อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไป อีกทั้งในภาคอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของไทยก็ยังไม่มีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันเมื่อกล่าวถึงมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวกับข้อมูลของผู้ใช้บริการ ทำให้มีกรณีข้อมูลรั่วไหลหรือกรณีละเมิดสิทธิส่วนบุคคลออนไลน์ลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยไม่มีการแก้ไขในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดโดยภาครัฐหรือเอกชน และโดยตั้งใจหรือโดยประมาทก็ตาม
ร่างกฎหมายเกี่ยวกับสื่อ สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสารที่กำลังมีการเสนอหรือพิจาณาโดยสภานิติบัญญัติ (ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก http://ilaw.or.th/NLAWatch – 16 ธ.ค. 2557)
กรอบในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กรอบในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่นิยมของสากลประเทศและประเทศไทยใช้นํามาอ้างอิงเป็นแนวทางในการดําเนินการใดๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการคุ้มครองที่เหมาะสมในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเปิดเผย คือ กรอบในการคุ้มครองข้อมูลขององค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD : The Organization for Economic Cooperation and Development) ในเรื่อง Guidelines Governing the Protection of Privacy and Transborder Data Flows of Personal Data มีหลักการพื้นฐาน 8 ประการ ดังนี้
ที่มา
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.manager.co.th/
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ