ชี้ไทยยังมีการละเมิดสิทธิฯรุนแรง ทั้งไฟใต้-สลายม็อบแดง-จับอากง ต่างด้าว1.5แสนไม่ได้รับคุ้มครอง

ชุลีพร บุตรโคตร ศูนย์ข่าว TCIJ 1 มิ.ย. 2556 | อ่านแล้ว 3147 ครั้ง

องค์กรนิรโทษกรรมสากลประเทศไทย หรือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2556 โดยรายงานสถานการณ์ด้านมนุษยชนทั่วโลก ซึ่งพบว่าโลกใบนี้กำลังเป็นพื้นที่อันตรายมากขึ้นสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น อันเนื่องมาจากการเพิกเฉยต่อปัญหาสิทธินุษยชนของประชาคมโลก โดยที่ผ่านมามีการละเมิดสิทธิของประชาชนหลายล้านคนที่หลบหนี้ลี้ภัยจากความขัดแย้งและการถูกคุกคาม หรืออพยพไปหางานทำเพื่อชีวิตที่ดีกว่าสำหรับตนเองและครอบครัว โดยกล่าวหาว่ารัฐบาลทั่วโลกสนใจแต่จะปกป้องพรมแดนของประเทศ มากกว่าที่จะใส่ใจสิทธิพของพลเมืองของตน รวมทั้งสิทธิของผู้แสดงหาที่พักพิง หรือการแสวงหาโอกาสอื่น ๆ ในพรมแดนประเทศของตน ขณะในประเทศไทยน่าเป็นห่วง 5 ประเด็น ทั้งไฟไต้ การเมือง เสรีภาพต่อการแสดงความคิดเห็น ผู้ลี้ภัย และโทษประหารชีวิต ที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

 

 

 

จากรายงานสถานการณ์ดังกล่าว มีการสรุปข้อค้นพบในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่

 

·       แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเสนอข้อมูลการจำกัดสิทธิในการพูดอย่างเสรีในอย่างน้อย 101 ประเทศ และการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายในอย่างน้อย 112 ประเทศ

·       ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกยังตกเป็นพลเมืองชั้นสองเนื่องจากไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิเนื่องจากเหตุทางเพศสภาพได้ ทั้งกองทัพของรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธยังคงข่มขืนกระทำชำเราในมาลี ชาด ซูดาน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงยังคงเสียชีวิตจากการลงโทษในลักษณะเดียวกับการประหารชีวิต ภายใต้คำสั่งของกลุ่มฏอลีบันในอัฟกานิสถานและปากีสถาน ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืน หรือผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิต ยังไม่ได้รับอนุญาตให้สามารถทำแท้งได้อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมายในประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น ชิลี เอลซัลวาดอร์ นิการากัว และสาธารณรัฐโดมินิกัน

·       ตลอดทั่วทวีปแอฟริกา ความขัดแย้ง ความยากจนและการละเมิดสิทธิที่เป็นผลมาจากกองทัพและกลุ่มติดอาวุธ เผยให้เห็นความอ่อนแอของกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ แม้ว่ากำลังมีการเตรียมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีของสหภาพแอฟริกา (African Union) โดยจะมีการประชุมสุดยอดที่ประเทศเอธิโอเปียในสัปดาห์นี้ (วันที่ 19-27 พฤษภาคม 2556)

·       ในทวีปอเมริกา การฟ้องคดีในประเทศอาร์เจนตินา บราซิล กัวเตมาลา และอุรุกวัย เป็นก้าวย่างสำคัญที่นำไปสู่ความยุติธรรมและไปพ้นจากการละเมิดสิทธิ แต่ระบบสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกาก็กำลังตกเป็นเป้าการวิพากษ์วิจารณ์ของรัฐบาลหลายแห่ง

 

 

 

·       เสรีภาพในการแสดงออกได้ถูกโจมตีอย่างมากตลอดทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีทั้งกรณีที่รัฐกดขี่ปราบปรามอย่างเช่น กัมพูชา อินเดีย ศรีลังกา และมัลดีฟส์ ในขณะที่การขัดแย้งกันด้วยอาวุธส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายหมื่นคนในอัฟกานิสถาน พม่า ปากีสถาน และไทย แม้ว่าทางการพม่าจะปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายร้อยคน แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยคนที่ถูกจับกุมตัวอยู่

·       ในทวีปยุโรปและเอเชียกลาง การเรียกร้องความรับผิดต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในยุโรปอันเนื่องมาจากโครงการจับตัวผู้ต้องสงสัยส่งผ่านยุโรปไปสหรัฐฯ (renditions) ยังไม่ได้รับการแก้ไข ในคาบสมุทรบอลข่าน มีความเป็นไปได้น้อยลงที่เหยื่อของอาชญากรรมสงครามในช่วงทศวรรษ 1990 จะได้รับความยุติธรรม ในขณะที่การเลือกตั้งทั่วไปในจอร์เจียเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการผ่องถ่ายอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยในอดีตประเทศสหภาพโซเวียต เนื่องจากประเทศกลุ่มดังกล่าวมักมีระบอบปกครองเผด็จการรวบอำนาจ

·       ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ในประเทศที่มีการขับไล่ผู้นำเผด็จการออกไปแล้ว จะมีเสรีภาพของสื่อเพิ่มมากขึ้นและภาคประชาสังคมก็มีบทบาทมากขึ้น แต่ก็มีความถดถอยเช่นกัน เนื่องจากยังมีการอ้างเหตุผลด้านศาสนาหรือศีลธรรมเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ตลอดทั่วภูมิภาค นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและการเมืองยังคงต้องเผชิญการปราบปรามต่อไป รวมทั้งถูกคุมขังและถูกทรมาน ในเดือนพฤศจิกายนได้เกิดเหตุความขัดแย้งรอบใหม่ในเขตฉนวนกาซา/พรมแดนอิสราเอล

·       ในระดับโลก การใช้โทษประหารชีวิตมีแนวโน้มลดลงต่อไป แม้จะมีส่วนที่ถดถอยอยู่บ้าง อย่างกรณีการประหารชีวิตเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีของประเทศแกมเบีย และการประหารชีวิตผู้หญิงเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีของญี่ปุ่น

 

 

 

 

รายงานสรุปสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

 

 

สำหรับประเทศไทย  แอมเนสตี้ให้ความเป็นห่วงในประเด็นหลัก ๆ ทั้งการขัดแย้งกันด้วยอาวุธยังดำเนินต่อไปในภาคใต้ เนื่องจากผู้ก่อความไม่สงบพุ่งเป้าโจมตีทำร้ายพลเรือน ในขณะที่ฝ่ายความั่นคงไมต้องรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการอิสระตรวสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้เผยแพร่รายงานฉบับสมบูรณ์ระบุว่า คู่กรณีทั้งสองงฝ่ายมีส่วนรับผิดยังดำเนินไปอย่างเชื่องช้า รัฐบาลยังคงใชกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกต่ไป ในขณะที่ผู้แสวงหาที่พักพิงและผู้ลี้ภัยยังคงเผชิญกับความเป็นไปได้ในการบังคับ ส่งกลับไปยังประเทศของตนเอง โดยในรายงานฉบับนี้ได้ระบุรายละเอียดข้อมูลประเทศไทยสรุปประเด็นได้แก่

 

 

 

การขัดแย้งกันด้วยอาวุธในประเทศ

 

 

พลเรือนยังคงตกเป็นเป้าโจมตี ส่งผลให้มีการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากในจังหวัดชายแดนใต้ ทั้งจ.นราธิวาส ยะลา และบางส่วนของสงขลา ครูและโรงเรียนรัฐได้ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีเนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ ส่งผลให้มีการปิดโรงเรียนหลายครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง ผู้นำการก่อความไม่สงบกล่าวหาฝ่ายความมั่นคงว่าได้ทำการสังหารนอกกระบวนการกฎมหายในยะลา การลอยนวลพ้นผิดยังเกิดขึ้นต่อไปสำหรับการละเมิดสิทธิส่วนใหญ่ที่เป็นการกระทำของฝ่ายความมั่นคงในภาคใต้

·       ในวันที่ 29 มกราคม 2555 หน่วยทหารพรานได้ยิงพลเรือนมุสลิมเชื้อสายมาเลย์เก้าตคนระหวางเดินทางด้วยรถกระบะที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นเหตุให้สี่คนเสียชีวิต และอีกสี่คนได้รับบาดเจ็บ ทหารพรานอ้างว่าเป็นการยิงพลเรือนซึ่งเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และเกี่ยวข้องกับการโจมตีฐานที่ตั้งทหารพราน คณะกรมการไต่สวน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนเหตุการณ์ครั้งนี้พบว่า พลเรือนเหล่านี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

        ในวันที่ 21 กันยายน 2555 ผู้ก่อความไม่สงบได้สังหารบุคคลหกคน รวมทั้งที่เป็นอาสาสมัครรักษาหมู่บ้านและมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 50 คน โดยเป็นการยิงโจมตีเข้าไปในร้านขายทอง จากนั้นมีการกดระเบิดที่ซุกซ่อนอยู่ในรถยนต์บริเวณตลาด อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

 

 

ในวันที่ 30 ตุลาคม 2555 นายมะหามะ มะแอ ครูโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามซึ่งตำรวจสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ได้ถูกยิงเสียชีวิตที่ จ.ยะลา ในวันที่ 14 พฤศจิกายน นายอับดุลาเต๊ะ โต๊ะเดร์ อิหม่ามชาวยะลาที่เคยตกเป็นเป้าทำร้ายในปี 2554 และเป็นเหตุให้ลูกสาวเสียชีวิต ได้ถูกยิงสังหาร ผู้นำกลุ่มก่อความไม่สงบกล่าวหาว่าฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้ยิง

·       ในวันที่ 3-4 ธันวาคม 2555 ผู้ก่อความไม่สงบได้สังหารครูคนหนึ่งและทำให้ได้รับบาดเจ็บอีกสองคน ในสองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน จ.นราธิวาส และต่อมาผู้อำนวยการโรงเรียนและครูได้ถูกยิงสังหารในโรงเรียนที่ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นเหตุให้มีการสั่งปิดโรงเรียนใน จ.นราธิวาส ปัตตานี และยะลาเป็นเวลาหลายวัน

 

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ยังคงมีผลบังคับใช้ตลอดทั้งปี โดยรัฐบาลได้ต่ออายุทุกสามเดือน เป็นกฎหมายที่ป้องกันไม่ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนรวมทั้งการทรมาน

 

 

ความรับผิดต่อความรุนแรงทางการเมือง

 

 

ในเดือนกันยายน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เผยแพร่รายงานฉบับสมบูรณ์ว่าด้วยความรุนแรงในระหว่างการประท้วงรัฐบาลที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 92 คนโดยระบุว่า หน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลรวมทั้งฝ่ายทหารและกลุ่ม “ชายชุดดำ” ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ประท้วง และมีความเชื่อมโยงกับ แนวร่วมประชาธิบไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือที่มักเรียกว่า “คนเสื้อแดง” มีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ รายงานยังระบุว่า กองกำลังของรัฐได้ใช้อาวุธสงครามและกระสุนจริงกับผู้ประท้วงและมีข้อเสนอแนะยอ่างละเอียดรวมทั้งการเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิที่กระทำโดยทุกฝ่าย ผ่านระบบยุติธรรมที่เป็นธรรมและไม่ลำเอียง และให้จัดให้มี “การเยียวยาและการฟื้นฟูสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรง”

 

 

ในเดือนมกราคม รัฐบาลเห็นชอบให้มีการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้เสียหายจากเหตุกาณ์ความรุนแรงเมื่อปี 2553 ในเดือนพฤษภาคม มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ ซึ่งส่วนหนึ่งกำหนดให้มีการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในปี 2553 แต่กระบวนการพิจารณาร่างได้ชะงักลงเมื่อดือนกรกฎาคม หลังจากศาลระบุว่า ฝ่ายความมั่นคงมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง ผู้ประท้วง นปช.ที่ถูกสังหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ได้มีการแจ้งข้อหาฆ่าคนตายต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม นับเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐรายแรก ๆ ที่ถูกตั้งข้อหาจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2553 นอกจากนี้การไต่สวนคดีก่อการร้ายต่อแกนนำ นปช.24 คนได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม

 

 

เสรีภาพในการแสดงออก

 

 

เสรีภาพในการแสดงออกยังคงถูกปราบปรามต่อไป ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งให้อำนาจคุมขังบุคคลที่เชื่อว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ความพยายามที่จะให้มีการทบทวนหรือแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปี 2555 ล้มเหลวในเดรือตุลาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีความวินิจฉัยว่ามาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาชอบด้วยรัฐธรรมนูญและในเดือนพฤศจิกายน รัฐสภาได้ปฏิเสธที่จะบรรจุร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเข้าสู่วาระการพิจารณา

 

 

·       ในเดือนพฤษภาคม นายอำพล ตั้งนพกุล นักโทษทางความคิดวัย 60 ปีเศษ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อากงเอสเอ็มเอส” เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในระหว่างถูกคุมขังตามโทษ 20 ปี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เขาถูกจับกุมเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 และถูกศาลสั่งจำคุกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2554 ฐานที่ส่งข้อความสั้นที่มีลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ศาลได้ปฏิเสธไม่ยอมให้มีการประกันตัวเขาออกมาทั้ง ๆ ที่มีการยื่นเรื่องขอถึงแปดครั้งและแม้ว่าเขาจะมีสุขภาพไม่ดี

·       ในเดือนพฤษภาคม น.ส.จีระนุช เปรมชัยพร จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท ถูกศาลจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี ในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และถูกปรับ 30,000 บาท แต่ได้รับการลดหย่อนให้รอลงอาญาเป็นเวลาแปดเดือน และปรับ 20,000 บาท เนื่องจากสามารถลบความเห็นที่มีผู้โพสต์ในเว็บบอร์ดของประชาไท 10 ข้อความได้ทันท่วงที โดยเป็นข้อความที่มีลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (เหตุการณ์เกิดขึ้นระหว่างเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2555)

·       นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร ยังคงถูกควบคุมตัวตลอดทั้งปี และมีโอกาสถูกคุมขั้งถึง 30 ปี หลังจากถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระบรมเดชานุภาพในเดือนเมษายน 2554 จากการตีพิมพบทความสองชิ้นในนิตยสาร “เสียงทักษิณ” ที่ผ่านมาศาลได้ปฏิเสธคำร้องขอประกันตัวเขาหลายครั้ง

 

 

ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าเมือง

 

 

ผู้แสวงหาที่พักพิงยังคงเผชิญกับความเสี่ยงต่อการจับกุม และควบคุมตัวเป็นเวลานาน และเสี่ยงที่จะถูกบังคับส่งกลับไปยังประเทศของตน ที่ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย ภายหลังการเจรจากับรัฐบาลพม่า สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แสดงท่าทีว่าผู้ลี้ภัยจากพม่าจำนวน 146,900 คนซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย สามารถกลับไปในประเทศตนเองได้ภายในเวลาหนึ่งปี แม้จะยังมีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า และไม่มีมาตรการคุ้มครองเพื่อประกันกระบวนการส่งกลับบุคคลที่ปลอดภัย อย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นไปโดยสมัครใจ

 

คนงานข้ามชาติทั้งที่มีเอกสารและไม่มีเอกสารทางการ ยังคงเสี่ยงที่จะถูกส่งกลับในช่วงเดือนธันวาคม เนื่องจากไม่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ

 

 

 

โทษประหารชีวิต

 

 

ไม่ปรากฎว่ามีรายงานการประหารช่วิตในปีที่ผ่านมา ศาลยังคงกำหนดโทษประหารตลอดทั้งปีในเดือนสิงหาคม รัฐได้ลดโทษให้กับนักโทษประหาร 58 คนให้เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต

 

นายสมชาย หอมละออ ประธานกรรมการองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวสรุปภายหลังว่า สำหรับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย แอมเนสตี้ฯ ยังคงให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนของคนทุกระดับ ไม่ละเว้น แม้กระทั่งการให้ความปกป้องดูแลสิทธิมนุษยชนของประมุขผู้นำประเทศ อย่างไรก็ตามข้อเสนอแนะขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่ระบุขอให้แอมเนสตี้เพิ่มการวิเคราะห์แนวโน้ม และการทำงานที่เข้มข้นด้านการศึกษาวิจัยและการดำเนินการในเชิงลึกของแต่ละประเด็นนอกจากการรายงานสถานการณ์นั้น จะได้มีการนำเสนอต่อไปยังแอมแนสตี้ สำนักงานใหญ่ต่อไป อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา หากหน่วยงาน หรือองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน์ที่ต้องการข้อมูลในรายละเอียด งานวิจัย หรือการวิเคราะห์แนวโน้มในเชิงวิชาการก็สามารถติดต่อที่สำนักงานแอมเนสตี้เพื่อรับข้อมูลดังกล่าวได้ตลอดเวลา

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: