เทียบศักยภาพผลิตยางไทย-อินโดฯ

19 ก.พ. 2557 | อ่านแล้ว 4472 ครั้ง


สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประมาณการว่า การตัดโค่นต้นยางพาราในพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ไม้ยางพาราคิดเป็นปริมาตรไม้ประมาณ 44.6 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 30 ตัน โดยแบ่งออกเป็น ไม้เสาเข็ม 2.87 ลูกบาศก์เมตร ไม้เลื่อย 20.4 ลูกบาศก์เมตร และไม้ฟืน 21.09 ลูกบาศ ก์เมตร สำหรับไม้ยางพาราแปรรูปซึ่งได้จากการนำไม้เลื่อยไปแปรรูปโดยใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์มีปริมาณ 9.7 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ หรือประมาณร้อยละ 47 ของไม้เลื่อย

ภาพรวมการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปของไทย ทั่วประเทศมีโรงอบไม้ยางพาราประมาณ 53 โรงงาน และมีโรงงานแปรรูปไม้ประมาณ 593 โรงงาน สามารถผลิตไม้ยางพาราแปรรูปได้ประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ส่วนใหญ่จำหน่ายให้ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งใช้ไม้ประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้น มีไม้ยางพาราแปรรูปที่เหลืออยู่อีกประมาณ 1.8 ล้านลูกบาศก์เมตร

อุตสาหกรรมไม้ยางพาราประกอบด้วย อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ยางพารา อุตสาหกรรมกลางน้ำ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจไม้ยางพาราแปรรูป และอุตสาหกรรมปลายน้ำ ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมเครื่องเรือน และผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยไม้ยางพารา

ไม้ยางพาราแปรรูปส่วนใหญ่นำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ของเล่นเด็ก แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ไม้ปาร์เกต์ กรอบรูป และเครื่องใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังนำไปใช้ในงานเสาเข็มก่อสร้าง ล้อม้วนสายไฟขนาดใหญ่ ฟืน ถ่านไม้ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตลังไม้หรือแท่นไม้สำหรับวางสินค้า รวมถึง เยื่อกระดาษ

ผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยไม้ยางพาราของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ยางพาราเป็นส่งออกถึงร้อยละ 65 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 35 เป็นการจำหน่ายภายในประเทศ

ไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราอันดับหนึ่งของโลก ขณะที่อินโดนีเซียเป็นอันดับสอง เมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบระหว่างไทยกับประเทศคู่แข่งอย่างอินโดนีเซียนั้นพบว่า ในด้านขนาดพื้นที่ปลูกยางปี 2553 ไทยมีขนาด 2,785 เฮกเตอร์ อินโดนีเซียมีขนาด 3,445 เฮกเตอร์


                                                                                                 ที่มา: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร


                                                                                                 ที่มา: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร


                                                                                                 ที่มา: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยได้แก่ประเทศจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น อเมริกา และเกาหลีใต้


                                              ที่มา: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร


                                               ที่มา: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร


ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ราคายางพาราของไทย


                                                                                     ที่มา: http://globalrubbermarkets.com/

ราคายางพาราของอินโดนีเซีย


                                                                                               ที่มา: http://globalrubbermarkets.com/

ข้อได้เปรียบ

ประเทศไทย

• มีวัตถุดิบในประเทศจํานวนมากจากการเป็นผู้ผลิตยางพาราอันดับ 1 ของโลก

• ผลผลิตยางพาราสูงถึงราว 276 กิโลกรัมต่อไร่

ประเทศอินโดนีเซีย

• มีพืนที่เพาะปลูกยางพารามากที่สุดในโลก

• มีแรงงานจํานวนมากและค่าจ้างแรงงานถูก

• ราคารับซื้อยางพาราจากเกษตรกรอยู่ในระดับต่ำสุดในบรรดาผู้ส่งออกยางพาราสําคัญ

ข้อสังเกต

ประเทศไทย

• ผลผลิตยางพารามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพารา โดยเฉพาะในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

• อุตสาหกรรมยางแท่งของไทยยังมีศักยภาพการผลิตต่ำกว่าคู่แข่ง

ประเทศอินโดนีเซีย

• คาดว่าปริมาณผลผลิตยางพาราของอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นจนก้าวเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก แทนที่ไทยในไม่ช้า เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกอีกมากที่ยังไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร

• แม้อินโดนีเซียมีพื้นที่เพาะปลูกยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่พื้นที่บางส่วนไม่ได้รับการเอาใจใส่ ทําให้ผลผลิตยางพาราของอินโดนีเซียต่ำเพียง 150 กิโลกรัมต่อไร่

*****************************************

ที่มา

http://globalrubbermarkets.com/

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

กรมการค้าต่างประเทศ

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

 

ขอบคุณรูปภาพ จาก http://www.thehindubusinessline.com/

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ

  

Like this article:
Social share: