เหตุผลส่วนหนึ่งของจำนวนปีการศึกษาที่สูงขึ้นอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 6 ปี จากระดับประถมศึกษา เป็น 9 ปี (จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) แต่อย่างไรก็ตามแม้จำนวนปีการศึกษาของแรงงานไทยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังพบว่าภายใต้กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ ยังคงมีประชากรในวัยเรียนอยู่จำนวนหนึ่งที่ยังคงไม่ได้เข้าเรียนในระบบการศึกษา
ตลอดช่วงเวลากว่า 20 ปี ที่ผ่านมา พบว่าคนไทยมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นจาก 5.31 ปี ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 8.15 ปี ในปี พ.ศ. 2552 โดยสัดส่วนแรงงานผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษามีสัดส่วนลดลง มีทิศทางตรงกันข้ามกับกลุ่มผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับปริญญาตรี ซึ่งมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นชัดเจน (นิพนธ์ พัวพงศกรและคณะ, 2554) เหตุผลส่วนหนึ่งของจำนวนปีการศึกษาที่สูงขึ้นอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 6 ปี จากระดับประถมศึกษา เป็น 9 ปี (จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) แต่อย่างไรก็ตามแม้จำนวนปีการศึกษาของแรงงานไทยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังพบว่าภายใต้กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ ยังคงมีประชากรในวัยเรียนอยู่จำนวนหนึ่งที่ยังคงไม่ได้เข้าเรียนในระบบการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนรายงานข้อมูลในปี พ.ศ. 2553 ว่า จำนวนนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ภายใต้การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี (ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 (ปวช.) ในสายอาชีพ) มีจำนวนทั้งสิ้น 10,048,722 คน ในจำนวนดังกล่าวหากพิจารณาเฉพาะนักเรียนที่อยู่ภายใต้การศึกษาภาคบังคับ 9 ปีเปรียบเทียบกับประชากรในวัยเรียนเดียวกัน พบว่ามีสัดส่วนอยู่ 89% หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่าในประเทศไทยยังมีประชากรในวัยเรียนอีกประมาณร้อยละ 11 ที่ไม่ได้รับการศึกษาภายใต้กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ (พิจารณาแผนภาพที่ 2.2 )
สิ่งที่อาจเป็นเหตุผลทำให้นักเรียนจำนวนหนึ่งไม่เข้ามาสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับอาจมีได้หลายประการ เช่น เด็กอยู่ระหว่างการออกจากระบบโรงเรียนระหว่างปี (ออกกลางคัน) อันเนื่องมาจากสาเหตุฐานะยากจน มีปัญหาครอบครัว การสมรส มีปัญหาด้านการปรับตัว ต้องคดี/ถูกจับ เจ็บป่วย/ประสบอุบัติเหตุ อยู่ระหว่างย้ายตามผู้ปกครอง หรือแม้แต่มีภาระในการหาเลี้ยงครอบครัว (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553)
งบประมาณแผ่นดินในหมวดรายจ่ายทางการศึกษา – กระทรวงศึกษาธิการ
หากพิจารณาจากงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรต่อการศึกษาแล้วจะพบว่า โดยรวมในแต่ละปี ประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาไปในสัดส่วนกว่า 1/5 ของงบประมาณแผ่นดินทั5งหมด และพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งเป็นรายจ่ายที่จัดสรรสำหรับการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ แต่อย่างไรก็ดีในจำนวนดังกล่าวมีการจัดสรรเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนเพียง 10-20% เท่านั้นและส่วนที่เหลือเป็นรายจ่ายประจำ อาทิเช่น ค่าจ้าง เงินเดือนครูอาจารย์ เป็นต้น (สารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ, 2555)
จากข้อมูลงบประมาณด้านการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2553 ซึ่งรายงานโดยสำนักงบประมาณแสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐในการจัดบริการทางการศึกษาให้แก่เยาวชนตามระดับชั้นการศึกษา หากพิจารณาเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งรับผิดชอบดูแลการศึกษาในระบบตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา – มัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถจำแนกกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์หลักจากงบประมาณการศึกษาได้ 5 กลุ่ม คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับการศึกษาภาคบังคับ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเด็กพิการ และกลุ่มเด็กด้อยโอกาส ซึ่งกว่า 75% ของงบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับจะถูกจัดสรรไปยังกลุ่มการศึกษาภาคบังคับเป็นหลัก รองลงมาคือกลุ่มก่อนประถมศึกษา และกลุ่มมัธยมศึกษาตอนปลาย (สำนักงบประมาณ, 2555)
สำหรับกลุ่มเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสแม้จะเป็น 2 ใน 5 กลุ่มเป้าหมายหลักที่ได้รับการพิจารณาความสำคัญต่อเนื่องในทุกปี งบประมาณ แต่สัดส่วนการจัดสรรงบประมาณยังถือว่าได้รับน้ำหนักน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆอย่างเห็นได้ชัดโดยมีสัดส่วนงบประมาณเฉลี่ยเพียงปีละ 1% จากงบประมาณทั้งหมดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น
นอกจากการพิจารณาให้น้าหนักความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายข้างต้น ยังพบว่ารัฐบาลมีการจัดสรรงบประมาณเป็นลักษณะโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์ในแต่ละปีงบประมาณด้วย โดยโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสนับสนุนการศึกษา อาทิเช่น โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาของเยาวชน โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โครงการกระจายอำนาจและสร้างความเข้มแข็งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เป็นต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการลักษณะดังกล่าวไม่มีความต่อเนื่องชัดเจน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโครงการบางชุดถูกยกเลิก และมีการกำหนดโครงการใหม่ตามมติรัฐมนตรีเพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น การยกเลิกโครงการทั้ง 3 ชุดข้างต้นและเพิ่มโครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี และโครงการคืนครูให้นักเรียน ในช่วงสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นอกเหนือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รับผิดชอบในส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นภายใต้กระทรวงศึกษาธิการที่ให้การสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือมีความต้องการเป็ นพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิเช่น โครงการอาหารเสริม (นม) สำหรับนักเรียน โครงการอาหารกลางวัน กลุ่มเด็กกำพร้า กลุ่มเด็กสภาวะยากลำบาก กลุ่มโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม หรือกลุ่มเงินอุดหนุนสำหรับทายาทผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น งบประมาณในส่วนดังกล่าวจะอยู่ในการพิจารณาของสำนัก
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (พิจารณาตารางที่ 2.1) แต่อย่างไรก็ดี การจัดสรรเงินอุดหนุนดังกล่าวพบปัญหาในลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ภาครัฐยังขาดการวางทิศทางนโยบายระยะยาวที่ชัดเจนในการจัดสรรเงินอุดหนุนทางการศึกษา
*********************************
ที่มา
การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของครัวเรือนไทยภายใต้โครงการเรียนฟรี 15 ปี โดย ณัฏฐาภรณ์ เลียมจรัสกุล
เอกสารวิชาการภายใต้แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,ื มิถุนายน 2555
ขอบคุณรูปภาพ www.ktb.co.th
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ