศไทยมีมูลค่า 421,627 ล้านบาท ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนทั้งหมด รายได้ของประเทศไทยจากสัมปทานการขุดเจาะปิโตรเลียมรวมกับเงินปันผลจากหุ้น ร้อยละ 51 ของปตท. รวมกันแล้วเท่ากับ 153,596 ล้านบาทหรือร้อยละ 9.3 ของงบประมาณ แผ่นดิน

ระบบสัมปทานที่ประเทศไทยนำมาใช้ทำให้ประชาชนคนไทยต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เพราะรัฐต้องเก็บภาษีหลายแบบเพิ่มขึ้น และเสียเปรียบในการแข่งขันอย่างมากเมื่อเปิดประเทศสู่อาเซียน จากข้อมูลกระทรวงพลังงานชี้ชัดว่า สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานขั้นสุดท้ายต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว จากร้อยละ 7 ในปี 2530 เป็นร้อยละ 18 ในปี 2556 ประชาชนจึงนำรายได้ไปใช้จ่ายด้านอื่นน้อยลงเพราะรายจ่ายพลังงานสูงขึ้น

จากผลการศึกษาของ Tom Randal ข้อมูลเผยแพร่ใน Bloomberg พบข้อมูลจาก 61 ประเทศ ที่กระจายแบบสุ่มทั่วโลก ประเทศไทยติดอันดับ 9 เรื่องความยากลำบากของประชาชนระหว่างราคาน้ำมันกับรายได้ในแต่ละวัน ขณะที่ประเทศมาเลเซียอยู่อันดับ 37 โดยในปี 2556 ราคาน้ำมันเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 38.27บาท แต่มาเลเซียอยู่ที่ลิตรละ 18.97 บาท ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อวันของคนไทยเท่ากับ 561 บาท แต่มาเลเซียอยู่ที่ 943 บาท ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสองเท่าบวกกับรายได้ต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย ประชาชนคนไทยจึงตกอยู่ใน ภาวะยากลำบากเรื้อรัง อีกทั้งต้องทนกับการซื้อน้ำมันแพงกว่าต่างชาติ แม้ว่าจะผลิตน้ำมันใน ประเทศ แต่ราคาที่คิดกับคนไทยเป็นราคาตลาดสิงคโปร์บวกกับค่าโสหุ้ยปลอม (ค่าเดินทาง ค่าขนส่ง ค่าประกัน) ทำให้แพงกว่าราคาตลาดโลกที่แท้จริงอย่างน้อยลิตรละ 4 บาท

 

จัดโซนนิ่งพื้นที่อาหารกับพื้นที่พลังงาน

การขาดการวางแผนพลังงานที่เป็นธรรมในระดับประเทศส่งผลต่อเนื่องในระดับจังหวัด โดยตรงทั้งประเด็นการสัมปทานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั้งในทะเล บนบกรวมทั้ง การเดินหน้าโครงการเหมืองและโรงไฟฟ้าถ่านหิน พื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งพื้นที่ที่รัฐได้จัดสรรแปลงสัมปทานการขุดเจาะให้กับบริษัทเอกชนแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการเดินหน้าขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนบก อีกทั้งพื้นที่ที่รัฐกำลังจะเปิดประมูล สัมปทานขุดเจาะปิโตรเลียมรอบ 21 ขยายเพิ่มจากพื้นที่เดิม ครอบคลุมพื้นที่จ.อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญและอุบลราชธานี ในส่วนของภาคเหนือจะขยายครอบคลุมจ.สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ภาคกลางหลายจังหวัดรัฐได้จัดสรรแปลงสัมปทานให้กับบริษัทเอกชนแล้ว เชื่อมต่อจากจ.สุพรรณบุรี มาที่นนทบุรี นครนายก ราชบุรี กรุงเทพฯ และสมุทรสงคราม และพื้นที่แปลงสัมปทานทางทะเลยาวต่อเนื่องอ่าวไทยจากภาคตะวันออก ภาคกลางบริเวณ อ่าวไทยตัว ก และชายฝั่งภาคใต้จากชุมพรถึงนราธิวาส

พื้นที่ที่ได้รับสัมปทานการขุดเจาะปิโตรเลียมแล้ว ทั้งที่กำลังดำเนินการขุดเจาะและกำลังขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ ล้วนเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านแหล่งผลิตอาหารและการท่องเที่ยว ซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับพื้นที่เป้าหมายโครงการเหมืองและโรงไฟฟ้าถ่านหินในจ.ลำปาง ระยอง ฉะเชิงเทรา ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง

นอกจากปัญหาการจัดการพลังงานที่ขาดความเป็นธรรมแล้ว ประเทศไทยยังขาดการวางแผนผลิตพลังงานที่ตรงกับประโยชน์ของคนในจังหวัดอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโซนนิ่งพื้นที่ผลิตพลังงานของประเทศที่ชัดเจน ปัญหาความขัดแย้งของพื้นที่สัมปทานขุดเจาะปิโตรเลียมในทะเลระหว่างประชาชนในพื้นที่และบริษัทเจ้าของสัมปทานเป็นการ เรียกร้องให้รัฐเจรจายุติสัมปทานการขุดเจาะปิโตรเลียมของบริษัทเหล่านั้นจากชายฝั่งถึงเส้นแวงที่ 101 และ 102 องศา ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งผลิตอาหารของอ่าวไทยตัว ก ภาคตะวันออก นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส และเป็นพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวและการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่หายากในจ.ชุมพรและสุราษฎร์ธานี การประกาศเขตชัดเจนว่า เขตใดเป็นพื้นที่เพื่อความมั่นคงทางอาหารและการท่องเที่ยว เพื่อปลอดจากสัมปทานการขุดเจาะปิโตรเลียมและการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ จะทำให้ประเทศไทยมีการจัดการโซนนิ่งพื้นที่เพื่อวางแผนพลังงานและการเลือกเชื้อเพลิงมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศ

ผลักดันนโยบายพลังงานหมุนเวียน เลิกหนุนถ่านหินอย่างเดียว

ประเด็นการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ แต่ละจังหวัดต้องลงทุนหรือผลักดันให้เป็นพื้นที่ทำเลทองของพลังงานหมุนเวียน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า แต่ย่อมไม่สามารถทำได้ เพราะนโยบายพลังงานหมุนเวียนเป็นรองนโยบายถ่านหินมายาวนาน หน่วยงานรัฐที่ดูแลพลังงานหมุนเวียน ต้องรอส่วนแบ่งว่า เหลือจากการแบ่งเชื้อเพลิงอื่นมาผลิตไฟฟ้าเท่าไหร่ บทเรียนจากการมีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทำให้ประชาชนรู้อยู่เต็มอกว่า ถ่านหินมาก่อน พลังงานหมุนเวียนมาหลังสุด

การเดินหน้าเพื่อให้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ไม่อาจทำได้จริงหากนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินตามหลังพลังงานฟอสซิล อีกทั้งประเทศไทยไม่สามารถเป็นหนึ่ง ในการพัฒนาและส่งออกเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนสู่ประเทศอาเซียน ทั้งที่ประเทศเหล่านี้มีสภาพภูมิอากาศและแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่คล้ายคลึงกัน

การเกิดขึ้นของคณะกรรมการนโยบายพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ ต้องมีสัดส่วนภาคประชาชนและนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่มีแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและข้าราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ที่ผ่านมาการวางแผนพลังงานหมุนเวียนของประเทศไม่ได้อยู่บนฐานความเป็นจริงที่ว่า ประชาชนคนไทยสามารถลงทุนและผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนได้ แต่ติดอยู่ที่นโยบายภาครัฐเป็นอุปสรรคต่อการรับซื้อ และมุ่งรับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน หรือการนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านแทน หากการเกิดขึ้นของ

คณะกรรมการนโยบายพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ เพื่อเดินหน้านโยบายพลังงานหมุนเวียน ผ่านการวางแผนที่ชัดเจน ลงมือทำจริงและตรวจสอบได้เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จะทำให้ประเทศไทยมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตไฟฟ้าก็จะลดลงเมื่อประเทศเดินหน้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25  จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันอย่างน้อย 574,000 ล้านบาท การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อย่างน้อย 76 ล้านตัน ภายในปี 2564 เพิ่มการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนอย่างน้อย 442,000 ล้านบาท และเพิ่มการจ้างงานกว่า 188,000 อัตรา ประเด็นเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่หนุนส่งให้เครือข่ายต้องออกเดินทางไกล

ด้านนายวิสุทธิ์ ทองย้อย สมาชิกเครือขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมุ่งให้ประชาชนคิดสะดวกซื้อพลังงาน และไม่เคยคิดจะผลิตขายเพราะลำบาก และยุ่งยากทั้งในระดับนโยบายและการลงมือทำ จากการขับเคลื่อนของประชาชนท้าให้กระทรวงพลังงานยกร่างพ.ร.บ.พลังงานทดแทน พ.ศ..ขึ้น และมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งข้อเสนอแนะโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้แก้ไขคณะกรรมการที่จะเข้ามาดูแลพลังงานหมุนเวียนของประเทศ จะต้องไม่ผูกขาดเป็นของกระทรวงพลังงาน ข้าราชการประจำและนักการเมือง

ทั้งนี้ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และเป็นธรรมกฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับแรกของประเทศไทย จะต้องอยู่ภายใต้หลัก 5 ประการ หนึ่ง คือพลังงานหมุนเวียนจะมีความส้าคัญเป็นลำดับแรกและสามารถเข้าถึงระบบสายส่งหลักก่อน พลังงานอื่น กฎหมายพลังงานหมุนเวียนเอื้อให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมนุเวียนในแต่ ละพื้นที่ ด้วยศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจากระบบ พลังงานรวมศูนย์ (Centralization) รัฐจะต้องรับซื้อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้ทั้งหมดเป็นล้าดับแรก และรับซื้อไว้ทั้งหมด จากนั้นจึงค่อยมาพิจารณาเชื้อเพลิงชนิดอื่น หากต้องการลงทุนเพิ่ม

สองคือประชาชนสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อใช้และขายเข้าสู่ระบบสายส่ง หลักทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้และผลิตพลังงานหมุนเวียน กฎหมายพลังงานหมุนเวียนจะทำให้รัฐต้องสนับสนุนประชาชนเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง เพราะวัตถุดิบของพลังงานหมุนเวียนมีอยู่ในทุกจังหวัด สามคือระบบโครงข่ายไฟฟ้าและราคา พลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้และน้ามาใช้มีความเป็นธรรมและโปร่งใส รัฐต้องเข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่าย และพัฒนาระบบสายส่ง เพื่อรับซื้อการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากทุกพื้นที่อย่าง เต็มที่ โดยรัฐรับประกันการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนในระยะยาวอย่างน้อย 15 ปีขึ้นไป เพื่อให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเกิดความมั่นใจและคุ้มทุนใน ระยะยาว รวมทั้งราคาการรับซื้อพลังงานหมุนเวียนแต่ละชนิดแต่ละเทคโนโลยีมีความชัดเจน เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาค่าไฟฟ้าที่จะถูกลง เนื่องจากราคาคงที่ และรัฐรับประกันระยะยาว

สี่คือ การจัดตั้งกองทุนเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาศักยภาพและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย เกิดขึ้นในทุกจังหวัด และเพิ่มอัตราการจ้างงาน จากพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด สนับสนุนให้มีกองทุนพลังงานหมุนเวียนที่มาแหล่งเงินต่าง ๆ ทั้งจากผู้ผลิตไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า หรือเงินสนับสนุนจากภาครัฐ โดยจะเป็นกองทุนที่ใช้ส้าหรับ เป็นเงินสนับสนุนเริ่มต้นส้าหรับชุมชน อ้าเภอ จังหวัดและประเทศให้มีการจัดท้าข้อมูลด้าน พลังงานหมุนเวียน และสุดท้ายประชาชนมีสิทธิเลือกที่จะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานพลังงาน หมุนเวียนแทนที่พลังงานฟอสซิลในพื้นที่จะสามารถซื้อไฟฟ้าใช้ได้ผ่านระบบสายส่งแบบ กระจายศูนย์ที่มีอยู่ในพื้นที่เหล่านั้น

การถอดถ่านหินออกจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า

นายวิสุทธิ์กล่าวต่อว่า การโฆษณาของธุรกิจพลังงานทำให้คนไทยถูกหลอกมาโดยตลอดว่า น้ำมันและก๊าซจะหมดภายในสิบปี ไฟฟ้าจะดับ จะต้องจุดตะเกียง จะได้ใช้ไฟฟ้าในราคาถูกและประเทศไม่มีความมั่นคงด้านพลังงาน ค่าโฆษณาของอุตสาหกรรมถ่านหินมุ่งเน้นประเด็นค่าไฟฟ้าราคาถูก ซึ่งในความเป็นจริงต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินยังไม่รวมต้นทุนผลกระทบภายนอก (External Cost)  ซึ่งได้แก่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจ ต้นทุนการผลิต ไฟฟ้าจากถ่านหินคือหน่วยละ 2.76 บาท  เมื่อพิจารณาผลกระทบภายนอกจะเพิ่มเป็นหน่วยละ  5.70 บาทเป็นอย่างน้อย อีกทั้งค่าไฟฟ้าจะไม่ถูกลง เพราะประชาชนยังคงต้องร่วมแบกภาระค่าผ่านท่อก๊าซปตท.เพื่อนำก๊าซมาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยเรียกเก็บผ่านค่าเอฟทีตามใบเสร็จค่าไฟฟ้าทุกเดือน ทั้งที่ประชาชนเป็นเจ้าของเงินสร้างท่อก๊าซ นี่คือการผูกขาดแบบครบวงจรของธุรกิจปิโตรเลียมและไฟฟ้าเช่นกัน อีกทั้งการจัดการกับผลกระทบจากถ่านหินไม่สามารถทำให้มลพิษเป็นศูนย์ได้ ทั้งผลกระทบที่เกิดจากการขุดถ่านหิน การขนส่ง การเผาไหม้และการฝังกลบขี้เถ้าถ่านหินที่มีการปนเปื้อนของสารพิษจากโลหะหนัก ผลกระทบทั้งหมดสะสมและ ย้อนกลับสู่มนุษย์ในที่สุด

อะไรที่ทำให้ถ่านหินมิใช่คำตอบของประเทศไทย สิ่งแรกคือ การวางแผนพีดีพีแบบใหม่ที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม อยู่บนสมมติฐานการเติบโตการใช้พลังงานที่เป็นจริงและการวางพีดีพีที่มาจากแผนพีดีพีของแต่ละจังหวัดและภูมิภาค เช่น ภาคใต้ กระบี่จะเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ที่สามารถผลิตไฟฟ้าให้กับประชาชนของกระบี่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 2 ปีนี้ และภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด สามารถใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ได้ ภายในปี 2567 สร้างเศรษฐกิจของประเทศ 116,000 ล้านบาทต่อปี ลดการนำเข้าเชื้อเพลิง 24,000 ล้านบาทต่อปี เกิดการจ้างงาน 200,000 ตำแหน่ง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 27 ล้านตันต่อปี และลดมลพิษซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 860,000 ตันต่อปี

สิ่งที่สองคือ การนำแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี พ.ศ.2554-2573 ของกระทรวงพลังงานมาใช้ในการวางแผนพีดีพีแบบเต็มร้อย ซึ่งเป็นแผนการลงทุนที่คุ้มค่าและประหยัดที่สุดเท่ากับประเทศไทยสามารถลดความต้องการไฟฟ้าได้ 17,470 เมกะวัตต์ และลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้ 20,091 เมกะวัตต์หรือโรงไฟฟ้าถ่านหิน 25 โรง

นายวิสุทธิ์กล่าวอีกว่า การเดินของกลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงานครั้งนี้ เพื่อขอให้มีการปฏิรูปพลังงานอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อประเทศชาติและประชาชน ตามเจตนารมณ์ของประชาชนที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปพลังงานมานานหลายปี และไม่สามารถดำเนินการได้ในรัฐบาลนักการเมืองหลายสมัยที่ผ่านมา ประกอบกับคณะรักษาความสงบเรียบร้อย แห่งชาติ (คสช.)ได้มีนโยบายการปฏิรูปประเทศเพื่อคืนความสุข ให้คนไทย อีกทั้งความสำคัญของการปฏิรูปได้บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ ชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 27 ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การปฏิรูป พลังงานบรรจุในประเด็นที่ (7) ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสุขของคนไทย

เพื่อสนับสนุนคสช. คณะรัฐบาลและสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้เกิดการปฏิรูปพลังงานอย่างถูกต้อง และเป็นธรรม รวมทั้งเป็นการแสดงเจตนารมณ์ เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปทั้งด้านเนื้อหา และการมีส่วนร่วม ขาหุ้นปฏิรูปพลังงานซึ่งประกอบด้วยประชาชนทั้งในภาคใต้ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคตะวันออกจึงได้ออกเดินรณรงค์เพื่อให้ความรู้กับประชาชนว่าทำไมต้องปฏิรูปพลังงานและเป็นการ แสดงข้อมูลความรู้เพื่อให้ข้อเสนอการปฏิรูปพลงั งานตั้ง อยู่บนฐานข้อเท็จจริงและเป็นข้อเสนอที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียวโดยวิธีการดังกล่าวนี้จะทาให้การปฏิรูปกลายเป็น หัวใจสำคัญของการคืนความสุขให้ประชาชนอย่างแท้จริง

การปฏิรูปพลังงานเป็นประเด็นสำคัญยิ่งที่เต็มไปด้วยอำนาจและผลประโยชน์ ทั้งนี้ได้มีตัวเลขใน องค์กรต่างประเทศที่ได้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีปิโตรเลียมมากกว่าประเทศในกลุ่มโอเปคบาง ประเทศและเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่าเราใช้น้ำมันแพงเป็นอันดับที่ 9 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ในบรรดาการสารวจ 61 ประเทศทั่วโลก และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านพบว่า ผลประโยชน์ที่ประเทศได้รับน้อยกว่าประเทศเหล่านนั้ มากในทางตรงกันข้ามกาไรส่วนใหญ่ตกเป็น ของบริษัทเอกชน ซ้ำร้ายกว่านั้น เมื่อให้สัมปทานไปแล้วเราจะสญู เสียอธิปไตยด้านปิโตรเลียมให้กับบริษัทเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติและทั้งหมดนี้เป็นสาเหตสำคัญของการที่ประชาชน ต้องใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในราคาแพงมากอีกทั้งระบบดังกล่าวเอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นของวงการราชการ ที่ยอมออกนโยบายเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเอกชนมากกว่าการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ

 ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์

www.facebook.com/tcijthai

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: