ย้อนหลังคำให้การปราสาทพระวิหาร

19 เม.ย. 2556 | อ่านแล้ว 1657 ครั้ง


 

 

การให้การทางวาจา ถ่ายทอดจากกรุงเฮก

 

(จันทร์) 15 เม.ย 2556 - กัมพูชา

  - 10.00 - 13.00 น. (เวลากรุงเฮก) / 15.00 - 18.00 น. (เวลากรุงเทพฯ) ตอนที่ 1  ตอนที่ 2

  - 15.00 - 16.30 น. (เวลากรุงเฮก) / 20.00 - 21.30 น. (เวลากรุงเทพฯ)

  

(พุธ) 17 เม.ย. 2556 - ไทย

  - 10.00 - 13.00 น. (เวลากรุงเฮก) / 15.00 - 18.00 น. (เวลากรุงเทพฯ) ตอนที่ 1 ตอนที่ 2

  - 15.00 - 16.30 น. (เวลากรุงเฮก) / 20.00 - 21.30 น. (เวลากรุงเทพฯ)

 

(พฤหัสบดี) 18 เม.ย. 2556 - กัมพูชา

  - 15.00 - 17.00 น. (เวลากรุงเฮก) / 20.00 - 22.00 น. (เวลากรุงเทพฯ)

 

 

(ศุกร์) 19 เมษายน 2556 - ไทย

15.00 - 17.00 น. (เวลากรุงเฮก) / 20.00 - 22.00 น. (เวลากรุงเทพฯ)

*******************************************

 

ย้อนรอยเส้นทางพิพาทกรณีปราสาทเขาพระวิหาร

 

เมื่อพุทธศตวรรษที่ 15-16 หรือ คริสตศตวรรษที่ 9 -10 ปราสาทเขาพระวิหารถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (กษัตรย์เขมร) ใช้ศิลปะแบบขอม

 

พ.ศ.2404 (ค.ศ.1861) – ฝรั่งเศสได้ไซง่อนและเวียดนามใต้เป็นอาณานิคม และเริ่มสนใจลาวกับกัมพูชา

 

พ.ศ.2410 (ค.ศ.1867) – สยามกับฝรั่งเศสทำสนธิสัญญายอมรับกัมพูชาเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส ยกเว้นเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ

 

พ.ศ.2436 (ค.ศ.1893) – ฝรั่งเศสยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แล้วให้สยามทำสนธิสัญญายกส่วนนี้ให้ฝรั่งเศส

 

พ.ศ.2447(ค.ศ.1904) -ทำอนุสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ยกเมืองหลวงพระบางกับดินแดนทางใต้ภูเขาดงรักให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจันทบุรีที่ถูกยึดก่อนหน้านี้ และกำหนดเส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักทำให้ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตไทย และกำหนดให้ไทยนำโดยพลตรี หม่อมชาติเดชอุดม และฝรั่งเศสนำโดยพันตรีแบร์นารด์จ เป็นข้าหลวงปักปันสำรวจภูมิประเทศ

 

พ.ศ.2450 (ค.ศ.1907) -สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ แต่ไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำตามที่กำหนดไว้จึงปรากฎว่าปราสาทอยู่ในฝั่งกัมพูชา

 

พ.ศ. 2451(ค.ศ.1908) –ฝรั่งเศสส่งแผนที่มาให้ไทย มาตราส่วน (1:200,000) 50ชุด แผนที่แสดงให้เห็นว่าปราสาทอยู่ในเขตกัมพูชา แต่ไทยมิได้ทักท้วงและยังขอสำเนาเพื่อแจกจ่ายใช้ในประเทศด้วย

 

พ.ศ.2472 (ค.ศ.1929) – สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยือนปราสาทเขาพระวิหาร โดยมีเรสิเต้น กำปงธม ผู้ว่าราชการจังหวัดกำปงธม ชาวฝรั่งเศสต้อนรับ พร้อมชักธงชาติฝรั่งเศส (ซึ่งไทยไม่มีการทักท้วงและกัมพูชาได้นำมาเป็นข้ออ้างในศาลโลกด้วย)

 

พ.ศ.2482 (ค.ศ.1939) – รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พบว่าพรมแดนนี้ใช้ลำห้วยเป็นเส้นเขตแดนแทนที่จะเป็นสันปันน้ำ จึงพยายามขอแก้ไขการปักปันเขตแดนส่วนนี้กับฝรั่งเศส

 

พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) – ช่วงสงครามดลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นช่วยไกล่เกี่ยข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ‘สงครามพิพาทอินโดจีน’ ที่เริ่มตั้งแต่พ.ศ.2483 กรณีไทยเข้ายึดดินแดนที่เคยเสียในสมัยรัชการที่ 5 รวมไปถึงปราสาทเขาพระวิหารด้วย แต่ต้องคืนฝรั่งเศสหลังจบสงครามครั้งที่ 2 เพื่อหลีกเลี่ยงสถานะผู้แพ้สงคราม

 

 

การโต้ตอบระหว่างไทยกับกัมพูชา

 

พ.ศ.2492 (ค.ศ.1949) – กัมพูชากับฝรั่งเศสคัดค้านการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารของไทย

 

พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954) – ฝรั่งเศสแพ้งสงครามต่อเวียดนาม กัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา

 

พ.ศ.2501 (ค.ศ.1958) – เริ่มมีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชา เดือนสิงหาคม ไทยประกาศสภาวะฉุกเฉินทางชายแดนไทยด้านกัมพูชา เดือนธันวาคม กัมพูชาประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการฑูตกับไทย

 

พ.ศ.2502 (ค.ศ.1959) –6 ต.ค. กัมพูชายื่นฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ขอให้พิพากษาว่า อธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ไม่ได้ขอให้พิพากษาเรื่องเส้นเขตแดน

 

พ.ศ.2505 (ค.ศ.1962) -15 มิ.ย. ศาลโลกมีคำพิพากษา ว่า 1.ปราสาทพระวิหารอยู่ในอาณาเขตกัมพูชา 2.ไทยต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร 3.ไทยต้องคืนโบราณวัตุที่ย้ายออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร จากนั้นในวันที่ 3 ก.ค. รัฐบาลไทยออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา แต่ในฐานะสมาชิกสหประชาชาติจึงทำตามคำพิพากษา

 

พ.ศ.2513 – 2518 (ค.ศ.1970-1975)– กัมพูชาสถาปณาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับไทยขึ้นใหม่ และเปิดเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยว

 

พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) – ไทยทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกกับกัมพูชา โดยให้มีคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี)

 

พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) – ไทยจับมือกับกัมพูชาพัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทเขาพระวิหาร โดยไทยตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร ส่วนกัมพูชาตั้งคณะกรรมการระหว่างกระทรวงเพื่อพัฒนาพื้นที่ช่องตาเฒ่าและเขาพระวิหาร

 

พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) – กัมพูชาร้องขอว่าความร่วมมือระหว่างสองประเทศในเรื่องนี้จะเริ่มหลังจากยูเนสโกขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งไทยรับทราบและขอให้มีการร่วมมือและปรึกษาหารืออย่างไกล้ชิดกับไทย

 

พ.ศ.2548 (ค.ศ.2005) – กัมพูชายื่นจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเอกสารประกอบการร้องขอส่วนหนึ่ง คือแผนที่กำหนดเขตแกน (Core Zone) เขตกันชน (Buffer Zone) และเขตพัฒนา (Development Zone) ของอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารที่ล้ำเข้ามาในดินแดนไทย

 

พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) – 28 มิ.ย. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ไทยได้รณรงค์ทางการเมืองและการฑูต จนได้เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไปอีก 1 ปี

 

 

ความตึงเครียด

 

พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) – 7 ก.ค. ประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่กว้าง หน่าผา และถ้ำต่างๆ ซึ่งไทยได้แถลงคัดค้าน ต่อมากัมพูชาได้ปิดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร จนกระทั่งมีกำลังทหารไทยเข้าคุ้มครองชาวไทยในบริเวณวัดของกัมพูชา ที่สร้างล้ำเข้ามาตามที่รัฐบาลไทยกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความตึงเครียดจนวันที่ 3 ต.ค.เกิดการเผชิญหน้าและใช้กำลังในบริเวณเขาพระวิหาร วันที่ 6 ต.ค. มีทหารไทยบาดเจ็บ 2 นาย ซึ่งในวันที่ 13 ต.ค. นายกรัฐมนตรีกัมพูชายื่นคำขาดให้ไทยถอนทหารออกไปภายใน 24 ชั่วโมง วันที่ 15 ต.ค.ทหารไทยและทหารกัมพูชาบาดเจ็บและเสียชีวิต รวม 5 นาย จากนั้นได้มีการหารือระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกหลายครั้ง

 

พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009) – 3 เม.ย. กัมพูชายิงจรวดอาร์พีจี ทำให้ทหารเสียชีวิต 2 นาย

 

พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) – นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รมว.การต่างประเทศ ในขณะนั้น พร้อมคนไทย 6 คน เดินทางไปบริเวณชายแดนจังหวัดสระแก้วที่มีการร้องเรียนว่าทหารกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตไทย แต่ถูกกัมพูชาควบคุมตัวไปดำเนินคดีฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย สุดท้ายได้รับการประกันตัว ยกเว้นนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์

 

ศาลอธิบายว่า ไม่ว่าแผนที่จะลากเส้นตรงกับเส้นสันปันน้ำตามที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้หรือไม่ แผนที่ก็ไม่ขัดต่ออนุสัญญาฯ เพราะไทยและฝรั่งเศสได้ถือเอาการตีความว่าแผนที่คือผลของการปักปันเขตแดนตามอนุสัญญาฯ ดังนั้นแผนที่จึงเข้าสู่ความตกลงและกลายมาเป็นส่วนเดียวกันกับอนุสัญญาฯ และส่งผลให้เส้นตามแผนที่มีสถานะสูงกว่าข้อกำหนดเรื่องสันปันน้ำ

 

 

พ.ศ.2554 (ค.ศ.2011) - 28 เม.ย. กัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ขอให้ตีความคำพิพากษาของศาลเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 กรณีปราสาทพระวิหาร (กัมพูชาฟ้องร้องไทย)

                                     - 18 ก.ค. ศาลได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอให้มีการกำหนดมาตรการชั่วคราว ซึ่งยื่นโดยกัมพูชา ศาลให้ข้อสังเกตแต่แรกว่า “ในชั้นต้นดูเหมือนจะมีข้อพิพาท” ระหว่างคู่ความเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษาปี 2505 และสรุปว่าศาลไม่อาจยอมทำตามคำร้องขอของไทยให้คดีที่เสนอโดยกัมพูชาถูกจำหน่ายออกจากสารบบ จากนั้นศาลได้กำหนดมาตรการชั่วคราวต่าง ๆ   ศาลตัดสินด้วยว่าคู่ความแต่ละฝ่ายควรแจ้งศาลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวเหล่านั้น และจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคำขอให้ตีความ ศาลจะยังคงอำนาจในเรื่องซึ่งเป็นประเด็นแห่งคำสั่ง 

 

พ.ศ.2556 (ค.ศ.2013) - 1 ก.พ. น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกจำคุกในข้อหารุกล้ำเขตแดนและโจรกรรมข้อมูลทางทหาร ได้รับการอภัยโทษ รัฐบาลกัมพูชาปล่อยตัวกลับสู่ประเทศไทย

 

************************************

 

ที่มา

http://www.phraviharn.org

กระทรวงการต่างประเทศ

ข้อมูลเบื้องเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร โดย นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ

  

Like this article:
Social share: