ฟารีส, นักกฏหมายอเมริกันวัย 42 ปี ซึ่งมีประสบการณ์การบินกับเครื่องบิน Cessna 182 มาเป็นเวลานาน ได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบน้ำมันที่ถังน้ำมันของเครื่อง ทำให้เครื่องของเขาบินช้าลงในขณะเลี้ยว ทำให้เครื่องของเขาบินหมุนควงและดิ่งลงอย่างรวดเร็วจากความสูง 400 ฟิต เหนือพื้นดิน
โชคดีที่เครื่องบินของเขาได้ติดตั้งอุปกรณ์พื้นๆ แต่เป็นเทคโนโลยีที่ยังคงใช้งานได้ผล ในขณะที่เครื่องกำลังดิ่งลงด้วยความเร็ว เขาก็ได้ดึงกระเดื่องเพื่อกระตุกร่มชูชีพที่อยู่เหนือหัวของเขา เมื่อร่มชูชีพกลางเต็มที่ ร่มได้ช่วยประครองเครื่องบินของเขาให้ดิ่งช้าลง จนกระทั่งตกลงไปค้างอยู่บนยอดต้นไม้ใหญ่ โดยเขาปลอดภัยโดยมีอาการเคล็ดที่หลังเล็กน้อย
สิ่งที่ทำให้เขารอดชีวิตคือ ร่มชูชีพขนาดใหญ่ที่ติดตั้งไว้กับตัวเครื่องบินได้ช่วยประครองเครื่องบินทั้งลำไม่ให้ดิ่งตกลงมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งร่มชูชีพประเภทนี้ถูกติดตั้งไว้กับเครื่องบินขนาดเล็กหลายรุ่น ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตบางแห่งรวมถึงวิศวกรได้กล่าวว่า หากนำร่มชูชีพมาติดตั้งไว้กับเครื่องบินพาณิชย์ จะสามารถช่วยชีวิตผู้โดยสารเป็นพันๆคนได้จากอุบัติเหตุเครื่องบินตก แต่คำถามคือทำไมผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์ถึงไม่ติดตั้งร่มชูชีพกับเครื่องบินพาณิชย์?
ก่อนจะไปที่คำถาม มาดูวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ว่าจะมีวิธีการทำอย่างไรได้บ้าง เช่น ติดตั้งร่มชูชีพไว้กับที่นั่งผู้โดยสารเหมือนอย่างที่มีเสื้อชูชีพติดตั้งไว้ใต้เก้าอี้ผู้โดยสารทุกตัวอย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้เลยเสียทีเดียว
แต่ในความเป็นจริง การติดตั้งร่มชูชีพไว้กับเก้าอี้ผู้โดยสารแต่ละตัว ไม่น่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นจริงได้ในช่วงเวลาแห่งความโกลาหล กาย แกร็ตตัน นักวิจัยด้านการบินกล่าว
แนวคิดเรื่องการติดตั้งร่มชูชีพไว้ที่ตัวเครื่องบินเป็นแนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้มากกว่าเพราะมันจะสัมฤทธิ์ได้มากกว่า นั่นเป็นเหตุผลที่กว่าร้อยละ 10 ของเครื่องบินเล็กได้ติดตั้งร่มชูชีพไว้กับตัวเครื่องบินที่จะรับน้ำหนักเครื่องบินทั้งลำได้
ในเครื่องบินเล็กอย่างเครื่อง Cessna หรือ Cirrus ร่มชูชีพจะถูกติดตั้งไว้กลางลำตัวเครื่อง หรือไม่ส่วนกลางของปีก เหนือห้องนักบิน ในกรณีฉุกเฉิน กัปตันจะดึงกระเดื่องที่ติดตั้งผนเพดาห้องนักบิน จากนั้นร่มชูชีพก็จะกางออกและช่วยลดความเร็วในการตกที่อัตาความเร็ว 518 เมตรต่อนาที ดังนั้นเมื่อตกกระแทกพื้นแรงตกกระทบจะเท่ากับกระโดลงจากตึก 4 ชั้น
ผู้ก่อตั้ง Ballistic Recovery Systems (BRS)หนึ่งในบริษัทที่ผลิตร่มชูชีพสำหรับเครื่องบิน บอริส ปอปอฟ กล่าวว่า เขาได้ก่อตั้งบริษัทแห่งนี้ขึ้นเนื่องจากครั้งหนึ่งเครื่องร่อนของเขาเกิดเสียการทรงตัวไม่สามารถควบคุมการร่อนได้และตกลงในทะเลทราบจากความสูง 150 เมตร ปอปอฟรอดชีวิตจากการตกครั้งนั้นและนั่นคือจุดเริ่มต้นในการคิดค้นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้การบินปลอดภัยมากขึ้น
ปัจจุบันเครื่องบินที่ติดตั้งร่มชูชีพที่ใหญ่ที่สุดเป็นเครื่องบินเล็กขนาด 5 ที่นั่ง ซึ่ง ปอปอฟตั้งใจว่าจะผลิตร่มที่สามารถรับน้ำหนักเครื่องบินเล็กขนาด 20 ที่นั่งให้สำเร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า เขาเชื่อว่าโดยหลักการแล้ว เครื่องบินพาณิชย์ก็สามารถติดตั้งร่มชูชีพได้
แล้วในทางปฏิบัติจะเป็นจริงได้หรือไม่ แกรตตันกล่าวว่า ในทางเทคนิคนั้นการติดตั้งร่มชูชีพเข้าไปกับตัวเครื่องบินพาณิชย์นั้นเป็นไปได้ แต่จะเกิดคำถามจากผู้ประกอบการสายการบินถึงความคุ้มค่า เพราะต้องสูญเสียพื้นที่ส่วนใหญ่ของตัวเครื่องเพื่อติดตั้งร่มชูชีพนั่นหมายถึงจำนวนที่นั่งภายในเครื่องที่ลดลงด้วย ดังนั้นหากจะขยายความเรื่องความปลอดภัยทางการบินนั้น ผู้ประกอบการต่างๆคงจะมองไปที่ความปลอดภัยที่คุ้มค่ากับมูลค่าที่จะได้รับกลับมาด้วย
ด้านองค์กรการบินแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาให้ความเห็นว่า การใช้ร่มชูชีพกับเครื่องบินพาณิชย์อาจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดี เพราะในขั้นตอนการบิน กัปตันต้องทำกิจกรรมหลายอย่างมากในการควบคุมเครื่องบินให้ลงจอดได้กว่าจะถึงขั้นตอนการใช้ร่มชูชีพก็อาจจะไม่ทันการเสียแล้ว ในเรื่องทางกายภาพของร่มชูชีพเองก็เป็นปัญหาใหญ่ว่าจะออกแบบตัวร่มอย่างไรให่สามารถรับน้ำหนักเครื่องขนาดใหญ่เช่น Airbus A380 ที่มีน้ำหนักถึง 400 เท่าเมื่อเทียบกับเครื่องบินขนาดเล็ก ซึ่งอาจจะต้องใช้ช่องบรรจุร่มถึง 34 ช่อง
แกรตตันผู้ผลิตร่มชูชีพกล่าวว่า น้ำหนักเป็นปัญหาต่อการออกแบบร่ม แต่เขามองเห็นช่องในการแก้ไขปัญหานี้คือ เมื่อจำเป็นต้องใช้ร่มชูชีพในกรณีฉุกเฉิน เครื่องบินควรจะสลัดน้ำหนักส่วนเกินทิ้งเช่น สลัดปีกและเครื่องยนต์ทิ้งและเหลือไว้แต่ส่วนของผู้โดยสารโดยแบ่งส่วนของผู้โดยสารออกเป็นส่วนๆและให้ร่มชูชีพในแต่ละส่วนรับน้ำหนักและตกลงสู่พื้นอย่างปลอดภัยแทน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่น่าจะนำแนวคิดนี้ไปใช้เพราะผู้โดยสารมากมายเริ่มมีคำถามแล้วว่าทำไมถึงไม่ติดตั้งร่มชูชีพเพื่อช่วยพยุงการตกของเครื่องบิน
ข่าวโดย Katia Moskvitchสำนักข่าว BBC แปลและเรียบเรียงโดย ราชพล เหรียญศิริ
ภาพประกอบจาก www.bbc.co.uk
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ