ปปง.อายัดที่ดินบ่อนดัง ที่ดินหนุนก่อเหตุ3จว.ใต้

7 ก.พ. 2556 | อ่านแล้ว 1633 ครั้ง

 

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ( ปปง.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 2/2556 ว่า ที่ประชุมได้มีมติให้อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในรายคดีสำคัญไว้ชั่วคราว  โดยมีกำหนดไม่เกิน 90 วัน สรุปได้ ดังนี้ คือ

 

1.โฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เลขที่ 156026  หน้าสำรวจ 15865 เนื้อที่ 2 งาน 40 ตารางวา ราคาประเมิน 10,800,000 บาท (สิบล้านแปดแสนบาทถ้วน)  ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งสำหรับเปิดบ่อนลักลอบเล่นการพนัน (บ่อนเตาปูน) ทั้งนี้ ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการพนัน ตามมาตรา 3 (9) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542  2.ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 699 หมู่ 4 เล่ม 4 หน้า 140 เนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน 42 ตารางวา ราคาประเมิน 591,090 บาท (ห้าแสนเก้าหมื่นหนึ่งพันเก้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ในการสนับสนุนการก่อความไม่สงบของกลุ่มผู้ก่อการร้าย โดยเป็นสถานที่ปลูกฝังแนวความคิด ฝึกวิชาทหาร และอาวุธ เพื่อเป็นกองกำลังของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (8) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ทรัพย์สินที่อายัดไว้ดังกล่าว สำนักงาน ปปง. มีอำนาจในการบริหารจัดการตามกฎหมาย โดยสำนักงาน ปปง. จะมีหนังสือแจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ให้รับทรัพย์สินไปดูแลต่อไป โดยมีเงื่อนไขห้ามมิให้มีการนำทรัพย์สินดังกล่าว ไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย และหากผู้ที่ถูกอายัดทรัพย์สินประสงค์จะขอให้มีการเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินดังกล่าว สามารถยื่นคำขอต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่แสดงว่าเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกอายัดดังกล่าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือทราบคำสั่ง

 

อย่างไรก็ตาม การยักย้าย ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหายหรือทำให้ ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานอายัดไว้ หรือที่ตนรู้หรือควรรู้ว่าจะตกเป็นของแผ่นดิน  อาจมีความผิดทางอาญาและต้องระวางโทษตามนัยมาตรา 65 ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ส่วนความคืบหน้าในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรากฎหมายและอนุบัญญัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายที่จะต้องมีผลใช้บังคับก่อนการประชุมของ FATF ในวันที่18 กุมภาพันธ์ 2556  มีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้  1.พระราชบัญญัติป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2556 และ   2.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การกองการร้าย พ.ศ.2556 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 และมีผลบังคับใช้นับแต่วันถัดจากวันประกาศ คือวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไปแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนอนุบัญญัติที่ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556  ประกอบด้วย  1.ร่างกฎกระทรวงการกำหนดให้ผู้ที่มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้ายตามมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นบุคคลที่ถูกกำหนด พ.ศ. .... 2.ร่างกฎกระทรวงการพิจารณารายชื่อ และการทบทวนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดของส านักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม พ.ศ. .... 3.ร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  ว่าด้วยการประกาศและการแจ้งรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด และการดำเนินการตามมาตรา 6 (1) (2) และ (3) พ.ศ. ....

 

4.ร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการกำหนดนโยบายในการประเมินความเสี่ยงการกำหนดแนวทางปฏิบัติหรือมาตรการอื่นใดเพื่อป้องกันมิให้มีการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย  พ.ศ. ....5.ร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการเก็บรักษาและการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ถูกระงับการดำเนินการกับทรัพย์สิน พ.ศ. ....

 

ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจอนุบัญญัติดังกล่าวเสร็จแล้ว โดยร่างกฎกระทรวงตาม 1 และ 2 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ให้ความเห็นชอบเพื่อประกาศใช้ต่อไปแล้ว  ส่วนร่างระเบียบตาม 3-5 อยู่ระหว่างเสนอประธานกรรมการ ปปง. เพื่อประกาศใช้บังคับต่อไป

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: