ปัจจัยสำคัญต่ออนาคตของระบบสุขภาพ

18 ส.ค. 2557 | อ่านแล้ว 1920 ครั้ง


การสำรวจปัจจัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าและผลกระทบต่อระบบสุขภาพด้วย Real-time Delphi Survey ในโครงการวิเคราะห์และจัดทำภาพอนาคตของระบบสุขภาพ โดยสำนักงานคระกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ตอบแบบสำรวจ โดยใช้ระยะเวลา 2 เดือน มีผู้ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 56 ท่าน จาก 264 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 21.21

ผลการสำรวจช่วงที่ 1

เป็นการให้ความเห็นว่าแต่ละปัจจัยมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้ามากน้อยเพียงใด (โดยการให้คะแนน 1–5 เมื่อ 1 หมายถึงน้อยที่สุด และ 5 หมายถึงมากที่สุด) และหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพอย่างไร (ด้านลบหรือด้านบวก) และส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใด (โดยการให้คะแนน 1 ถึง 5)

รูปที่ 4-1 แสดงแนวโน้มที่จะเกิดปัจจัยต่างๆ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ส่วนรูปที่ 4-2 แสดงผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ที่จะเกิดกับระบบสุขภาพ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ตามความเห็นของผู้ตอบแบบสำรวจ

รูปที่ 4-3 แสดงภาพรวมแนวโน้มปัจจัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน 10 ปีข้างหน้า และผลกระทบต่อระบบสุขภาพ โดยแสดงจำนวนผู้ตอบแบบสารวจที่เห็นว่าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจะส่งผลลบต่อระบบสุขภาพในด้านบวกหรือลบด้วย ทั้งนี้ พบว่าปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสำรวจเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพด้วยจำนวนใกล้เคียงกัน ได้แก่ ปัจจัยที่ 6 สังคมให้ความสำคัญในเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น และ ปัจจัยที่ 25 จะมีการปฏิรูปใหญ่ของโครงสร้างทางการเมืองและกฎหมาย รองลงมาได้แก่ ปัจจัยที่ 16 แนวโน้มการรักษาผู้ป่วยที่พึ่งพาเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์จะมากขึ้น และปัจจัยที่ 23 การเจรจาการค้าระหว่างประเทศมีมากขึ้น

ผลการสำรวจช่วงที่ 2

เป็นการเลือกปัจจัยที่ควรให้ความสนใจมากที่สุดในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยให้ผู้สำรวจเลือกจำนวน 3 ปัจจัยจากทั้งหมด 29 ปัจจัย รูปที่ 4-4 แสดงปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสำรวจเห็นว่าควรให้ความสนใจในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยพบว่าปัจจัยที่ควรให้ความสนใจมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงประชากรด้านโครงสร้าง ปัจจัยที่ 15 ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ ปัจจัยที่ 6 สังคมให้ความสาคัญในเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น และปัจจัยที่ 28 ชุมชนตระหนักถึงสิทธิและการจัดการตนเองมากขึ้น

ผลการสำรวจช่วงที่ 3

เป็นการจับคู่ปัจจัยมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด ตามความเห็นของผู้ตอบแบบสำรวจ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์พบว่าสามารถแบ่งความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ความเปลี่ยนแปลงของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 2) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม 3) ความเหลื่อมล้าและการเปลี่ยนแปลงในสังคม ดังแสดงในรูปที่ 4-5

ที่มา

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิเคราะห์และจัดทำภาพอนาคตของระบบสุขภาพ โดยสำนักงานคระกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

ขอบคุณรูปภาพจาก www.chiangmainews.co.th

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: