ปัจจัยที่ทำให้คนไทยไปทำงานต่างประเทศน้อยลงส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทารุณกรรมลูกจ้าง การล่อลวง งานหนักเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิต รายได้ที่ไม่แน่นอน ค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้น แต่คำถามว่าประเทศไทยเปิดโอกาสให้คนไทยได้ตั้งตัวลืมตาอ้าปากหรือไม่นั้น ก็คงต้องถามตอบกันหนัก ๆ ซึ่งหวังว่าข้อมูลในสัปดาห์นี้จะช่วยให้หลายคนที่ต้องการไปหรือทำงานยังต่างประเทศได้ทราบสิทธิ และโอกาสอื่นใด เพื่อการตัดสินใจและใช้ชีวิตการทำงานอย่างมีความสุข
ช่องทางการเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศนั้นมี 4 กรณี 1.ผ่านบริษัทจัดหางาน 2.กรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง 3.นายจ้างเป็นผู้จัดส่ง 4.เดินทางด้วยตนเอง ในกรณีที่ต้องการหางานโดยผ่านบริษัทจัดหางาน กรมการจัดหางานเปิดรายชื่อบริษัทจัดหางานในต่างประเทศถูกกฎหมาย ข้อมูล ณ 30 เมษายน 2556 จำนวน 191 บริษัท สามารถตรวจเช็คได้ผ่านทางเว็บไซต์
http://www.overseas.doe.go.th/_office/latest_company_20130430.pdf
ซึ่งโครงการจัดส่งโดยรัฐได้แก่
-โครงการจ้างตรง : ไต้หวัน
-โครงการ IM : ญี่ปุ่น
-โครงการ EPS : เกาหลี
-โครงการ TIC : อิสราเอล
จำนวนคนงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ
จำแนกตามประเภทการเดินทางและประเภท พ.ศ.2550-2553
ที่มา กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ในประมวลสถิติสำคัญของไทย พ.ศ.2555 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จำนวนคนหางานไทยที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ
จำแนกตามภูมิลำเนา (เฉพาะ 5 วิธีเดินทาง)
ประจำปี พ.ศ.2554
ภาคกลาง : รวม 6,670 คน กทม.มากที่สุด 2,140 คน สมุทรสงครามน้อยที่สุด 29 คน
ภาคตะวันออก : รวม 3,089 คน ชลบุรีมากที่สุด 1,176 คน ตราดน้อยที่สุด 60 คน
ภาคตะวันตก : รวม 738 คน สุพรรณบุรีมากที่สุด 289 คน เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์น้อยที่สุด 66 คน
ภาคเหนือ : รวม 20,158 คน ลำปางมากที่สุด 3,526 คน แม่ฮ่องสอนน้อยที่สุด 54 คน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : รวม 58,269 คน อุดรธานีมากที่สุด 11,548 คน บึงกาฬน้อยที่สุด 315 คน
ภาคใต้ : รวม 1,313 คน สงขลามากที่สุด 563 คน สตูลน้อยที่สุด 16 คน
ประจำปี พ.ศ.2555
ภาคกลาง : รวม 6,704 คน กทม.มากที่สุด 2,215 คน สมุทรสงครามน้อยที่สุด 37 คน
ภาคตะวันออก : รวม 2,964 คน ชลบุรีมากที่สุด 1,158 คน ตราดน้อยที่สุด 63 คน
ภาคตะวันตก : รวม 767 คน สุพรรณบุรีมากที่สุด 265 คน เพชรบุรีน้อยที่สุด 66 คน
ภาคเหนือ : รวม 17,308 คน ลำปางมากที่สุด 3,049 คน แม่ฮ่องสอนน้อยที่สุด 63 คน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : รวม 50,611 คน อุดรธานีมากที่สุด 10,222 คน บึงกาฬน้อยที่สุด 220 คน
ภาคใต้ : รวม 1,274 คน สงขลามากที่สุด 451 คน สตูลน้อยที่สุด 13
จะเห็นได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอิสาน ยังคงครองแชมป์ส่งออกแรงงานมากที่สุด
ค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการไปทำงานต่างประเทศ
ข้อมูลจากสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ Thailand Overseas Employment Administration (TOEA) ให้ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศ ได้แก่
- ค่าทำหนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ต 1,000 บาท หากประสงค์จะรับหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์จะเสียค่าจัดส่งเพิ่มอีก เป็นเงิน 35 บาท (รวมเป็น 1,035 บาท) ติดต่อทำที่กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ
- ค่าตรวจสุขภาพเพื่อไปทำงานต่างประเทศไม่เกิน 1,500 บาท แต่ต้องไปตรวจในโรงพยาบาลที่กรมการจัดงานประกาศรายชื่อไว้
- ค่าทดสอบฝีมือครั้งละไม่เกิน 500 บาท หากค่าทดสอบฝีมือมีค่าใช้จ่ายสูงเกิน 500 บาท ให้ผู้ได้รับอนุญาตดำเนินการทดสอบฝีมือเรียกเก็บได้ตามอัตราที่อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท
- ค่าบริการและค่าใช้จ่าย (ค่าหัว) ไปทำงานไต้หวันเสียค่าบริการและค่าใช้จ่ายไม่เกิน 56,000 บาท
- ไปทำงานประเทศอื่นๆ เสียค่าบริการเท่ากับค่าจ้างที่ท่านได้รับไม่เกิน 1 เดือน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการจัดส่งไม่เกิน 15,000 บาท เช่น ถ้าท่านไปทำงาน สิงคโปร์ เงินเดือน 8,000 บาท บริษัทจัดหางานจะเก็บได้ไม่เกิน 8,000 + 15,000 = 23,000 บาท
ในกรณีที่กรมการจัดหางานจัดส่งนั้น ไม่ต้องเสียค่าบริการ(ค่าหัว) นอกจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าวีซ่า ค่าภาษี ค่าสมาชิกกองทุน ค่าที่พักเตรียมตัวก่อนเดินทาง
กู้เงินไปทำงานต่างประเทศ
กรมการจัดหางานได้ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศร่วมกับธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทั้ง 3 ธนาคาร ให้กู้รายละไม่เกิน 150,000 บาท โดยผ่านทางบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายกับกรมการจัดหางาน มีระยะเวลาการผ่อนชำระไม่เกิน 18 เดือน แต่ต้องไม่เกินอายุสัญญาจ้าง
-ธนาคารกรุงไทย อัตราดอกเบี้ยประเภทลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) โดยภายในวงเงินกู้จำนวน 90,000 บาท จ่าย MRR-3.0% เนื่องจากกรมการจัดหางานจะแบ่งภาระดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี ส่วนวงเงินที่เกิน 90,000 บาทแต่ไม่เกิน 150,000 คิดในอัตรา MRR ต่อปี
-ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อัตราดอกเบี้ยปกติตามชั้นของลูกค้า คือ ตั้งแต่ MRR ถึง MRR+2.25
-ธนาคารออมสิน ผู้กู้มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินต้องไม่เกิน 60 ปี
รายได้ที่ได้รับ
ประมาณการรายได้ส่งกลับประเทศของคนไทยที่ทำงานต่างแดนผ่านระบบธนาคารแห่งประเทศไทย
ณ วันที่ 30 เมษายน 2556 เวลา 14.30 น.
หน่วยนับ : ล้านบาท

กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ
ผู้ที่จะสมัครเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยวิธีการเดินทาง ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ที่เดินทางไปทำงานโดยการจัดส่งของบริษัทจัดหางานเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้จัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศ
2. เป็นผู้ที่เดินทางไปทำงานโดยการจัดส่งของกรมการจัดหางาน
3. เป็นผู้ที่เดินทางไปทำงานด้วยตนเอง ซึ่งได้ทำสัญญาจ้างงานกับนายจ้างในต่างประเทศโดยตรง
4. เป็นผู้ที่เคยไปทำงานต่างประเทศข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้วได้ทำสัญญาจ้างใหม่กับนายจ้างรายเดิมหรือรายใหม่ และการคุ้มครองจากกองทุนสิ้นสุดแล้ว ต้องการเป็นสมาชิกกองทุนต่อไปอีก
คนหางานที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุน จะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในวันสมัครเป็นสมาชิกในอัตราคนละ 300 - 500 บาท ซึ่งแตกต่างกันตามประเทศที่คนหางานจะเดินทางไปทำงาน ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลี อัตราคนละ 500 บาท
กลุ่มที่ 2 บรูไน การ์ตา คูเวต บาห์เรน โอมาน อิสราเอล ซาอุดิอารเบีย โมร็อคโค จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จิบูตี ตูนีเซีย ซูดาน โซมาลี แอลจีเรีย เลบานอน ลิเบีย สิงคโปร์ ซีเรีย เยเมน อียิปต์ อิรัก มอริเตเนีย อิหร่าน ฮ่องกง อัตราคนละ 400 บาท
กลุ่มที่ 3 ประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 อัตราคนละ 300 บาท
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ |
เอกสารที่ใช้ประกอบคำร้อง |
1.สงเคราะห์ค่าใช้จ่ายการเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น กรณีถูกทอดทิ้งในต่างประเทศ ตามที่จ่ายจริง ภายในวงเงิน 30,000 บาท |
- สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกกองทุนฯ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง |
2. สงเคราะห์เป็นค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กรณีประสบปัญหาในต่างประเทศ เช่น รอเข้าทำงานใหม่ รอส่งกลับประเทศไทย รอการดำเนินคดีหรือกรณีอื่น ในลักษณะเดียวกัน โดยจ่ายตามที่จ่ายจริงในวงเงิน 30,000 บาท |
- สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกกองทุนฯ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง |
3. สงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาล กรณีประสบอุบัติเหตุ หรือประสบอันตรายก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศตามที่จ่ายจริงภายในวงเงิน 30,000 บาท |
- สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกกองทุนฯ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง |
4.สงเคราะห์กรณีประสบอันตรายจนพิการหรือทุพพลภาพ ทั้งในและนอกประเทศ |
ประสบอันตรายในประเทศ
ประสบอันตรายในต่างประเทศ |
5.สงเคราะห์กรณีถูกส่งกลับเนื่องจากแพทย์ตรวจพบเป็นโรคต้องห้าม ดังนี้ |
- สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกกองทุนฯ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง |
6. สงเคราะห์ค่าจ้างทนายความต่อสู้คดีอาญาในต่างประเทศในความผิด สิ่งมิใช่เกิดจากการกระทำโดยเจตนา ตามที่จ่ายจริงในวงเงิน 100,000 บาท |
- สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกกองทุนฯ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง |
7. สงเคราะห์กรณีถึงแก่ความตายในต่างประเทศ ดังนี้ |
- สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกกองทุนฯ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง |
8. กรณีมีความจำเป็นและเร่งด่วนต้องสงเคราะห์แก่สมาชิกกองทุนฯ นอกเหนือ จากที่กำหนด ไว้นี้ อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินกองทุนฯ โดยความเห็นชอบของคณะกรรม การกองทุนฯ เพื่อสงเคราะห์ แก่สมาชิกผู้เดือดร้อนได้ |
- สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกกองทุนฯ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง |
หมายเหตุ
- เอกสารทุกฉบับหากไม่ใช่ต้นฉบับ ต้องรับรองสำเนา
- เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแนบฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยด้วย
- กรณีผู้รับอนุญาตจัดหางานขอรับเงินชดเชยจากกองทุนฯ ให้แนบสำเนาใบอนุญาตจัดหางาน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการ ให้คนงาน ที่ไปทำงานในต่างประเทศด้วย
************************************
ที่มา
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ขอบคุณรูปภาพ
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปทุมธานี
ประชาไท
http://goldabroadtowork.blogspot.com
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ