สถานการณ์บุหรี่กับMaket share

14 พ.ย. 2555 | อ่านแล้ว 6979 ครั้ง


 

บริษัทบุหรี่ในประเทศไทย

 

ปัจจุบันจากข้อมูลจากกรมสรรพาสามิต กระทรวงการคลัง พบรายชื่อผู้ผลิตและผู้ขายบุหรี่ซิกาแรตในประเทศไทยมีแห่งเดียวคือ โรงงานยาสูบ สังกัดกระทรวงการคลัง ส่วนรายชื่อผู้นำเข้าจากต่างประเทศพบว่ามี 6 บริษัทได้แก่ บริษัท ฟิลลิป มอริส (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เจ.ที. อินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด บริษัท ดี.อี.เอส. มาเก็ตติ้ง จำกัด บริษัท โอเรียนท์ แอนด์ เอท แฮปพิเนซ ซิกาแรต จำกัด และบริษัท โกลด์ ซอส อินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด (5) ซึ่งในจำนวนผู้นำเข้าทั้งหมด บริษัท ฟิลิป มอริส (ไทยแลนด์) จำกัด มีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุดและถ้าเปรียบเทียบส่วนแบ่งการตลาดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาพบว่า โรงงานยาสูบมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งตามมาด้วยบริษัท ฟิลลิป มอริส (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท บริติชอเมริกัน โทแบคโค (ประเทศไทย) จำกัด ตามลำดับ (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 ส่วนแบ่งการตลาด (ร้อยละ) เปรียบเทียบ 3 บริษัท (4)

 

 

แนวโน้มส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทนำเข้ามีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เกิดจากความนิยมในบุหรี่ต่างประเทศ และแบรนด์ที่ความนิยมมากว่า รวมถึงการที่ราคาบุหรี่ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบกับบุหรี่นำเข้าไม่แตกต่างกันมากเนื่องจากภาษีศุลกากรที่ต่ำมาก เนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ รวมถึงการแจ้งราคานำเข้าที่ต่ำซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลราคานำเข้าที่แท้จริงได้ นอกจากนี้หลังจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า (AFTA, ASEAN Free Trade Area) ภาษีศุลกากรจะต่ำจนเกือบไม่มีเลย ซึ่งน่าจะมีผลให้บุหรี่นำเข้ายิ่งราคาถูกลง

 

แบรนด์/ยี่ห้อ และชนิดบุหรี่ซิกาแรตในประเทศไทย

จากข้อมูลกรมสรรพามิตปี พ.ศ. 2552 พบว่าปัจจุบันบุหรี่ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบมีทั้งสิ้น 19 ตรา และบุหรี่นำเข้าทั้งสิ้น 100 ตรา ซึ่งราคาขายปลีกสูงสุด-ต่ำสุดเท่ากับ 26-106 บาท ต่อ 20 มวน (3) แบรนด์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ กรองทิพย์ 90 (โรงงานยาสูบ), แอล แอนด์ เอ็ม (ฟิลิป มอร์ริส) และวันเดอร์ (โรงงานยาสูบ) ตามลำดับ (รูปที่ 2)

รูปที่ 2 จำนวนยี่ห้อที่ผลิตของแต่ละบริษัท เปรียบเทียบ 3 บริษัท

 

ข้อมูลจาก Euromonitor International Report กล่าวว่าผู้สูบคนไทยนิยมบุหรี่รสเข้มหรือรสมาตรฐาน (standard) โดยที่บุหรี่รสเมนทอลหรือรสอ่อนมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 19 ในปี 2551 อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะได้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการที่มีผู้สูบแบบครั้งคราวมากขึ้นและคนมีการรับรู้ว่าบุหรี่รสอ่อนมีความปลอดภัยสูงกว่าบุหรี่ทั่วไป ส่วนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในปี 2551-52 ที่ผ่านมาพบว่า โรงงานยาสูบเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ราคาถูกสำหรับตลาดล่าง ในขณะที่บริษัทบุหรี่นำเข้าเน้นการสร้างความหลากหลายของแบรนด์เพื่อให้กลุ่มผู้หญิงและวัยรุ่นเข้าถึงได้มากขึ้น (4)

 

การเปรียบเทียบข้อมูลบริษัทบุหรี่รายบริษัทเฉพาะบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 3 อันดับแรก

 

ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบระหว่างบริษัทบุหรี่ประจำปี 2551

 

โรงงานยาสูบ 2

บริษัท ฟิลลิป มอริส (ไทยแลนด์)

บริษัท บริติช อเมริกัน โทแบคโค

การจ้างงาน

4,000

400

30

ส่วนแบ่งการตลาด

67.1%

26.8%

3.1%

บุหรี่ leading brands

กรองทิพย์ 90, วันเดอร์, สายฝน 90

แอล&เอ็ม, มาร์ลโบโร

พอล มอล, 555 สเตท เอ๊กซเพลส, ลอนดอน

ยอดขายสุทธิ (ล้านบาท)

48,600

15,300

283

กำไรสุทธิ (ล้านบาท)

6,000

733

13.2

กิจกรรมเพื่อสังคม

(ล้านบาท)

ปี 2551-210

ปี 2550-150

ปี 2550-5

ไม่ทราบ

ค่าใช้จ่ายในการตลาด (ล้านบาท)

19.91

ไม่ทราบ

ไม่ทราบ

จำนวนร้านค้าปลีก (แห่ง)

ประมาณ 500,000

ประมาณ 200,000 แห่ง

ไม่ทราบ

 

โรงงานยาสูบเป็นหน่วยงานของรัฐ ขึ้นตรงต่อกระทรวงการคลัง เป็นผู้ผลิตบุหรี่รายเดียวของประเทศ มีบุหรี่ในครอบครอง 20 แบรนด์ ในปี 2551 โรงงานยาสูบมีส่วนแบ่งการตลาดทั้งสิ้นประมาณร้อยละ 67.1 ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 4 เป็นการเสียส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในรอบ 5 ปี ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า โรงงานยาสูบเสียส่วนแบ่งการตลาดให้บริษัทบุหรี่ข้ามชาติ และจำเป็นต้องทำการตลาดมากขึ้น โรงงานยาสูบยังใช้เงินทั้งสิ้นประมาณ 200 ล้านบาท ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (2) ซึ่งหลายกิจกรรมมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทั้งหนังสือพิมพ์โทรทัศน์ และเวปไซต์ในปี 2550 รัฐบาลอนุมัติให้โรงงานยาสูบตั้งโรงงานใหม่ในวงเงินประมาณ 1,600 ล้านบาท ในปี 2552 มีการออกผลิตภัณฑ์บุหรี่ราคาถูกตัวใหม่ชื่อ SHOOT ซึ่งมีการทำกิจกรรม โปรโมทอย่างต่อเนื่อง

 

บริษัท ฟิลลิป มอริส (ไทยแลนด์) จำกัดเป็นบริษัทลูกของบริษัท ฟิลลิป มอริส อินเตอร์แนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัทนำเข้าบุหรี่ ยี่ห้อ มาร์ลโบโล และแอล แอนด์ เอ็มจากประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2551 มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 26.8 ซึ่งสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 3 ในรายงานประจำปีบริษัทแม่ในต่างประเทศ (5) กล่าวว่ายอดขายบุหรี่ในประเทศไทยของบริษัทลดลง แต่ในภาพรวมบริษัทได้ส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยมากขึ้น ในปี 2550 ผู้จัดการใหญ่ประเทศไทย นายอาโชค รามโมฮาน ได้ออกมาให้สัมภาษณ์หลายครั้ง ในหนังสือหลายฉบับว่า ยอดขายลดลง และตัวแทนบริษัท ฟิลลิป มอริส และบริษัทข้ามชาติอื่นๆ ได้ขอเข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเพราะไม่พอใจที่มีระเบียบใหม่ นอกจากนี้ ยังทีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับการแจ้งราคานำเข้าที่ต่ำกว่าความเป็นจริงทำให้ภาษีที่เก็บได้น้อยกว่าความเป็นจริง

 

บริษัท บริติชอเมริกัน โทแบคโค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทนำเข้าบุหรี่ premium brands มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 3.1 ในปี 2551 มีบริษัทไทยทำการตลาดและส่งของให้ มีกิจกรรมการตลาดโดยเฉพาะเกี่ยวกับการหาผู้สูบหน้าใหม่ เพราะแบรนด์ยังไม่ติดตลาดและทางบริษัทต้องการส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น

 

สรุปลักษณะกิจกรรมที่ต้องเฝ้าระวังบริษัทบุหรี่ในประเทศไทย

โรงงานยาสูบมีการทำการตลาดและประชาสัมพันธ์แฝงไปกับการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งเน้นกลุ่มด้อยโอกาส เยาวชน และผู้หญิง ใช้เงินประมาณปีละ 200-150 ล้านบาท สำหรับกิจกรรมดังกล่าว การจัดคอนเสิร์ตในต่างจังหวัด หรือออกบูทในงานคอนเสิร์ต หรืองานดนตรี การจัดสร้างห้องสูบบุหรี่ ตามสถานที่สาธารณะเช่น หัวลำโพง สถานีขนส่งหมอชิต (6)

 

กิจกรรมของบริษัท ฟิลลิป มอริส (ไทยแลนด์) จำกัด จะเป็นลักษณะการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม ร่วมกับ บริษัทคู่ค้าอื่นๆ โดยที่มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและนักเรียนในพื้นที่ที่ปลูกยาสูบ ปี 2550 บริษัทใช้เงินในการทำกิจกรรม CSR ในประเทศทั้งหมดประมาณ 170 ล้านบาท (4) มีรายงานว่ามีการทำการตลาด ณ จุดขาย เช่น งานเปิดตัวใหม่พริตตี้ รวมถึงการให้รางวัลร้านค้าปลีกเพื่อการจัดวางซอง มีจุดขายประมาณ 200,000 จุดทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มแทรกแซงนโยบายรัฐบาลผ่านการเป็นสมาชิกองค์กรธุรกิจต่างๆ เช่น US-ASEAN BUSINESS COUNCIL, American Chamber of Commerce, WTO Joint committee, etc.

 

บริษัท บริติชอเมริกัน โทแบคโค (ประเทศไทย) จำกัด เนื่องจากมีส่วนแบ่งการตลาดต่ำจึงเน้น การตลาดที่เน้นกลุ่มนักสูบหน้าใหม่ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา โดยเฉพาะในสถานบันเทิงในกรุงเทพและเมืองใหญ่ โดยเฉพาะรอบๆ มหาวิทยาลัย มีการนำซองบุหรี่แลกบัตรคอนเสิร์ต (เน้นกลุ่มวัยรุ่น) บริษัทนี้ มีบริษัทไทยชื่อว่าบริษัท Goldimex ทำหน้าที่เป็นฝ่ายขายและกระจายสินค้าให้

 

เอกสารอ้างอิง

(1) WHO Fact Sheet N339 May 2010. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs339/en/print.html

(2) รายงานประจำปี ปี 2550 และ 2551 โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง. www.thaitobacco.or.th

(3) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดราคายาสูบ ปี 2552

(4) Euromonitor International report 2009 (Tobacco Thailand, Cigarette Thailand, etc.)

(5) กรรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง

(6) เวปไซต์โรงงานยาสูบ www.thaitobacco.or.th

 

ที่มา : โครงการกลุ่มศึกษาและเฝ้าระวังอุตสาหกรรมยาสูบ http://www.tobaccowatch.in.th เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555

 

สถานการณ์การบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่

 

ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก (Global Adult Tobacco Survey: GATS) เป็นการติดตาม กำกับการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ชนิดมีควันและไม่มีควัน) รวมถึงประเมินผลการควบคุมยาสูบที่เป็นระบบและเป็นมาตรฐานสากล อีทั้งยังช่วยบรรลุพันธกรณีตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกอีกด้วย

 

โดยประเทศไทยมีการสำรวจครั้งแรกเมื่อปี 2552 และต่อมาคือปี 2554 เป็นการสำรวจครัวเรือนที่มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งดำเนินงานระหว่างกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสถิติแห่งชาติ และคณะสาธารณสุขสาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ที่มา : สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

 

 

สถานการณ์และแนวโน้มการบริโภคยาสูบชนิดมีควันของเยาวชนไทย

 

1. จำนวนเยาวชนที่บริโภคยาสูบ หรือสูบบุหรี่ชนิดมีควัน ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2534 – 2552) เมื่อพิจารณาเยาวชนโดยรวม ที่มีอายุ 11 – 24 ปี กล่าวได้ว่าจำนวนเยาวชนที่สูบบุหรี่ปัจจุบันชนิดมีควัน มีจำนวนลดลงจาก 2.8 ล้านคนในปี พ.ศ. 2534 เป็น 1.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2549 จากนั้นเริ่มปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจาก 1.6 ล้านคนในปี พ.ศ. 2550 เป็น 1.7 ล้านคนในปี พ.ศ. 2552 (ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ 1 จำนวนของเยาวชนไทยที่สูบบุหรี่ปัจจุบันชนิดมีควันที่มีอายุ 11 – 24 ปี ปี พ.ศ. 2534 - 2552

หน่วย : พันคน

กลุ่มอายุ

2534

2539

2544

2549

2549

2550

2552

11 - 14 ปี

32.23

22.51

9.46

7.18

17.04

13.76

20.20

15 - 18 ปี

605.68

420.92

303.65

300.18

302.22

328.79

345.11

19 - 24 ปี

2,140.08

1,913.22

1,515.53

1,402.62

1,184.37

1,276.42

1,326.08

รวม

2,777.99

2,356.65

1,828.64

1,709.98

1,503.63

1,618.97

1,691.39

 

สำรวจครั้งล่าสุด คือปี พ.ศ. 2550 – 2552 พบว่าทั้ง 3 กลุ่มอายุ มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอายุน้อยที่สุด คืออายุ 11 – 14 ปี ที่มีการเปลี่ยนแปลงจานวนผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 46.8 ขณะที่ 2 กลุ่มที่เหลือ คืออายุ 15 – 18 ปี และ 19 – 24 ปี มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.96 และ 3.86 ตามลำดับ

 

ข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ

ผลการสำรวจบางโครงการในปี พ.ศ. 2550 และ 2552 ได้มีข้อถามหลายข้อที่สามารถให้ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนได้ ซึ่งมีผลสรุปโดยสังเขป ดังนี้

1. สาเหตุที่เยาวชน เริ่มสูบบุหรี่ ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2550 พบว่าเยาวชนอายุ 11 – 24 ปี เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกเพราะอยากทดลองสูบ ร้อยละ 56.44 รองลงมา ได้แก่ การตามเพื่อน/ เพื่อนชวน ร้อยละ 32.29 เพื่อเข้าสังคม/สังสรรค์ ร้อยละ 4.30 เพื่อความโก้แก๋ ร้อยละ 3.00 สูบเพราะเครียด ร้อยละ 1.62 และอื่นๆ ร้อยละ 2.35 ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2550 พบว่าเยาวชนอายุ 11 – 24 ปี

2. ประเภทยาสูบที่เยาวชนนิยมสูบ ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2550 พบว่าเยาวชนอายุ 11 – 24 ปี นิยมสูบบุหรี่ซองที่ผลิตในประเทศและมีก้นกรองมากที่สุด ร้อยละ 63.25

3. ปริมาณบุหรี่ที่สูบ (มวนต่อวันต่อคน) พบว่ามีแนวโน้มลดลงจาก 8.20 มวนในปี พ.ศ. 2544 เป็น 7.50 มวนในปี พ.ศ. 2550

4. การเลิกบุหรี่ ผลการสำรวจโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก (Global Adult Tobacco Survey: GATS) ปี พ.ศ. 2552 พบว่าเยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ที่สูบบุหรี่ปัจจุบันชนิดมีควัน มีความพยายามจะเลิกบุหรี่สูงสุด ถึงร้อยละ 60.6 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ หากแต่ได้รับการซักถามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และการแนะนาให้เลิกบุหรี่โดยบุคลากรทางการแพทย์น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะการคาดไม่ถึงของผู้ให้บริการ ว่าเยาวชนกลุ่มนี้มีสถานะเป็นผู้สูบบุหรี่ปัจจุบัน หรือลักษณะการเจ็บป่วยใดๆ จนต้องไปพบบุคลากรทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลนั้นๆ ไม่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับอาการหรือโรคจากการสูบบุหรี่ ส่งผลให้ไม่ได้รับการซักถามและแนะนาให้เลิกสูบบุหรี่

5. ค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่สูบ พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะอัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2544 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 10.49 บาทต่อวันต่อคน และเพิ่มเป็น 12.58 บาทต่อคนต่อวันในปี พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ ผลการสำรวจจากโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก (Global Adult Tobacco Survey: GATS) ปี พ.ศ. 2552 พบว่า เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี มีค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ โดยเฉพาะบุหรี่ซองเฉลี่ยวันละ 15.28 บาทต่อวัน คิดเป็น 458.3 บาทต่อเดือน

6. การเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน ผลการสำรวจพบว่า เยาวชนที่สูบบุหรี่ปัจจุบันชนิดมีควัน อายุ 11 – 24 ปี ส่วนใหญ่ซื้อมาสูบแบบเป็นมวน/ แบ่งมวนขาย ร้อยละ 68.25 รองลงมา ได้แก่ การซื้อเป็นซอง ร้อยละ 31.46 เมื่อพิจารณาการเข้าถึงบุหรี่ในมิติของแหล่งซื้อ และยังพบว่า เยาวชนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ซื้อบุหรี่มาสูบจากร้านค้าใกล้บ้าน/ ที่พักอาศัย หรือที่เรียกทั่วไปว่า ร้านขายของชา ร้อยละ 91.00 รองลงมา ได้แก่ ร้านค้าใกล้สถานศึกษา/ ที่ทางาน ร้อยละ 2.98 และร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 2.65

ทั้งนี้ สถานการณ์การเข้าถึงบุหรี่ในมิติของแหล่งซื้อนี้ ยังคงมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง เห็นได้จากผลการสำรวจจากโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก (Global Adult Tobacco Survey: GATS) ปี พ.ศ. 2552 พบว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ซื้อบุหรี่จากร้านขายของชา ร้อยละ 95.9 ซึ่งสูงกว่าเยาวชนอายุ 18 – 24 ปี และผู้ใหญ่ที่อายุ 24 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 94.6 และ 90.0 ตามลาดับ

7. การขายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ผลการสำรวจพบว่าเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งเป็นผู้สูบบุหรี่ปัจจุบัน ระบุว่าผู้ขายไม่เคยขอดูบัตรประจาตัวประชาชนเพื่อตรวจสอบอายุก่อนขายบุหรี่ ร้อยละ 93.60 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาการปฏิเสธการขายโดยวิธีการปฎิเสธโดยวาจา แทนการดูบัตรประจาตัวประชาชน พบว่าเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีกลุ่มนี้ เคยได้รับการปฎิเสธเพียงร้อยละ 41.20

8. การสัมผัสควันบุหรี่มือสอง ผลการสำรวจจากโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก (Global Adult Tobacco Survey: GATS) ปี พ.ศ. 2552 พบว่า เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ซึ่งไม่สูบบุหรี่มีโอกาสสัมผัสควันบุหรี่มือสองในบ้านสูงสุด ร้อยละ 38.4 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเยาวชนกลุ่มนี้ ใช้เวลาอยู่กับบ้านสูงกว่าวัยทางาน นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีโอกาสไปโรงเรียนในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งเป็นสถานที่สาธารณะที่ต้องปลอดบุหรี่ 100% ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา (ก่อนการสำรวจ) ยังได้รับควันบุหรี่มือสอง ร้อยละ 33.4

 

 

มาตรการในการควบคุมและป้องกันการสูบบุหรี่

 

1. มาตรการด้านการศึกษา
          การให้สุขศึกษาถือเป็นมาตรการขั้นพื้นฐานและเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุด แต่โดยมาตรการนี้เพียงอย่างเดียวจะส่งผลต่อการควบคุมการบริโภคยาสูบได้น้อย จำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆมาเสริมด้วย
          การให้สุขศึกษาในเรื่องอันตรายของการสูบบุหรี่ จำเป็นต้องกำหนดเป็นกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่ชัดเจนเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนในทุกๆ กลุ่ม ซึ่งจะกำหนดรูปแบบ และวิธีการในการให้ข้อมูลให้สอดคล้อง เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม จึงจะเกิดประสิทธิภาพในการรณรงค์ แบ่งเป็น

          - การให้ความรู้สุขศึกษาในระบบ
            การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับพิษภัยของการสูบบุหรี่ควรจะเริ่มตั้งแต่นักเรียนชั้นอนุบาล เพราะนอกจากจะเป็นการปลูกฝังค่านิยม และให้ความรู้แก่เด็กวัยนี้แล้ว เด็กในวัยนี้เมื่อได้รับการสอนถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะกลับไปถามบุคคลในบ้านว่า ครูบอกว่าการสูบบุหรี่ไม่ดี แล้วทำไมคุณพ่อ คุณแม่หรือคนอื่นๆ ในบ้านจึงยังสูบ ซึ่งทำให้ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยต้องเลิกสูบบุหรี่ หรือไม่กล้าสูบให้ลูกเห็น
          - การให้การศึกษานอกรูปแบบ
            ทำได้ทั้งการจัดกิจกรรมหรือนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ ทั้งในโรงเรียนและสถานที่ที่มีประชาชนมามาก ได้แก่ ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ ฯลฯ และการเป็นแบบอย่างซึ่งมีความสำคัญมากในกระบวนการสร้างค่านิยมใหม่ที่ไม่สูบบุหรี่ กลุ่มคนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ บุคลากรสาธารณสุข สื่อมวลชน ศิลปิน ดารา และนักกีฬา จะเห็นได้ว่า องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นปีที่บุคลากรสาธารณสุขเป็นผู้นำในการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๗ กำหนดให้สื่อมวลชนทุกแขนงเข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้นักเศรษฐศาสตร์ได้เข้ามารับรู้ว่า บุหรี่ไม่เพียงแต่สร้างความหายนะด้านสุขภาพ ยังก่อให้เกิดผลลัพธ์ในการสูญเสียทางเศรษฐกิจอีกด้วย พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ศิลปินและนักกีฬาเข้ามาเป็นผู้นำในการบอกกับสังคมว่าการสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ไม่ดี รวมทั้งศิลปะและการกีฬาควรจะปลอดบุหรี่ โดยไม่รับเงินสนับสนุนจากธุรกิจบุหรี่ และ พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดให้เป็นปีกีฬาปลอดบุหรี่

 

2. มาตรการด้านกฎหมาย
          เป็นมาตรการที่สำคัญสำหรับควบคุมบริษัทผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายบุหรี่ รวมถึงเพื่อคุ้มครองสิทธิและสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งได้แก่

          - พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๓๕ คือ "ห้ามจำหน่ายบุหรี่ แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี" และ "ห้ามโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม" "ห้ามขายบุหรี่ด้วยเครื่องขายอัตโนมัติ" รวมทั้งการพิมพ์คำเตือน การเปิดเผยสารเคมีที่ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสบุหรี่
           คำเตือน เป็นมาตรการให้ความรู้ทั้งแก่ผู้สูบและผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีการพิมพ์คำเตือนบนซองบุหรี่ทั้งหมด ๑๐ ข้อความสลับกันไป โดยกำหนดให้มีขนาดร้อยละ ๓๓.๓ ของพื้นที่ด้านหน้าและ ด้านหลังซองบุหรี่ และใช้ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีดำ พิมพ์อยู่บริเวณด้านบนสุดของซองและกล่องบรรจุซองบุหรี่ อย่างไรก็ดี การใช้ข้อความเป็นคำเตือนบนซองบุหรี่ยังมีข้อจำกัดในการให้ข้อมูลกับประชาชนที่ด้อยการศึกษาและอ่านหนังสือไม่ออก การใช้รูปภาพเป็นคำเตือนบนซองบุหรี่จึงน่าจะแก้ไขปัญหานี้ได้ การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องนี้พบว่า ทั้งผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่เห็นด้วยกับการให้มีรูปภาพ เป็นคำเตือนบนซองบุหรี่

          - การเปิดเผยส่วนประกอบในการผลิตบุหรี่
            เป็นมาตรการที่ให้ความรู้แก่ผู้สูบ คือ ถ้าผู้สูบรู้ว่าบริษัทบุหรี่ผสมสารเคมีหลายชนิด เข้าไว้ในบุหรี่จะทำให้อยากสูบน้อยลง ในขณะเดียวกันการที่มีกฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตแจ้งส่วนประกอบกับทางการ จะทำให้ผู้ผลิตใช้สารเคมีผสมในการผลิตบุหรี่น้อยชนิดลง ซึ่งจัดว่าเป็นการคุ้มครองผู้สูบบุหรี่ได้ในระดับหนึ่ง มาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้ผู้ผลิตบุหรี่แจ้งส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตบุหรี่ต่อกระทรวงสาธารณสุข

          - การคุ้มครองสิทธิและสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
            พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีผลบังคับใช้ได้กำหนดให้สถานที่สาธารณะต่างๆโรงเรียน สถานศึกษา และรถโดยสารจัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ โดยได้มีการปรับและขยายสถานที่ที่ต้องเป็นเขตปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยล่าสุดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้กำหนดให้สถานที่ราชการ สำนักงานและที่ทำงานต่างๆ ในขณะทำการ หรือให้บริการเป็นเขตปลอดบุหรี่ ยกเว้นห้องทำงานส่วนตัว และบริเวณที่จัดให้เป็นเขตสูบบุหรี่โดยเฉพาะ


3. นโยบายด้านภาษี
          เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมการสูบบุหรี่ ผลกระทบที่สำคัญคือราคาบุหรี่ที่แพงขึ้น นอกจากจะทำให้ผู้สูบบุหรี่ที่มีรายได้น้อยสูบน้อยลงหรือหยุดสูบแล้ว ยังจะทำให้เยาวชนเข้ามาเสพติดบุหรี่น้อยลง เนื่องจากเยาวชนเป็นผู้ที่ยังไม่มีรายได้และมีกำลังซื้อต่ำ การขึ้นภาษีบุหรี่ควรจะขึ้นเป็นระยะๆ ตามอัตราเงินเฟ้อ ประเทศที่มี นโยบายควบคุมการสูบบุหรี่ที่ก้าวหน้า สามารถที่จะออกกฎหมายกำหนดให้นำภาษีบุหรี่ส่วนหนึ่งมาสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งรวมการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ไว้ด้วย ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ นำภาษีสรรพสามิต สุราและยาสูบร้อยละ ๒ มาสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ

 

4. มาตรการทางสังคมอื่นๆ
          - การสร้างค่านิยมใหม่ที่ไม่สูบบุหรี่

            เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะค่านิยมจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนโดยเฉพาะเยาวชน ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมใหม่ที่ไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ บิดา มารดา และผู้นำสังคมในทุกสาขา ตั้งแต่นักการเมือง นักแสดง นักกีฬา ครู แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และพระภิกษุ โดยสถาบันสื่อมวลชนจะมีบทบาทสูงสุดในการสร้างค่านิยมใหม่ที่ไม่สูบบุหรี่ให้แก่สังคม
            มาตรการที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดต้องทำไปพร้อมๆ กัน เพราะแต่ละมาตรการจะช่วยเสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกัน หากดำเนินมาตรการที่กล่าวแล้วได้ทั้งหมด จะเกิดผลในการควบคุมการสูบบุหรี่ได้สูงสุด

         - การสร้างแนวร่วมในการรณรงค์
            ประเทศไทยมีมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เป็นหน่วยงานเอกชน และมีสถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยต้องมีการร่วมมือกันและสร้างแนวร่วมเพิ่มขึ้นทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และมีการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมเพียงพอ

        - มาตรการที่ช่วยให้ผู้ติดบุหรี่เลิกสูบบุหรี่

          มาตรการหลายมาตรการที่กล่าวมาแล้ว มีส่วนช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ตัดสินใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ เช่น การให้ข้อมูลพิษภัยของการสูบบุหรี่ การจำกัดสถานที่สูบบุหรี่ การขึ้นภาษีบุหรี่ และการพิมพ์คำเตือน นอกจากนี้การดำเนินการคลินิกอดบุหรี่ การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของกระบวนการที่จะช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ เพราะมีผู้สูบบุหรี่จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถ  เลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเองได้จากการที่ไม่รู้วิธีที่จะเลิกสูบ แม้เคยพยายามที่จะเลิกหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากขาดแรงจูงใจที่จะเลิก หรือเสพติดบุหรี่มากก็ตาม

 

ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28 http://guru.sanook.com เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ

  

Like this article:
Social share: