"พลิกปูมเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ใครเป็นเจ้าเสาชิงช้า"

รองศาสตราจารย์ ดร. ชรินรัตน์ พุทธปวน 8 ม.ค. 2556


 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 สืบเนื่องจากการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่งกาหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในตาแหน่งตามวาระ 4 ปี ก่อนหน้านี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการการเมืองที่มาจากแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 9 ครั้ง ผลการเลือกตั้ง มีดังนี้

 

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 1 วันที่ 10 สิงหาคม พศ. 2518

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งแรก 10 สิงหาคม พศ. 2518 นายธรรมนูญ เทียนเงิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้งแต่ไม่ได้ดารงตาแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จนครบวาระ 4 ปี เนื่องจากเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทาให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตัดสินใจใช้อานาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 ปลดนายธรรมนูญ เทียนเงิน ออกจากตาแหน่ง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2520 และให้กลับไปใช้รูปแบบการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเช่นเดิม

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้ากองวิชาการ ก.พ. ที่เพิ่งลาออกมาเข้าสู่วงการเมืองเป็นครั้งแรกในนามพรรคพลังใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้รับคะแนนเสียงในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในเป็นจานวนมาก แต่พ่ายแพ้คะแนนในเขตชั้นนอก เช่น เขตหนองจอก หนองแขม มีนบุรี ซึ่งมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์โดยรวมสูงถึง 80% ทาให้ นายธรรมนูญ เทียนเงิน ชนะเลือกตั้ง

หลังจากการปลดนายธรรมนูญ เทียนเงิน ออกจากตาแหน่ง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากการแต่งตั้งอีก 4 คน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ความเห็นชอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กาหนดให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ทาให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2528

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 วันที่ 18 กรกฎาคม พศ. 2528

 

พล.ต.จาลอง ศรีเมือง ในนาม "กลุ่มรวมพลัง" ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วยคะแนนเสียง 408, 237 คะแนน

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจ คือ พล.ต.จาลอง ศรีเมือง ในนาม "กลุ่มรวมพลัง" สามารถเอาชนะผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองทั้งสามพรรคได้คือ ชนะ(1)นายชนะ รุ่งแสง จากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้คะแนนเสียง 241,002 คะแนน (2)พล.ต.ต.เจตจันทร์ ประวิตร จากพรรคประชากรไทยที่ได้คะแนนเสียง 140,190 คะแนน (3) นายมงคล สิมะโรจน์ จากพรรคก้าวหน้า ที่ได้คะแนนเสียง 63,557 คะแนน

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 3 วันที่ 7 มกราคม พศ. 2533

 

พล.ต.จาลอง ศรีเมือง ซึ่งลงสมัครในนาม พรรคพลังธรรม ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียง 703, 672 คะแนน 3

 

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจ คือพล.ต.จาลอง ศรีเมือง ในนามพรรคพลังธรรม สามารถเอาชนะผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองทั้งสองพรรคได้คือ ชนะ(1) นายเดโช สวนานนท์จากพรรคพรรคประชากรไทยที่ได้คะแนนเสียง 419,777 คะแนน(2) นายประวิทย์ รุจิรวงศ์จากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้คะแนนเสียง 60,947 คะแนน และสามารถเอาชนะผู้สมัครอิสระ อีกสองคนคือ (1) นายนิยม ปุราคาอดีตเลขาธิการสานักงานสถิติแห่งชาติ ที่ได้คะแนนเสียง 25,729 คะแนน (2) นายวรัญชัย โชคชนะที่ได้คะแนนเสียง 13,143 คะแนน

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 4 วันที่ 19 เมษายน พศ. 2535

 

พล.ต.จาลอง ศรีเมือง ลาออกจากตาแหน่งก่อนครบวาระ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัย พล.ต.จาลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ลงสมัครโดยไม่สังกัดกลุ่มใด แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุน ของ พล.ต.จาลอง ศรีเมือง ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 363, 668 คะแนน

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ ดร.พิจิตต รัตตกุล ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยในนาม พรรคประชาธิปัตย์ แต่ต้องพ่ายแพ้ให้แก่ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งใน 4 ปีต่อมา จึงประสบความสาเร็จได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้งครั้งนี้ ดร.พิจิตต รัตตกุล จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนเสียง 305,740 คะแนนพล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช จากพรรคประชากรไทยได้คะแนนเสียง 70,058 คะแนน นายมติ ตั้งพานิชจากพรรคความหวังใหม่ได้คะแนนเสียง 3,685 คะแนน

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 5 วันที่ 3 มิถุนายน พศ. 2539

 

ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้สมัครในนาม กลุ่มมดงาน ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 768, 994 คะแนน

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจานวนมากถึง 29 คน โดยมีอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 คน ลงสมัครด้วยคือ พล.ต.จาลอง ศรีเมือง และร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 และ 3 (514,401, 244,002 คะแนน) ตามลาดับ

ในครั้งนี้ ดร.พิจิตต ที่เคยพ่ายแพ้ในการลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งก่อน ได้คะแนนมากกว่า พล.ต.จาลอง ศรีเมือง ถึงกว่า 2 แสนคะแนน และมากกว่า ร.อ.กฤษฎา ผู้ชนะการเลือกตั้งสมัยก่อนหน้าถึงกว่า 5 แสนคะแนน ซึ่งอาจวิเคราะห์ได้ว่า พล.ต.จาลอง ศรีเมืองและ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยาลงแข่งตัดคะแนนกันเอง ทาให้ ดร.พิจิตต สามารถชนะการเลือกตั้งได้อย่างไม่ยากนัก

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 6 วันที่ 23 กรกฎาคม พศ. 2543

 

นายสมัคร สุนทรเวช อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 1, 016,096 คะแนน

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจคือมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจานวน 23 คน ผู้ลงสมัครที่ได้คะแนนเป็นลาดับที่ 2 ถึง 6 ดังนี้

 

 

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 7 วันที่ 29 สิงหาคม พศ. 2547

 

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยคะแนนเสียง 911, 441 คะแนน

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจคือนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนก่อนไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อดารงตาแหน่งต่อ โดยเบนเข็มไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. กรุงเทพมหานคร และให้การสนับสนุน ดร.กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศและข้าราชการประจากระทรวงการต่างประเทศ และมี ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ลงสมัครแข่งขันแต่ได้คะแนนเสียงเพียงประมาณ 1 แสนคะแนนจากที่เคยได้สูงถึงกว่า 7 แสนคะแนน

ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 ในครั้งนี้คือ นางปวีณา หงสกุลที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งในสมัยที่แล้ว ได้คะแนนเสียงเป็น อันดับที่ 6 ด้วยคะแนน116,750 คะแนน แต่สาหรับครั้งนี้ นางปวีณา หงสกุลที่ลาออกจากพรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2547 และลงสมัครในนามผู้สมัครอิสระ ได้รับคะแนนเสียง 619,039 คะแนน ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีกระแสข่าวว่าพรรคไทยรักไทย ให้การสนับสนุนนางปวีณา หงสกุล อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งนางปวีณา หงสกุล และพรรคไทยรักไทยได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจคือมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจานวน 22 คน ผู้ลงสมัครที่ได้คะแนนเป็นลาดับที่ 3 ถึง 11 ดังนี้

 

 

 

การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่เพิ่งออกใหม่ และมีข้อกาหนดแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆ มาหลายประการ อาทิเช่น

1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะเข้าไปมีบทบาทดูแลการเลือกตั้ง ทั้ง กกต.กลาง และ กกต.กทม. จากเดิมเป็นหน้าที่ของ "ปลัดกรุงเทพมหานคร"

2. ผู้สมัครต้องจ่ายเงินค่าสมัครเพิ่มขึ้นจากเดิม 5, 000 บาท เป็น 50,000 บาท

3. คุณสมบัติผู้สมัคร จากที่เคยกาหนดให้มีภูมิลาเนาในเขตกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 180 วัน เพิ่มเป็นต้องมีภูมิลาเนาในกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 1 ปี

4. หน่วยเลือกตั้งจะมีเพิ่มขึ้นจากเดิม 5, 869 หน่วย ตามจานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น

5. ห้ามผู้สมัครกระทา จัดทา ให้ โฆษณา จัดเลี้ยง หลอกลวง ก่อน กกต. ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน หากพบว่าผู้สมัครมีการฝ่าฝืน กกต. จะให้ใบแดง แต่หากตรวจหลักฐานคลุมเครือ และมีเหตุอันน่าเชื่อถือจะให้ใบเหลือง

6. การเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการแจกใบเหลือง ใบแดง จึงอาจมีการเลือกตั้งซ่อมได้

7. การนับคะแนน จากที่เคยนับที่หน่วยเลือกตั้ง และส่งคะแนนให้ศาลาว่าการ กทม.ประกาศผล ก็เปลี่ยนเป็นนับรวมที่เขตปกครอง แล้วนาผลแต่ละเขตมารวมที่ศาลาว่าการ กทม. เพื่อประกาศผลนับคะแนน จากนั้นจึงส่งผลการนับคะแนนให้ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ

8. การประกาศผลการเลือกตั้ง จากเดิมเป็นหน้าที่ปลัดกรุงเทพมหานคร ต้องให้ กกต.กลางประกาศผลอย่างเป็นทางการ

9. ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน เดิมประเมินให้คนละไม่เกิน 21 ล้านบาท แต่ครั้งนี้เพิ่มขึ้นเป็น 37 ล้านบาทต่อคน

***การเลือกตั้งครั้งนี้ นางลีนา จังจรรจา ผู้สมัครอิสระ ถูก กกต. ถอดถอน***

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 8 วันที่ 5 ตุลาคม พศ. 2551

 

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียง 991,018 คะแนน มากกว่าครั้งที่แล้ว 79,577 คะแนน

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจคือมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจานวน 16 คน ผู้ลงสมัครที่ได้คะแนนเป็นลาดับที่ 2 ถึง 5 ดังนี้

 

 

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 9 วันที่ 11 มกราคม พศ. 2552

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 9 จัดขึ้นในวันที่ 11 มกราคมพ.ศ. 2552 เนื่องจากอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนเดิม นายอภิรักษ์ โกษะโยธินได้ลาออกจากตาแหน่ง หลังจากถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยคะแนนเสียง 934,602 คะแนน

การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจคือมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจานวน 14 คน ผู้ลงสมัครที่ได้คะแนนเป็นลาดับที่ 2 ถึง 5 ดังนี้

 

 

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่10ต้นปี พศ. 2556 (หรือปลายปี 2555?)

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันจะครบวาระ 4ปี วันที่ 10 มกราคม 2556 การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 10 ก็จะเกิดขึ้นในต้นปี 2556 อย่างแน่นอน แต่หากหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ลาออกจากตาแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก่อนครบวาระ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 10 ก็อาจจะเกิดขึ้นในปี 2555 นี้ 

 

ไม่ว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 10 จะเกิดขึ้นเมื่อใด ถามใจประชาชนคนกรุงเทพมหานครว่าท่านพร้อมสาหรับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 10 นี้หรือไม่ ท่านอยากได้ใครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ผู้สมัครอิสระหรือผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผ่านมา 9 ครั้ง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสังกัดพรรคพรรคประชาธิปัตย์ 4 ครั้ง (1.นายธรรมนูญ เทียนเงิน 2.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 3.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 4.ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ) พรรคพลังธรรม 1 ครั้ง(พล.ต.จาลอง ศรีเมือง) พรรคประชากรไทย 1 ครั้ง (นายสมัคร สุนทรเวช) กลุ่มรวมพลัง 1 ครั้ง (พล.ต.จาลอง ศรีเมือง) กลุ่มมดงาน 1 ครั้ง (ดร.พิจิตต รัตตกุล) และอิสระ 1 ครั้ง(ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา)

ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ส่งผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ข้อที่น่าสังเกต การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งแรก 10 สิงหาคม พศ. 2518 นายธรรมนูญ เทียนเงิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้ง หลังจากนั้น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 ,3 ,4 ,5 , 6 ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสังกัดพรรคประชาธิปัตย์แพ้ผู้สมัครจากกลุ่มอิสระและผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่น ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์มาชนะการเลือกตั้งอีกในครั้งที่ 7, 8, 9

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 พล.ต.จาลอง ศรีเมือง จากกลุ่มรวมพลัง

ชนะการเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 3 ด้วยแต่คราวนี้เปลี่ยนมาสังกัดพรรคพลังธรรม การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 4 ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา สมัครในนามอิสระ แต่ชนะการการเลือกตั้งเพราะได้รับการสนับสนุนจากพล.ต.จาลอง ศรีเมือง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 5 ดร.พิจิตต รัตตกุล จากกลุ่มมดงานชนะการเลือกตั้ง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 6 นายสมัคร สุนทรเวช จากพรรคประชากรไทยชนะการเลือกตั้ง

จะเห็นได้ว่าผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทั้งที่สมัครโดยสังกัดพรรคการเมืองหรือสังกัดกลุ่ม สังกัดอิสระมีโอกาสได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเหมือนๆกัน

ที่ผ่านมาร้อยละของประชาชนคนกรุงเทพมหานครออกมาใช้สิทธิ์มากที่สุดในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเรียงตามลาดับดังนี้

 

 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 10 อยากให้ประชาชนคนกรุงเทพมหานครช่วยกันออกมาใช้สิทธิ์ให้มากที่สุด ให้มากกว่าการเลือกตั้งครั้งที่ 7 ที่มีร้อยละของของประชาชนคนกรุงเทพมหานครออกมาใช้สิทธิ์มากที่สุด ช่วยกันเลือกคนดี คนที่มีจิตอาสาพัฒนากรุงเทพมหานคร

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ

  

Like this article:
Social share: