จากแหล่งข้อมูลเดียวกัน พบว่าเวียดนามมีผลิตภัณฑ์ประมง ปริมาณการจับในเขตน่านน้ำของตน รวมไปถึงปริมาณและมูลค่าการเพาะเลี้ยงมากกว่าไทย
หน่วย: ตัน หมายเหตุ* F คือ การคาดการณ์ของ FAO
ดูข้อมูลเต็มได้ที่
เวียดนาม: http://www.fao.org/figis/servlet/SQServlet?ds=Production&k1=COUNTRY&k1v=1&k1s=237&outtype=html
ไทย: http://www.fao.org/figis/servlet/SQServlet?ds=Production&k1=COUNTRY&k1v=1&k1s=216&outtype=html
หน่วย: ตัน หมายเหตุ* F คือ การคาดการณ์ของ FAO
ดูข้อมูลเต็มได้ที่
เวียดนาม: http://www.fao.org/figis/servlet/SQServlet?ds=Capture&k1=COUNTRY&k1v=1&k1s=237&outtype=html
ไทย: http://www.fao.org/figis/servlet/SQServlet?ds=Capture&k1=COUNTRY&k1v=1&k1s=216&outtype=htm
หน่วย: ตัน หมายเหตุ* F คือ การคาดการณ์ของ FAO
หน่วย: ดอลลาร์สหรัฐ หมายเหตุ* F คือ การคาดการณ์ของ FAO
ดูข้อมูลเต็มได้ที่
เวียดนาม: http://www.fao.org/figis/servlet/SQServlet?ds=Aquaculture&k1=COUNTRY&k1v=1&k1s=237&outtype=html
ไทย: http://www.fao.org/figis/servlet/SQServlet?ds=Aquaculture&k1=COUNTRY&k1v=1&k1s=216&outtype=html
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงของไทย
ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ กรมประมง (ประมวลข้อมูลจากศุลกากร) ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ กรกฎาคม 2556
ในภาพรวมประเทศไทยมีปริมาณการส่งออก 1,741,847 ตันและมูลค่าการส่งออก 227,728 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2555 ปริมาณลดลง 9% มูลค่าลดลง 14% หากจำแนกรายสินค้าพบว่า สินค้าที่เพื่มขึ้นจากปี 2555 ได้แก่ ปลาแห้ง (ปริมาณ +1% มูลค่า +22%) ผลิตภัณฑ์ทูน่าแปรรูป (ปริมาณ +28% มูลค่า +14%) ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป (ปริมาณ +28% มูลค่า +4%) และรายสินค้าที่ลดลงจากปี 2555 ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ปริมาณ -47% มูลค่า -36%) กุ้งปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย (ปริมาณ -30% มูลค่า -20%) หมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง (ปริมาณ -19% มูลค่า -23%) เนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง (ปริมาณ -22% มูลค่า -32%) ทูน่ากระป๋อง (ปริมาณ -2% มูลค่า -3%) ซาร์ดีนกระป๋อง (ปริมาณ -15% มูลค่า -18%)
เมื่อจำแนกรายตลาดพบว่า ตลาดหลักมีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลงทั้ง 3 ตลาด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ปริมาณ -20% มูลค่า -19%) ญี่ปุ่น (ปริมาณ -15% มูลค่า -20%) สหภาพยุโรป (ปริมาณ -6% มูลค่า -8%) รวมไปถึงตลาดรองอย่าง ออสเตรเลีย (ปริมาณ -7% มูลค่า -10%) อาเซียน (ปริมาณ -3% มูลค่า -0.4%) คานาดา (ปริมาณ -14% มูลค่า -23%) ตะวันออกกลาง (ปริมาณ -8% มูลค่า -8%) กลุ่มอัฟริกา (ปริมาณ -20% มูลค่า -19%) ยกเว้นจีนที่เพิ่มขึ้น (ปริมาณ +24% มูลค่า +18%)
ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าผลิตภฑ์ประมงทั้งหมดของไทย
ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ กรมประมง (ประมวลข้อมูลจากศุลกากร) ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ กรกฎาคม 2556
ในภาพรวมประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้า 1,670,010 ตันและมูลค่าการส่งออก 99,568 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2555 ปริมาณเพิ่มขึ้น 0.2% มูลค่าลดลง 0.5% หากจำแนกรายสินค้าพบว่า สินค้าที่เพื่มขึ้นจากปี 2555 ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ปริมาณ +38% มูลค่า +52%) หมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง (ปริมาณ +70% มูลค่า +56%) เนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง (ปริมาณ +46% มูลค่า +28%) และรายสินค้าที่ลดลงจากปี 2555 ได้แก่ ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง (ปริมาณ -11% มูลค่า -10%) ปลาป่น (ปริมาณ -58% มูลค่า -56%) หอยแครงสดแช่เย็น (ปริมาณ -16% มูลค่า -19%) อาหารทะเลกระป๋อง (ไม่รวมกุ้ง) (ปริมาณ -6% มูลค่า -1%)
เมื่อจำแนกรายตลาดพบว่า ตลาดหลักมีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ อาเซียน (ปริมาณ -9% มูลค่า -8%) ไต้หวัน (ปริมาณ -6% มูลค่า -17%) ยกเว้นสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น (ปริมาณ +21% มูลค่า +21%) ส่วนตลาดรองที่ลดลงคือเกาหลีใต้ (ปริมาณ -2% มูลค่า -3%) ตลาดรองที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน (ปริมาณ +10% มูลค่า +6%) และญี่ปุ่น (ปริมาณ +30% มูลค่า +5%)
สรุปภาพรวมการประมงจำแนกรายประเทศ
คลิก ftp://ftp.fao.org/FI/STAT/summary/a-0a.pdf
****************************************
ที่มา
องค์การอาหารและการเษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ กรมประมง
การวิเคราะห์ด้านการประมงระหว่างไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดย ศรายุธ บุญกำจัด, กองประมงต่างประเทศ กรมประมง
โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ขอบคุณรูปภาพจาก http://commons.wikimedia.org/
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ